คุยกับผู้ใช้:Heuristics/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

...

สวัสดีค่ะ รอติดตามอ่านเรื่องสวนสาธารณะ และเรื่องอื่นๆอยู่นะคะ - Look-Narm 13:20, 6 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)


สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทยครับ วิธีการใช้งาน วิกิพีเดีย สามารถดูได้ที่ เมนู "ช่วยเหลือ" ด้านซ้ายมือ ส่วนประกอบของวิกิพีเดียดูได้ที่ "ศาลาประชาคม" คำถามหรือข้อสงสัยสามารถถามได้ที่ วิกิพีเดีย:เลขาชาววิกิพีเดีย หรือ เมนู "ปุจฉา-วิสัชนา" จากเมนูด้านซ้ายมือเช่นกันครับ หรือถามที่ผู้ใช้แต่ละคน โดยกดที่ชื่อผู้ใช้นั้น และเลือกด้านบน "อภิปราย" เพื่อฝากข้อความคุยกับผู้ใช้นั้น และสามารถลงชื่อและเวลา ได้โดยการพิมพ์ เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา4 ครั้ง) ครับ--Manop | พูดคุย - 19:28, 12 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

เปลี่ยนชื่อบทความ

ผมได้เปลี่ยนชื่อบทความ จาก "การคิดเชิงวิพากษ์" เป็น การคิดเชิงวิพากษ์ และ รวมบทความ Critical thinking เข้าโดยใช้คำสั่ง #REDIRECT (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:หน้าเปลี่ยนทาง) ครับ --Manop | พูดคุย - 19:28, 12 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

สวัสดีครับ วิธีเปลี่ยนชื่อบทความสามารถทำได้ทุกคน โดยคนทำต้องทำการล็อกอินนะครับ แล้วตรงเมนูส่วนบนจะมีคำว่า "ย้าย" ขึ้นมาครับ เหมือนในรูปด้านล่างนี่

แต่การย้ายมีเงื่อนไขอย่างเดียวคือ ผู้ใช้ที่เพิ่งสร้าง username ใหม่ ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อบทความได้ครับ --Manop | พูดคุย - 17:15, 13 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

การค้นหาชื่อภาษาอังกฤษ

ตอบ เรื่อง "อยากให้ผู้ค้นคว้าค้นหาเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย เพราะบางครั้งศัพท์เทคนิคในภาษาไทยยังไม่มี หรือมีแต่ยังไม่นิ่ง"

ผมไม่แน่ใจว่าตอบได้ตรงคำถามหรือเปล่านะครับ ผมว่าเป็นเรื่องดีมากเลยที่มีชื่อภาษาอังกฤษสำหรับศัพท์เทคนิคหลายคำที่ชื่อไทยมีหลายชื่อมาก สามารถทำได้โดยทำการ redirect จากชื่อภาษาอังกฤษนั้นไปยังชื่อไทย(ที่ใกล้เคียงที่สุด) และนอกจากนี้ยังสามารถทำ redirect จากชื่อไทยชื่ออื่นไปยังบทความชื่อไทยได้เช่นกันครับ มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดพวกบทความที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น Graphic User Interface มีบทความที่ถูกสร้างมา หลายชื่อภายใต้เนื้อเรื่องเดียวกันครับ ตั้งแต่ ส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกส์ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์ (ดูได้ที่ พิเศษ:Whatlinkshere/ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์) --Manop | พูดคุย - 17:15, 13 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

เลนิน

สวัสดีครับ พอดีผมเพิ่งเจอว่ามี บทความ 2 บทความ เรื่อง เลนิน คือ วลาดีมีร์ เลนิน และ วลาดิมีร์ เลนิน เลยอยากฝากรบกวนดูหน่อยนะครับ พอดีเป็นความผิดผมเองที่เอาชื่อมาใส่ในส่วน Template:คุณทำได้ ขอโทษด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 19:27, 23 มีนาคม 2006 (UTC)

ไม่เป็นไรครับ ที่มีอยู่สมบูรณืกว่า โปรดลบได้เลยครับHeuristics 19:51, 23 มีนาคม 2006 (UTC)
ตอนนี้ผมติดป้ายไว้ว่า เอามารวมกันนะครับ ผมชอบของคุณ Heuristics เขียนที่เนื้อหาเป็นในลักษณะภาพรวม อ่านแล้วเข้าใจได้ดี เพราะอันเก่า จะเน้นในแนวรายละเอียดซะส่วนใหญ่ เลยคิดว่า น่าจะเอาอันใหม่มาใส่ไว้ในส่วนบนๆ ผสมรวมกับอันเก่านะครับ ให้คนที่ไม่รู้จักเลนินอ่านแล้วได้ไอเดียก่อน แล้วค่อยอ่านส่วนที่เหลือนะครับ ส่วนอีกเรื่องคือตัวสะกด ผมไม่แน่ใจว่าควรจะสะกดแบบไหนด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 19:56, 23 มีนาคม 2006 (UTC)

==...==

สวัสดีครับ พอดีเจอบทความชื่อเดียวกัน พอดีเลยเอามาฝากครับ ฮิวริสติก และ ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) --Manop | พูดคุย - 17:44, 19 เมษายน 2006 (UTC)

2185 and 2270

Hello, I just added some information that I got from Sir Isaac Newton article you wrote. I'm wondering if you could check these two pages for me, พ.ศ. 2185 and พ.ศ. 2270. Thank you --Manop | พูดคุย - 20:58, 24 เมษายน 2006 (UTC)

บทความคัดสรร

สวัสดีครับ แวะมาชักชวนร่วมเสนอชื่อ บทความคัดสรร ครับ โดยสามารถเสนอบทความที่คุณเขียนเอง หรือเลือกบทความอื่นที่ชอบได้ครับ รายละเอียดทั้งหมดดูได้ที่ วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรครับ --Manop | พูดคุย - 20:49, 25 เมษายน 2006 (UTC)

รัฐบาลเงา

จากบทความรัฐบาลเงา (Shadow Cabinet) ตามศัพย์บัญญัติราชบัณฑิตฯให้ใช้คำว่า "คณะรัฐมนตรีเงา" น่ะครับ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลเงา แตกต่างจาก คณะรัฐมนตรีเงาหรือไม่ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็มีบทความ "Shadow Government" ซึ่งเป็นคนละอันกับ "Shadow Cabinet" ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ --Kie 00:44, 5 พฤษภาคม 2006 (UTC)

ขนาดภาพ

สวัสดีครับ คุณ Heuristics คุณสามารถตั้งค่าการแสดงผลของขนาดภาพได้ (โดยตัวเลือกนี้จะมีผลสำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอินครับ) โดยเลือกเข้าไปที่ "ตั้งค่าผู้ใช้" ด้านขวาบน และเลือก "ไฟล์" โดยจะมีตัวเลือกสองอันคือ "จำกัดขนาดของภาพในหน้าบรรยายภาพที่" และ "ขนาดรูปย่อ" ครับ --Manop | พูดคุย - 16:16, 14 มิถุนายน 2006 (UTC)

ตาราง ค.ศ. พ.ศ.

สวัสดีครับ ถ้าเป็นไฟล์ ลองส่งมาที่อีเมลผมดูได้ครับ

ส่วนบทความ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ผมรวมเข้าไปแล้วนะครับ วิธีรวม(ของผม) อ่านสองบทความ แล้วจับส่วนที่คล้ายมารวมกัน และก็เอามาต่อกันครับผม --Manop | พูดคุย - 21:21, 14 มิถุนายน 2006 (UTC)

ผมส่งอีเมลให้คุณ Heuristics แล้วนะครับ ลองตรวจสอบดูได้ครับ :) --Manop | พูดคุย - 06:35, 15 มิถุนายน 2006 (UTC)

สีตาราง

สวัสดีครับ ตารางคราวก่อนที่คุณ Heuristics ให้ผมมาใน Words ผมทำเป็นตารางวิกิใน Excel นะครับ ผมเพิ่มสีไปบางส่วนนะครับ ในบทความ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย คุณ Heuristics สามารถเพิ่มสีหรือแก้สีนะครับ โดยตัวอย่างสี อาจจะดูได้จากหน้า สีที่ใช้ในเว็บ มีรหัสสีสำหรับเว็บ (hex 6 หลัก ให้)

ส่วนวิธีใส่สีตาราง อาจจะงงนิดหน่อยนะครับ แต่หลักการทั่วไปคือค่าต่างๆจะใส่ตามคำสั่งเฉพาะ (สีพื้นหลังใช้ bgcolor) และใส่เลขสีตามหลัง ตัวอย่างเช่น ด้านล่าง มีช่องขวาบนที่ไม่มีสีครับ

ช่องซ้ายบน ช่องขวาบน
ช่องซ้ายล่าง ช่องขวาล่าง
{|class="wikitable"
|bgcolor="#336699"|ช่องซ้ายบน || ช่องขวาบน
|-
|bgcolor="00cc00"|ช่องซ้ายล่าง || bgcolor="#cc0000"| ช่องขวาล่าง
|}

หรือดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:การสร้างตาราง ได้ครับ --Manop | พูดคุย - 16:13, 15 มิถุนายน 2006 (UTC)

Harvard University

สวัสดีครับ ผมขออนุญาตคัดลอก บทความพูดคุยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่คุณ Heuristics เขียนในหน้า คุยกับผู้ใช้:202.28.181.10 ผมคัดลอกซ้ำไปรวมต่อท้ายที่ พูดคุย:มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด นะครับผม สำหรับให้ผู้ใช้ท่านอื่นอ่านที่เดียวกันครับ --Manop | พูดคุย - 06:32, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)

หน้าพูดคุย

สวัสดีครับ แนะนำเรื่องหน้าพูดคุยนิดหน่อยครับ หน้าของผู้ใช้จะแบ่งเป็น 2 หน้าครับ (ถ้าดูจากซ้ายบน) จะเห็น "หน้าผู้ใช้" และ "อภิปราย" โดยหน้าอภิปรายจะเน้นที่พูดคุยและฝากข้อความ ซึ่งถ้าเขียนทิ้งไว้ในหน้าอภิปราย เมื่อผู้ใช้ล็อกอินจะมีข้อความปรากฏว่ามีข้อความใหม่ ซึ่งขณะเดียวกันถ้าเขียนไว้ใน"หน้าผู้ใช้" จะไม่มีข้อความขึ้นมานะครับว่ามีข้อความใหม่ครับ --Manop | พูดคุย - 16:54, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)

นัดเจอชุมชนวิกิพีเดีย

สวัสดีครับ พอดีช่วงนี้ผู้เขียนวิกิพีเดีย คุณธวัชชัยมีโครงการนัดเจอพูดคุยทานข้าวกันนะครับ เห็นเริ่มเขียนไว้ในสภากาแฟ เผื่อคุณ Heuristics สนใจร่วมครับผม แต่ส่วนตัวผมคงไม่ได้ไปร่วม อาจจะเป็นครั้งหน้ารอกลับไปที่เมืองไทยก่อนครับ ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีข้อมูลเท่าไร แต่สามารถดูได้ที่ หัวข้อ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)#สภากาแฟของจริง ครับ --Manop | พูดคุย - 08:27, 11 กรกฎาคม 2006 (UTC)

