ข้ามไปเนื้อหา

แกรนด์เอ็กซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์เอ็กซ์
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงคันทรี่ป็อป, ลูกทุ่ง, ป็อปร็อก, ดิสโก้, สตริงคอมโบ, โฟล์ค
ช่วงปีพ.ศ. 2512 – 2533
พ.ศ. 2546 – 2562
ค่ายเพลงเสกสรรเทป-แผ่นเสียง
เมโทร
อโซน่า
ที.เอส.อี. กรุ๊ป
นิธิทัศน์ โปรโมชั่น
แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่
วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
สมาชิก
อดีตสมาชิกวราวุธ หิรัญวรรณ เบส
กำธร คุณานุกูล กีตาร์คอร์ด
สมมาตร ธูปจินดา ออร์แกน
ดำรง ชื่นเจริญสุข โฆษก,ร้องนํา
ณรงค์ เผือกห้าวหาญ ร้องนำ
สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน
ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน
จำรัส เศวตาภรณ์ (จ๋าย) ร้องนำ,กีต้าร์
ไอศูรย์ วาทยานนท์ (โอ๋) กีต้าร์,ร้องนำ
สุธี แสงเสรีชน (ไก่) ร้องนํา,กีต้าร์
อริชัย อรัญนารถ (เอ) เบส,แซ็กโซโฟน,ร้อง
จอนนี่ แอนโฟเน่ กลอง,คีย์บอร์ด,ร้องประสาน,ร้อง
พิทพล โชติสรยุทธ กลอง,คีย์บอร์ด
เสน่ห์ ศุภรัตน์ (แดง) ทรัมเป็ต,ร้อง (เสียชีวิตแล้ว)
จาคมัย ศรีวาลัย กลอง
ประสิทธิ์ ไชยะโท (เบิ้ม) กลอง,ร้อง (เสียชีวิตแล้ว)

แกรนด์เอ็กซ์ (อังกฤษ: GRAND EX) เป็นวงดนตรีแนวสตริงคอมโบที่มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน ก่อตั้งโดย นคร เวชสุภาพร ชักชวนเพื่อน ๆ ที่วิทยาลัยบพิตรพิมุข ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ต่อมาประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อแกรนด์เอ็กซ์

ที่มาของชื่อวง

[แก้]

เพราะความชื่นชอบเพลงใต้ดินของวงแกรนด์ฟังก์เรลโรด กับวงเดอะ จิมมี่ เฮนดริกซ์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ จึงนำชื่อของทั้งสองวงมารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เนื่องจากออกเสียงยาก ประกอบกับในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กซ์โป ซึ่งในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงได้นำมาใช้และทำให้ชื่อวงถูกทอนลงกลายเป็น EX’ แทน จึงเรียกว่า แกรนด์เอ็กซ์

ประวัติ

[แก้]

ก่อตั้งวง

[แก้]

วงแกรนด์เอ็กซ์ รวมตัวกันก่อตั้งใน พ.ศ. 2512 โดยกลุ่มนักเรียนชั้น ม.ศ. 5 วิทยาลัยบพิตรภิมุข นำโดย นคร เวชสุภาพร (ตำแหน่งกีตาร์โซโลและหัวหน้าวง) ร่วมด้วยเพื่อน ๆวิทยาลัยเดียวกัน คือ กำธร คุณานุกูล (กีตาร์คอร์ด) วราวุธ หิรัญวรรณ (เบส) ดำรง ชื่นเจริญสุข (โฆษกและนักร้องนำ) ณรงค์ เผือกห้าวหาญ (นักร้องนำ), ประสิทธิ์ ไชยะโท (กลอง) และ สมมาตร ธูปจินดา (ออร์แกน)

สมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์เข้าร่วมประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยใน พ.ศ. 2515 ประเภทนักเรียนนักศึกษา ซึ่งการประกวด 2 ครั้งก่อนหน้านั้น คือ พ.ศ. 2512, และ พ.ศ. 2513 ( พ.ศ. 2514 งดเพราะเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง) โดยวง “ดิอิมพอสซิเบิ้ล” คว้าแชมป์ไปครองทั้งสองครั้ง รวมถึงครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2515 ด้วย

ผลการประกวดในประเภทนักเรียนนักศึกษานั้น วงมัมมี่ได้เป็นแชมป์ ส่วนแกรนด์เอ็กซ์ได้รางวัลรองชนะเลิศคู่กับรางวัลขวัญใจสื่อมวลชนมาครอง ด้วยแนวทางการแต่งตัวที่เข้าตาสื่อ คือแม้จะเล่นเพลงร็อคดุ ๆ แต่พวกเขาแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ใส่กางเกงขายาวสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนคไท สวนทางกับวงอื่น ๆ

หลังการประกวด สมาชิกบางคนเรียนจบ โดยแต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่นคร เวชสุภาพร ยังคงหาสมาชิกวง โดยลงทุนถึงขนาดสละสิทธิ์ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยที่เอ็นท์ติด แต่เลือกที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยเปิดที่เพื่อน ๆ นักดนตรีส่วนใหญ่เรียนอยู่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ้อมดนตรีและการทำวง

วงแกรนด์เอ็กซ์เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเล่นตามคลับ ตามบาร์ และต่างจังหวัด โดยเล่นอยู่สักประมาณ 8 เดือน ก่อนที่เพื่อน ๆ บางคนในวงจะลาออกไป นคร เวชสุภาพรจึงได้ออกเดินทางหาสมาชิกคนใหม่ พร้อมกับปรับแนวทางของวงแกรนด์เอ็กซ์ใหม่เพื่อให้เป็นวงสตริงคอมโบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเสริมทัพทีมเครื่องเป่า คือ ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน), เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ด) และสมศักดิ์ อภิวัฒน์วีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาในราว พ.ศ. 2517 และการเข้ามาของนักร้องนำคนใหม่ คือ วสันต์ แต้สกุล (นามสกุลตอนนั้น)

พ.ศ. 2519 มือเบสในยุคก่อตั้งกับมือคีย์บอร์ดลาออกไป วสันต์จึงต้องหันไปเล่นคีย์บอร์ดอีกทาง ส่วนมือเบสได้แอ๊ด - ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ มาเป็นสมาชิกคนใหม่

ในปีเดียวกันนี้ แกรนด์เอ็กซ์ได้ จำรัส เศวตาภรณ์ มาเพิ่มในฐานะนักร้องนำและกีตาร์คอร์ด ก่อนออกซิงเกิ้ลแรก “คู่นก” ตามมาใน พ.ศ. 2520

หลังจากนั้นวงแกรนด์เอ็กซ์ก็ได้ออกผลงาน ทัวร์คอนเสิร์ต และรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อีกหลายปี จนกระทั่งได้ประกาศยุบวงใน พ.ศ. 2562 โดยจัดคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในวันที่ 3 สิงหาคม ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[1]

สมาชิก

[แก้]

สมาชิกดั้งเดิม

[แก้]
  • นคร เวชสุภาพร - หัวหน้าวงและมือกีตาร์
  • ประสิทธิ์ ไชยะโท - มือกลอง (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
  • วราวุธ หิรัญวรรณ - มือเบส
  • กำธร คุณานุกูล - มือกีตาร์และคอร์ด
  • สมมาตร ธูปจินดา - ออร์แกน
  • ดำรง ชื่นเจริญสุข - โฆษกและร้องนำ
  • ณรงค์ เผือกห้าวหาญ - ร้องนำ

สมาชิกยุคออกแผ่นซิงเกิ้ล

[แก้]
  1. นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
  2. ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
  3. วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
  4. เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
  5. สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน (ขอลาออกเนื่องจากมีอาการไม่สบาย ได้ โชคดี พักภู่ เข้ามาเล่นทรอนโบน)
  6. ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน (ลาออกจากวงต่อมาพนัส หิรัญกสิ เข้ามาเล่นแซกโซแฟนแทน)
  7. ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
  8. จำรัส เศวตาภรณ์ กีตาร์, ร้องนำ (ลาออกจากวงไปเพราะต้องไปช่วยกิจการของทางบ้าน)

