ผู้ใช้:Waraporn sornlek

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะผู้นำ

แนวคิดพื้นฐานของภาวะผู้นำ[แก้]

ความหมายของผู้นำ[แก้]

ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งและได้รับการยอมรับจากสมาชิกให้เป็นหัวหน้าในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของกลุ่มให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย.[1]

ความหมายของภาวะผู้นำ[แก้]

  • ภาวะผู้นำเป็นคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคลเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Northouse,2012 p.3; Schermerhorn et al., 2005 p.241 )
  • ภาวะผู้นำเป็นสมรรถภาพของผู้นำที่ได้รับการพัฒนาหรือกระบวนการในการบริหารจัดการเพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ (Northouse,2012 p.4; Sergiovanni, 1987 pp. 488-489)[2]

องค์ประกอบของผู้นำ[แก้]

องค์ประกอบของผู้นำ (Leader Factors)จะเน้นที่บุคลิกภาพในตัวบุคคล ในขณะที่องค์ประกอบภาวะผู้นำจะเน้นถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมถึงการดำเนินงานของบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล[3] ผู้นำเป็นบุคคลที่มีความสามารถหลายด้าน ได้แก่

  • ความสามารถในด้านการทำงาน ผู้นำจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานอย่างถ่องแท้ สามารถปฎิบัติงานได้จริง ให้คำแนะนำได้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  • ความสามารถในด้านการจูงใจ ถือเป็นความสามารถพื้นฐานของการเป็นผู้นำและควรมีเทคนิคที่ดีในการจูงใจลูกน้องให้ร่วมมือปฎิบัติงานตามคำสั่งด้วยความเต็มใจ
  • ความสามารถในด้านการควบคุม ผู้นำต้องควบคุมงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
  • ความสามารถในด้านการประสานงาน ผู้นำต้องสามารถประสานงานกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดีและต้องสามารถเชื่อมโยงให้แต่ละฝ่ายสามารทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ
  • ความสามารถในด้านการตัดสินใจ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นผู้นำจะต้องสามารถเผชิญกับปัญหาได้และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธีอีกด้วย
  • ความสามารถในด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น[4]

ประเภทของผู้นำ[แก้]

ผู้นำแนวคิดเก่า (Old Paradigm) ผู้นำแนวคิดใหม่(New Paradigm)
*ยุคอุตสาหกรรม
*มีความคงที่
*มีการควบคุม
*มีการแข่งขัน
*มีการจูงใจสิ่งล่อใจ
*มีรูปแบบแน่นอน
*ยุคแห่งข่าวสารข้อมูล
*มีการเปลี่ยนแปลง
*มีการมอบอำนาจ
*มีความร่วมมือกัน
*คำนึงถึงบุคคลและความสัมพันธ์กัน
*มีความแตกต่างหลากหลาย

[5](เนตร์พัณณายาวิราช,2552:23)

หน้าที่ของผู้นำ[แก้]

หน้าที่ของผู้นำต่อบุคลในหน่วยงานควรเป็นการมอบหมายงาน การจูงใจ การควบคุม เพื่อให้การทำงานสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากเป็นผู้นำที่อยู่ในระดับสูงจะมีหน้าที่ในการบริหาร การวางแผน การกำหนดนโยบาย การจัดการองค์การ การชักนำ และการควบคุม การกระทำของผู้นำควรเป็นการกระทำโดยทำให้สมาชิกเกิดแรงจูงใจทำการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มิใช่การสั่งการไปเสียหมดทุกสิ่งเพราะจะถือว่าไม่ใช่การนำทางแต่เป็นการสั่งการ.[6]

แนวทางการศึกษาพื้นฐานและทฤษฎีของภาวะผู้นำ[แก้]

ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ[แก้]

คุณลักษณะผู้นำ ถือเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้นำมีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำมากน้อยเพียงใด และผู้นำที่ดีควรมีการปรับปรุงจุดด้อยของตนเองอยู่ตลอดเวลาและรู้ถึงจุดเด่นของตนเอง โดย เสริมศักดิ์ (2538 : 46) กล่าวถึง คุณลักษณะผู้นำ ดังนี้

