ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
TW TWA TWA
ก่อตั้ง16 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 (1930-07-16)
(ในชื่อทรานส์คอนติเนนตัล แอนด์ เวสเทิร์น แอร์ )
เลิกดำเนินงาน1 ธันวาคม ค.ศ. 2001 (2001-12-01)
(เข้าซื้อกิจการโดย อเมริกันแอร์ไลน์)[1]
ท่าหลัก
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์Aviators
บริษัทลูก
บริษัทแม่
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลัก
  • ดิ๊ก ร็อบบินส์ (1930–1934)
  • แจ็ก ฟรายและพอล ริชเตอร์ (1931–1947)
  • วอลเตอร์ เอ. แฮมิลตัน (1931–1946)
  • โฮเวิร์ด ฮิวจ์ ั(1939–1965)
  • ราล์ฟ เดมอน (1949–1956)
  • คาร์เตอร์ เบอร์เกสส์ (1956–1957)
  • ชาร์ลส์ โทมัส (1958–1960)
  • ชาร์ลส์ ทิลลิงแฮสต์ (1961–1976)
  • แอลอี สมาร์ท (since 1976)
  • ซีอี เมเยอร์ จูเนียร์ (1976–1985)
  • คาร์ล ไอคาห์น (1985–1993)
  • วิลเลียม อาร์. โฮเวิร์ด (1993–1994)
  • เจฟฟรีย์ เอช. อีริกสัน (1994–1997)
  • เจอรัลด์ แอล. กิตเนอร์ (1997–1999)
  • วิลเลียม คอมป์ตัน (1999–2001)
  • โดนัลด์ เจ. คาร์ตี้ (2001)
  • โรเบิร์ต ดับเบิลยู เบเกอร์ (2001)
เว็บไซต์www.twa.com (เก็บถาวร 2001-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

สายการบินทรานส์ เวิลด์ แอร์ไลน์ (อังกฤษ: TWA) เป็นสายการบินพาณิชย์หลักของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 ดำเนินการจนถึงปี 2001 เมื่อถูกสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์เข้าซื้อกิจการ ก่อตั้งขึ้นในชื่อ Transcontinental & Western Air เพื่อให้บริการเส้นทางจากนิวยอร์กซิตีไปยังลอสแองเจลิสผ่านเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เซนต์หลุยส์ แคนซัสซิตี และจุดจอดอื่น ๆ ด้วยเครื่องบิน Ford Trimotors สายการบินนี้เป็น 1 ใน "บิ๊ก 4" ของสหรัฐซึ่งก่อตั้งขึ้นในการประชุม Spoils Conference เมื่อปี 1930 ร่วมกับสายการบินอเมริกัน, ยูไนเต็ด และ อีสเทิร์น[2]

ฮาวเวิร์ด ฮิวส์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ของ TWA ในปี 1939 และหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ขยายสายการบินไปให้บริการในยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย ทำให้ TWA กลายเป็นสายการบินแห่งชาติแห่งที่สองอย่างไม่เป็นทางการของสหรัฐอเมริกาต่อจากแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์[3][4] ฮิวส์วางมือจากการบริหารในทศวรรษที่ 1960 และผู้บริหารชุดใหม่ของ TWA ได้เข้าซื้อกิจการฮิลตันอินเตอร์เนชั่นแนลและเซ็นจูรี 21 ในความพยายามที่จะขยายธุรกิจของบริษัท

เนื่องจากกฎหมายการยกเลิกการควบคุมสายการบิน ค.ศ. 1978 ทำให้สายการบินหลายแห่งล้มละลาย เกิดสายการบินใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย และสายการบินบางแห่งถูกบริษัทอื่นซื้อกิจการ TWA เองก็ถูกแยกออกจากบริษัทโฮลดิ้งในปี 1984 ในปี 1988 คาร์ล ไอคาห์น นักลงทุนชาวอเมริกัน เข้ามาซื้อหุ้นของ TWA จำนวนมากจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และดำเนินการเทคโอเวอร์โดยใช้กลยุทธ์การซื้อกิจการแบบใช้เงินกู้ยืม ทำให้ TWA แปรสภาพจากบริษัทมหาชนจำกัดเป็นบริษัทเอกชน ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์เผชิญปัญหาหนี้สินจำนวนมาก จึงต้องขายเส้นทางบินไปลอนดอน และเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างธุรกิจถึงสองครั้งในปี 1992 และ 1995 เหตุการณ์ร้ายแรงยิ่งตามมาเมื่อทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 800 ประสบอุบัติเหตุตกในปี 1996 กลายเป็นอุบัติเหตุทางอากาศที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์เคยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี และวางแผนจะใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแคนซัสซิตีเป็นฐานการบินหลักทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในที่สุดก็ยกเลิกแผนการนี้ในช่วงทศวรรษ 1970[5] ต่อมา สายการบินทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ได้ขยายฐานการบินหลักที่ใหญ่ที่สุดไปยังสนามบินนานาชาติเซนต์หลุยส์แลมเบิร์ต มีศูนย์กลางการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่สำคัญตั้งอยู่ที่ ทีดับเบิลยูเอ ไฟลท์ เซ็นเตอร์ ภายในท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์ก อาคารหลังนี้เป็นผลงานการออกแบบของ อีโร ซารินเนน สถาปนิกชื่อดัง ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1962[6]

ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ยื่นล้มละลายเป็นครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายในเดือนมกราคม 2001 และต่อมาถูกสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์เข้าซื้อกิจการ หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกประสบปัญหาอย่างหนัก โดยบริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ได้เลิกจ้างอดีตพนักงานของทีดับเบิลยูเอจำนวนมาก ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ยังคงดำเนินกิจการต่อในรูปแบบบริษัทจำกัดความรับผิด (LLC) ภายใต้การควบคุมของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2003[7] ในปี 2009 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ได้ตัดสินใจปิดฐานปฏิบัติการที่เซนต์หลุยส์[8]

ตารางเวลาและแผนที่เส้นทาง TWA จากชายฝั่งถึงชายฝั่ง กันยายน พ.ศ. 2476

อ้างอิง

[แก้]
  1. Acquisition article from ABC News retrieved 10-30-15
  2. "The Rise of Airlines". Century of Flight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  3. Rigas Doganis (2006). The Airline Business. Psychology Press. ISBN 9780415346153. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  4. Barry Meier, "Ailing T.W.A. Still a Symbol, and So Perhaps a Target, Abroad", New York Times, August 25, 1996.
  5. Hendricks, Mike (8 March 2014). "The why of KCI: A broken plan that many travelers still love". Kansas City Star. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  6. "JFK's Most Famous Terminal May Soon Be Transformed Into a Flashy Hotel". The Atlantic Cities. 20 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  7. "TWA Timeline". TWA Museum. 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ August 12, 2020.
  8. Grant, Elaine (October 2005). "TWA – Death Of A Legend". St. Louis Magazine. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.