สมาชิกหลัก

[แก้]
  1. นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง) (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531)
  2. ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้องนำ (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531) (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
  3. วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
  4. เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528) (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
  5. ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
  6. พนัส หิรัญกสิ แซ็กโซโฟน,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
  7. โชคดี พักภู่ ทรอมโบน,ร้องนำ (พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2531)
  8. ดนุพล แก้วกาญจน์ ร้องนำ (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2528)
  9. ศรายุทธ สุปัญโญ คีย์บอร์ด,ร้องนำ (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527)

สมาชิกเพิ่มเติม

[แก้]

ผลงาน

[แก้]

คู่นก (2519 ซิงเกิลเพลงไทยชุดแรก)

  1. คู่นก (จำรัส)
  2. ช้าหน่อยรัก (จำรัส)
  3. เพ้อรัก (นคร)
  4. เธอเท่านั้น (นคร)

ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2521)

  1. สาวอีสานรอรัก
  2. หลังคาแดง
  3. ฉันทนาที่รัก
  4. น้องใส่เสื้อลาย
  5. หิ้วกระเป๋า
  6. ปูไข่ไก่หลง
  7. ดอกอะไร
  8. สาวผักไห่
  9. แสบเข้าไปถึงทรวง
  10. หมดเสียแหละดี
  11. นิ้งหน่อง
  12. บ้านนี้ฉันรัก
  13. เหล้าจ๋า
  14. น้องใส่เสื้อลาย​ (บรรเลง)​
  15. สาวผักไห่​ (บรรเลง)​
  16. หลัง​คาแดง​ (บรรเลง)​
  17. สาวอีสาน​รอรัก​ (บรรเลง)​
  18. ปูไข่ไก่หลง​ (บรรเลง)​

ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)

  1. จำอ้ายได้บ่นาง
  2. สาวอยู่บ้านได๋
  3. เทพธิดาเทวี
  4. ฝนตกรถติด
  5. หงส์ปีกหัก
  6. รักข้ามคลอง
  7. คุณนายโรงแรม
  8. แตงเถาตาย
  9. มอง
  10. ไก่นาตาฟาง
  11. ใครลืมใครก่อน
  12. บ้านใกล้เรือนเคียง

เขิน (กรกฎาคม 2523)

  1. เขิน (นคร)
  2. เธอคือหัวใจ​ (ดนุพล)​
  3. โอ้รัก​ (ดนุพล)​
  4. รักแรกพบ (พนัส)​
  5. กล่อมรัก (ดนุพล)​
  6. ดอกไม้ ​
  7. พบเธอในฝัน (ดนุพล)
  8. ช่างเถอะวันนี้​ (ประสิทธิ์)​
  9. สัญญา (นคร)​
  10. ไกลตา ใกล้ใจ (เสน่ห์)

ผู้หญิง (มีนาคม 2524)

  1. แม่ใจร้าย (นคร)
  2. ต้อยติ่ง (ดนุพล)​
  3. พลอยหุง (ดนุพล)​
  4. มิใช่กากี (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
  5. เห็นแล้วหวั่นใจ (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
  6. พระรามหก (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
  7. พระรามหก (ดนุพล)
  8. อำแดงป้อม (พนัส)
  9. แม่จ๋า (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
  10. สิ้นสวาท (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)

‘’บันทึกการแสดงสดที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พฤศจิกายน 2523)

  1. หัวใจมีปีก (ดนุพล)
  2. พบรัก (ดนุพล)
  3. ได้ยังไง (นคร)
  4. I’ve Gotta Get A Message To You (ดนุพล)
  5. Spirits Havin’ Flown (ดนุพล)
  6. Another Brick In The Wall (วสันต์)
  7. Babe (ดนุพล)
  8. More Than I Can Say (ดนุพล)
  9. ไกลตา - ใกล้ใจ (เสน่ห์)
  10. เขิน (นคร)

แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524) (วงเรนโบว์ได้นำอัลบั้มนี้มาร้องใหม่ใน พ.ศ. 2537)

  1. ภาพดวงใจ (เสน่ห์)
  2. ลาก่อนความรัก (ดนุพล)
  3. ลมสวาท (ดนุพล)
  4. เกิดมาพึ่งกัน (นคร)
  5. คนธรรพ์รำพึง (ดนุพล)
  6. บัวน้อยคอยรัก (นคร)
  7. นิราศนุช (ดนุพล)
  8. ไก่ฟ้า (ประสิทธิ์)
  9. ทาสรัก (ดนุพล)
  10. สวรรค์ในเรือเพลง​ (ร้องหมู่)​

บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)

  1. กลิ่นดอกโศก (นคร)
  2. อยากมีรัก (ดนุพล)
  3. บุพเพสันนิวาส (ร้องหมู่)
  4. อุษาสวาท (ดนุพล)
  5. นางนวล (พนัส)
  6. ดาวล้อมเดือน (ร้องหมู่, ดนุพล)​
  7. สุดดินสุดฟ้า​ (ดนุพล)​
  8. ปทุมไฉไล (ร้องหมู่)​
  9. ชีวิตใหม่​ (นคร)​
  10. รักเดียว (วสันต์)​

นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)

  1. บัวตูมบัวบาน (นคร)​
  2. ผมไปไม่พ้น (ทนงศักดิ์)
  3. ลืมรัก (นคร)​
  4. ง้อเพราะรัก (วสันต์)​
  5. เพ็ญโสภา (ประสิทธิ์)​
  6. อย่าเห็นกันดีกว่า (ดนุพล)
  7. คิดถึงเธออยู่ทุกลมหายใจ (พนัส)​
  8. ชั่วนิจนิรันดร (ดนุพล)
  9. สายทิพย์​ (ร้องหมู่)​
  10. อย่าหย่า (ดนุพล)​

พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)

  1. ฟลอร์เฟื่องฟ้า​ (ดนุพล)​
  2. เดียวดาย (เสน่ห์)​
  3. กังหันต้องลม​ (ดนุพล)​
  4. หนึ่งในดวงใจ (ดนุพล)
  5. สู่อนาคต​ (ประสิทธิ์)​
  6. สุขกันเถอะเรา (โชคดี)
  7. พรหมลิขิต (นคร)
  8. คิดถึง (ดนุพล)
  9. ยามรัก (ดนุพล)
  10. ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (ดนุพล)

เพชร (กันยายน 2526)

  1. เพียงสบตา (ดนุพล)
  2. ความรักคือการให้ (เสน่ห์)​
  3. น้ำค้าง (ประสิทธิ์)​
  4. เพื่อน (ดนุพล)
  5. รักในซีเมเจอร์ (นคร)
  6. ทราย (บรรเลง)​
  7. เพชร (ศรายุทธ)
  8. เจ้ากบ (วสันต์)
  9. อาลัย (วสันต์)​
  10. หญิงหนึ่งคือเธอ (พนัส)​
  11. หม้ายหัวใจ​ (ดนุพล)​
  12. ทราย (บรรเลง)​

บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)

  1. เชื่อฉัน (ดนุพล)
  2. โลกที่ไม่เท่ากัน (ดนุพล)​
  3. แอบมอง​ (ทนงศักดิ์)​ ​
  4. โบว์สีแดง (ประสิทธิ์)
  5. ผูกขวัญ (นคร)
  6. บริสุทธิ์ (บรรเลง)
  7. หนึ่งหทัย (วสันต์)​
  8. ป้าแช่ม (โชคดี)
  9. วันที่จากเธอ (นคร)​
  10. ไม้ใกล้ฝั่ง (พนัส)​
  11. บริสุทธิ์ (ดนุพล)

ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)

