ผู้ใช้:Mork boy/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเปลี่ยนแปลงทางดินแดนของสยามและไทย[แก้]

# รัชสมัย วันที่ ดินแดน ให้ เนื้อที่ (ตร.กม.)
1 รัชกาลที่ 4 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 แคว้นเขมร และเกาะอีก 6 เกาะ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) 124,000
2 รัชกาลที่ 5 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 สิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหก อินโดจีนของฝรั่งเศส 87,000
3 รัชกาลที่ 5 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) บริติชราช 30,000
วันที่ ดินแดนพิพาท เนื้อที่ รัฐคู่พิพาท หมายเหตุ
3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และ ราชอาณาจักรลาว 143,000 อินโดจีนของฝรั่งเศส สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 (Traité franco-siamois du 3 octobre 1893)
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (จำปาศักดิ์ ไชยบุรี) 25,500 อินโดจีนของฝรั่งเศส สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122
23 มีนาคม พ.ศ. 2450 พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ 51,000 อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125[1]
10 มีนาคม พ.ศ. 2452 ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู 38,455 สหภาพมาลายา (อังกฤษ) สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[2]
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ 51,326 อินโดจีนของฝรั่งเศส อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส[3]
30 กันยายน พ.ศ. 2484 เกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง ? อินโดจีนของฝรั่งเศส แถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส[4]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ
และเกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง
? อินโดจีนของฝรั่งเศส ความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส (อนุสัญญาโตเกียว)[5]

พ.ศ. 2450[แก้]

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (พ.ศ. 2449 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 พร้อมด้วยสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ซึ่งลงนามโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายวี คอลแลง (เดอ ปลังซี) โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[1]

  • รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ กับเมืองศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส (ข้อ 1)
  • รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมลิง[6]ไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม (ข้อ 2)

พ.ศ. 2452[แก้]

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 (พ.ศ. 2451 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[2] และสัญญาว่าด้วยเขตรแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 127 คฤสตศักราช 1909[7] ซึ่งลงนามโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายราลฟ์ แปชยิด โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

  • รัฐบาลสยามยอมโอนเมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองไทรบุรี เมืองปลิศ และเกาะที่ใกล้เคียงเมืองเหล่านั้นให้แก่รัฐบาลอังกฤษ

พ.ศ. 2484[แก้]

ภายหลังกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[3]

  • เขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสจากเหนือลงมาให้เป็นไปตามแม่น้ำโขงตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตแดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศส และพม่า [สามเหลี่ยมทองคำ] จนถึงจุดที่แม่น้ำโขงตัดเส้นขนานที่สิบห้า [บริเวณเมืองจำปาศักดิ์]
  • ใช้เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่งเป็นเขตแดน แต่เกาะโขงยังคงเป็นของอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขนตกเป็นของประเทศไทย
  • เขตแดนจะลากต่อไปทางใต้ บรรจบกับเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) [บริเวณเมืองธาราบริวัตร์ ตรงข้ามเมืองสตึงแตรง จนถึงปากน้ำสตึงกมบต]
  • ในทะเลสาบเขมร เขตแดนได้แก่เส้นโค้งวงกลมรัศมี 20 กิโลเมตร จากจุดที่ระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงดนตรี)
  • ต่อจากปากน้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตแดนใหม่จะเป็นไปตามพรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้บรรจบกับเขตแดนระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส (เขากูป)

ภายใต้อนุสัญญานี้ อาณาเขตที่จะโอนมาเป็นของประเทศไทย ประกอบไปด้วยแคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 51,326 ตารางกิโลเมตร โดยรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดระเบียบการปกครองและบริหารดินแดนดังกล่าวเสมือนดินแดนในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 5 ปีครึ่ง

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยยังได้รับเกาะดอนต่างๆ เป็นจำนวนถึง 77 แห่งในลำแม่น้ำโขงตามความตกลงกำหนดเส้นเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส[4]

พ.ศ. 2489[แก้]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[5][8]

  • อนุสัญญากรุงโตเกียว ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เป็นอันยกเลิก และสถานภาพก่อนอนุสัญญานั้นเป็นอันกลับสถาปนาขึ้น
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๓๔๔ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๑๒๖
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘ เล่ม ๒๖ น่า ๗๐๑ สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๘๔ เล่ม ๕๘ หน้า ๘๕๗
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ หน้า ๑๓๔๗ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๘๔ แถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
  5. 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา ฉะบับพิเศษ หน้า ๓ ตอนที่ ๗๙ เล่ม ๖๓ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๙ ความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส'
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๓๖๘ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๑๒๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘ เล่ม ๒๖ น่า ๗๐๕ สัญญาว่าด้วยเขตรแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๑๐ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ คฤสตศักราช ๑๙๐๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา ฉะบับพิเศษ หน้า ๒๖ ตอนที่ ๗๙ เล่ม ๖๓ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๙ ประกาศ ยกเลิกประกาศใช้อนุสัญญาสันติภาพและบรรดาภาคผนวกระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส