จรุงจิตต์ ทีขะระ
ท่านผู้หญิง จรุงจิตต์ ทีขะระ | |
---|---|
เกิด | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2488 |
อาชีพ | นางสนองพระโอษฐ์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
คู่สมรส | พล.อ.อ.รังสรรค์ ทีขะระ |
บุตร | ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย |
บิดามารดา | จาด อุรัสยะนันทน์ ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ |
ท่านผู้หญิง จรุงจิตต์ ทีขะระ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ และ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[1] เป็นเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว[2]รองประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานและประสานงาน โครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.[3]ประธานคณะกรรมการจัดการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
ประวัติ[แก้]
จรุงจิตต์ ทีขะระ มีสกุลเดิมว่า จรุงจิตต์ อุรัสยะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรีของนายจาด อุรัสยะนันทน์ และ ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ บิดาของท่านผู้หญิงเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์สมรสกับ พล.อ.อ.รังสรรค์ ทีขะระ อดีตรองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด มีบุตรีหนึ่งคนคือ นางปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ปัจจุบันถวายงานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นหัวหน้าคณะทำงานพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ได้เคยเป็นผู้ช่วยท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการเดินทางสำรวจผ้าไหมมัดหมี่ในภาคอีสานจนเกิดเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2540 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[8]
- พ.ศ. 2562 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[9]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (สำนักราชเลขาธิการ: ท่านผู้หญิง จรุงจิตต์ ทีขะระ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๔๐ ง พิเศษ หน้า ๔ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
- ↑ เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว
- ↑ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานและประสานงาน โครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๔๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔๑, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ , เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ท่านผู้หญิง
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3 (ร.10)