  • การมีความรับผิดชอบ
  • มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ
  • มีความแข็งแรง
  • มีความเพียรพยายาม
  • รู้เสี่ยง
  • มีความคิดริเริ่ม
  • มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  • มีความสามารถที่จะจัดการกับความเครียด
  • มีความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อคนอื่น
  • มีความสามารถที่จะประสานพลังทั้งหลายเพื่อการทำงานให้สำเร็จ[7]

ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์[แก้]

ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟิลเดอร์ หมายถึง ทักษะความเป็นผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์มีตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดถึงสถานการณ์ประกอบด้วย

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชา การที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับในตัวผู้นำ
  2. โครงสร้างของงาน จุดประสงค์ในการดำเนินงาน
  3. การใช้อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง ความเป็นผู้นำหมายถึงผู้ที่สามารถให้คุณหรือให้โทษแก่พนักงานได้

ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ซี่ย์ เบลนด์ชาร์ด เน้นถึงคุณลักษณะของผู้ตามเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณา ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เช่น พนังงานที่มีประสิทธิภาพต่ำต้องการผู้นำที่ใส่ใจเน้นการสั่งงาน เพื่อให้ปฏิบัติตาม แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ

  1. ผู้นำแบบบอกกล่าว ผู้นำสั่งการเพื่อให้พนักงานรู้ทิศทางที่ชัดเจน เหมาะแก่พนังงานที่มีความพร้อมต่ำ
  2. ผู้นำแบบขายความคิด ผู้นำมีการออกแบบความคิดเพื่อให้พนักงานตัดสินใจเลือกนำไปปฏิบัติ
  3. ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำให้คำแนะนำสนับสนุน เพื่อให้ผู้ตามเกิดความก้าวหน้า
  4. ผู้นำแบบมอบหมายงาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมเล็กน้อย เน้นการทำตามคำสั่ง[8]

ภาวะผู้นำและการจูงใจ[แก้]

ความหมายและความสำคัญของการจูงใจ[แก้]

การจูงใจ หมายถึง แรงหรืออำนาจที่กำเนิดพลังและความพยายามของบุคคล ดังนั้นการจูงใจเพื่อการปฏิบติงานจึงเป็นการทำให้บุคคลเกิดพลังในการปฏิบัติงานตามที่องค์กรต้องการ การจูงใจที่มีประสิทธิผล ผู้นำต้องรู้ว่าพฤติกรรมอะไรจึงจะก่อให้เกิดการจูงใจต่อบุคคล หากบุคคลในองค์การได้รับการจูงใจจะทำให้เกิดพฤติกรรม 5 ประเภท ดังนี้

  1. เข้าร่วมในกิจกรรมขององค์การ
  2. ยังคงอยู่ในองค์การ
  3. มาทำงานสม่ำเสมอ
  4. ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ
  5. เป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร[9]

ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของการจูงใจ[แก้]

ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานจะเน้น ถึงความต้องการที่จะจูงใจบุคคล คนเรามีความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ความต้องการนี้มีแหล่งที่มาจากแรงขับภายในที่สร้างแรงจูงใจในพฤติกรรมที่จะตอบสนองความต้องการจะทำงานเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำจะต้องมีความเข้าใจในความต้องการของพนักงานและออกแบบระบบการให้รางวัล เพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันขององค์กร[10]

การนำทีมงาน[แก้]

ทีมงานคืออะไร[แก้]

ทีมงานประกอบขึ้น ด้วยกลุ่มคนซึ่งมีบทบาทผู้นำร่วมกันหรือหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ จะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันและการรับผิดชอบตนเองเฉพาะรายบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์และเป้ามายมาจากการแลกเปลี่ยนแนวคิดหรือข้อมูลในทีม[11]

คุณสมบัติพื้นฐานของทีมงาน[แก้]

