ผู้ใช้:NELLA32/draft th elec66 bkk

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

← พ.ศ. 2562 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ครั้งต่อไป →

33 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ลงทะเบียน4,483,319[1]
  First party Second party
 
Pita Limjaroenrat - 2 (cropped).jpg
พรรค เพื่อไทย ก้าวไกล
เลือกตั้งล่าสุด 9 ที่นั่ง, 19.49% 9 ที่นั่ง, 25.93%[a]
ที่นั่งก่อนหน้า 8 5

  Third party Fourth party
 
Prawit Wongsuwan (2018) cropped.jpg
อนุทิน ชาญวีรกูล 2019 ครอบตัด.jpg
พรรค พลังประชารัฐ ภูมิใจไทย
เลือกตั้งล่าสุด 12 ที่นั่ง, 25.53% 0 ที่นั่ง, 1.40%
ที่นั่งก่อนหน้า 4 2

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รวมไทยสร้างชาติ[b]

นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

ยังไม่ประกาศ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คาดว่าจะจัดขึ้นไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ด้วยระบบลงคะแนนแบบคู่ขนาน ประกอบด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ ซึ่งกรุงเทพมหานครมีจำนวนเขตเลือกตั้งมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งสิ้น 33 เขต เพิ่มจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 3 เขต

เบื้องหลัง[แก้]

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง[แก้]

หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ว่าด้วยการแก้ไขระบบการเลือกตั้ง และปรับสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้กรุงเทพมหานครมีจำนวนเขตเลือกตั้งมากขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2562 เดิม 30 เขต เป็น 33 เขต ทำให้จำเป็นต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่

กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครได้เผยแพร่รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 5 รูปแบบ[2] อย่างไรก็ตามเกิดข้อท้วงติงว่ารูปแบบทั้ง 5 ที่จัดทำมา ขัดกับหลักเกณฑ์ "ผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของจำนวนราษฎรเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น"[3] จึงได้มีการเผยแพร่รูปแบบเขตเลือกตั้งเพิ่มเติมอีก 3 แบบในเวลาถัดมา[4]

มีการตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งกรุงเทพฯ รูปแบบที่ 6, 7 และ 8 ที่เผยแพร่ออกมาภายหลัง พบการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ หลายพื้นที่ฐานเสียงของเพื่อไทยถูกหั่นบางแขวงไปรวมกับเขตอื่น, หลายเขตถูกฉีกแขวงออกไปคนละทิศละทาง, ขณะที่ บางเขตที่ผู้สมัครฝั่งรัฐบาลมีความเข้มแข็งถูกจัดวางไว้เต็มเขต, บางเขตที่เดิมพรรคผู้มีอำนาจจะชนกับผู้สมัครจากพรรคฝ่ายตรงข้ามที่เข้มแข็ง ถูกแบ่งให้ไปสู้กับผู้สมัครคนอื่นอีกโซนที่กำลังอ่อนกว่า[5][6]

คอลัมนิสต์กรุงเทพธุรกิจตั้งข้อครหาว่า "ต้องการสร้างอุปสรรคให้เพื่อไทย สกัดแลนด์สไลด์"[5] พรรคเพื่อไทยประณามว่าเป็น "รัฐประหารโดยการแบ่งเขตเลือกตั้ง"[7]

ว่าที่ผู้สมัคร[แก้]

พรรคก้าวไกล[แก้]

มีนาคม 2566 พรรคก้าวไกลเปิดตัว ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ หลานของ วิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลงชิง ส.ส. เขตจตุจักร แทน

พรรคประชาธิปัตย์[แก้]

พรรคพลังประชารัฐ[แก้]

พรรคเพื่อไทย[แก้]

พรรคภูมิใจไทย[แก้]

รายชื่อว่าที่ผู้สมัครเรียงตามเขต[แก้]

การรณรงค์หาเสียง[แก้]

  1. Lab, Rocket Media (2023-02-23). "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง '66 รายจังหวัด จำแนกตามช่วงอายุ [ข้อมูลดิบ]". Rocket Media Lab.
  2. "กกต.กทม.โชว์ 5 รูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 66 เปิดแสดงความเห็น 4-13 ก.พ." bangkokbiznews. 2023-02-03.
  3. MINGKWAN, PAIRUCH. "'สมชัย' เตือน กกต.รื้อแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.ใหม่ด้วยเหตุผลนี้!". เดลินิวส์.
  4. "กกต.สั่ง 5 จว. กทม. ชลบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี สมุทรปราการ แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่". thansettakij. 2023-02-06.
  5. 5.0 5.1 "สลายฐาน กทม. "เพื่อไทย" ซอยแขวง แบ่งเขต สกัด แลนด์สไลด์". bangkokbiznews. 2023-02-22.
  6. "สแกน กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. พลังประชารัฐ ล็อกสเป็ก ส.ส. 10 ที่นั่ง". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "'เพื่อไทย' ค้านแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.แบบที่ 6-7-8 เหตุขัด พ.ร.ป.เลือกตั้ง - กกต.เตรียมหาข้อยุติคำนวณ ส.ส." prachatai.com.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน