ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย
India–Myanmar–Thailand Trilateral Highway
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทล.102 ในโมเรฮ์ มณีปุระ อินเดีย
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทล.12 ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไทย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศอินเดีย, พม่า, ไทย
ระบบทางหลวง
ระบบทางหลวงเอเชีย

ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย (อังกฤษ: India–Myanmar–Thailand Trilateral Highway: IMT Highway)[1] เป็นทางหลวงความยาว 1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์) ขนาด 4 ช่องจราจรที่กำลังก่อสร้างภายใต้นโยบายมองตะวันออกของอินเดียที่จะเชื่อมต่อโมเรฮ์ ประเทศอินเดีย กับแม่สอด ประเทศไทยผ่านทางพม่า[2] เส้นทางอิมผาล-มัณฑะเลย์-กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 1,813 กิโลเมตร (1,127 ไมล์) ประกอบไปด้วยช่วง อิมผาล-มัณฑะเลย์ 584 กิโลเมตร (363 ไมล์) และช่วงมัณฑะเลย์-กรุงเทพมหานคร 1,397 กิโลเมตร (868 ไมล์) เป็นทางหลวงที่มีคุณภาพดี ยกเว้นช่วง 101 กิโลเมตร (63 ไมล์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงกาเลวะ-ยาจี 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) ซึ่งกำลังก่อสร้างขยายเป็นทิศทางละ 2 ช่องจราจร (รวมเป็น 4 ช่องจราจร) โดยอินเดีย

ถนนดังกล่าวคาดว่าจะช่วยส่งเสริมการค้าและพาณิชย์ในเขตการค้าเสรี อาเซียน–อินเดีย รวมถึงพื้นที่ส่วนอื่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียยังได้เสนอให้ขยายทางหลวงไปยังกัมพูชา ลาว และเวียดนามด้วย[3] โดยเส้นทางที่เสนอมีความยาวประมาณ 3,200 กิโลเมตร (2,000 ไมล์) จากอินเดียไปยังเวียดนาม รู้จักกันในชื่อถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก–ตะวันตก (ไทยไปยังกัมพูชาและเวียดนาม เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2558)[4] ทางหลวงสายนี้จะเชื่อมต่อกับท่าเรือแม่น้ำที่กำลังพัฒนาในพื้นที่กะเล่และโมนยวาตามแนวแม่น้ำแม่น้ำชี่น-ดวี่น[5]

อินเดียและอาเซียนมีแผนที่จะขยายเส้นทางนี้ไปยังลาว กัมพูชา และเวียดนาม เนื่องจากแนวเชื่อมดังกล่าวมีการก่อสร้างในทุก ๆ ปี คาดว่ามีจีดีพีเพิ่มขึ้นประมาณ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 โดยอินเดียได้เสนอแผนงานมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเครดิตสำหรับโครงการเชื่อมต่ออินเดีย-อาเซียน[6]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 บังคลาเทศได้แสดงความสนใจอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมโครงการทางหลวงเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อจากธากา ข้อตกลงยานยนต์ของกลุ่มบีบีไอเอ็น (บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย และเนปาล) ที่มีอยู่ปัจจุบันช่วยอำนวยความสะดวกของการผ่านแดนและศุลกากรสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างอินเดียและบังคลาเทศ[7]

ประวัติ[แก้]

ทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างโมเรฮ์กับแม่สอดผ่านพม่าได้รับการเสนอครั้งแรกในการประชุมรัฐมนตรีไตรภาคีเกี่ยวกับการเชื่อมโยงการคมนาคมในย่างกุ้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545[8] ซึ่งเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจรความยาวประมาณ 1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์)[9][10]

ช่วงโมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่-มโหย่-กะเล่วะ[แก้]

ถนนมิตรภาพอินเดีย–พม่า มีความยาว 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) เชื่อมต่อระหว่างโมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่-มโหย่-กะเล่วะ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงไตรภาคี ถนนสายนี้สร้างโดยองค์การถนนชายแดน (BRO) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกอินเดีย องค์การถนนชายแดนบำรุงรักษาถนนจนถึงปี พ.ศ. 2552 หลังจากเส้นทางดังกล่าวถูกถ่ายโอนให้กับรัฐบาลพม่า[11] ตามข้อตกลงเดิมระหว่างอินเดียและพม่าในโครงการถนนมิตรภาพ รัฐบาลอินเดียจะรับผิดชอบการขยายและปูพื้นถนนที่อยู่ในเขตทาง ส่วนรัฐบาลพม่าจะบำรุงรักษาสะพานขนาด 1 ช่องจราจรทิศทางเดียวที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดแนวโครงการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่าไม่สามารถทำตามข้อตกลงที่จะซ่อมแซมสะพานตามข้อตกลงได้[12] ทำให้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 อินเดียประกาศว่าจะลงทุนเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซ่อมแซมทางหลวงที่มีอยู่ และซ่อมแซมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพสะพานทั้ง 71 แห่งที่รัฐบาลพม่าไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้[13] ส่วนพม่าระบุว่าจะดำเนินการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพช่วงยาจี-โมนยวา และเปิดมอเตอร์เวย์ระหว่างมัณฑะเลย์-เนปยีดอและย่างกุ้ง หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกข้อผูกพันธ์ดังกล่าว โดยคาดว่าอินเดียจะปรับปรุงเส้นทางจากโมเรฮ์สู่โมนยวา ซึ่งมีการเสนอเส้นทางอื่นสำหรับการขยายและปรับปรุงระหว่างมัณฑะเลย์-เนปยีดอและย่างกุ้ง[14]

รัฐบาลอินเดียยังมีแผนที่จะสร้างถนนจากโซคาธาร์ รัฐมิโซรัม ผ่านชายแดนโซคาธาร์-ริห์เข้าสู่ตีเดนในรัฐชีนของพม่า ซึ่งจะเป็นอีกเส้นทางผ่านแดนจากอินเดียที่จะไปบรรจบกับทางหลวงไตรภาคีในพม่า[15]

ช่วงกะเล่วะ-ยาจี[แก้]

ระหว่างการเยือนอินเดียของทีนจอ ประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับรัฐบาลอินเดีย โดยรัฐบาลอินเดียจะสนับสนุนเงินทุนในการก่อสร้างสะพาน 69 แห่ง รวมไปถึงทางหลวงช่วงตะมู่-ไคโกเนะ-กะเล่วะ ระยะทาง 149.70 กิโลเมตร (93.02 ไมล์) และปรับปรุงเส้นทางช่วงกะเล่วะ-ยาจี ระยะทาง 120.74 กิโลเมตร (75.02 ไมล์)[16][17][18][19][20][21][22] อินเดียได้ให้เงินทุนสำหรับการปรับปรุงสะพาน 73 แห่งตลอดเส้นทางในพม่าซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[23][24] อินเดียและพม่าลงนามในข้อตกลงเพื่อเร่งมือในการก่อสร้างทางหลวงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559[25][26][27] ปราบีร์ เดอ ผู้ประสานงานศูนย์อาเซียน-อินเดียร์ ณ ฝ่ายวิจัยและระบบสารสนเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา กล่าวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ว่าองค์การถนนชายแดนได้เสร็จสิ้นการปรับปรุงเส้นทางช่วงตะมู่-กะเล่วะ-กะเล่-มโหย่ ระยะทาง 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) ภายใต้วงเงิน 27.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[28] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรเงินจำนวน 256 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการปรับปรุงทางหลวงระยะทาง 1,360 กิโลเมตร (850 ไมล์) จากโมเรฮ์ในมณีปุระ ผ่านตะมู่ในพม่าไปสู่แม่สอดในไทย[29] เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 องค์การทางหลวงแห่งชาติอินเดียได้ให้สัมปทานการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนช่วงกะเล่วะ-ยาจีมูลค่า 1,200 โคร (5.1 พันล้านบาท) ให้กับบริษัทร่วมทุนของบริษัทปุนลอย (Punj Lloyd) และวราฮา อินฟรา จำกัด ระยะทาง 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร โดยสัญญางานวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างในโครงการนี้ใช้เงินทุนทั้งหมดจากกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย[30] ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561 การก่อสร้างช่วงยาจี-กะเล่วะโดยบริษัทปุนลอยได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 ปี คือเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ด้วยวงเงินงบประมาณมูลค่า 11,770 ล้านรูปี ตามสัญญาแบบอีพีซีโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจ[31] โดยเป็นเส้นทางมาตรฐานสากลขนาด 2 ช่องจราจรในแต่ละทิศทาง (รวม 4 ช่องจราจร) ไหล่ทางลาดยาง ประกอบด้วยที่พักรถบรรทุกจำนวน 6 แห่ง ที่หยุดรถประจำทางและที่พักผู้โดยสาร 20 แห่ง จุดพักรถ 1 แห่ง การเสริมความแข็งแรกของสะพานหลัก 4 แห่ง สะพานรอง 9 แห่ง และก่อสร้างสะพานหลักใหม่ 3 แห่ง และสะพานรอง 2 แห่ง[31]