โครงการคำทับศัพท์

สวัสดีครับ ผมเริ่มเขียนโครงการคำทับศัพท์ในวิกิพีเดียขึ้นมา(อีกรอบ) สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนคำทับศัพท์ทุกภาษาไว้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนเขียนท่านอื่นที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการทับศัพท์ เนื่องจากตอนนี้ในวิกิพีเดียมีปัญหาการทับศัพท์เยอะขึ้น โดยเฉพาะคำในภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

ผมเขียนไว้ที่หน้า วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ ฝากรบกวนคุณ Heuristics ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง หรือแสดงความเห็นครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - 20:06, 14 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

เริ่มเขียนโครงเรื่องไว้แล้วค่ะ เผื่ออาจารย์สนใจจะไปร่วมเขียน เชิญที่.. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม นะคะ --Look-Narm 08:24, 14 สิงหาคม 2006 (UTC)

คำัทับศัพท์

สวัสดีครับ คุณ Heuristics ตอนนี้ในวิกิพีเดียมีหน้ารวบรวมคำทับศัพท์ ส่วนหนึ่งครับ อยู่ที่ หมวดหมู่:การเขียนคำทับศัพท์ (เป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด แบ่งตามตัวอักษรต้น) และชื่อประเทศและชื่อเมืองหลวงมีการคัดลอกมาจาก ประกาศสำนักนายกฯ อยู่ที่หน้า รายชื่อประเทศ และมีอีกหลายๆ หน้าครับมีรวมไว้ใน โครงการ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ ครับ แต่รวมๆ แล้วยังกระจัดกระจายพอสมควรครับ อาจต้องมีหลายๆ คนช่วยกันจัดเรียงใหม่ไว้อ้างอิงครับ ผมได้ทำหน้าลิงก์ไว้ในส่วนของ "ช่วยเหลือ" จากเมนูซ้ายมือไว้เช่นกันครับ --Manop | พูดคุย - 18:05, 24 สิงหาคม 2006 (UTC)

สภากาแฟ (การใช้ภาษา)

ขอเชิญคุณ Heuristics ร่วมแสดงความคิดเห็นในหน้า วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา) โดยเฉพาะในหัวข้อ คำว่า "ชาวไทย" หรือ "บุคคลไทย" ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - 23:16, 30 สิงหาคม 2006 (UTC)

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

ช่วยรบกวนดูหน่อยครับว่า พอจะมีวิธีในการรวม 2 บทความนี้ได้ไหม เพราะเห็นว่าอาจจะทับซ้อนกันอยู่ครับ สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย สถาปนิกและ รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย ขอบคุณมากครับ --ScorpianPK 19:01, 13 กันยายน 2006 (UTC)

landmark

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Heuristics หน่อยครับ พอดีหาศัพท์ไทยของคำว่า landmark ไม่ได้ (ในความหมายที่ไม่ใช่หลักเขต) คุณ Heuristics พอทราบคำไทยของคำนี้ไหมครับ

ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - 02:46, 14 กันยายน 2006 (UTC)

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ --Manop | พูดคุย - 15:56, 14 กันยายน 2006 (UTC)
ขอบคุณอีกครั้งครับ ตอนนี้ผมย้ายไปเป็นชื่อไทยที่คำว่า ที่หมายตา แทนที่คำว่า ภูมิลักษณ์ ครับ (แต่เขียนบอกไว้ในบทความว่ามีการพูดถึงคำนี้เช่นกัน) เนื่องจากผมลองค้นหาดูเห็นว่ามีการใช้คำว่า ภูมิลักษณ์ ในอีกคำนึงคือ landform ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสับสนได้ครับ ส่วนตัวแล้วผมใช้คำทับศัพท์มากกว่าตอนที่อาจารย์มีการสอนที่เมืองไทยครับ --Manop | พูดคุย - 21:20, 16 กันยายน 2006 (UTC)

การ redirect คณะต่าง ๆ ไปยังหน้ามหาวิทยาลัย

สวัสดีครับ ผมขอแสดงความคิดเห็นว่า การทำ redirect คณะต่าง ๆ ไปยังหน้ามหาวิทยาลัยนั้น จะทำให้คนที่จะเขียนเกี่ยวกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอนาคต จะเขียนบทความเกี่ยวกับคณะไม่ได้หรือเปล่าครับ --ScorpianPK 07:07, 16 กันยายน 2006 (UTC)

สวัสดีครับ ผมเข้าใจว่า แม่แบบ:คณะต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อสะดวกในการ Link ไปยังคณะนั้น ๆ เลยหรือเปล่าครับ ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้ไปยังหน้ามหาวิทยาลัย เรื่องนี้คงต้องรอถามคุณ Manop ดู เพราะเป็นคนสร้างแม่แบบไว้ครับ แต่ผมได้แก้ปัญหาเบื้องต้นไว้ คือ การเปลี่ยน link ที่ด้านหัวแม่แบบจาก สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็น รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งจะมีรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย และสามารถกดลิ้งไปยังมหาวิทยาลัยได้ ในคณะสถาปัตย์ที่ยังไม่มีคนเขียนครับผม --ScorpianPK 08:00, 16 กันยายน 2006 (UTC)

ญาน

why not "ญาณ"?  :) --203.170.228.172 06:44, 17 กันยายน 2006 (UTC)

