ข้ามไปเนื้อหา

ซีตี นูร์ฮาลีซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีตี นูร์ฮาลีซา
DIMP JSM SAP PMP AAP
ซีตี นูร์ฮาลีซา ในปี ค.ศ. 2013
เกิดซีตี นูร์ฮาลีซา บินตี ตารูดิน
(1979-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 1979 (45 ปี)
กัมปุงอาวะฮ์
เตเมร์โละฮ์, รัฐปะหัง, มาเลเซีย
สัญชาติมาเลเซีย
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงาน1995–ปัจจุบัน
คู่สมรสKhalid Mohd Jiwa (21 สิงหาคม 2006-ปัจจุบัน)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียง
ค่ายเพลงซูเรียเรเคิดส์ (1995–2005)
ซีตีนูร์ฮาลีซาโพรดักชันส์ (2006–ปัจจุบัน)
วอตส์อัปเอนเตอร์เทนเมนต์ (2011-ปัจจุบัน)
ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป (2011-ปัจจุบัน)
เว็บไซต์SimplySiti.com.my
ลายมือชื่อ

ดาโต๊ะ[1] หรือดาตินซรี[2] ซีตี นูร์ฮาลีซา บินตี ตารูดิน DIMP, JSM, SAP, PMP, AAP[1] (มลายู: Siti Nurhaliza binti Tarudin, سيتي نورهاليزا بنت تارودين; เกิด 11 มกราคม ค.ศ. 1979) เป็นนักร้องชาวมาเลเซีย[3] ตั้งแต่เธอเป็นนักร้อง เธอได้รับรางวัลการแข่งขันประกวดร้องเพลงระดับนานาชาติหลายครั้ง เธอได้รับฉายาว่าเป็นเสียงแห่งเอเชีย หลังจากชนะตำแหน่งกรังปรีแชมเปียนจากเทศกาล Voice of Asia รายการประกวดร้องเพลงที่จัดขึ้นที่เมืองอัลมาเตอ ประเทศคาซัคสถาน[4] โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1999 เธอได้รับรางวัลโกลด์อะวอร์ดจากรายการ Asia New Singer Competition ที่เซี่ยงไฮ้เอเชียมิวสิกเฟสติวัล ที่จัดที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในปีเดียวกันเธอได้รับ 2 รางวัลจาก การประกวดร้องเพลงเซาท์แปซิฟิกในปี ค.ศ. 1999 ที่จัดที่เมืองโกลด์โคสต์ รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

ปัจจุบัน เธอได้รับรางวัลทั้งภายในและต่างประเทศมากกว่า 200 รางวัล[5] เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากการเป็นศิลปินที่มียอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำขาวหลายชุด ตั้งแต่ชนะการแข่งขันรายการเรียลลิตีที่ชื่อ บินตังเอชเอ็มไอ 1995 เมื่อเธออายุ 16 ปี ซึ่งต่อมาเธอได้รับการเสนอให้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงสากล 4 ค่าย[6] ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มเปิดตัวของเธอคือ "Jerat Percintaan" ซึ่งชนะการแข่งขันอานูเกอระฮ์จัวราลากู (Anugerah Juara Lagu) ครั้งที่ 11 และได้ 2 รางวัลในสาขาแสดงยอดเยี่ยมและเพลงบัลลาดยอดเยี่ยม[7] ส่วนตัวอัลบั้ม จากข้อมูลปี ค.ศ. 2005 ขายได้มากกว่า 800,000 ชุด เฉพาะในมาเลเซีย[8] ในฐานะนักร้องเธอบันทึกเสียงหลากหลายภาษา ทั้งภาษามาเลเซีย ภาษาชวา ภาษาจีนมาตรฐาน ภาษาอาหรับ ภาษาอูรดู[9] และภาษาญี่ปุ่น[10] เธอมีสตูดิโออัลบั้ม 16 ชุด เธอเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับความนิยมที่สุดในกลุ่มเกาะมลายูและนูซันตารา ปัจจุบันเธอได้อยู่ในรายชื่อหนึ่งในผู้ที่รวยที่สุด[11] ผู้ที่มีอิทธิพลที่สุด[12] ผู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุด และผลิตซิงเกิลมากที่สุด[13] เธอยังเป็นหนึ่งในศิลปินมาเลเซียที่มียอดขายมากที่สุด จากข้อมูล ค.ศ. 2000 อัลบั้มของเธอมียอดขายเป็นร้อยละ 10 ของอัลบั้มทั้งหมดของมาเลเซีย[14] โดยมียอดขายมากกว่า 4.9 ล้านชุด