ช่วงเมียวดี-ติงกะหยิงหย่อง-ก่อกะเรก[แก้]

ทางหลวงช่วงเมียวดี-ติงกะหยิงหย่อง-ก่อกะเรก มีระยะทาง 25.6 กิโลเมตร (15.9 ไมล์) เปิดใช้งานโดยเจ้าหน้าที่ของทางการไทยและพม่าเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558[32] ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างติงกะหยิงหย่องและก่อกะเรก จาก 3 ชั่วโมง เหลือ 45 นาที การก่อสร้างช่วงดังกล่าวเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ในวันเดียวกันนั้นได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เที่เมืองเมียวดี ประเทศพม่า เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 2 ที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอแม่สอดในฝั่งไทย และเมียวดีในฝั่งพม่า[33][34][35][36]

ช่วงเอ็นดู-สะเทิม[แก้]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พม่าได้อนุมัติข้อเสนอจากรัฐบาลไทยในการดำเนินการขยายเส้นทางความยาว 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) ช่วงถนนระหว่างสะเทิมในรัฐมอญและเอ็นดูในรัฐกะเหรี่ยง การขยายเส้นทางดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลไทยมูลค่า 51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ขอบเขตการขยายผิวถนนและปรับปรุงผิวถนนให้ดีขึ้น พม่ายังขอให้ไทยช่วยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนอื่น ๆ ของทางหลวงด้วย[37][38][39]

การจัดหาเงินทุน[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม นิติ อายอก (NITI Aayog) ของอินเดียเสนอให้จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle) ที่เป็นเจ้าของโดยทั้งสามประเทศเพื่อติดตามและดำเนินการโครงการดังกล่าว[40]

การจัดการเดินทาง[แก้]

จุดผ่านแดนโมเรฮ์-ทามู[แก้]

ด่านบูรณาการ (Integrated Check-Post : ICP) ในฝั่งโมราฮ์ อินเดียปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว[41] โดยมีเมืองทามูเป็นเมืองชายแดนในฝั่งพม่า

ทดลองเดินรถ[แก้]

ได้มีการทดลองเดินรถโดยสารบนเส้นทางไปสู่เมืองเนปยีดอ เมืองหลวงของพม่า ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยใช้ยานพาหนะของอินเดียในการเดินรถไปยังพม่าในเส้นทางอิมผาล-มัณฑะเลย์-พุกาม-เนปยีดอและกลับเส้นทางเดิม โดยในขากลับได้มียานพาหนะของพม่าเข้าร่วมการเดินทางด้วย โดยเพื่อให้ผู้คนทราบถึงการใช้เส้นทาง รัฐบาลของทั้งสามประเทศได้ประดับธงของชาติตนในขบวนแรลลี่เริ่มต้นจากนิวเดลี โดยเดินทางจากนิวเดลีไปยังคุวาหาฏี และเข้าสู่พม่าจากมณีปุระ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังกรุงเทพมหานคร

ข้อตกลงยานยนต์และการเตรียมวีซ่า[แก้]