ศาสตราภิชาน

สวัสดีอีกครั้งครับผม ผมเข้าไปอ่านบทความเรื่องศาสตราจารย์คับ ผมสงสัยเรื่อง "ศาสตราภิชาน"จึงได้ค้นความหมายดู พบว่า เป็นคำที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคิดขึ้น แต่ผมเห็นที่คณะบัญชี กำหนดระยะเวลาสำหรับตำแหน่ง ศาสตราภิชาน ไว้เพียง 1 ปี ก็เลยสงสัยว่าจะเป็นกรณีพิเศษหรือเปล่าครับ [1] และคำว่า ศาสตราภิชาน มาจากคำว่า ศาสตร์+อภิชาน หมายถึง ผู้มีความรู้ยิ่งในศาสตร์ มันจะฟังดูไพเราะกว่าที่จะแปลว่า เก้าอี้ศาสตราจารย์ ไหมครับ ขอบพระคุณครับ --ScorpianPK 10:56, 24 กันยายน 2006 (UTC)

Analytics

ขอบคุณครับที่ทักคำอ่านของคำนี้ ผมเพิ่งรู้ว่าผมอ่านผิดมาตลอดเลยครับ ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมลองติดตั้งสถิติของเว็บวิกิพีเดียเข้าไป แต่เพิ่งได้ติดตั้งจริงจังได้วันกว่าๆ (จะมีข้อมูลแค่เมื่อวานวันเดียว) ถ้าคุณ Heuristics สนใจดูรายละเอียดของสถิติข้อมูลอย่างละเอียด เดี๋ยวผมจะนำข้อมูลที่เหลือมาลงเพิ่มได้ครับ --Manop | พูดคุย - 04:46, 1 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

นโยบายการใช้ภาษา

สวัสดีครับ ตอนนี้มีการร่วมแสดงความเห็นนโยบายการใช้ภาษา ที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา) ในส่วน "6 ย่อหน้า" ว่าจะมีการจัดย่อหน้าเข้ามาคล้ายกับรูปแบบการจัดย่อหน้าภาษาไทยครับ เชิญคุณ Heuristics ร่วมแสดงความเห็นครับ ขอบคุณครับ--Manop | พูดคุย - 09:25, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

หน้าแรกรูปแบบใหม่

สวัสดีครับ ผมลองเปลี่ยนหน้าแรกนะครับ ผ่านแม่แบบ:หน้าหลัก-สารานุกรม โดยเปลี่ยนจากการโยงเข้าหาบทความ เป็นโยงเข้าหาหมวดหมู่แทน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงบทความได้มากกว่า และก็เปลี่ยนรูปไปด้วยพร้อมกัน ฝากรบกวนแวะไปดูครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - 07:21, 15 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

Category --> หมวดหมู่

สวัสดีครับ พอดีมาแจ้งเรื่องแก้ไขเชิงระบบนิดหน่อยครับ คำสั่งสร้างหมวดหมู่ ตอนนี้สามารถใช้ได้ทั้ง ภาษาอังกฤษ (Category) และภาษาไทย (หมวดหมู่) ครับ สามารถใช้คำสั่ง

[[หมวดหมู่:___]]

ได้แทนอันเดิมครับ แต่อันเดิมก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติครับ โดยอันที่เป็นภาษาอังกฤษจะมีบอตตามแก้เป็นระยะครับ --Manop | พูดคุย - 05:13, 24 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

กล่องข้อมูล หนังสือพิมพ์

สวัสดีครับ ผมสร้างกล่องข้อมูลเรียบร้อยแล้วนะครับ สามารถใส่คำสั่งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ Template:Infobox Newspaper หรือ แม่แบบ:กล่องข้อมูล หนังสือพิมพ์ แต่ยังมีบางคำที่ผมไม่รู้จะใช้คำไทยว่าอย่างไรครับ อาจจะต้องขอคำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณ Heuristics ครับ --Manop | พูดคุย - 03:34, 7 ธันวาคม 2006 (UTC)

มีเรื่องรบกวนครับ

พอดีผมได้เขียนหลักสูตรของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ ไม่ทราบว่าข้อมูลจะถูกต้องหรือเปล่ารบกวนคุณ Heuristics ช่วยตรวจสอบดูด้วยนะครับ และมีรบกวนอีกเรื่องครับ คือ ได้เปิด สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย ขึ้นครับ จึงอยากขอเรียนเชิญคุณHeuristics เข้าไปช่วยกันแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ ขอบพระคุณมากครับ --ScorpianPK 16:41, 9 ธันวาคม 2006 (UTC)

ภาพ:Lepto-klein.jpg

http://th.wikipedia.org/wiki/ภาพ:Lepto-klein.jpg --> http://th.wikipedia.org/wiki/สาธารณสมบัติ

Bluuurgh 21:12, 11 ธันวาคม 2006 (UTC)

บัณฑิต อึ้งรังษี

รวมบทความแล้วนะครับ ส่วนที่คุณฮิวริสติกเขียนไว้ ยังอยู่ในหน้าพูดคุย ที่นี้เพิ่งเห็นว่าเราเขียนที่เกิดต่างกัน คุณฮิสริสติกบอกว่าเกิดกทม ผมบอกว่าเกิดหาดใหญ่ จำไม่ได้แล้วล่ะครับว่าอ้างอิงมาจากไหน - tikiwiki - ('-' )( '-' )( '-') - 06:29, 12 ธันวาคม 2006 (UTC)

พญาฯไท?

สวัสดีครับ มาแสดงความเห็นเรื่อง การเขียนบรรดาศักดิ์ชั้น พระยา .. ผมคิดว่า บรรดาศักดิ์นี้ มีใช้ในชั้นหลัง และราชบัณฑิตยสถานเองก็บัญญัติขึ้นภายหลัง ถึงอยากสอบถามว่า ทางราชบัณฑิตฯ ได้บัญญัติไว้เฉพาะเพียงบรรดาศักดิ์ พญา ให้เขียนเป็น พระยา หรือบัญญัติไว้ด้วยว่าให้เรียก พระมหากษัตริย์ในกลุ่มพระนาม พญาฯไท (พญาลิไท พญาลือไท พญาไสลือไท) เป็น พระยาฯ (พระยาลิไท พระยาลือไท พระยาไสลือไท) ครับ อันนี้ผมเองไม่ได้ติดตาม อยากจะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมครับ เพราะเท่าที่ทราบมา กษัตริย์ในกลุ่ม พญาฯไท ให้คงเขียนคำว่า พญาตามเดิม ส่วนที่บรรดาศักดิ์ในชั้นหลัง เช่น พระยายุทธิษฐิระ ให้เขียนเป็น พระยา ครับผม...

