ตำบลโคกช้าง (อำเภอเดิมบางนางบวช)
ตำบลโคกช้าง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Khok Chang |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เดิมบางนางบวช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.00 ตร.กม. (16.22 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,555 คน |
• ความหนาแน่น | 108.45 คน/ตร.กม. (280.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720207 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง | |
---|---|
พิกัด: 14°55′03.7″N 100°09′32.1″E / 14.917694°N 100.158917°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เดิมบางนางบวช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.00 ตร.กม. (16.22 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 4,555 คน |
• ความหนาแน่น | 108.45 คน/ตร.กม. (280.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720215 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 88 หมู่ 5 ตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
โคกช้าง เป็นตำบลในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเคยเป็นตำบลในอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลโคกช้าง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลดงคอน และตำบลบางขุด (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพักทัน และตำบลสระแจง (อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลทุ่งคลี ตำบลยางนอน และตำบลเขาพระ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเดิมบาง
ประวัติ
[แก้]โคกช้าง เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) จังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2454 กระทรวงมหาดไทยประกาศแยกพื้นที่ตำบลโคกช้าง ของอำเภอสิงห์ ไปเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ "อำเภอเดิมบาง"[3] ขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี โดยชื่อ "โคกช้าง" มาจากที่มีเนินขนาดใหญ่ตั้งอยู่พอมาถึงช่วงฤดูน้ำหลากได้มีฝูงช้างจำนวนมากมาอาศัยอยู่บนเนินสูง จึงเรียกชื่อว่า โคกช้าง[4]
ปี พ.ศ. 2492 ขุนธรรมรัฐธุราทร (ธรรมรัฐ โรจนสุนทร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศแยกหมู่ 3–4 ของตำบลเขาดิน และหมู่ 3, 6–7 ของตำบลโคกช้าง ออกไปตั้งเป็น ตำบลทุ่งคลี[5]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลโคกช้างแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านสามเอก
- หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหวาย
- หมู่ที่ 3 บ้านเจ็ดอาร์
- หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาแก้ว
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองบอน
- หมู่ที่ 6 บ้านหนองกรด
- หมู่ที่ 7 บ้านใหม่คันคลอง
- หมู่ที่ 8 บ้านริ้วกรูด
- หมู่ที่ 9 บ้านหนองกลับ
- หมู่ที่ 10 บ้านสามเอกเหนือ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลโคกช้างเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลโคกช้าง ในปี พ.ศ. 2517[6] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลโคกช้างมี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 42.0 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,240 คน และ 1,087 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลโคกช้างอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 112–142. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2454
- ↑ ประวัติตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (57 ง): 4812–4815. วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2492
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539