ในปี พ.ศ. 2558 อินเดียเสนอข้อตกลงยานยนต์ไตรภาคีเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารและยานพาหนะขนส่งสินค้าระหว่างทั้งสามประเทศ[42] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ระหว่างการเยือนรัฐมณีปุระของเจ้าหน้าที่ไทย หัวหน้าเลขาธิการของรัฐ โออินัม นาบากิชอร์ ได้ประกาศถึงได้มีการจัดทำร่างข้อตกลงของทั้งสามประเทศแล้ว[43][44] และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 พม่าได้ออกมาระบุว่าขอใช้เวลาในการทบทวนข้อตกลงเกี่ยวกับการเชื่อมโยงดังกล่าวก่อนที่จะลงนามในข้อตกลงนี้[45]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2561 มีการทำข้อตกลงด้านวีซ่าเพื่อให้พลเมืองทั้งสองประเทศเดินทางบนถนนเพื่อการศึกษา ความช่วยเหลือทางการแพทย์ การท่องเที่ยว และวัตถุประสงค์อื่น ๆ[46][47]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ข้อตกลงยานยนต์ของเส้นทางไตรภาคียังคงอยู่ระหว่างการพิจารณา[47] จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในประเทศพม่าทำให้ความคืบหน้าการพิจารณาข้อตกลงยานยนต์ถูกหยุดลงจนถึงการประชุมล่าสุดระหว่างไทยและอินเดียเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งยังคงไม่มีความคืบหน้า[48]

บริการรถโดยสาร[แก้]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 เอกอัคราชทูตอินเดียประจำพม่าประกาศว่ารถโดยสารเส้นทางอิมผาล-มัณฑะเลย์ เชื่อมระหว่างอินเดียและพม่าจะให้บริหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 หลังจากอินเดียและพม่าได้ลงนามในข้อตกลงยานยนต์แล้ว[49]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ข้อตกลงยานยนต์ของเส้นทางไตรภาคียังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาจากฝั่งพม่า[47] จนถึงการประชุมล่าสุดระหว่างไทยและอินเดียเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งยังคงไม่มีความคืบหน้าในการลงนามของฝ่ายพม่าแต่อย่างใด[48]

การเชื่อมต่อทางรถไฟ[แก้]

อินเดียได้สำรวจเบื้องต้นเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อคู่ขนานไปกับทางหลวงไตรภาคีในเดือนมกราคา พ.ศ. 2561 โดยทางการญี่ปุ่นแสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับอินเดียและให้เงินสนับสนุนในการเชื่อมต่อทางรถไฟดังกล่าว[15]

สถานะเส้นทาง[แก้]

สถานะเส้นทางช่วงต่าง ๆ ของทางหลวงตามรายงานของกระททรวงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียได้แสดงไว้ดังตารางด้านล่าง[50][51] โดยระหว่างวันที่ 9–14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีการทดลองให้บริการรถโดยสารประจำทางบนเส้นทางอิมผาล-มัณฑะเลย์-เนปยีดอ บนเส้นทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อในช่วงระหว่างกะเล่วะ-ยาจี[52][53]