  1. ลาวดวงเดือน (ดนุพล)
  2. เหมือนไม่เคย (ดนุพล)
  3. ถ้าฉันจะรัก (ดนุพล)
  4. ดวงใจในฝัน (ดนุพล)
  5. เท่านี้ก็ตรม (ดนุพล)
  6. จำพราก​ (ดนุพล)​
  7. ร.รอรัก (โชคดี)
  8. ธรณีสายเลือด (เสน่ห์)​
  9. ทำบุญด้วยอะไร (วสันต์)
  10. กาลเวลา (พนัส)​
  11. พรุ่งนี้ (ประสิทธิ์)​
  12. เนื้อทองของพี่ (นคร)​
  13. ลาวดวงเดือน (บรรเลง)​

หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)

  1. หัวใจสีชมพู (ดนุพล)
  2. ระฆังใจ (นคร)
  3. หนทางสู่รัก (ดนุพล)
  4. หัวใจที่ถอดวาง (ดนุพล)
  5. แพรพิศวาส (ร้องหมู่)​​
  6. ลุงเชย (โชคดี)
  7. จันทร์เจ้า (ประสิทธิ์)
  8. ไกลพี่ (ดนุพล)
  9. ขอใจให้พี่ (ดนุพล)
  10. เกินฝัน (นคร)

สายใย (กรกฎาคม 2528)

  1. คนธรรพ์รำพัน (ดนุพล)
  2. แปรงสีฟัน (นคร)​
  3. รักอำพราง (ไอศูรย์)​
  4. สายัณห์รัญจวน (ดนุพล)
  5. ไกลบ้าน (ดนุพล)
  6. สายใย (ไอศูรย์)
  7. กีฬามหาสนุก (โชคดี)
  8. ฝันดี (ประสิทธิ์)​
  9. ยังคอย (ดนุพล)
  10. ไม่รักไม่ว่า (ดนุพล)
  11. ยอม (ดนุพล)
  12. รักเอย (นคร)

ขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)

  1. วัยสีชมพู​ (นคร)​
  2. ทายาท
  3. เหตุผลที่ฉันร้องเพลง
  4. คนสวย (จอนนี่)
  5. ทรายกับทะเล (อริชัย)
  6. เบื้องหลังตัวโน้ต
  7. วิธีแก้โลกอับเฉา
  8. ไม่มีคำว่าสาย
  9. เสียงครวญจากคนหน้าตาธรรมดา
  10. โลกสวย
  11. วัยสีชมพู (บรรเลง)

ขวดโหล 2 (2529)

  1. ขอภาพไว้คั่นตำรา (สุธี)
  2. บาดเจ็บนิด ๆ (ไอศูรย์)
  3. บ๊าย บายความรัก
  4. ยิ้มแป้น (จอนนี่)
  5. คำสารภาพของรองเท้าผ้าใบ
  6. ขอภาพไว้คั่นตำรา (บรรเลง)
  7. ข่าวสด ๆ (โชคดี)
  8. แด่ดาวหางฮัลเล่ย์
  9. หมัดสีชมพู
  10. เพียงความทรงจำ
  11. เพลงอำลา
  12. บาดเจ็บนิด ๆ (บรรเลง)

นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)

  1. เก็บรัก (ไอศูรย์)
  2. เด็กผู้หญิง
  3. ความรัก (สุธี)
  4. พี่ยังรักเธอไม่คลาย (สุธี)
  5. ฉันอยู่คนเดียว
  6. รักครึ่งใจ (นคร)
  7. แรกรัก
  8. นิรันดร์กาล (สุธี)
  9. ฝันประหลาด​ (โชคดี)​
  10. ใกล้เพียงลมหายใจ
  11. เพียงสองเรา
  12. ความหวัง

อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530)

  1. หนึ่งนาที
  2. เพียงคนเดียว (สุธี)
  3. ชู-บี-ดู-วา (ตรอกซอกซอยของความรัก)
  4. รักใครหรือยัง (อริชัย)
  5. หากรู้สักนิด (สุธี)
  6. รถไฟสายความรัก (คณิต, สุธี)
  7. อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (นคร)
  8. น้อย ๆ หน่อย (ประสิทธิ์)
  9. รักเขาข้างเดียว
  10. เพลิน
  11. ใครนะใคร ?
  12. คิด คิด คิด ถึงเธอ

