ชีวิตของพระนางพรหมจารี
ชีวิตของพระแม่พรหมจารี (อังกฤษ: Life of the Virgin) หรือชีวิตของพระแม่มารี เป็นฉากชุดจากชีวิตของพระแม่มารีย์มารดาของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้เขียนภาพชุดในศิลปะคริสต์ศาสนามักจะเป็นชุดที่ประกอบกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการเขียนก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี หนังสือวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ
ฉากที่ใช้
[แก้]ชีวิตของพระแม่มารีย์บางครั้งก็รวมกับภาพชุดชีวิตของพระเยซูหรือบางครั้งก็จะรวมกับฉากจากพระมหาทรมานของพระเยซู ถ้ารวมก็มักจะข้ามจากเมื่อพระเยซูยังทรงพระเยาว์ไปจนถึงตอนที่พระแม่มารีเสียชีวิต และจบด้วยฉากพบพระเยซูในหมู่นักปราชญ์ (Christ among the Doctors) ซึ่งเป็นฉากสุดท้ายของพระเยซูเมื่อยังทรงพระเยาว์
ภาพชุดชีวิตของพระแม่มารีที่สำคัญที่สุดชุดหนึ่งก็ได้แก่ภาพภายในชาเปลทอร์นาบุโอนิ (Tornabuoni Chapel) ภายในโบสถ์ซานตามาเรีย โนเวลลาที่ฟลอเรนซ์โดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาที่วาดระหว่างปี ค.ศ. 1485 และปี ค.ศ. 1490 ในชาเปลสโครเวยี (Scrovegni Chapel) ที่ปาดัวโดยจอตโต ดี บอนโดเน ที่เขียนเสร็จราวค.ศ. 1305 และ มาเอสตา (Maestà) โดยดุชโชที่เขียนเสร็จราวค.ศ. 1308 หรืองานโมเสกจากปลายสมัยไบเซ็นไทน์ที่โบสถ์คอรา (Chora Church) ที่สร้างตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างฉากชีวิตของตะวันออกและตะวันตก - คริสตจักรออร์ทอดอกซ์มีวันสมโภชสำหรับฉากชีวิตเจ็ดฉากแรก - แต่อีก 16 ฉากจนก่อนที่จะถึงฉากการเสด็จเยี่ยม (Visitation) คล้ายกับฉาก 15 ฉากในสมัยเดียวกันกับที่จอตโต ดี บอนโดเนเขียน เมื่อฉากชุดของคอราเริ่มอีกครั้งก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพจากฉาก “ชีวิตของพระเยซู” เริ่มด้วยฉากที่พระเยซูมาประสูติ เช่นเดียวกับงานเขียนของจอตโต ดี บอนโดเนและงานของศิลปินตะวันตกอื่น ๆ ฉากชีวิตของจอตโต ดี บอนโดเนเขียนเป็นฉากที่ครบชุดที่มีด้วยกันทั้งหมด 26 ฉาก ฉากคู่ที่มักจะเห็นกันบ่อยและเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปคือฉากแม่พระรับสาร และการประสูติของพระเยซู แต่บางครั้งก็จะเป็นฉากพระนางมารีย์ราชินีแห่งสากลโลกที่ใช้แทนฉากสองฉากนี้
ฉากชุดในชาเปลทอร์นาบุโอนิมีด้วยกัน 9 ฉากมีฉาก “การเสด็จเยี่ยม” ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพชุด “ฉากชีวิตของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” “ฉากชีวิตของพระเยซู” มีหลายฉากที่เป็นฉากร่วมกับ “ฉากชีวิตของพระแม่มารี” เช่นที่เห็นในชาเปลซโครเวยี อัลเบรชท์ ดือเรอร์ สร้างภาพพิมพ์แกะไม้ 19 ฉากจากชีวิตของพระแม่มารีที่แพร่หลายและมีอิทธิพลต่องานอื่น ๆ[1]
จำนวนฉากชีวิตของพระแม่มารีทั้งหมดมีเป็นจำนวนมากมาจนถึงสมัยกอธิคตอนต้น ลาฟองเตน-โดซอยจ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ลำดับว่าก่อนที่จะถึงฉาก “แม่พระรับสาร” ที่พบในศิลปะตะวันตกก็มีด้วยกัน 53 ฉากเข้าไปแล้ว แต่ก็มีเพียงตัวอย่างเดียวที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้จากหนังสือวิจิตรจากเยอรมนีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ยังเหลืออยู่ครบชุด ในจำนวนนั้น 17 ภาพเป็นภาพก่อน “การประสูติของพระแม่มารี”[2] แต่ฉากต่าง ๆ เหล่านี้มาจำกัดลงมากในปลายยุคกลาง
ตารางฉาก
[แก้]ตารางข้างล่างแสดงให้เห็นว่าฉากใดมีวันสมโภชและฉากที่ปรากฏในงานสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ด้วยเครื่องหมาย “X”: จอตโต ดี บอนโดเนในชาเปลซโครเวยี (จอตโต); หนังสือประจำชั่วโมงที่ใช้กันทั่วไป[4] (ชั่วโมง); หนังสือประจำชั่วโมงของแคทเธอรินแห่งคลีฟส์[5] (แคทเธอริน); ฉากชุดจาก “ชีวิตขอพระแม่มารีของครูแห่งลูฟร์”[6] (ลูฟร์); ภาพเขียนโดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดาในชาเปลทอร์นาบุโอนิ (โดเมนนิโค); งานภาพพิมพ์ชุดโดยอิสราเฮล ฟอน เม็คเค็นเน็ม (Israhel van Meckenem) (อิสราเฮล); และอัลเบรชท์ ดือเรอร์ (ดือเรอร์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อาจจะระหว่าง ค.ศ. 1500-ค.ศ. 1504 เคิร์ธ:27
- ↑ คาร์ลิดจ์และเอลเลียตถกเถียงกันเรื่ององค์ประกอบของฉากชุดอย่างลึกซึ้ง พร้อมด้วยตาราง หน้า 29-32 ลำดับ 53 ฉากตาม ลาฟองเตน-โดซอยจ์และจากฉากที่คล้ายคลึงกันในฉากชุดจากตะวันออก
- ↑ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิก; (แค็ตตาลอกย่อ - ผู้เขียนหลายคน), หร้า 348-351, ฉบับ ค.ศ. 1986, ลิพพ์, ISBN 3874907015
- ↑ ฮาร์ธัน, หน้า 28
- ↑ พลัมเมอร์, เพลท 1-15
- ↑ ช่างเขียนเวนิสจากราวค.ศ. 1480 DES SCENES DE LA VIE DE LA VIERGE Joconde database