ตำบลบางตาเถร
ตำบลบางตาเถร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bang Ta Then |
![]() | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | สองพี่น้อง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 95.00 ตร.กม. (36.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 15,018 คน |
• ความหนาแน่น | 158.08 คน/ตร.กม. (409.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720703 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร | |
---|---|
พิกัด: 14°11′35.8″N 100°07′29.4″E / 14.193278°N 100.124833°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | สองพี่น้อง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 95.00 ตร.กม. (36.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 15,018 คน |
• ความหนาแน่น | 158.08 คน/ตร.กม. (409.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720709 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 234 หมู่ 2 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 72110 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
บางตาเถร เป็นตำบลในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของวัดไผ่โรงวัว ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด มีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา อาทิ สังเวชนียสถาน งานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ และพระวิหารร้อยยอด
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลบางตาเถรมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านกุ่ม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านช้าง และตำบลเทพมงคล (อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และตำบลหลักชัย (อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบัวปากท่า และตำบลบางหลวง (อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางเลน และตำบลบางตะเคียน
ประวัติ
[แก้]บางตาเถร เดิมชื่อตำบลบางปลาร้า เหตุเพราะว่าพื้นที่ตำบลบางปลาร้าเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งมีปลาชุกชุมมาก ชาวบ้านนิยมทำปลาร้าปลาเค็มไว้รับประทาน ต่อมาประชากรมีจำนวนมากขึ้นได้แยกตำบลเป็นตำบล โดยในตำบลมีพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป คำว่า เถร มาจากพระเถระผู้ใหญ่ จึงได้ชื่อว่า บางตาเถร[2]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลบางตาเถรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านการ้อง
- หมู่ที่ 2 บ้านบางซอ
- หมู่ที่ 3 บ้านบางซอ
- หมู่ที่ 4 บ้านไผ่ล้อม
- หมู่ที่ 5 บ้านท่าเกวียน
- หมู่ที่ 6 บ้านสามเหลี่ยม
- หมู่ที่ 7 บ้านจรเข้ครืน
- หมู่ที่ 8 บ้านไผ่สัก
- หมู่ที่ 9 บ้านรางมดตะนอย
- หมู่ที่ 10 บ้านโคกเจ็ดลูก
- หมู่ที่ 11 บ้านไผ่โรงวัว
- หมู่ที่ 12 บ้านบางเมฆ
- หมู่ที่ 13 บ้านท่าขาม
- หมู่ที่ 14 บ้านสิงหล
- หมู่ที่ 15 บ้านไผ่ตาโม้
- หมู่ที่ 16 บ้านคันคลอง
- หมู่ที่ 17 บ้านบางสะแก
- หมู่ที่ 18 บ้านหมู่ใหญ่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลบางตาเถรเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหัวโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2517[3] ต่อมาปี พ.ศ. 2537 สภาตำบลบางตาเถรมี 18 หมู่บ้าน พื้นที่ 95.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 15,305 คน และ 3,209 ครัวเรือน[4] ปี พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลบางตาเถรอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ ประวัติตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (เขตตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538