ลำดับ เชื่อมต่อ ระยะทาง สถานะ หมายเหตุ
1. โมเรฮ์-ตะมู่-กะเล่วะ 149.70 กิโลเมตร (93.02 ไมล์) สร้างเสร็จ (2560)
2. กะเล่วะ-ยาจี 120.74 กิโลเมตร (75.02 ไมล์) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (256?) [30][31] ช่วนี้รวมไปถึงการสร้างสะพานใหม่ 69 แห่ง และถนนที่ต่อเนื่องกัน ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ความคืบหน้าการก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วร้อยละ 50 เนื่องจากความลาดชันของเส้นทาง โค้งหักศอก และความไม่มั่นคงทางการเมือง[54][55]
3. ยาจี-ชวงมา-โมนยวา 64.4 กิโลเมตร (40.0 ไมล์) สร้างเสร็จ (2564) ผ่านอุทยานแห่งชาติอลองดอว์กัสสป
4. โมนยวา-มัณฑะเลย์ 136 กิโลเมตร (85 ไมล์) สร้างเสร็จ (256?)
5. มัณฑะเลย์-เลี่ยงมืองเมะทีลา 123.13 กิโลเมตร (76.51 ไมล์) สร้างเสร็จ (2553) ส่วนหนึ่งของทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ ที่เปิดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
6. เลี่ยงมืองเมะทีลา-ตองอู-โอะตวี่น-แปร (ปรอน) 238 กิโลเมตร (148 ไมล์) สร้างเสร็จ (2553) ส่วนหนึ่งของทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ ที่เปิดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
7. แปร-เธนซายัต-สะเทิม 140 กิโลเมตร (87 ไมล์) สร้างเสร็จ (2560) เมืองแปรจนถึงมะริด (รวมไปถึงช่วงสะเทิม-มอละมไยง์จู้น-ก่อกะเรก) ได้รับการปรับปรุงโดยอินเดีย[56][57] และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 8 (ประเทศพม่า)
8. สะเทิม-มอละมไยน์-ก่อกะเระ 134.4 กิโลเมตร (83.5 ไมล์) สร้างเสร็จ (2564)

ถนนจากสะเทิมสู่เอ็นดู (รัฐกะเหรี่ยง) มีระยะทาง 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 8 (ประเทศพม่า) และเป็นส่วนหนึ่งของถนนสะเทิม-เอ็นดู-เมาะลำเลิง ซึ่งได้รับการขยายและปรับปรุงหลังจากข้อตกลงของไทยที่จะจ่ายเงินก่อสร้างส่วนดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[37] ส่วนของช่วงเอ็นดู-เมาะลำเลิง-ก่อกะเรก ระยะทาง 66.4 กิโลเมตร (41.3 ไมล์) ที่เหลือ ได้รับการปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐานสากล (มาตรฐานทางหลวงเซียน ชั้น 2) แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564[58] โดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย[59][60]

9. ก่อกะเระ-เมียวดี 25.6 กิโลเมตร (15.9 ไมล์) สร้างเสร็จ (2558)
10. เมียวดี-แม่สอด 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) สร้างเสร็จ (2564) ด่านศุลกากร ถนนสายที่สองและสะพานรถไฟ ถนนเลี่ยงเมืองแม่สอดระยะทาง 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) และทางหลวงตาก-แม่สอดในฝั่งไทยสร้างเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยมีระยะห่างจากทางหลวงของฝั่งพม่าเพียง 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) โดยในฝั่งพม่ายังอยู่ระหว่างจากพิจารณาในปี พ.ศ. 2560[61] จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โครงการนี้จึงได้แล้วเสร็จ[62]

การเชื่อมต่อระหว่างกันเพิ่มเติม[แก้]

การเชื่อมต่อกับบังคลาเทศ[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 บังคลาเทศ ซึ่งเป็นพันธมิตรของกลุ่มบิมสเทคแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกับทางหลวงสายนี้ด้วยผ่านทางรัฐตริปุระ[63] โดยอินเดียมีแผนที่จะปรับปรุงเส้นทางจากโซคาธาร์ในรัฐมิโซรัมไปยังตีเดนในรัฐชีนของพม่า เพื่อเป็นแนวเชื่อมต่อเพิ่มเติมกับทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–เมียนมาร์–ไทย[1]

มองการเชื่อมต่อฝั่งตะวันออก[แก้]

