บราซิลเลียนยิวยิตสู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บราซิลเลี่ยน ยูยิสสู)
บราซิลเลียนยิวยิตสู

บราซิลเลียนยิวยิตสู (อังกฤษ: Brazillian jiu-jitsu) เรียกสั้นๆว่า BJJ เป็นศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ซึ่งมีลักษณะเด่นในการต่อสู้จับล็อกบนพื้น แต่ก็มีจุดเด่นทั้งการทุ่มและการควบคุมคู่ต่อสู้จากทางด้านบน จินตนาการง่ายๆ คือ คล้ายกับการเอากีฬายูโดมาผสมกับมวยปล้ำแล้วมีการฝึกท่าจับล็อกบนเพิ่มเข้าไป

วิชาบราซิลเลียนยิวยิตสูถือว่าเป็นพื้นฐานของกีฬาต่อสู้แบบผสม (mixed martial arts เรียกสั้น ๆ ว่า MMA คือกีฬาต่อสู้ที่เอาศิลปะการต่อสู้หลายๆอันมาผสมกัน โดยสู้กันโดยใช้เทคนิคอะไรก็ได้ขอเพียงให้ฝ่ายตรงข้ามยอมแพ้หรือสลบไป) ซึ่งจะพบว่านักสู้ที่มีชื่อเสียงอย่างในรายการ MMA ชื่อดัง UFC นั้นจะต้องผ่านการฝึกบราซิลเลียนยิวยิตสูมาแล้วทั้งสิ้น อาทิเช่น Nate Diaz, Anderson Silva, Jose Aldo

บราซิลเลียนยิวยิตสูคืออะไร[แก้]

บราซิลเลียนยิวยิตสู คือศิลปะการต่อสู้ที่เน้นในการจับล็อกโดยเกิดได้ทั้งจากยืนหรือมักจะพบเห็นที่ไปเล่นบนภาคพื้น โดยหลักของศิลปะการต่อสู้นี้คือการทำให้ลงศัตรูลงไปต่อสู้บน ground game โดยอาจจะทำให้อีกฝ่ายล้มโดยการทุ่ม หรือ การพาคู่ต่อสู้ลงไปเล่นposition guard ซึ่งเป็น position ที่มีเอกลักษณ์มากของบราซิลเลียนยิวยิตสูนี้ โดยจุดมุ่งหมายของการต่อสุ้คือพยายามทำ submission ให้อีกฝ่ายตบเบาะยอมแพ้โดยอาจจะมาจาก การรัดคอ, หักข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย (หากไม่ยอมแพ้ก็คือตายหรือไม่ก็แขนขาหัก) ท่าที่มีชื่อเสียงก็คือ Triangle choke, Arm-bar, Guillotine, Omoplata และอีกมาก นอกจากจะทำให้ศัตรูยอมแพ้ด้วยการรัดคอหรือหักข้อต่อแล้วนั้น ก็มีการทำให้คู่ต่อสู้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบเรียกว่า sweep เช่น ทำให้ตัวเราไปขึ้นคล่อมตัวศัตรู หรือ ไปอยู่ข้างหลังเตรียมรัดคอศัตรู

โดยบราซิลเลียนยิวยิตสู นั้นแบ่งเป็นได้2แบบคือ 1.Gi คือการใส่ชุดเล่น ซึ่งชุดกิโมโนที่ใส่นั้นจะมีลักษณะคล้ายชุดยูโด 2.no-GI คือการเล่นแบบใส่ชุดอะไรเล่นก็ได้โดยอาจจะมีการเพิ่มกฎที่อันตรายเพิ่มขึ้นมา เช่นหักขา

นอกจากนี้ในบางยิมจะมีสอน self defense ในคลาสบราซิลเลียนยิวยิตสู ซึ่งในสมัยแรก ๆ นั้น self defense นั้นตอนแรกถือว่าเป็นส่วนประกอบหลักของศิลปะการต่อสู้นี้ แต่หลังๆแต่ละที่ก็ได้สอนน้อยลง เนื่องจากมีโอกาสได้ใช้น้อย

ประวัติการคิดค้น[แก้]

กำเนิดขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากวิชาโคโดกัน ยูโด และยิวยิตสูของญี่ปุ่น โดยถูกนำไปพัฒนาที่บราซิล โดยอดีตนักยูโดจากโรงฝึกโคโดกันชาวญี่ปุ่นชื่อ มิตซึโยะ มาเอดะ (Mitsuyo Maeda) ซึ่งเป็นนักยูโดอันดับต้น ๆ ของโคโดกันได้รับหน้าที่ให้เดินทางไปเผยแพร่ยูโดในต่างประเทศ โดยได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นในปี 1904 โดยได้เดินทางไปเผยแพร่วิชายูโดในหลายประเทศและได้เดินทางเข้าไปในบราซิลในปี 1914