ด้วยความนับถือครับ .... |||||||||| กล่องข้อความ | ผู้ใช้:Thanyakij 19:48, 13 ธันวาคม 2006 (UTC)


เพิ่มเติมครับ.... ผมเห็นว่า ไม่ว่าอะไรจะถูก (พระยา หรือ พญา) แต่ที่ถูกต้องแน่นอนที่สุดคือพระนามเต็ม (พระมหาธรรมราชาที่ x) ดังนั้น ผมจะเปลี่ยนชื่อบทความเป็น พระมหาธรรมราชาที่ x แทน พระยา พญา นะครับ ซึ่งตรงนั้น เป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย

ครับผม |||||||||| กล่องข้อความ | ผู้ใช้:Thanyakij 20:18, 13 ธันวาคม 2006 (UTC)

ดรุยางค์ศิลป์

ในบทความเรื่อง ศิลปกรรม อยากทราบว่า ดรุยางค์ศิลป์ แปลว่าอะไร

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย

สวัสดีครับคุณ Heuristics อยากจะมาเชิญชวนให้ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ วิจารณ์คำทับศัพท์ที่กำลังพิจารณาครับ หรือจะเพิ่มคำอื่นๆไปก็ได้ ได้ที่วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย โดยมีจุดประสงค์ในการค้นหาและเลือกใช้คำทับศัพท์ที่ "เหมาะสม" ที่สุด และเพื่อให้ทุกบทความใช้คำทับศัพท์รูปแบบเดียวกันหมด ขอขอบคุณมากครับ --Jutiphan | พูดคุย - 05:23, 15 มกราคม 2007 (UTC)

ครับ ขอบคุณมากนะครับ ที่ได้เข้ามาช่วยเพิ่มเติมคำทับศัพท์ต่างๆ อย่างไรก็ตามร่วมแสดงความคิดคำทับศัพท์ที่พิจารณากันอยู่ก็ดีเหมือนกันนะครับ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเลยทีเดียว แต่ก็ต้องหาจุดเริ่มสักที่ละครับ ผมคิดว่า การเปิดให้ชาววิกิพีเดีย (หรือผู้อื่นๆ) นั้นได้แสดงความคิดเห็น คงเป็นการเริ่มต้นที่ดี นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเครื่องมือต่างๆ เมื่อคำศัพท์ตกลงกันได้ โดยมีบอตของพี่มานพที่ทำการแก้ไขเก็บกวาด รวมถึงสคริปต์จัดให้ของผมครับ --Jutiphan | พูดคุย - 03:10, 17 มกราคม 2007 (UTC)

รายชื่อคำทับศัพท์

คำศัพท์ต่างประเทศคำไหนที่สามารถแปลแล้วมีภาษาไทยปนอยู่จะไม่เรียกว่าเป็นคำทับศัพท์นะครับ เพราะฉะนั้นก่อนเอาข้อมูลมาลงช่วยตรวจสอบด้วย--อ็อกตร้า บอนด์ 17:42, 16 มกราคม 2007 (UTC)

สวนสาธารณะ

สวัสดีครับ ผมนำข้อความ สวนสาธารณะ กลับคืนมานะครับ เห็นว่าข้อมูลมีประโยชน์และเนื้อหาค่อนข้างครอบคลุมเหมือนกัน คิดว่าคุณ Heuristics อาจจะเผลอเซฟผิดลบบางส่วนออกไปครับ และก็ตอนนี้ผมแยกบางส่วน การออกแบบสวนสาธารณะ ไปในหน้าใหม่ครับ --Manop | พูดคุย - 04:47, 6 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ขอความร่วมมือให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับวิกิพีเดียไทยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ Heuristics ดิฉันผู้ใช้:Tummy ขอรบกวนเวลาของคุณสักเล็กน้อยนะคะ เนื่องจากดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ "วิกิพีเดียไทย" ในหัวข้อ “สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยกับการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ” ซึ่งจำเป็นต้องสัมภาษณ์ผู้ใช้เพื่อเก็บข้อมูลในการวิจัย ดิฉันจึงขอความร่วมมือคุณในการให้สัมภาษณ์ เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไปค่ะ โดยขอสัมภาษณ์ผ่านโปรแกรมสนทนา หรือทางโทรศัพท์ ตามความสะดวกของคุณค่ะ

ซึ่งหากคุณ Heuristics สนใจให้ความร่วมมือ กรุณาตอบกลับที่หน้า คุยกับผู้ใช้:Tummy นะคะ ซึ่งดิฉันจะทิ้งคอนแทคไว้ให้ที่หน้านั้นด้วยค่ะ หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือ และความร่วมมือนะคะ ขอบคุณมากค่ะ :) - -TuMmY- - 11:07, 12 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณ Heuristics เนื่องจากวันนี้ (13 ก.พ.) ดิฉันได้ไปสัมภาษณ์คุณ Look-Narm มาเป็นที่เรียบร้อยค่ะ และได้ยินว่าคุณ Heuristics อาจจะสะดวกให้สัมภาษณ์ ที่สถานที่เดียวกัน ดังนั้นจึงขอสอบถามว่าคุณสะดวกให้สัมภาษณ์ที่คณะหรือไม่คะ และขอติดต่อนัดวันเวลาที่คุณ Heuristics สะดวกให้สัมภาษณด้วยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ - -TuMmY- - 13:16, 13 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ตกลงค่ะ ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ คุณ Look-Narm จะเป็นธุระติดต่อให้ค่ะ - -TuMmY- - 13:56, 13 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ขอบคุณ คุณ Heuristics นะคะ สำหรับการสัมภาษณ์ที่เป็นกันเอง ได้รับความรู้และได้แนวคิดที่มีคุณค่ามากเลยค่ะ และยินดีหากคุณจะให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ลงในวิกิพีเดียนะคะ - -TuMmY- - 08:59, 17 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

