พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) | |
---|---|
สมุหพระตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ธันวาคม พ.ศ. 2453 – 1 เมษายน พ.ศ. 2456 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 |
เสียชีวิต | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 (64 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงเชย อนุชิตชาญไชย |
บุพการี |
|
นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) อดีตองคมนตรี รัฐมนตรี[1]และสมุหพระตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ประวัติ
[แก้]พระยาอนุชิตชาญไชย มีนามเดิมว่า สาย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 ปีเถาะ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพระยาเพ็ชรชฎา (ดิศ สิงหเสนี) กับคุณหญิงนุ่ม ต.จ.[2][3] ได้ศึกษาเล่าเรียนจากบิดา ต่อมาบรรพชาในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร หลังจากลาสิกขาบท ได้เข้ารับราชการเป็นทหารมหาดเล็กในปี พ.ศ. 2413
ในปี พ.ศ. 2419 ได้สมรสกับนางสาวเชย (บุตรีพระยาอนุชิตชาญไชย (พึ่ง สุวรรณทัต) และคุณหญิงเกสร)
พ.ศ. 2445 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพไปปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ที่นครลำปาง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ท่านได้เข้าพิธีถือน้ำและรับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[4] ต่อมาในวันที่ 27 ธันวาคม โปรดให้ยกกรมพระตำรวจรวมเข้าอยู่ในกระทรวงวัง[5] แล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านซึ่งเป็นจางวางกรมพระตำรวจขวาให้เป็นสมุหพระตำรวจเป็นคนแรก[6]
พระยาอนุชิตชาญไชย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอหิวาตกโรค เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมประกอบศพ ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ฟ้า ฉัตรเบญจา 4 คัน[7] แล้วรับพระราชทานเพลิงศพพร้อมกับคุณหญิงเชย อนุชิตชาญไชย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[8]
ลำดับบรรดาศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2416 เป็นนายสรพลเรืองเดช จ่านายสิบทหารราบ กองร้อยที่ 4
- พ.ศ. 2426 เลื่อนเป็นจมื่นไชยาภรณ์ ปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ขวา ถือศักดินา 800[9]
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือ ศักดินา 1600 (ในการนี้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน คนโททองคำ และ กาทองคำ เป็นเครื่องยศ)[10]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2436 เลื่อนเป็นพระพิเรนทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ถือศักดินา 2,000[11]
- 18 ตุลาคม พ.ศ. 2437 เลื่อนเป็นพระยามหามนตรีศรีองครักษสมุห เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ถือศักดินา 2,000[12]
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เลื่อนเป็นพระยาอนุชิตชาญไชย จางวางกรมพระตำรวจขวา ถือศักดินา 3,000[13]
ยศ
[แก้]นายพลตรี นายหมวดตรี พระยาอนุชิตชาญไชย | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | พลตรี |
ยศตำรวจหลวง
[แก้]- – พระตำรวจโท
- – พระตำรวจเอก
ยศทหาร
[แก้]ยศเสือป่า
[แก้]- นายหมู่ตรี
- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายหมวดตรี[17]
ครอบครัว
[แก้]พระยาอนุชิตชาญไชยมีบุตรธิดารวม 10 คน[18] โดยมีบุตรธิดากับคุณหญิงเชยรวม 3 คน ได้แก่
- คุณหญิงสำลี ยมาภัยพงศ์พิพัฒน์ ภริยาพระยายมาภัยพงศ์พิพัฒน์ (เชย ยมาภัย)
- นางสาวสำรวล สิงหเสนี
- จางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) (3 สิงหาคม 2428 - 7 กุมภาพันธ์ 2468)[19]
มีบุตรธิดากับนางน้อม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) 4 คน ได้แก่[20]
- นายชิต สิงหเสนี สมรสกับนางชูเชื้อ (นามเดิม วลี กฤษณามระ)
- คุณหญิงอนงค์ สิริราชไมตรี ภริยาหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)
- นายสนาน สิงหเสนี สมรสกับนางไพจิตร
- นางเสนาะ สิงหเสนี สมรสกับนายอาชว กุญชร ณ อยุธยา
มีบุตรกับหม่อมราชวงศ์จิ๋ว ทินกร 2 คน ได้แก่
- นายอรุณ สิงหเสนี
- นายสมุน สิงหเสนี สมรสกับ นางอรุณ (สกุลเดิม วิระพานิช)
มีบุตรกับหม่อมหลวงเจิม พนมวัน 1 คน คือ
- นาวาอากาศตรี หลวงถกลนภากาศ (มนต์ สิงหเสนี) สมรสกับหม่อมหลวงสอิ้ง (สกุลเดิม นพวงศ์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[22]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[24]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[25]
- พ.ศ. 2438 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[26]
- พ.ศ. 2437 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[27]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[28]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[29]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[30]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ พระบรมราชโองการ พระราชดำรัสในการเปิดประชุมรัฐมนตรีสภา (หน้า 372)
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (35): 379. 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 112. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ลำดับสายสกุลสิงหเสนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกกรมพระตำรวจรวมเข้าอยู่ในกระทรวงวัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 94–95. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ตั้งตำแหน่งสมุหพระตำรวจ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27: 2272. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 37, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2463, หน้า 355
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เสด็จพระราชดำเนิรพระราชทานเพลิงศพ พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย และคุณหญิง (เชย) อนุชิตชาญไชย ณ เมรุ วัดเทพศิรินทราวาส, เล่ม 39, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465, หน้า 2583
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า 245 ลำดับที่ 158)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรไปเมืองนครเชียงใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 10, ตอน 4, 23 เมษายน ร.ศ. 112, หน้า 26
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 11, ตอน 30, 21 ตุลาคม ร.ศ. 113, หน้า 229
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 17, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 502
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ "ประกาศเลื่อนยศนายเสือป่าพิเศษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
- ↑ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 67 จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ตอนที่ 1, 29 เมษายน พ.ศ. 2502, หน้า (1). [พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงสำลี ยมาภัยพงศ์พิพัฒน์]
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 3530. 21 กุมภาพันธ์ 2468. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วิถีแห่งเต๋า : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงสิริราชไมตรี จ.จ. (อนงค์ สิงหเสนี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๒๖, ๕ ธันวาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายน่า แล ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๐, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2015-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๔๒, ๒๙ กันยายน ๑๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, นายทหารที่ได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาในศก ๑๑๓, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๙๒, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๔๓๗, ๒๙ กันยายน ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๑๐, ๑๐ มกราคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๘, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- บรรณานุกรม
- ประวัติพระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) ; ตำราขนมหวานของร้าน "สุริยา". กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518. 98 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสมุน สิงหเสนี]
ก่อนหน้า | พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | สมุหพระตำรวจ (27 ธันวาคม พ.ศ. 2453 – 1 เมษายน พ.ศ. 2456) |
เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) |