ได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)

  1. ได้ไหม (สุธี)
  2. ฝืด (ร้องหมู่)
  3. เกิดเป็นผู้ชาย (สุธี)
  4. ป.ล. โปรดตอบ
  5. ฉันเข้าใจ
  6. ทนไม่ไหว
  7. สะใจกว่า
  8. ใจหาย (สุธี)
  9. อย่าทิ้งกันไป (สุธี)
  10. ซุบซิบนินทา (อริชัย)
  11. ใจมันสั่ง (ไอศูรย์)
  12. ผูกพัน (สุธี)

ซิงเกิ้ล

[แก้]
  1. หัวใจมีปีก​
  2. พบรัก
  3. แค่หลับตา (พ.ศ. 2545)

อัลบั้มพิเศษ

[แก้]

อัลบั้มชุดพิเศษบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ดวงใจกับความรัก) (ธันวาคม 2530) อัลบั้มพิเศษเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530

  1. ชะตาชีวิต
  2. ใกล้รุ่ง
  3. ลมหนาว
  4. OH I SAY
  5. แสงเทียน
  6. อาทิตย์อับแสง
  7. ค่ำแล้ว
  8. พรปีใหม่
  9. แก้วตาขวัญใจ
  10. ยามเย็น
  11. สายฝน
  12. ดวงใจกับความรัก
  13. แสงเดือน
  14. ยิ้มสู้

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มเอกซ์โอ ที่โรงละครแห่งชาติ (31 ต.ค. 2524)
  • 7 สีคอนเสิร์ต แกรนด์เอ็กซ์ (2531)
  • โลกดนตรี แกรนด์เอ็กซ์ (2524-26 ก.พ. 2532)
  • คอนเสิร์ต ชุด นิจนิรันดร์ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (4 ก.ย. 2525)
  • คอนเสิร์ต พรหมลิขิต ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (26 ธ.ค. 2525)
  • Valentine Laser Concert (13 ก.พ. 2526)
  • Grand Ex’ Fan Club Meeting Summer Holiday:GXFCMSH (with monkey show) เพื่อก่อตั้งมูลนิธิแกรนด์เอ็กซ์ ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (2 พ.ค. 2526)
  • คอนเสิร์ต Meeting Puppy Love ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (5 มิ.ย. 2526)
  • GX. Crocodile concert ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (17 ก.ค. 2526)
  • คอนเสิร์ทเปิดอัลบั้ม เพชร ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (21 ส.ค. 2526)
  • Snow White Meeting Concert ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (16 ต.ค. 2526)
  • คอนเสิร์ต เดชไซอิ๋วผจญอภินิหารซานตาครอส หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (25 ธ.ค. 2526)
  • คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม บริสุทธิ์ หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (18 มี.ค. 2527)
  • Meeting คอนเสิร์ต ลาไปอเมริกึ๋ย ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (15 เม.ย. 2527)
  • คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ดวงเดือน-ครั้งสุดท้ายของแกรนด์เอ็กซ์ (23 ต.ค. 2527)
  • คอนเสิร์ต น้ำหนึ่ง-การกลับมาของสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์ยุคคลาสสิก แสดงสดเพื่อการกุศล ที่สนามเสือป่า (30 พ.ค. 2530)
  • คอนเสิร์ต Grand Exhibition ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (16 มี.ค. 2545)
  • คอนเสิร์ต แกรนด์ เอกซ์คลูซีฟ แอบรักเธออยู่ในใจ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (13-14 ส.ค. 2546)
  • คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก ที่เสรีเซ็นเตอร์ (8 ก.ค. 2550) รวมศิลปิน
  • คอนเสิร์ต ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า ที่ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (15 มิ.ย. 2551)
  • คอนเสิร์ต A Special Tribute to Bee Gees ที่หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (13 พ.ค. 2555) เฉพาะตึ๋ วสันต์
  • คอนเสิร์ต Frame of Melody 50th แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009 ที่พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน (2 พ.ค. 2552) ในฐานะศิลปินรับเชิญ
  • คอนเสิร์ต Grand Ex' Grand Concerts ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (18 มิ.ย. 2559)
  • คอนเสิร์ต Grand Ex' บริบูรณ์-คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายอย่างเป็นทางการของแกรนด์เอ็กซ์ก่อนยุบวง ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (3 ส.ค. 2562)
  • คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อคุณภาพชีวิต ที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (19 มี.ค. 2566)

