จ้องหน่อง
หน้าตา
จ้องหน่อง หืน หรือ หุน[1] เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่หรือโลหะบาง เซาะร่องตรงกลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่น (ดีด) ประกบจ้องหน่องเข้ากับปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งของจ้องหน่องด้วยนิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้ หรือชักด้วยด้ายเชือกที่ผูกโยงกับปลายจ้องหน่อง อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง (ขยายเสียงในลักษณะเดียวกับกะโหลกซอหรือลำตัวของกีตาร์โปร่ง) การสร้างโทนเสียงทำให้เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ
นิยมเล่นกันในชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในกลุ่มไทยลาว เช่น ผู้ไทซึ่งเรียกชื่อว่า "โกย"[2] และมูเซอเรียกว่า "เปี๊ยะ"[1] เครื่องดนตรีชนิดนี้ยังพบในต่างประเทศด้วย ได้แก่ แถบมองโกเลีย ปาปัวนิวกินี เกาะลมบก บาหลี แอฟริกา และยุโรป
จ้องหน่องในประเทศต่าง ๆ | |||||
---|---|---|---|---|---|
อังกูฐ (អង្គួច) | คคณา (গগণা) | โมรสิงค์ (మోర్సింగ్) | ต่านโมย (đàn môi) | เดมีร์-โคมุซ (demir-khomus) | โข่วเสียน (口弦) |
|
|
|
|
|
|
พบในประเทศกัมพูชา | พบในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย | พบในประเทศอินเดีย | พบในประเทศเวียดนาม | พบในสาธารณรัฐตูวา รัสเซีย | พบในประเทศจีน |
อ้างอิง
[แก้]- [1][ลิงก์เสีย]
- [2] เก็บถาวร 2011-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ↑ 1.0 1.1 เครื่องดนตรีของภาคอีสานตอนเหนือ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564.
- ↑ Isan Gate. วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.