ข้ามไปเนื้อหา

แม่พระมหาการุณย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระแม่มารีปางกรุณา)
“พระแม่มารีปางกรุณา” โดย ซาโน ดิ เปียโตร ราวคริสต์ทศวรรษ 1440 พระแม่มารีทรงพิทักษ์แม่ชีและผู้ฝึกใหม่

พระแม่มารีปางกรุณา (ภาษาอังกฤษ: Virgin of Mercy; ภาษาอิตาลี: Madonna della Misericordia; ภาษาเยอรมัน: Schutzmantelmadonna; ภาษาฝรั่งเศส: Vièrge au Manteau หรือ Vierge de Miséricorde) เป็นหัวเรื่องของศิลปะคริสต์ศาสนา ที่เป็นภาพพระแม่มารีกางฉลองพระองค์คลุมกว้างออกไปเหนือกลุ่มคนที่เข้ามารับการพิทักษ์ หัวเรื่องการเขียนภาพนี้นิยมกันมากในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะเป็นลักษณะเขียนย่อยจากภาพเหมือนผู้อุทิศ (Donor portrait) ภาพเขียนลักษณะนี้พบในประเทศอื่นและศิลปะยุคต่อมาด้วย โดยเฉพาะในแคว้นคาเทโลเนีย และละตินอเมริกา

ภาพและที่มา

[แก้]

ตามปกติพระแม่มารีจะยืนอยู่องค์เดียวที่อาจจะมีเทวดายกเสื้อคลุมให้เพื่อที่จะทรงอุ้มพระบุตรได้ ผู้ที่ได้รับการพิทักษ์มักจะคุกเข่าและด้วยความจำเป็นมีขนาดร่างเล็กกว่าพระแม่มารีมาก ผู้ได้รับการพิทักษ์อาจจะเป็นผู้แทนของคริสต์ศาสนจักรโดยมีพระสันตะปาปาถือคทาประจำพระองค์และมงกุฏอยู่ข้างหน้าและผู้แทนของประชาชนในเมืองที่เขียน ภาพมักจะจ้างให้เขียนโดยกลุ่มคนเช่นครอบครัว, สมาคมภราดรภาพ, สมาคมพ่อค้า หรือสำนักสงฆ์หรือแอบบี ผู้รับการพิทักษ์ก็เป็นผู้จ้างให้เขียนภาพซึ่งแสดงจากการแต่งตัว หรือมาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็อาจจะเป็นภาพส่วนบุคคล บางครั้งในภาพก็จะมีลูกธนูหล่นลงมาเป็นสายอยู่เหนือภาพโดยมีเสื้อคลุมของพระแม่มารีปกป้องผู้หลบอยู่ข้างใน[1]

งานเขียนภาพนี้ที่เก่าที่สุดอาจจะเป็นจิตรกรรมแผงเล็กที่เขียนโดยดุชโช ราวปี ค.ศ.1260 โดยมีพระซานฟรานซิคันสามคนหลบอยู่ในเสื้อคลุม[2] ในภาพนี้พระแม่มารีทรงนั่งและกางเสื้อคลุมออกไปข้างเดียว และทรงอุ้มพระบุตรบนพระเพลาด้วยพระกรอีกข้างหนึ่ง

แรงบันดาลใจของรูปสัญลักษณ์มาจากทิพยทัศน์ที่รายงานใน “Dialogus Miraculorum” ของหลวงพ่อซิสเตอร์เชียนซีซาร์แห่งไฮสเตอร์บาค (Caesar of Heisterbach) ที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางราว ค.ศ. 1230.[3] นอกไปจากนั้นที่มาของภาพอาจจะเกี่ยวข้องกับประเพณีหรือทิพยทัศน์ของปาฏิหาริย์ที่เกี่ยวข้องกับภาพที่มีชื่อเสียงที่วัดเซนต์แมรีแห่งบลาแชร์แน (Church of St. Mary of Blachernae) ที่ คอนแสตนติโนเปิล[4] ซึ่งเป็นที่มาของรูปสัญลักษณ์พระแม่มารีผู้พิทักษ์ (The Protection of the Mother of God) ของนิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์ แต่ภาพนี้ก็ไม่พบในศิลปะไบแซนไทน์ ภาพที่คล้ายคลึงกันเป็นภาพของพระแม่มารีที่ทรงปกป้องด้วยผ้าคลุมผมที่ทรงถืออยู่ในพระหัตถ์ที่พิทักษ์คนได้เพียงจำนวนน้อย[5] ภาพตะวันตกนี้บางครั้งก็ยังพบในรูปสัญลักษณ์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาจจะเผยแพร่ทางไซปรัสโดยผู้ไปรบในสงครามครูเสด[6] หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปตะวันออก

ตามปกติแล้วภาพนี้ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมหรือประติมากรรมจะเป็นภาพโดด ๆ ไม่รวมอยู่ในภาพชุดใด ยกเว้น “ฉากแท่นบูชาพระแม่มารีปางกรุณา” โดย เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1445-1462 โดย เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาที่วางแผง “พระแม่มารี” เป็นแผงกลางของฉากแท่นบูชาโดยมีแผงอื่นประกบข้างและเหนือภาพ

ในเยอรมนีใช้ภาพทรงเดียวกันแต่แทนที่จะเป็นพระแม่มารีก็เป็นนักบุญเออร์ซูลาผู้มักจะถือศรที่สัญลักษณ์ประจำตัวเพื่อไม่ให้สับสนกับพระแม่มารี[7]

มาร์ติน ลูเทอร์กล่าวเสียดสีภาพนี้ว่าเป็นภาพ “แม่ไก่กับลูกเจี๊ยบ” [8]

การใช้อย่างอื่น

[แก้]

คำว่า “พระแม่มารีปางกรุณา” พบในความหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานศิลปะที่กล่าวมา เช่นการใช้เป็นรูปสัญลักษณ์ของพระแม่มารีและพระบุตร พระแม่มารีผู้กรุณาทรงเป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของบาร์เซโลนา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hall, 222
  2. In the Pinacoteca in Siena. An Armenian miniature of ca. 1274 also shows a variant of the motif. Miniature Painting in the Armenian Kingdom of Cilicia from the Twelfth to the Fourteenth Century, Sirarpie Der Nersessian, Sylvia Agémian, Annemarie Weyl Carr, Dumbarton Oaks, p. 159, 1993, ISBN 0-88402-202-1. A South German chalice may also be older, see Vasilake, 307, note 17.
  3. Imagining Childhood: Themes in the Imagery of Childhood, Erika Langmuir, p.237, note 56, Yale University Press, 2006, ISBN 0-300-10131-7
  4. Vasilake, 308
  5. Neil K. Moran; Singers in Late Byzantine and Slavonic Painting, p.126ff, BRILL, 1986, ISBN 90-04-07809-6
  6. Vasilake, 307ff
  7. See the Commons category note for three examples
  8. Hall, 305

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระแม่มารีปางกรุณา

สมุดภาพ

[แก้]