งูหมอก
งูหมอก | |
---|---|
![]() | |
ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
อันดับย่อย: | งู Serpentes |
วงศ์: | Psammodynastidae |
สกุล: | Psammodynastes (H. Boie in F. Boie, 1827) |
สปีชีส์: | Psammodynastes pulverulentus |
ชื่อทวินาม | |
Psammodynastes pulverulentus (H. Boie in F. Boie, 1827) | |
ชื่อพ้อง | |
|
งูหมอก (อังกฤษ: common mock viper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psammodynastes pulverulentus) เป็นงูชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
เป็นงูขนาดเล็ก (ความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 65 เซนติเมตร (26 นิ้ว) ความยาวจะน้อยกว่าในเพศผู้) และงูหมอกจะขดตัวเพื่อป้องกันและโจมตีในลักษณะเหมือนงูแมวเซา เมื่อถูกคุกคาม[2] แม้ว่ามันจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็ตาม[3]
การกระจายพันธุ์
[แก้]งูหมอกเป็นงูในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศเมียนมาร์ (พม่า), ประเทศกัมพูชา, ประเทศจีน (มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลยูนนาน, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลไหหลำ และฮ่องกง[4]), อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ (รัฐอัสสัม, รัฐสิกขิม, ดาร์จีลิง; ชัลไปคูริ; รัฐเมฆาลัย และรัฐอรุณาจัลประเทศ), ประเทศภูฏาน, ประเทศอินโดนีเซีย (เกาะบาหลี, เกาะบังกา, เกาะบอร์เนียว, เกาะโฟลเร็ซ, เกาะชวา, เกาะกาลิมันตัน, เกาะโคโมโด, เกาะลมบก, หมู่เกาะเรียว, เกาะรินจา, เกาะซูลาเวซี, เกาะสุมาตรา, เกาะซุมบา, เกาะซุมบาวา ฯลฯ), ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย (มาเลเซียตะวันตก และมาเลเซียตะวันออก, เกาะติโอมัน), ประเทศเนปาล, ประเทศฟิลิปปินส์ (เกาะบาลาบัจ, จังหวัดบาซีลัน, จังหวัดโบโฮล, โบนเกา, เกาะบูซวนกา, เกาะดีนากัต, เกาะโจโล, เกาะเลย์เต, เกาะลูซอน, เกาะมินดาเนา, เกาะเนโกรส, จังหวัดปาลาวัน, ปาไนย์, โปลิลโล และซามาร์) ประเทศไต้หวัน, ประเทศไทย[3] (รวมถึงจังหวัดภูเก็ต) และประเทศเวียดนาม มีรายงานการพบจากประเทศสิงคโปร์
ชนิดย่อย Psammodynastes pulverulentus papenfussi เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในไต้หวัน[2]
แกลเลอรี่
[แก้]-
Psammodynastes pulverulentus จากอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
-
Psammodynastes pulverulentus หรืองูหมอก จากอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ Wogan, G.; Grismer, L.; Chan-Ard, T.; Srinivasulu, C.; Srinivasulu, B.; Das, A.; Agarwal, I.; Mohapatra, P.; Diesmos, A.C.; Delima, E.M.; Tampos, G.; Gonzalez, J.C.; Jose, R.; Rusli, N.; Iskandar, D.; Ghosh, A.; Tshewang, S.; Limbu, K.P.; Khan, M.; Pitogo, K. (2022) [amended version of 2021 assessment]. "Psammodynastes pulverulentus". IUCN Red List of Threatened Species. 2022: e.T184062A219112572. doi:10.2305/IUCN.UK.2022-2.RLTS.T184062A219112572.en. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
- ↑ 2.0 2.1 Hans Breuer; William Christopher Murphy (2009–2010). "Psammodynastes pulverulentus". www.snakesoftaiwan.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-18. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
- ↑ 3.0 3.1 "Mock Viper Psammodynastes pulverulentus". Thailand Snakes.
- ↑ "Psammodynastes pulverulentus (Boie, 1827), Mock Viper 紫沙蛇". Reptiles in Hong Kong.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Psammodynastes pulverulentus