ผู้ใช้:KenContributor/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ (อังกฤษ: Thailand Physics Olympiad: TPhO) เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติของประเทศไทย เริ่มต้นจาก การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก สอวน. (POSN-Physics Olympiad) ครั้งที่ 1 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ในภายหลัง การแข่งขันจัดขึ้นปีละ 1 ครั้งและศูนย์สอวน. ต่าง ๆ ทั่วประเทศเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)

ประวัติ[แก้]

การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งแรก ในป์ พ.ศ. 2545 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา เมื่อวันที่ 17 -21 เมษายน 2545 เดิมเรียกว่า การจำลองการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยมี จุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชีย ครั้งที่ 4 เพื่อเฉลิมพระ เกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานมูลนิธิ สอวน. และองค์อุปถัมภ์โครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ซึ่งต่อมาได้เรียนว่าการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติThai Physics Olympiad (TPhO) และ มีการ แข่งขันเป็นประจำทุกป์ โดยมีการเวียนการเป็นเจ้าภาพไปตามศูนย์ สอวน. ต่าง ๆ คณะกรรมการฝ่ายวิชาฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการกลางวิชาฟิสิกส์จากมูลนิธิ สอวน. และกรรมการจากศูนย์ สอวน. วิชาฟิสิกส์ทั่วประเทศ จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาหลักสูตรเพื่อใช้ในการอบรมร่วมกัน และ ใช้วิธีการสอบมาตรฐานเดียวกันกับการแข่งขัน International Physics Olympiad (IPhO)

กติกาและรูปแบบการแข่งขัน[แก้]

รูปแบบการจัดการแข่งขัน จัดให้มีการสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้ ภาคทฤษฎี ใช้เวลาสอบ 4 ชั่วโมง มีข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ ข้อสอบจะอยู่ในระดับค่อนข้างยาก ผู้เข้า สอบต้องใช้ความสามารถและความพยายามเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนหลายชั้น ภาคปฏิบัติ ใช้เวลาสอบ 4 ชั่วโมง มี 1 หรือ 2 ข้อ เน้นกระบวนการและทักษะเกี่ยวกับการทดลอง อัตราส่วนของคะแนน คะแนนภาคทฤษฎีต่อคะแนนภาคปฏิบัติเป็น 30:20 คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ของศูนย์เจ้าภาพเป็นผู้ออกข้อสอบและตรวจข้อสอบ โดยมีกรรมการจากมูลนิธิ สอวน. ร่วมพิจารณาด้วย อาจารย์ของ แต่ละศูนย์มีโอกาสได้ร่วมพิจารณาข้อสอบและตรวจผลการสอบของนักเรียนของตนเอง และมีโอกาสชี้แจง หากเห็นว่า ไม่เหมาะสม รางวัล จะมีการจัดระดับเป็น เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และเกียรติคุณประกาศ โดยใช้เกณฑ์ มาตรฐานที่ตกลงกันระหว่างคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและอาจารย์จากทุกศูนย์ ซึ่งนักเรียนที่มีคะแนนอันดับที่ 1-25 จะได้รับการคัดเลือกส่งเข้าร่วมการแข่งขันในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่าง ประเทศที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. ต่อไป นักเรียน ครู และอาจารย์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน มีโอกาสได้ทัศนศึกษา เพื่อเปิดโลกทัศน์ด้วย

การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติที่ผ่านมา[แก้]

TPhO เมืองที่จัดการแข่งขัน ศูนย์เจ้าภาพ วันที่จัดการแข่งขัน
การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ
20 นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร 5 ธันวาคม 2564
19 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 12 ธันวาคม 2563
18 สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 28 พฤษภาคม 2562
17 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29 พฤษภาคม 2561
16 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 9 มิถุนายน 2560
15 ปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี 3 มิถุนายน 2559
14 นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3 เมษายน พ.ศ. 2558
13 นครปฐม มหิดลวิทยานุสรณ์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
12 ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
11 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
10 กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 25-29 เมษายน พ.ศ. 2554
9 พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร 3-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
8 นครนายก โรงเรียนเตรียมทหาร 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
7 นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก สอวน.
6 อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
5 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
4 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยสุรนารี 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
3 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
2 สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
1 นครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

อ้างอิง[แก้]