  • มีขนาดจำนวนสมาชิกไม่มาก ขนาดในอุคมคติของทีมงานควรมีสมาชิก 7 คน หรือ อยู่ระหว่าง 5 - 12 คน จะเป็นทีมงานทีมี่ผลงานสูง (Carron and Spink,1995)
  • มีทักษะที่เสริมต่อกัน ทีมงานที่สร้างจากกลุ่มบุคคลที่มีทักษะแตกต่าง โดยแต่ละทักษะควรเป็นทักษะที่ช่วยส่งเสริมกัน ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานเป็นทีมมี 3 กลุ่มด้วยกัน
  1. ทักษะที่เป็นความชำนาญงานเทคนิคหรืองานแต่ละหน้าที่ เกิดจากทักษะการเรียนด้วยประสบการณ์
  2. ทักษะที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทีมงานที่ดีจะต้องมีทักษะในการเผชิญต่อปัญหาและการตัดสินใจที่ดีในการแก้ปัญหาต่างๆ
  3. ทักษะเกี่ยวกับด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลถือเป็นหัวใจสำคัญ หมายรวมถึงทักษะการฟังที่ดี การสนับสนุน และการให้การยอมรับในผลประโยชน์
  • ผูกพันต่อกันด้วยวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน ทีมงานที่ดีนั้นจำเป็นจะต้องมีวัตถุประสงค์ของทีมและเป้าหมายของการดำเนินงานเสมอเพื่อให้สมาชิกในทีมเกิดความพูกผันต่อกัน
  • มีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ทีมงานจำเป็นต้องกำหนดหลักการปฏิบัติขึ้นเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางกายภาพด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคม ด้านการบริหาร
  • มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ร่วมกัน การทำงานเป็นทีมจำเป็นจะต้องมีความไว้ใจและความผูกพันธ์ซึ่งกันและกันถือเป็นพื้นฐานสำคัญ สามารถก่อให้เกิดความรับผิดชอบในงานซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากพื้นฐานดังกล่าว[12]

รูปแบบทีมงาน[แก้]

รูปแบบทีมงานสามารถแบ่งประเภทได้ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. ทีมแก้ปัญหา (Problem - Solving Teams) ทีมงานแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องประกอบด้วย ผู้มีความรู้และประสบการณ์สูง เพื่อให้สามารถคิดวิธีแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  2. ทีมบริหารตนเอง (Self - Managed Teams) โดยทุกคนมีหน้าที่ในแต่ละอย่างเป็นของตนเอง
  3. ทีมที่ทำงานข้ามหน้าที่กัน (Cross - Function Teams) ทีมงานข้ามหน้าที่กันมักจะเน้นถึงความเฉพาะด้านของทีม เพื่อมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด
  4. ทีมเสมือนจริง (Virtual Teams) เกิดจากความต้องการกระจายสมาชิกด้วยเทคโนโลยี[13]

ภาวะผู้นำในทีมงานจัดการตนเอง[แก้]

ภาวะผู้นำที่มาจากภายในทีมงาน เกิดจากการมอบหมายให้บุคคลในทีมงาน หมุนเวียนกันมาเป็นผู้นำทีม หรือมอบหมายให้บุคคลได้บุคลคลหนึ่งตามแต่ละช่วงเวลา ภาวะผู้นำที่มาจากภายนอกทีมงานอาจเป็นผู้นำแบบดั้งเดิมหรือผู้นำตามประเพณี หรือการมอบหมายที่เป็นทางการ ให้กับผู้ควบคุมงานระดับต้น หรือหัวหน้างาน หรือบุคคลจากภายนอกที่ไม่ใช่ตามประเพณีหรือแบบดั้งเดิม อาจเรียกว่า "ผู้ประสานงาน" หรือ "ผู้อำนวยความสะดวก" หลักการสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมงาน คือ การสร้างสรรค์และเชิดชูเงื่อนไขสำหรับการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาดังนี้

  1. ประสิทธิภาพและความพยายามสู่เป้าหมาย
  2. ทรัพยากรที่พอเพียง
  3. ความสามารถและทำให้เกิดการจูงใจในการปฏิบัติงาน
  4. ผลผลิตและบรรยากาศที่สนับสนุน
  5. ความผูกพันต่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการปรับตัว[14]

การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ[แก้]

แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำ[แก้]

การพัฒนาภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันมากมาย และความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของยุคสมัย การพัฒนาภาวะผู้นำมีความจำเป็นต่อองค์กรเพื่อเตรียมบุคลากรที่มีคุณภาพและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากภาวะผู้นำเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนของการปฏิสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น องค์ประกอบเหล่านี้ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อกันและกันเสมอ[15]

กลยุทธ์ในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนคุณภาพ[แก้]

  1. รู้จักตัวตนของตนเอง รู้จุดด้อย จุดแข็งของตนเอง ยอมรับจุดด้อยเพื่อนำมาพัฒนาและพยายามเสริมจุดแข็งที่มีอยู่
  2. รู้จักพัฒนาตนให้เป็นคนคุณภาพ ต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม มีเป้าหมายในใจ ทำตามลำดับความสำคัญ คิดบวก รู้เขารู้เรา สร้างพลังร่วม ฝึกฝนทักษะให้มีความชำนาญ
  3. รู้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ต่อองค์กร ต่อผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อตนเอง
  4. การพัฒนาตนเอง รู้จักตนเองมองให้รอบ ทั้งด้านจุดด้อย จุดแข็ง ภายใน ภายนอก และปรับปรุง เรียนรู้และพัฒนาโดยวิธีการเรียนรู้ที่ผสมผสานและเหมาะสมกับตัวเรา จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่งที่จะส่งเสริมและผลักดันให้ตัวเรา องค์การ และสังคมรอบข้าง เป็นสังคมแห่งการเรียนนรู้และทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขจำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการคือ
  5. ทักษะทางความคิด
  6. ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์
  7. ทักษะทางเทคนิค[16]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2544. ความหมายของผู้นำ. ในภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฎิบัติ=Leadership : theory and practice, 4. เชียงราย : สถาบันราชภัฏเชียงราย.
  2. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. 2557. ความหมายของภาวะผู้นำ. ในภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม : แนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย, 8. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์
  3. วิเชียร วิทยอุดม. 2543. องค์ประกอบของผู้นำ. ในภาวะผู้นำ Leadership ฉบับก้าวล้ำยุค, 8. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
  4. เนตร์พัณณา ยาวิราช. 2552. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. 18. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
  5. เนตร์พัณณา ยาวิราช. 2552. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. 23. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
  6. เนตร์พัณณา ยาวิราช. 2552. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. 11. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
  7. Novabizz. 2560. ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560, จาก : http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Trait-Theories-of-Leadership.htm
  8. เนตร์พัณณา ยาวิราช. 2552. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. 127-130. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
  9. ธวัช บุณยมณี. 2550. ความหมายและความสำคัญของการจูงใจ. ในภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง, 174. กรุงเทพมหานครฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
  10. วิเชียร วิทยอุดม. 2543. ในภาวะผู้นำLeadership ฉบับบก้าล้ำยุค, 105. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
  11. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2548. การนำทีม. ในภาวะผู้นำทฤษฎีและปฎิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์, 444. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
  12. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2548. การนำทีม. ในภาวะผู้นำทฤษฎีและปฎิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์, 447-450. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
  13. วิเชียร วิทยอุดม. 2543. ในภาวะผู้นำLeadership ฉบับบก้าล้ำยุค, 227. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
  14. ธวัช บุณยมณี. 2550. ภาวะผู้นำในทีมงานจัดการตนเอง. ในภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง, 100. กรุงเทพมหานครฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
  15. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. 2557. แนวคิดพัฒนาภาวะผู้นำ. ในภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมะ แนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย, 163. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
  16. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. 2557. แนวคิดพัฒนาภาวะผู้นำ. ในภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมะ แนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย, 193-194. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์

อ้างอิง[แก้]

ธวัช บุณยมณี. 2550. ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานครฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. 2552. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

วิเชียร วิทยอุดม. 2543. ภาวะผู้นำ Leadership ฉบับก้าวล้ำยุค. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. 2557. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม : แนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2548. ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฎิบัติ : ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2544. ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฎิบัติ=Leadership : theory and practice. เชียงราย : สถาบันราชภัฏเชียงราย.

Novabizz. 2560. ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560, จาก : http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Trait-Theories-of-Leadership.htm