ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลเนินพระปรางค์

พิกัด: 14°11′14.1″N 100°03′01.8″E / 14.187250°N 100.050500°E / 14.187250; 100.050500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเนินพระปรางค์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Noen Phra Prang
ประเทศไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอสองพี่น้อง
พื้นที่
 • ทั้งหมด27.00 ตร.กม. (10.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,492 คน
 • ความหนาแน่น166.37 คน/ตร.กม. (430.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72110
รหัสภูมิศาสตร์720708
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินพระปรางค์
อบต.เนินพระปรางค์ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อบต.เนินพระปรางค์
อบต.เนินพระปรางค์
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเนินพระปรางค์
พิกัด: 14°11′14.1″N 100°03′01.8″E / 14.187250°N 100.050500°E / 14.187250; 100.050500
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอสองพี่น้อง
พื้นที่
 • ทั้งหมด27.00 ตร.กม. (10.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด4,492 คน
 • ความหนาแน่น166.37 คน/ตร.กม. (430.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06720706
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 242 หมู่ 1 ตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 72110
เว็บไซต์noenpraprang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เนินพระปรางค์ เป็นตำบลในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลเนินพระปรางค์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสองพี่น้อง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางเลน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดอนมะนาว และตำบลทุ่งคอก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลศรีสำราญ

ประวัติ

[แก้]

เนินพระปรางค์ เดิมชื่อ "ตำบลหวายสอ" เมื่อปี พ.ศ. 2450 วัดอัมพวันเดิมชื่อว่า วัดคลองมะดัน เจ้าอาวาสที่มาปกครองวัดมีจิตศรัทธาที่จะมุ่งมั่นเชิดชูพระศาสนา จึงได้สร้างพระปรางค์ประดิษฐานที่มีพระพุทธบาทจำลองขึ้นที่พระนอนไสยาสน์ บริเวณที่สร้างพระปรางค์นั้น ได้ทำการมูลดินก่ออิฐกำแพงกั้นเป็นเนินดิน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนชื่อตำบลหวายสอใหม่ จึงใช้ชื่อเป็น เนินพระปรางค์[2] มาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อระลึกถึงสภาบันศาสนาที่นำมาให้ร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรในปัจจุบันนี้

ปี พ.ศ. 2512 เทศบาลตำบลสองพี่น้องได้ขยายเขตเทศบาล ซึ่งเขตหมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินพระปรางค์ เข้าไปอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลสองพี่น้องด้วย[3] จึงมีการโอนท้องที่หมู่ 3 ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสองพี่น้อง ของตำบลเนินพระปรางค์ ไปรวมขึ้นกับตำบลสองพี่น้อง[4] โดยยึดเขตตำบลตามหลักเขตเทศบาล

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลเนินพระปรางค์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านดอนกลาง
  • หมู่ที่ 2 บ้านหวายสอ
  • หมู่ที่ 3 บ้านสะพานเจ็ก
  • หมู่ที่ 4 บ้านไผ่โรงโขน
  • หมู่ที่ 5 บ้านหัวสะแก

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลเนินพระปรางค์เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเนินพระปรางค์ ในปี พ.ศ. 2517[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลเนินพระปรางค์มี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 27.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,007 คน และ 840 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเนินพระปรางค์อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเนินพระปรางค์[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. ประวัติตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลเนินพระปรางค์ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (18 ก): 289–292. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2512
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (95 ง): (ฉบับพิเศษ) 8-11. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539