บานไม่รู้โรยป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บานไม่รู้โรยป่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Amaranthaceae
วงศ์ย่อย: Gomphrenoideae
สกุล: Gomphrena
สปีชีส์: G.  celosioides
ชื่อทวินาม
Gomphrena celosioides
Mart.
ชื่อพ้อง
  • Gomphrena serrata[1]
  • Gomphrena decumbens[1]
  • Gomphrena dispersa[1]

บานไม่รู้โรยป่า[2] เป็นไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น พุ่มต้นสูงประมาณ 40-100 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอาร์เจนตินา, โบลิเวีย, บราซิล, เอกวาดอร์, ปารากวัย และอุรุกวัย กลายเป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย, ภูฏาน, จีน, เกาะคริสต์มาส, รัฐฮาวาย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ศรีลังกา, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม และหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น บอตสวานา, แคเมอรูน, อียิปต์, เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, กานา, กินี, เคนยา, เลโซโท, หมู่เกาะมาเดรา, มาลาวี, มอริเชียส, โมซัมบิก, นามิเบีย, รวันดา, แอฟริกาใต้, แทนซาเนีย, ยูกันดา, แซมเบีย และซิมบับเว[3][4][5][6] ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

บานไม่รู้โรยป่าเป็นไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น พุ่มต้นสูงประมาณ 40-100 ซม. ต้นค่อนข้างกลมอวบน้ำ สีเขียวแกมขาว ยาวตรง กิ่งแขนงเลื้อย ทอดไปเป็นรัศมีโดยรอบ ส่วนปล้องค่อนข้างยาว ลำต้นมีขนเล็กๆปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม ก้านใบยาว 2-5 มม. โคนก้านเป็นร่องเล็ก ๆ แล้วแผ่เป็นกาบสั้น ๆ หุ้ม ข้อ ใบรูปไข่กลับยาวรี ถึงรูปใบหอกโคนใบแหลมและ attenuate ปลายใบค่อนข้างแหลมหรือมน ผิวใบมีขนสีขาวปก คลุม ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 2-3.5 ซม.

ดอกช่อเชิงลดรูปขอบขนาน เกิดที่ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 5-15 ซม. ปลายก้านดอกมี ใบประดับ รูปร่าง คล้ายใบ 1 คู่ อยู่ใต้กลุ่มดอกย่อย แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ 1 อันรูปไข่ปลายแหลม กว้าง 1.5-2 มม. ยาว2-3 มม. กลีบ 5 กลีบ แยกกัน สีขาว บางและแห้ง รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 4-8 มม. โคน กลีบมีขนสีขาว เกสรเพศผู้ จำนวน 5 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดเยื่อบาง ๆความยาวหลอด 3-4 มม. อับ เรณูสีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียว ขนาด 0.5-1 มม. ก้านเกสรสั้นๆ ยอดเกสรเป็น 2 แฉก ดอกบานเวลากลางวันจะหุบเวลากลางคืน ผลแห้งแบบผลกระเปาะ รูปไข่กลับ มีกลีบและใบประดับห่อหุ้ม เมล็ดรูปเลนส์ สีดำขนาด 1 มม.

การป้องกันและกำจัด[แก้]

  • รดน้ำให้ดินนิ่มและทำการถอนให้โคนต้นหลุดออกจากดิน หากมีจำนวนมากไม่สามารถถอนได้หมดในคราวเดียวควรตัดต้นออกก่อนที่ดอกจะแก่ สามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ระดับหนึ่ง
  • ใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต (48% เอสแอล) การใช้สารเคมีประเภทนี้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เนื่องจาก เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้มาก อัตราที่ใช้ 70 - 80 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วและเพื่อให้ได้ผลในการกำจัดควรใช้ร่วมกับสารจับใบเพื่อการเกาะติดของสารเคมีกับใบพืช

สรรพคุณ[แก้]

  • ต้น  : แก้กามโรค หนองใน ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ระดูขาว
  • ราก : แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับนิ่ว

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Gomphrena celosioides, DISCOVER LIFE
  2. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  3. http://wssa.net/wp-content/uploads/Gomphrena-celosioides.pdf
  4. http://eol.org/pages/8717482/overview
  5. "Gomphrena celosioides". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 25 January 2018.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.