มาเอดะนั้นเป็นอดีตผู้ฝึกซูโม่ ที่เปลี่ยนตัวเองเข้ามาฝึกยูโด ซึ่งในตอนนั้นเพิ่งได้ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่โดย จิโกโร คาโน โดยในตอนนั้นวิชายังถูกเรียกว่า คาโนยิวยิตสู ซึ่งเป็นที่มาของการใช้ชื่อยิวยิตสู ในวิชาบราซิลเลียนยิวยิตสู แทนที่จะเป็นยูโด ก่อนเสียชีวิตมาเอดะได้รับสายดำในระดับเจ็ดของวิชายูโด

ในการสาธิตครั้งหนึ่งของมาเอดะนั้นได้พบกับคาร์ลอส กราซี (Carlos Gracie) ซึ่งในสมัยนั้นอายุได้เพียง 14 ปี คาร์ลอส ได้เข้าเป็นลูกศิษย์ของมาเอดะ และได้ฝึกยิวยิตสูจากมาเอดะในเวลานั้น ซึ่งภายหลังที่คาร์ลอสเติบโตขึ้นและย้ายไปอาศํยที่เมือง ริโด ดี จาเนโร ของบราซิล คาร์ลอสได้สอนวิชายิวยิตสูให้กับญาติ ๆ รวมทั้ง ฮิริโอ กราซี (Helio Gracie) ผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของบราซิลเลียนยิวยิตสูในเวลาต่อมา เนื่องจากวิชานี้สืบทอดและพัฒนากันมาในหมู่ญาติของตระกูลกราซี (หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกรซี) ทำให้ตอนนั้นจะถูกเรียกว่า เกรซียิวยิตสู

ปัจจุบันชื่อของเกรซียิวยิตสูได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของตระกูลเกรซี ซึ่งจะหมายถึงยูยิสสูในรูปแบบของเขาเท่านั้น ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากเกรซียิวยิตสู เป็นบราซิลเลียนยิวยิตสู

ในช่วงต้นนั้นกีฬาบราซิลเลียนยิวยิตสู นั้นสร้างชื่อตัวเองด้วยการไปท้าตีกับวิชาการต่อสู้อื่นตามสำนักต่าง ๆ ในบราซิล อาทิเช่น คาราเต้ ยูโด มวย รวมถึงท้าตีท้าต่อยกับนักเลงข้างถนนทั่วไปด้วย ซึ่งไม่มีศิลปะการต่อสู้ไหนเลยที่ชนะbrazilian jiujitsu ได้ หลังจากนั้นจึงเปิดให้คนทั่วไปที่สนใจอยากประลองวิชามาทดสอบได้เรียกกันว่า Gracie challenge ซึ่งหลังจากประกาศไปก็ได้มีคนเข้ามาท้าทายอย่างมากซึ่งหาคลิปดูได้ในยูทูบ อย่างเช่น นักคาราเต้ นักเลงข้างถนน นักเพาะกาย มวยจีนเส้าหลิน นักมวยปล้ำ ซึ่งศิลปะการต่อสู้เหล่านั้นเมื่อมาได้เจอบราซิลเลียนยิวยิตสู ก็แพ้อย่างราบคาบทั้งสิ้น

ต่อมาเมื่อศิลปะการต่อสู้บราซิลเลียนยิวยิตสู เริ่มดังในบราซิลขึ้น จึงได้มีการเชิญนักยูโดผู้เป็นศิษย์เอกของนักยูโดและยิวยิตสูชื่อดังที่ญี่ปุ่นนามว่า Kimura มาให้ทดสอบฝีมือสู้กับ Helio gracie ซึ่งผลก็คือศิษเอกของ Kimura โดนรัดคอสลบในเวลาไม่นาน ทางญี่ปุ่นจึงได้จัดส่ง Kimura มาที่บราซิลเพื่อมาเจอ Helio Gracie ซึ่งผลออกมาคือ Helio gracie แพ้เนืองจากโดนทุ่มและขนาดตัวที่เล็กกว่ามาก แต่ก็ถือเป็นจุดที่ทำให้โลกเริ่มรู้จักกีฬาบราซิลเลียนยิวยิตสูมากยิ่งขึ้น