ในปี ค.ศ. 1998 เธอได้รับเลือกให้แสดงพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 1998 เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ท่ามกลางผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 70 ประเทศจากเครือจักรภพแห่งประชาชาติ[15] ในปี ค.ศ. 2005 เธอเป็นนักร้องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนแรกที่ได้แสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวที่รอยัลแอลเบิร์ตฮอลล์ร่วมกับลอนดอนซิมโฟนีออร์เคสตรา[16] ในปี ค.ศ. 2008 เธอได้รับขนานนามว่าเป็นไอดอลแห่งเอเชีย จากเอเชียนิวส์เนตเวิร์ก[17] และจากความสำเร็จในเอเชียทำให้เธอได้รับฉายาว่า "เสียงแห่งเอเชีย"[18] และเซลีน ดิออน แห่งเอเชีย[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 M. Hamzah Jamaluddin (24 October 2006). "Datukship for Siti Nurhaliza". New Straits Time. AccessMyLibrary. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  2. "Siti Nurhaliza Kini Datin Seri". Bernama. mStar Online. 3 November 2007. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  3. "Jadi pengacara, Siti bukan pengacau". Utusan Online. สืบค้นเมื่อ 19 February 2013.
  4. New Straits Times Staff (7 August 2002). "Siti does us proud". New Straits Times. AccessMyLibrary. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013.
  5. Siti Azira Abd. Aziz (25 October 2009). "Siti akui jualan album terjejas ekoran kekeruhan Malaysia-Indonesia". mStar Online (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
  6. "Siti Nurhaliza diburu syarikat rakaman". Bintang Popular – Berita Minggu (ภาษามาเลย์). Digital Collections DC5: Cross Search. 14 June 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2010.
  7. "Siti Nurhaliza". SitiZone. สืบค้นเมื่อ 24 January 2010.
  8. Malay Mail Staff (9 May 2005). "Career Highlights: Adnan Abu Hassan". The Malay Mail. AccessMyLibrary. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  9. Habibah Omar. "Konsert Diva pukau penonton di Singapura". Utusan Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 28 February 2013.
  10. Norzaila Rosli. "Siti tetap laris selepas isu e-mel". Utusan Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 28 February 2013.
  11. Mohd Azam Shah Yaa'cob, Hidayatul Akmal Ahmad & Raja Norain Hidayah Raja Abdul Aziz (20 June 2010). "Milik harta tujuh angka". myMetro (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 23 June 2010.
  12. Shuib Taib (7 September 2009). "Top 10 influential celebrities in Malaysia: Stars with the x-factor sizzle". The New Straits Time. AsiaOne.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-29. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  13. "SACC showcase: Dato' Siti Nurhaliza and Krisdayanti". New Straits Time. Digital Collections DC5: Text Archive. 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  14. New Straits Times Staff (21 August 2000). "RIM takes on pirates". New Straits Times. AccessMyLibrary. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  15. "Best Ever Commonwealth Games Comes to a Close". Utusan Online. Utusan Online. 22 September 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 12 May 2013.
  16. Hafidah Samat (14 January 2005). "Siti all set for London show". New Straits Times. AccessMyLibrary. สืบค้นเมื่อ 28 February 2013.
  17. "Asia's Idols". Inquirer.net – Philippine News for Filipino. 5 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-21. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  18. "SACC showcase: Dato' Siti Nurhaliza and Krisdayanti". New Straits Times. 10 April 2010. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013. Dato' Siti Nurhaliza is a multiple-award winning Malaysian pop singer-songwriter who has garnered more than 100 local awards. Known as the Voice of Asia, Siti has recorded more than 30 albums including singles. She is also known to have the most number one singles than any other artist in Malaysia.
  19. "Siti Nurhaliza's Journey To Stardom Aired on Astro's History Channel". Bernama. 12 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013. The diva also became the first Malaysian artiste to ever perform at the prestigious Royal Albert Hall in London, where she was dubbed "Asia's Celine Dion" by the British press.