บทความคุณภาพ - บทความคัดสรร

สวัสดีครับ คุณ Heuristics เนื่องจากตอนนี้การคัดเลือกบทความคัดสรรนั้นได้เปลี่ยนรูปแบบ (ที่มีการพูดคุยกันในสภากาแฟเมื่ออาทิตย์ก่อนหน้า) โดยรูปแบบใหม่จะเป็นการคัดเลือกต่อมาจาก “บทความคุณภาพ” ซึ่งทำให้ระบบการคัดเลือกจะเปลี่ยนเป็น

บทความธรรมดา → บทความคุณภาพ → บทความคัดสรร

ดังนั้น จึงขอชักชวนเสนอ และ/หรือ คัดเลือกบทความที่เหมาะสมเพื่อเป็นบทความคุณภาพต่อไป อย่างไรก็ตาม คุณก็ยังสามารถเสนอชื่อบทความคัดสรรได้โดยเลือกจากบทความคุณภาพที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว จึงเรียนมาเพื่อทราบ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติม สอบถามได้ครับ ScorpianPK 06:27, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

บทความที่มีลิงก์โยงเข้าหามาก

สวัสดีครับ เรื่อง สหภาพแอฟริกา นี่ก็เสียดายเหมือนกันครับ เพราะถ้าบทความยังไม่ได้เซฟลงไปคงจะกู้มาไม่ได้ ผมบางครั้งก็กดพลาดเหมือนกันไปปิดตัวเบราว์เซอร์ข้อมูลหายไปหมดเลย แต่อย่างบางครั้งถ้ากดปุ่ม back ตรงไอคอนย้อนกลับด้านซ้ายบนก็สามารถช่วยได้ครับ ข้อมูลจะกลับมา (แต่บางครั้งก็ไม่กลับมาครับ)

ส่วนเรื่องทำบทความภาษาอังกฤษกำกับนี้ น่าสนใจเหมือนกันครับ แต่ตอนนี้คงทำได้เฉพาะส่วนที่ปรากฏในหน้า แม่แบบ:คุณทำได้ (ฝากคุณ Heuristics ตรวจสอบหน่อยครับ) แต่ส่วนหน้า พิเศษ:Wantedpages คงทำอะไรไม่ได้ เพราะจะเป็นหน้าอัตโนมัติที่ทางซอฟต์แวร์สร้างขึ้นจากลิงก์แดงทั้งหมดในบทความครับ คงแก้ไม่ได้ ตอนนี้ผมลองเพิ่มส่วนภาษาอังกฤษเข้าไปน่าจะช่วยได้ส่วนหนึ่งครับ ส่วนโปรแกรม Simula เดี๋ยวผมลองดูครับ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ด้านภาษาโปรแกรมเท่าไร รู้เพียงแต่พื้นฐานครับ --Manop | พูดคุย - 22:43, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

สอบถามแนวทางพัฒนา

สวัสดีอีกครั้งครับ เมื่อตะกี้ลืมถามไป อยากจะสอบถามคุณ Heuristics หน่อยครับ ว่าแนวทางการพัฒนาวิกิพีเดียไทยตอนนี้ คุณ Heuristics คิดว่าควรจะไปในแนวทางไหนดีครับ รวมถึงพวกปัญหาต่างๆ ที่มีในวิกิพีเดีย ผมกะว่าจะรวบรวมแนวความคิดจากหลายๆ ท่าน แล้วเก็บและช่วยกันแก้ปัญหาครับ ถ้าคุณ Heuristics มีข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ ข้อวิจารณ์ สามารถเขียนทิ้งไว้ได้ครับ ไม่ว่าหน้านี้ หรือว่าหน้าพูดคุยของผมครับ หรือทางอีเมลก็ได้ครับผม ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ปัญหาที่สอบถามจากท่านอื่น ก็มีเช่น ไม่ว่าการใช้งานเชิงเทคนิคที่ยาก การเรียบเรียงคำพูด การทับศัพท์หลายรูปแบบ --Manop | พูดคุย - 04:38, 5 มีนาคม 2007 (UTC)

เชิญร่วมทำแบบสอบถามการใช้งานวิกิพีเดียไทย

สวัสดีค่ะ ตั๋มขออนุญาตฝากแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดียไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยและการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอความร่วมมือเข้าไปตอบแบบสอบถามกันนะคะ ที่นี่ค่ะ แบบสอบถามการใช้งานวิกิพีเดียไทย หรือลิงก์ตรงที่ http://itshee.com/survey/public/survey.php?name=wikipedia ค่ะ

ตั๋มหวังว่าแบบสอบถามนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนค่ะ และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว จะสรุปและประมวลผลมาให้อ่านกัน ซึ่งจะทำให้เห็นแนวคิดและการใช้งานของผู้ใช้ในมุมกว้างมากขึ้นค่ะ ขอบคุณมากนะคะ - -TuMmY- - 02:41, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