การค้าขายกับประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกคิดเป็นเกือบร้อยละ 45 ของการค้าต่างประเทศของอินเดีย[64][65] พม่าและประเทศในอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายมองตะวันออกของอินเดีย[66][67][68] อินเดียเป็นส่วนหนึ่งของบิมสเทค, การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก, ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง–คงคา, คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก, ทางหลวงสายเอเชีย และเครื่อข่ายทางรถไฟสายทรานส์–เอเชีย ซึ่งอินเดียได้เริ่มโครงการมองการเชื่อมโยงตะวันออก[69][70]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 The Role of BIMSTEC in Revitalising India's Northeast, ORF, 23 Jun 2021.
  2. "All you want to know about Delhi to Bangkok Road Trip - Myths & Reality". Tripoto. 11 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2015.
  3. "Highway pact after car rally". www.telegraphindia.com.
  4. "Myanmar Road Project Hooks 1.8 Billion Baht From Thailand". The Irrawaddy. 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  5. Myanmar to develop river ports, 2017.
  6. Asean in talks to take IMT highway up to Vietnam, 12 Dec 2017.
  7. Rajagopalan, Rajeswari Pillai. "Connectivity Gaining Greater Currency in India-Bangladesh Relations". thediplomat.com. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
  8. "India, Myanmar, Thailand road project at feasibility stage". Firstpost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2016. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  9. "India-Myanmar-Thailand road: Govt to sign pact in November". The Indian Express. 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016.
  10. "MEA directed to monitor trilateral highway project". The Financial Express. 9 September 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  11. "Myanmar seeks BRO help to construct bridges". Deccan Herald. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  12. "India Myanmar Friendship Road" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 2016-07-10.
  13. Walker, Morgan Hartley and Chris. "Burma's Second Chance For Trade With India". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2016-07-10.
  14. Bose, Pratim Ranjan. "Connectivity with Myanmar — the wait gets longer". @businessline.
  15. 15.0 15.1 "NHAI issues EPC contract for highway project linking India, Myanmar, Thailand". Hindu Business Line (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  16. Correspondent, Special. "India, Myanmar to build bridges, sign pact for 69". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
  17. Diplomat, Sampa Kundu, The. "How India Can Direct its 'Act East' Policy Toward Myanmar". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
  18. "IMT trilateral highway: India completes 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) stretch". Business Standard India. Press Trust of India. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
  19. "Construction of 69 Bridges for Better Road Connectivity Between India and South East Asia". Business Standard India. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
  20. "The Ministry of External Affairs (MEA) has engaged Egis in India for the prestigious Trilateral Highway project". 18 September 2014. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  21. "Q.NO.2824.International Highway". mea.gov.in. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  22. "Consultancy Services for Preparation of Feasibility Report for Upgradation of Kalewa-Yagyi Road Section in Myanmar". egis-india.com. 18 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-15. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  23. "India, Thailand, Myanmar working on 1,400 km link road". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  24. "1400-Km Long Road To Connect India, Thailand, Myanmar". NDTV. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  25. "Myanmar President meets Modi in Delhi, 4 agreements signed | India News - Times of India". The Times of India.
  26. "PM Narendra Modi: 'Road map and action agenda' with Myanmar now evolved". August 30, 2016.
  27. "India, Myanmar to build bridges, sign pact for 69". August 29, 2016 – โดยทาง www.thehindu.com.
  28. "ASEAN Summit: Connectivity remains challenge as trilateral highway through Myanmar and Thailand remains incomplete". Firstpost. 10 November 2017. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
  29. "China's Silk Road lends urgency to India's regional ambitions.", Economic Times, 9 August 2017.
  30. 30.0 30.1 Sood, Jyotika (6 September 2017). "India puts Myanmar highway project on the fast track". livemint.com/. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
  31. 31.0 31.1 31.2 NHAI awards Yagyi-Kalewa highway contract เก็บถาวร 2022-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FII News, 13 April 2018.
  32. "รองนายกฯ 'สมคิด' ร่วมพิธี ส่งมอบถนนสาย 'เมียวดี-กอกะเร็ก'". www.thairath.co.th. 2015-08-30.
