ข้ามไปเนื้อหา

งูทับสมิงคลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูทับสมิงคลา
จาก การาวัง, ชวาตะวันตก, ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: งู
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า
สกุล: งูทับทาง

(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Bungarus candidus
ชื่อทวินาม
Bungarus candidus
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Coluber candidus Linnaeus, 1758

งูทับสมิงคลา หรือ งูทับทางน้ำเงิน (อังกฤษ: Malayan krait, blue krait; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bungarus candidus) เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง งูทับทางชนิดนี้เป็นสมาชิกของสกุล Bungarus และอยู่ในวงศ์ Elapidae

คำอธิบาย

[แก้]

งูทับสมิงคลาอาจมีความยาวรวมประมาณ 108 เซนติเมตร (43 นิ้ว) มีหางยาวประมาณ 16 เซนติเมตร (6.3 นิ้ว)

ด้านหลังมีลวดลายแถบสีน้ำตาลเข้ม สีดำ หรือสีกรมท่า จำนวน 27–34 แถบบนลำตัวและหาง ซึ่งด้านข้างจะแคบและโค้งมน แถบไขว้อันแรกต่อเนื่องกับสีเข้มบริเวณหัว แถบขวางสีเข้มแต่ละแถบจะคั่นด้วยแถบสีเหลืองอมขาวกว้างซึ่งอาจมีจุดสีดำอยู่ และบริเวณท้องมีสีขาวที่มีความสม่ำเสมอ

ลักษณะปรากฏแบบที่แถบสีดำไม่มีแถบสีเหลืองอมขาว ยังสามารถพบได้ในบางส่วนของประชากรงูชนิดนี้ โดยมีรายงานว่าพบในชวาตะวันตกและชวากลาง[2]

เกล็ดหลังเรียงเป็น 15 แถว โดยเกล็ดกลางสันหลังเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม จำนวนเกล็ดท้องระหว่าง 195–237 เกล็ด แผ่นรูทวารเป็นแผ่นเดียว และเป็นแถบเกล็ดเดี่ยว มีจำนวน 37–56 แถบ[3]

การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัย

[แก้]

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินโดจีนตอนใต้จนถึงเกาะชวาและบาหลี ในประเทศอินโดนีเซีย

พิษ

[แก้]

ในหนู การฉีดพิษเข้าหลอดเลือดดำแบบ LD50 สำหรับพิษของงูสปีชีส์นี้คือ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม[4] โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 60–70% ในมนุษย์ที่ไม่ได้รับการรักษา[5] ปริมาณพิษที่ฉีดเข้าไปเมื่อกัดคือ 5 มิลลิกรัม ในขณะที่ปริมาณพิษที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตสำหรับมนุษย์ที่หนัก 75 กิโลกรัมคือ 1 มิลลิกรัม[6]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  • Das, Indraneil (2010). A Field Guide to the Reptiles of South-East Asia. New Holland Publishers. ISBN 978-1-84773-347-4
เชิงอรรถ
  1. Wogan, G.; Vogel, G.; Grismer, L.; Chan-Ard, T.; Nguyen, T.Q. (2012). "Bungarus candidus". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T192238A2059709. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T192238A2059709.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. Kuch, Ulrich; Mebs, Dietrich (March 2007). "The identity of the Javan Krait, Bungarus javanicus Kopstein, 1932 (Squamata: Elapidae): evidence from mitochondrial and nuclear DNA sequence analyses and morphology". Zootaxa. 1426 (1): 1–26. doi:10.11646/zootaxa.1426.1.1. ISSN 1175-5334.
  3. Boulenger, George Albert (1896). Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Vol. III. London: Taylor and Francis. p. 368.
  4. Tan, Nget Hong. "Toxins from Venoms of Poisonous Snake Indigenous to Malaysia: A Review". Department of Molecular Medicine, Faculty of Medicine. University of Malaya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.
  5. "Clinical Toxinology-Bungarus candidus". Clinical Toxinology Resources. University of Adelaide. Mortality rate:70%
  6. Habermehl, G. (2012-12-06). Venomous Animals and Their Toxins (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. ISBN 978-3-642-88605-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]