ขอเชิญร่วมสรุปปัญหาและหาทางแก้ไขของ GA รุ่นทดลอง

สวัสดีครับ ตอนนี้บทความคุณภาพรุ่นทดลองได้ใช้งานมา 2 สัปดาห์แล้ว ดังนั้น จึงอยากขอเชิญร่วมสรุปปัญหาและหาทางแก้ไขของ GA รุ่นทดลอง ได้ที่ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ ขอบคุณมากครับผม ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 06:37, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

ภาพ:Votyakorn_01.JPG อาจละเมิดลิขสิทธิ์

ขอขอบคุณที่ได้อัปโหลด ภาพ:Votyakorn_01.JPG อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาพดังกล่าวมีปัญหาลิขสิทธิ์ และได้ถูกขึ้นบัญชีที่หน้าวิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์ เนื่องจากว่าได้ติดสัญญาอนุญาตไม่ถูกต้อง หรืออาจละเมิดลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น ซึ่งจะถูกลบภายใน 7 วัน และหากไม่ต้องการให้ภาพดังกล่าวถูกลบ กรุณาช่วยตรวจสอบว่าภาพดังกล่าวนั้น สามารถใช้บนวิกิพีเดียได้ตามนโยบายการใช้ภาพ จากนั้นจึงระบุสัญญาอนุญาตที่ถูกต้อง และแหล่งที่มาสำหรับภาพตามลำดับ

สำหรับภาพถ่าย อย่าลืมว่าผู้ที่ถือลิขสิทธิ์ภาพคือ ผู้ถ่ายภาพ หรือ เจ้าของภาพต้นฉบับ ซึ่งการสแกน ดัดแปลง ตกแต่ง หรือพยายามแก้ไขภาพไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นผู้สร้างภาพ หรืองานดังกล่าวแต่อย่างใด

ขออภัยหากเป็นการเข้าใจผิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากคุณไม่ได้ระบุ แหล่งที่มา ในคำิอธิบายโดยย่อของภาพ ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าว ขอความร่วมมือให้ช่วยใส่แหล่งที่มาทุกครั้ง ที่อัปโหลดภาพ หากมีข้อสงสัยยินดีมาพูดคุยกันได้ครับ หรือสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอบคุณอีกครั้งที่ให้ความร่วมมือ --Jutiphan | พูดคุย - 16:34, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

ขอบคุณครับ หากมีคำถามหรือไม่แน่ใจ สอบถามได้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 02:22, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

ภาพ

ลบให้เรียบร้อยแล้วนะครับ สำหรับกรณีส่วนใหญ่ ขนาดใหญ่ก็ไม่มีปัญหานะครับ เพียงแค่ระบุเวลาแสดงผลให้เล็ก ส่วนการแจ้งลบนั้น ยังสามารถทำได้สำหรับภาพด้วยการใส่ {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ได้นะครับที่ส่วนบนสุดโดยคงเนื้อหาอื่นไว้ --Jutiphan | พูดคุย - 18:31, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

โครงการใหม่ โรงเรียนเตรียมอนุบาลวิกิ

สวัสดีครับ ผมเปิดโครงการ วิกิพีเดีย:โรงเรียนเตรียมอนุบาลวิกิ ไว้ โดยเนื้อหาอาจจะคล้ายกับหลายๆ หน้า แต่หน้านี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ใช้ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้ในวิกิพีเดียเองทุกคนเป็นกำลังสำคัญวิกิพีเดีย แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้ใหม่มักจะติดปัญหาหลายอย่างจากการที่ไม่คุ้นเคย ไม่ว่าการใช้คำสั่ง การจัดรูปแบบ หรือแม้แต่เข้าใจในลักษณะการทำงานของตัวโปรแกรมเอง ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้นานในระดับหนึ่ง เลยคิดว่าโครงการนี้จะช่วยลดระยะเวลาการเรียนรู้ของผู้ใช้ใหม่ และนอกจากนี้กะว่าจะโยงเข้ากับ {{User ช่วยเหลือ}} ด้วยครับ อย่างไรก็ตามฝากเพิ่มเติม+แก้ไข เนื้อหาภายในหน้าด้วยครับ หรือเขียนเสนอแนะเพิ่มเติมในหน้าพูดคุยได้ครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - 09:16, 12 เมษายน 2007 (UTC)

ผังเมือง

สวัสดีครับคุณ Heuristics พอดีผมเห็น การวางผังเมือง (Urban planning) ผังเมือง และ การออกแบบชุมชนเมือง นี่มันอันเดียวกันหรือเปล่าครับ เพราะเห็นใช้คำว่า "สถาปัตยกรรมผังเมือง" กันครับ ขออนุญาตรบกวนช่วยพิจารณาด้วยนะครับผม ขอบคุณมากครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:49, 21 เมษายน 2007 (UTC)

สุญญตา

สุญญตา ไม่ได้สะกดด้วยสระอูหรือครับ เพราะหน้าอังกฤษและภาษาอินเดียอักษรเทวนาครี เขาใช้ สระอู --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 09:01, 24 เมษายน 2007 (UTC)

ภาพ:Francis Crick lecturing.jpg

สวัสดีครับ ผมอยากจะแจ้งว่าผมได้แก้ไข สัญญาอนุญาตภาพ:Francis Crick lecturing.jpgเป็นการใช้งานชอบธรรมนะครับ ซึ่งหากนำมาจาก Commons นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องอัปโหลด แต่ผมหาภาพดังกล่าวไม่เจอใน Commons หากเจอช่วยแจ้ง URL ด้วยนะครับ แต่พบภาพที่บทความในวิกิอังกฤษแทน ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่ใช่ภาพเสรี ซึ่งกรณีผมได้ทำการแก้ให้แล้ว แต่รบกวนให้ช่วยตรวจสอบอีกทีด้วยนะครับ และสำหรับกรณีครั้งต่อไป ขอบคุณมากครับ --Jutiphan | พูดคุย - 11:54, 26 เมษายน 2007 (UTC)