  33. "New Asian highway section to link India-Myanmar-Thailand". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  34. "Section of new Asian highway linking India, Myanmar and Thailand put into service". Firstpost. 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  35. "Section of India-Myanmar-Thailand Asian Highway put into service". India TV News. 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 7 September 2015.
  36. Mon, Ye (29 August 2016). "CSOs call for suspension of Asia Highway construction". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  37. 37.0 37.1 PCL., Post Publishing. "Myanmar gives road link boost". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  38. "Thailand offers $51m highway upgrade, as trade mission boosts bilateral ties". Frontier Myanmar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  39. "Myanmar Road Project Hooks 1.8 Billion Baht From Thailand". The Irrawaddy. 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 4 March 2017.
  40. "Construct India-Myanmar-Thailand highway through SPV". Business Standard India. 30 May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
  41. India opens two border crossing points with Myanmar, Bangladesh, Times of India, 1 Oct 2o17.
  42. "Plea for Motor vehicle [[:แม่แบบ:As written]] between India and Myanmar". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)
  43. "Thailand Envoy Visits Manipur". Northeast Today. 28 May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
  44. "Thai delegation visits Manipur". easternmirrornagaland.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
  45. "Myanmar seeks time to sign vehicle pact as India speed up highway to Thailand". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 6 January 2018. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  46. India ramps up Myanmar ties to gain foothold in ASEAN เก็บถาวร 2018-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Myanmar Times, May 2018.
  47. 47.0 47.1 47.2 Still under construction, The Statesman, 13 May 2018.
  48. 48.0 48.1 "อินเดียเร่งรัดทางด่วนเชื่อม 3 ประเทศ 1,600 กม. เชื่อมโมเรห์ผ่านพม่า ปลายทางแม่สอด". mgronline.com. 2023-07-21.
  49. Imphal-Mandalay bus service likely to begin from next year., Imphal Times, 9 Sept 2017.
  50. "Myanmar, Ministry of Development of Northeastern Region, Northeast India". Ministry of Development of the Northeast Region. June 2012. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016.
  51. http://www.easternmirrornagaland.com/gadkari-announces-rs-22000-crore-road-package-for-manipur/ Gadkari announces Rs 22,000 crore road package for Manipur, Eastern Mirror Nagaland, 11 Dec 2016.
  52. http://e-pao.net/epSubPageExtractor.asp?src=travel.Manipur_Travel_Log.Imphal_Mandalay_Bus_Service_a_dream_come_true_By_M_Lakshmikumar Imphal-Mandalay Bus Service a dream come true, e-pao, Dec 2015.
  53. http://e-pao.net/epSubPageExtractor.asp?src=travel.Manipur_Travel_Log.Myanmar_As_I_see_it_By_Clay_Khongsai Myanmar - As I see it, Dec 2015.
  54. India wants Bangladesh to join key trilateral highway in outreach to ASEAN, India Narrative, accessed 21 July 2023.
  55. Steps on to complete India-Myanmar-Thailand Trilateral Highways, DECCAN CHRONICLE, Oct 6, 2020.
  56. UP-Thailand highway may miss 2016 deadline, Sept 2014.
  57. India fails to walk the 'Act East' talk, Times of India, 2015.
  58. Eindu-Kawkareik road, part of greater Mekong sub-region east-west economic corridor, completed, gnlm.com.mm, May 23, 2021.
  59. "Greater Mekong Subregion East–West Economic Corridor Eindu to Kawkareik Road Improvement Project". Asian Development Bank. November 10, 2015.
  60. "Greater Mekong Subregion East-West Economic Corridor Eindu to Kawkareik Road Improvement". Asian Development Bank. February 21, 2013.
  61. https://news.thaivisa.com/article/13072/land-expropriations-stall-second-thai-myanmar-friendship-bridge-opening เก็บถาวร 2018-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Land expropriations stall second Thai-Myanmar friendship bridge opening, Dec 2017
  62. Mae Sot-Myawaddy border crossing and infrastructure improvements project, greatermekong.org, accessed 14 sept 2021.
  63. Dipanjan Roy Chaudhury, "Bangladesh wants to join India-Myanmar-Thailand (IMT) trilateral highway", The Economic Times, December 18, 2020.
  64. India's Look East Policy
  65. (DOCID+in0176) Sino-Indian relations
  66. "Vietnam among pillars of India's "Look East" policy". english.vietnamnet.vn. Vietnam News Agency. 18 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  67. "Modi govt to give greater push to India's Look East Policy, says Sushma Swaraj". Firstpost. 2014-08-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-10.
  68. "Sushma Swaraj tells Indian envoys to Act East and not just Look East". The Economic Times. 26 August 2014.
  69. "India's 'Look East' Policy Pays off". www.globalpolicy.org.
  70. India's Look East Policy (2)