ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2490 จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย[1] |
เสียชีวิต | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 (37 ปี) สหรัฐ |
คู่สมรส | รัชนี นันทโพธิ์เดช[1] |
บุตร | พิมลแข นันทโพธิ์เดช[1] นันท์ นันทโพธิ์เดช[1] พ.ต.ณัชร นันทโพธิ์เดช (ต่างมารดา)[2] |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พันโท |
บังคับบัญชา | กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ |
พันโท ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช (8 สิงหาคม พ.ศ. 2490 — 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2528) เป็นอดีตผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ผู้ก่อตั้งหลักสูตรทหารเสือราชินี และเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
ประวัติ
ณรงค์เดช เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรชายของ พ.ต.ท. บุญเลิศ นันทโพธิ์เดช และนางวันทนา นันทโพธิ์เดช มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 4 คน คือ
- นางจันทนา วีระเถกิงชีวี
- นางสะอาดวงศ์ กมลรัตน์พิมมูล
- นายอัคฤทธิ์ นันทโพธิ์เดช
- นายธรรมศักดิ์ นันทโพธิ์เดช
ณรงค์เดชมีลูก 2 คน ได้แก่
- น.ส.พิมลแข นันทโพธิ์เดช
- พ.ต. ณัชร นันทโพธิ์เดช
การศึกษา
จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 ต่อมาขณะศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชนะเลิศการแข่งขันวิ่งมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร ถึง 3 ปีซ้อน เป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะแม่ไม้มวยไทย, การต่อสู้ด้วยมือเปล่า, การใช้อาวุธทุกชนิด โดยเฉพาะปืน, การกระโดดร่ม และการดำน้ำ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พ.ท. ณรงค์เดช เป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติหน้าที่ถวายการรับใช้ จนเป็นที่ประจักษ์มากมายหลายครั้ง โดยขณะมียศพันตรี เขาประพันธ์คำร้องเพลง จากยอดดอย ถวายสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ แล้วทรงมอบให้ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2522 จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินนักร้อง ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำมาขับร้องลงในอัลบั้มเพลงโฟล์คซอง "จากยอดดอย" ปัจจุบัน ใช้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์[ต้องการอ้างอิง]
พ.ท. ณรงค์เดช เดินทางไปศึกษา หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่ค่ายเลเวนเวิร์ธ ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เวลาว่างเรียนการบิน การกระโดดร่ม และการดำน้ำ พร้อมกันไปด้วย ต่อมายังศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ทว่าเขาถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันที่นั่นเอง ด้วยอาการหัวใจล้มเหลวอย่างฉับพลัน ขณะกำลังนั่งพักระหว่างเล่นกีฬาเทนนิส เมื่ออายุ 38 ปี สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด ทั้งเสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2528[ต้องการอ้างอิง]
พ.ท. ณรงค์เดช มีน้องชายต่างมารดาคือ พล.ต. เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ท. ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 โยธิน (ย.ร.)[3]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[4]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[5]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[8]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "หนังสือที่ระลึก พันโทณรงค์เดช นันทโพธิเดช".
- ↑ นสพ.ผู้จัดการออนไลน์, เผยแพร่ 13 ส.ค. 2563, 18:50 "ลูกชาย "ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช" เอือมพวกมโนโซเชียลฯ แต่งเรื่องสนุกปาก อยากรู้เปิดหน้าถามเลย".
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๓๖๔๙, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๗ กันยายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๗
- หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2528.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2528
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ย.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.4
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
- บทความเกี่ยวกับ การทหาร ที่ยังไม่สมบูรณ์