ต่อมาตระกูลเกรซีจึงอยากหาผู้ทีมีความสามารถมาแข่งขันกับพวกตนจึงได้หานายทุนและจัดรายการ Ultimate fighting championship (หรือปัจจุบันคือ UFC) ขึ้น ซึ่งเป็นการให้นักศิลปะการต่อสุ้ต่างๆมาสู้กันในกฎ MMA คือซึ่งไม่ต้องใส่นวม ต่อยกันในกรง จะทำอะไรก็ได้เพียงให้อีกฝ่ายยอมแพ้หรือสลบไป ซึ่งก็มีนักศิลปะการต่อสู้มากมายเข้าร่วม ดังเช่นนักมวยสากล นักยูโดโอลิมปิก นักมวยปล้ำ นักชกข้างถนน ซึ่งแมตรอบสุดท้ายนั้น ผู้ชนะการต่อสู้ก็คือ Royce Gracie ที่สามารถชนะนักมวยปล้ำที่น้ำหนักมากกว่าตนหลายสิบโลได้ จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้บราซิลเลียนยิวยิตสูโด่งดังและกระจายไปทั่วโลก

เสน่ห์ของกีฬา[แก้]

เสน่ห์ของ BJJ อีกอย่างคือ ผู้เล่น จะใช้ความเข้าใจในสรีระสัดส่วนของร่างกาย เน้นการเคลื่อนไหวบนพื้น ใช้หลักคานดีดคานงัด เล่นกับการทรงตัวของคู่ต่อสู้ เพื่อนำมาซึ่งการล็อกที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเวลาเล่นยังต้องเล่นไปคิดไป คล้ายกับการเล่นหมากรุกโดยใช้ร่างกายตัวเองเป็นหมากในการต่อสู้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง และมีไหวพริบที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ป้องกันตัวแบบจริงจังมากที่สุด

BJJ ยังมีระบบการฝึกซ้อมที่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมต่ำ (ยิมที่มีผู้ฝึกสอนตามมาตรฐาน BJJ) เวลาเข้าคู่ซ้อม (sparring) สามารถใช้แรงได้เต็มที่ แม้อายุมากแล้วก็ยังเล่นได้ หน่วยทหาร ตำรวจในต่างประเทศก็นิยมเรียนรู้ศาสตร์ชนิดนี้เนื่องจากประโยชน์ของมันนั่นเอง

ในแง่ของการป้องกันตัว หลายคนอาจจะมองว่าการลงไปปล้ำล็อกบนพื้น อาจจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้จำนวนมาก ซึ่งนั่นก็ถูก เพราะถือเป็นจุดอ่อนของตัววิชา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนในการป้องกันตัว ถ้ามีจำนวนน้อยกว่าก็ย่อมเสียเปรียบอยู่แล้ว ยังไม่รวมถึงการนำเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาใช้เป็นอาวุธ

นอกจากนั้นผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ส่วนใหญ่ก็มักจะเรียนรู้ การต่อสู้ในมิติต่างๆมากกว่าหนึ่งอย่างอยู่แล้ว แต่ถ้ามองถึงข้อดี กลับมีมากกว่าไม่ว่าจะเป็น การป้องกันตัวของสุภาพสตรี ในลักษณะโดนข่มขืน หรือผู้ชายตัวเล็กที่อยู่ในสถานการณ์คับขัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ ที่จำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยให้อยู่ในสภาพบาดเจ็บน้อยที่สุด

ระดับสายในบราซิลเลียนยิวยิตสู[แก้]

การสวมใส่ชุดฝึกยังเป็นการสืบสานระบบวัฒนธรรม ในแบบญี่ปุ่น ซึ่งแสดงออกถึงระเบียบวินัย ความมีระเบียบแบบแผน และแสดงถึงวิทยฐานะ ในระดับต่างๆ โดยมีการแบ่งตามสีของสายคาดเอว โดยอ้างอิงจาก IBJJF (international Brazilian Jiu-Jitsu Federation)

ซึ่งจะแบ่งตามสีเรียงจากระดับต่ำไปสูงคือ ขาว ฟ้า ม่วง น้ำตาล และ ดำ ในระดับผู้ใหญ่ และ ขาว เทา เหลือง ส้ม เขียว ในระดับเด็ก นอกจากนั้นยังมีแถบสีดำ อยู่ตรงปลายสาย เพื่อระบุระดับขั้นของแต่ละสีด้วย ซึ่งแต่ละระดับนั้นต้องใช้เวลาในการฝึกซ้อมไม่ต่ำกว่า 2 ปีในการเลื่อนระดับ ดังนั้นกว่าจะได้สายดำในกีฬานี้จึงใช้เวลาอย่างน้อย 8 ปี

ส่วนในระดับผู้สอน ก็จะมีแถบสีแดงอยู่ตรงปลายสาย ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของกีฬา BJJ สำนักต่าง ๆ ยังนิยมใช้สายดำปลายแดงนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกด้วยว่า ยิมนี้สอนบราซิลเลียนยิวยิตสู

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]