บันทึกการแสดงสด

[แก้]

บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (กุมภาพันธ์ 2523)

  1. TRAGEDY
  2. REACHING OUT
  3. MEDLEY NEW YORK MINING DISASTER/RUN TO ME/WORLD/HOLIDAY/I CAN'T SEE NOBODY/I STARTED A JOKE/MASSACHUSETTS
  4. คู่นก
  5. รักแรกพบ
  6. ในห้วงกรรม
  7. ดอกไม้ในสลัม
  8. อาหารเจ็ดวัน

บันทึกการแสดงสด หอประชุมจุฬา (มิถุนายน 2524)

  1. หัวใจมีปีก
  2. พบรัก
  3. ได้ยังไง
  4. I've Gotta a Message to You
  5. Spirits (Havin' Flown)
  6. Another Brick in the Wall
  7. Babe
  8. More Than I Can Say
  9. ไกลตา ใกล้ใจ
  10. เขิน

Valentine Laser Concert (กุมภาพันธ์ 2526)

  1. หัวใจมีปีก
  2. อยากมีรัก
  3. DADDY'S HOME
  4. เมดเล่ย์ (เขิน - ดอกไม้ - กล่อมรัก - รักแรกพบ - โอ้รัก - ทาสรัก - บัวน้อยคอยรัก)
  5. LET'S TWIST AGAIN
  6. IF YOU LEAVE ME NOW
  7. HOW CAN YOU MEND A BROKEN HEART
  8. I'VE GOTTA A MESSAGE TO YOU
  9. HARD TO SAY I'M SORRY
  10. รักเดียว

บันทึกการแสดงสดสังข์ทองคอนเสิร์ต (มิถุนายน 2527)

  1. สายทิพย์
  2. ดาวล้อมเดือน
  3. ฟลอร์เฟื่องฟ้า
  4. พลอยหุง
  5. ภาพดวงใจ
  6. IF YOU LEAVE ME NOW (ต้นฉบับ: ชิคาโก)
  7. HARD TO SAY I'M SORRY (ต้นฉบับ: ชิคาโก)
  8. เพชร
  9. EVERYBODY WANTS YOU (ต้นฉบับ: บิลลี่ สไควเออร์)
  10. หัวใจมีปีก
  11. โลกที่ไม่เท่ากัน
  12. ป้าแช่ม
  13. บริสุทธิ์น้อย

เกร็ด

[แก้]
  • ใน พ.ศ. 2528 สมาชิก 5 คนได้ขอลาออกประกอบด้วย วสันต์ สิริสุขพิสัย, เสน่ห์ ศุภรัตน์, ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, ศรายุทธ สุปัญโญ โดยที่ วสันต์, เสน่ห์, ทนงศักดิ์, พนัส ได้ตั้งวงขึ้นใหม่ในชื่อ “เพื่อน

โดยยังมีสมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”

  • ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ขอลาออกเมื่อเสร็จสิ้นอัลบั้มชุดที่ 16 เรียบร้อยแล้วไปเป็นศิลปินเดี่ยว ส่วน นคร, ประสิทธิ์ และ โชคดี หันไปทำงานเบื้องหลังแทน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวสด (23 เมษายน 2019). "แจ้ ดนุพล นำทีม แกรนด์เอ็กซ์ ชวนแฟนเพลงชมคอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย ปิดตำนานวง". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2019.
  2. คุณ ไก่ สุธีร์ แสงเสรีธรรม ????

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]