งูลายสอบ้าน
งูลายสอบ้าน | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
อันดับย่อย: | งู Serpentes |
วงศ์: | วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง |
สกุล: | Fowlea (ฮาลโลเวลล์, 1860) |
สปีชีส์: | Fowlea flavipunctata |
ชื่อทวินาม | |
Fowlea flavipunctata (ฮาลโลเวลล์, 1860) |
งูลายสอธรรมดา, งูลายสอบ้าน หรือ งูลายสอสวน (อังกฤษ: yellow-spotted keelback; ชื่อวิทยาศาสตร์: Fowlea flavipunctata) เป็นสปีชีส์ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง เป็นงูชนิดที่พบในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศจีน ทางตะวันตกของประเทศมาเลเซีย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย (บนเกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะกาลีมันตัน)[2]
ตัวอย่างที่ตั้งชนิด: เกาะของฮ่องกง (ฮ่องกง) และแม่น้ำจู ในประเทศจีน[2]
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ รวมไต้หวันไว้ในที่ที่สามารถพบงูลายสอบ้าน (F. flavipunctata) ได้แต่ไม่รวมประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซียด้วย[1]
F. f. schnurrenbergeri ในประเทศเนปาล ถือเป็นสายพันธุ์อิสระในปัจจุบัน คือ Fowlea schnurrenbergeri[1]
ที่อยู่อาศัยและพฤติกรรม
[แก้]งูลายสอบ้าน เป็นงูกึ่งบกกึ่งน้ำที่พบได้ในแม่น้ำและลำธารที่ไหลช้า บึงน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ และทะเลสาบ นอกจากนี้ยังเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ชื้นแฉะซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ เช่น ทุ่งนาและคูน้ำ งูชนิดนี้กินปลาและกบเป็นอาหาร[1] และหากินเวลากลางวัน[2]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]งูลายสอบ้าน ถูกใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงฟาร์มงูและหมู และเพื่อใช้ทำไวน์งู[1]
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Stuart, B.; Wogan, G. & Grismer, L. (2012). "Fowlea flavipunctatus". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2012: e.T192120A2042661. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T192120A2042661.en. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "IUCN" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 2.0 2.1 2.2 Fowlea flavipunctata ที่คลังข้อมูลสัตว์เลื้อยคลาน Reptarium.czสืบค้นเมื่อ 28 October 2012
- Hallowell, E.; 1861 "Report upon the Reptilia of the North Pacific Exploring Expedition, under command of Capt. John Rogers, U.S.N." Proc. Acad. Nat. Sci. Philadelphia 12 [1860]: 480 - 510