ผู้ใช้:Pilarbini/กระบะทราย/กรุ 13

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

en:WP:PAID

การเข้ามีส่วนร่วมรับจ้าง เป็นการมีส่วนร่วมบนวิกิพีเดียเพื่อแลกกับเงินหรือเครื่องจูงใจอื่น รวมถึงการเพิ่มหรือลดเนื้อหาจากหน้าใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นหน้าบทความหรือหน้าพูดคุย หากคุณได้รับหรือคาดหมายว่าจะได้รับค่าตอบแทนสำหรับการมีส่วนร่วมบนวิกิพีเดียของคุณ คุณจำเป็นต้องเปิดเผยผู้ที่จ้างวานให้คุณแก้ไข ("นายจ้าง"ของคุณ), เปิดเผยว่าใครเป็นลูกค้า และเปิดเผยบทบาทและความสัมพันธ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าคุณจะได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้าโดยตรง หรือได้รับทางอ้อมจากนายจ้างในนามของลูกค้า ผู้แก้ไขที่ได้รับค่าตอบแทนในการแก้ไขหรือการกระทำบนวิกิพีเดียภาษาไทยจะต้องทำตามข้อกำหนดการใช้งานของมูลนิธิวิกิมีเดีย รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทย

ข้อกำหนดการใช้งานของมูลนิธิวิกิมีเดีย[แก้]

ข้อกำหนดการใช้งานของมูลนิธิวิกิมีเดียกำหนดให้ผู้แก้ไขทั้งหมดเปิดเผย "นายจ้าง ลูกค้าและความสัมพันธ์เชิงธุรกิจของการเข้ามีส่วนร่วมใด ๆ ซึ่งท่านได้รับหรือคาดหมายว่าจะได้รับค่าตอบแทน":[1]

การเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างโดยไม่เปิดเผย

ข้อกำหนดการใช้งานนี้ห้ามการเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลอกลวง ซึ่งรวมการแถลงที่ไม่เป็นจริงซึ่งความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ การปลอมตนและกลฉ้อฉล โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ ท่านต้องเปิดเผยนายจ้าง ลูกค้าและความสัมพันธ์เชิงธุรกิจของการเข้ามีส่วนร่วมใด ๆ ซึ่งท่านได้รับหรือคาดหมายว่าจะได้รับค่าตอบแทน ท่านต้องเปิดเผยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • คำแถลงในหน้าผู้ใช้ของท่าน
  • คำแถลงในหน้าพูดคุยซึ่งประกอบการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้าง หรือ
  • คำแถลงในคำอธิบายอย่างย่อซึ่งประกอบการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้าง

กฎหมาย หรือนโยบายและแนวปฏิบัติของชุมชนและมูลนิธิที่ใช้ได้ เช่น ที่ว่าด้วยผลประโยชน์ขัดกัน อาจจำกัดการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างเพิ่มหรือกำหนดให้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่ม

ชุมชนโครงการวิกิมีเดียอาจมีมติเห็นชอบนโยบายการเปิดเผยการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างทางเลือก หากโครงการมีมติเห็นชอบนโยบายเปิดเผยทางเลือก ท่านอาจปฏิบัติตามนโยบายนั้นแทนข้อกำหนดในส่วนนี้เมื่อเข้ามีส่วนร่วมในโครงการนั้น นโยบายการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างทางเลือกจะเข้าแทนที่ข้อกำหนดนี้เฉพาะเมื่อชุมชนโครงการที่เกี่ยวข้องอนุมัติและแสดงรายการในหน้านโยบายการเปิดเผยทางเลือก.

ด้านบนคือนโยบายของมูลนิธิวิกิมีเดีย (WMF) และของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

ความหมายของ "นายจ้าง ลูกค้า และความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ"[แก้]

อ่านเพิ่ม: ข้อกำหนดการใช้งาน/ถามตอบเกี่ยวกับการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างโดยไม่เปิดเผย

ผู้แก้ไขต้องเปิดเผยนายจ้าง ลูกค้า และความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมบนวิกิพีเดีย

  • นายจ้าง: บุคคลหรือองค์กรที่ว่าจ้างให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมบนวิกิพีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการจ้างวานที่มีสัญญาอิสระกับผู้ว่าจ้าง, ไม่มีสัญญา, ในรูปแบบของลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนจากผู้ว่าจ้าง หรือลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนจากองค์กรอื่น
  • ลูกค้า: บุคคลหรือองค์กรที่ผู้ใช้เป็นตัวแทนแก้ไขให้ ลูกค้ามักมีความเกี่ยวข้องกับบทความ
  • ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ: ความสัมพันธ์อื่นที่อาจเกี่ยวข้อง รวมถึงทว่าไม่จำกัดต่อบุคคลหรือธุรกิจที่เป็นผู้ให้ข้อความ รูปภาพ หรือสื่ออื่นสำหรับการแก้ไขรับจ้าง หากผู้แก้ไขรับจ้างทำงานเป็นผู้รับจ้าง "ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ" จะรวมถึงนายหน้าที่มีส่วนร่วมในธุรกรรม
  • การมีส่วนร่วม: ข้อความหรือไฟล์ใด ๆ ที่ถูกเพิ่มบนวิกิพีเดีย รวมถึงการมีส่วนร่วมบนหน้าพูดคุยและกระบะทราย และเนื้อหาที่ถูกเพิ่มบนบทความตามคำสั่งของผู้แก้ไขรับจ้าง
  • การชำระเงิน หรือ ค่าตอบแทน: เงิน, สิ่งของ หรือการบริการ

ตัวอย่างเช่น หากแผนกประชาสัมพันธ์ของบริษัทกอไก่จ้างวานให้ผู้แก้ไขปรับเปลี่ยนบทความเกี่ยวกับบริษัทขอไข่ ถือได้ว่าบริษัทกอไก่เป็นนายจ้างของผู้แก้ไขสำหรับการมีส่วนร่วมเหล่านั้น โดยมีบริษัทขอไข่เป็นลูกค้า หากคุณถูกจ้างวานให้แก้ไขวิกิพีเดียโดยบริษัทประชาสัมพันธ์ คุณจำเป็นต้องเปิดเผยเกี่ยวกับทั้งบริษัทประชาสัมพันธ์และลูกค้าของบริษัท[2] บ่อยครั้งที่นายจ้างและลูกค้าอาจเป็นผู้เดียวกัน หากบริษัทขอไข่จ้างวานผู้แก้ไขให้เขียนเกี่ยวกับบริษัทโดยตรง จะถือว่าบริษัทขอไข่เป็นทั้งนายจ้างและลูกค้า

เพื่อจุดประสงค์นี้ผู้ฝึกงานก็นับว่าเป็นลูกจ้างเช่นกัน ดังนั้นหากผู้ฝึกงานได้รับคำสั่งหรือถูกคาดหมายให้แก้ไขวิกิพีเดียเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกงานก็จำเป็นต้องเปิดเผยเกี่ยวกับสิ่งนี้เช่นกัน

วิธีการเปิดเผย[แก้]

ผู้แก้ไขที่ได้รับหรือคาดหมายว่าจะได้รับค่าตอบแทนสำหรับการมีส่วนร่วมจำเป็นต้องเปิดเผยนายจ้าง ลูกค้า และความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามีส่วนร่วมรับจ้างทั้งหมด พวกเขาจำเป็นต้องเปิดเผยบนหน้าผู้ใช้หลัก หรือบนหน้าพูดคุยของบทความที่มีส่วนร่วมรับจ้าง หรือในความย่อการแก้ไข

ผู้แก้ไขรับจ้างที่ไม่สามารถเปิดเผยนายจ้าง ลูกค้า หรือความสัมพันธ์เชิงธุรกิจไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการแก้ไข โดยไม่สามารถนำสัญญาทางกฎหมายระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือบริษัทในการที่จะรับรู้หรือใช้ข้อมูลร่วมกันแต่จะไม่เปิดเผยเนื้อหาความรู้หรือข้อมูใด้ๆต่อบุคคลที่สาม (non-disclosure agreement) มาหักล้างข้อกำหนดนี้ได้ และจะต้องไม่มีการปกปิดเกี่ยวกับนายจ้าง ลูกค้า หรือความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ

ข้อกำหนดนี้รวมถึงการที่ผู้แก้ไขรับจ้างเขียนเนื้อหาไว้ที่อื่นหรือบนหน้าผู้ใช้จากนั้นจึงให้ผู้แก้ไขอีกคนย้ายเนื้อหามายังเนมสเปซหลักในนามของเขา กรณี้แบบนี้ผู้แก้ไขทั้งสองคนจำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน

นโยบายผลประโยชน์ขัดกันแนะแนะนำให้ผู้แก้ไขใส่แม่แบบ{{ผู้มีส่วนร่วมรับจ้าง}}ในส่วนบนของหน้าพูดคุยของการมีส่วนร่วมจ้างวาน (และกรอกพารามิเตอร์ทั้งหมด) พร้อมแสดงรายการสิ่งที่พวกเขามีส่วนร่วมแบบรับจ้างทั้งหมดบนหน้าผู้ใช้หลัก โดยสามารถใช้แม่แบบ{{จ้างวาน}}

บนหน้าผู้ใช้วิกิพีเดียของพวกเขา ผู้แก้ไขรับจ้างจำเป็นต้องแสดงลิงก์ไปยังบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดที่ยังอยู่ระหว่างปฏิบัติการบนเว็บไซต์ที่พวกเขาโฆษณาบริการแก้ไขวิกิพีเดียที่พวกเขาได้รับค่าตอบแทน หลังการโฆษณาถูกนำออก ลิงก์จากหน้าผู้ใช้บนวิกิพีเดียจะต้องคงแสดงไว้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งสัปดาห์[3]

ความโปร่งใสเหล่านี้ช่วยให้ชุมชนวิกิพีเดียเข้าใจและวิเคราะห์แหล่งที่มาและขอบข่ายของการแก้ไขรับจ้าง ทำให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่มาจากผู้แก้ไขรับจ้างรับกับนโยบายและแนวปฏิบัติสำคัญของวิกิพีเดีย

ชาววิกิพีเดียประจำการ[แก้]

ชาววิกิพีเดียประจำการที่ได้รับค่าตอบแทนจำเป็นต้องเปิดเผยองค์กร (GLAM หรือองค์กรอื่น) ที่เป็นผู้จ้าง[2]

ผู้ดูแลระบบ[แก้]

ผู้ดูแลระบบที่ทำการแก้ไขรับจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการเปิดเผยนายจ้าง ลูกค้าและความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ เช่นเดียวกับผู้ใช้อื่น และไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิพิเศษเพื่อแก้ไขรับจ้าง นโยบายผู้ดูแลระบบกล่าวว่า "ไม่สามารถใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรับจ้างทุกชนิด ยกเว้นสำหรับ ชาววิกิพีเดียประจำการ หรือ เมื่อเป็นการจ้างวานโดยมูลนิธิวิกิมีเดียหรือองค์กรในเครือของมูลนิธิวิกิมีเดีย"

การโฆษณาและประชาสัมพันธ์โดยผู้แก้ไขรับจ้าง[แก้]

ผู้แก้ไขรับจ้างไม่สามารถโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์การบริการของพวกเขาบนวิกิพีเดีย โดยการเปิดเผยตามข้อกำหนดการใช้งานและนโยบายนี้ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์

การเปลี่ยนนโยบายนี้[แก้]

การเปลี่ยนนโยบายนี้สามารถทำได้สองวิธี:

ขณะอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย คุณต้องเปิดเผยว่าถูกจ้างวานให้แก้ไขวิกิพีเดียหรือไม่

แนวปฏิบัติผลประโยชน์ขัดกัน[แก้]

การแก้ไขรับจ้างอยู่ภายใต้การควบคุมของแนวปฏิบัติชุมชน วิกิพีเดีย:ผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งไม่แนะนำให้ผู้ที่มีผลประโยชน์ขัดกันรวมถึงผู้แก้ไขรับจ้างทำการแก้ไขบทความที่ได้รับผลกระทบด้วยตนเอง ทว่าควรเสนอเนื้อหาบนหน้าพูดคุยของบทความเพื่อให้ผ่านการทบทวนก่อนการเผยแพร่

คำถามพบบ่อยของข้อกำหนดการใช้งานมูลนิธิแนะนำว่า "บางโครงการมีนโยบายผลประโยชน์ขัดกันที่แตกต่างออกไป (และรัดกุมกว่า) บทบัญญัตินี้ในข้อกำหนดการใช้งาน นโยบายเหล่านี้อาจห้ามไม่ให้แก้ไขโดยอาสาบางรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การมีส่วนร่วมในบทความเกี่ยวกับตนเอง"[2]

อ้างอิง[แก้]

หมวดหมู่:แนวปฏิบัติวิกิพีเดีย หมวดหมู่:นโยบายทางกฏหมายวิกิพีเดีย หมวดหมู่:การแก้ไขผลประโยชน์ขัดกันบนวิกิพีเดีย