สัญญาอนุญาตภาพ

สวัสดีครับ สาเหตที่ไม่มีตัวเลือกดังกล่าว เพราะว่าแต่ละภาพในวิกิพีเดียอังกฤษ นั้นสัญญอนุญาตไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมดทุกภาพครับ เช่นเดียวกับภาพในวิกิพีเดียไทย ดังนั้นคุณ Heuristics ให้คลิกที่ภาพและตรวจสอบสัญญาอนุญาตภาพดังกล่าว และระบุสัญญาอนุญาตที่เหมาะสมครับ ซึ่งหากเป็นภาพมาจาก Commons นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องอัปโหลด โดยให้ใช้ชื่อเดียวกันได้เลย หากคุณ Heuristics ต้องการายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ นโบายการใช้ภาพ หรือสอบถามผมได้นะครับ ผมเห็นคุณเป็นสมาชิกมานานแล้ว หากมีคำถามก็ถามได้นะครับ เพราะว่าผมเองไม่อยากต้องการมาคอยแจ้ง คอยดูตลอด ประหยัดเวลาทั้งสองฝ่ายครับ ----Jutiphan | พูดคุย - 23:06, 26 เมษายน 2007 (UTC)

ถ้างงเรื่องสัญญาภาพและต้องการความช่วยเหลือติดต่อได้ครับ เพราะตอนนี้เรื่องการใช้ภาพในวิกิพีเดียเริ่มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ (จนแม้แต่ผมก็เริ่มงงแล้ว) เลยใช้ภาพจากคอมมอนส์ซะมากกว่า ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยต้องการความช่วยเหลือติดต่อได้เสมอครับ --Manop | พูดคุย - 19:29, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:26, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 19:29, 14 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ครับผม ปิดปากแบบเงียบเชียบเลยทีเดียวครับผม :) --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 16:01, 15 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เบิร์จดูไบ (เบิร์จ ดูไบ)

สวัสดีครับ พอดีเห็นคุณ Heuristics เขียนเกี่ยวกับตึกนี้ เบิร์จ ดูไบ แล้วก่อนหน้านี้มีบทความ เบิร์จดูไบ (ไม่เว้นวรรค) อยู่ก่อนแล้ว ผมรวมสองบทความเข้าด้วยกันนะครับ โดยเนื้อหาจับมารวมกัน ฝากรบกวนคุณ Heuristics ตรวจสอบหน่อยครับที่ เบิร์จดูไบ เพราะอาจมีข้อความทับซ้อนกันอยู่ และอีกอย่างที่ผมเลือกการใช้คำหลักเป็นไม่เว้นวรรคเนื่องจากเทียบสะกดคำไทย คำในคำเดียวจะไม่เว้นวรรคครับ --Manop | พูดคุย 09:17, 23 กรกฎาคม 2007 (UTC)

สวัสดีอีกครั้งครับ ตอนนี้ผมและหลายคนก็มีการช่วยทำ "หน้าเปลี่ยนทาง" (redirect) สำหรับบทความที่สามารถสะกดชื่อได้หลายแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความที่ชื่อภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศ
ตอนนี้ที่ทำหน้าเปลี่ยนทางหลักๆ ก็จะมี
  • การเว้นวรรคแบบภาษาอังกฤษ
  • การสะกดต่างกัน เช่น t (ต, ท) th (ท, ธ) ฯลฯ
  • คำแปลไทย
  • คำภาษาอังกฤษ
แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพอครับ (อาจเพราะตอนนี้คนไทยที่เขียนยังน้อย แต่ในอนาคตรับรองว่าครอบคลุมหมดครับ) ตอนนี้ถ้าคุณ Heurisitcs เจอคำไหนที่มีโอกาสลิงก์มาได้ สามารถทำหน้าเปลี่ยนทางได้เลยครับ
อย่างตอนนี้ "เบิร์จดูไบ" "หอคอยดูไบ" "ตึกระฟ้าดูไบ" รวมทั้ง "เบิร์จ ดูไบ" เท่าที่มา
แล้วยังมี อัลเบิร์จ, อัล เบิร์จ, เบิร์จอัลอาหรับ, เบิร์จ อัล-อาหรับ, ฯลฯ
เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ สำหรับการค้นหาคุณ Heuristics อาจใช้ Google ค้นหาแทนที่ระบบค้นหาของวิกิพีเดียเองครับ เพราะของ Google จะดีกว่าเยอะเหมือนกัน อย่างเช่นคำนี้ แม้ว่าจะหาเป็นคำำ "เบิร์จ ดูไบ" ก็ยังหาเจอ ลองค้นหา
โดยเวลาหาให้พิมพ์คำว่า "site:wikipedia.org" เข้าไปในกล่องค้นหาครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ --Manop | พูดคุย 20:37, 23 กรกฎาคม 2007 (UTC)

Hideo Sasaki

สวัสดีครับ สอบถามนิดหน่อยครับ ชื่อ ไฮเดโอะ ซาซากิ นี่ควรสะกดคำอ่านแบบใดดีครับ ถ้าอ่านตามอเมริกันจะเป็น ไฮเดโอะ แต่อ่านตามญี่ปุ่นจะเป็น ฮิเดโอะ ซาซากิ --Manop | พูดคุย 20:29, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

มีคุณMdaมาเปลี่ยนก่อนหน้านี้แล้วครับ ส่วนรูปนี้อาจจะต้องอัปโหลดใหม่ครับ เปลี่ยนชื่อรูปไม่ได้ครับ --Manop | พูดคุย 07:32, 30 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ต้องการสัญญาอนุญาต ภาพ:ไฮเดโอะ ซาซากิ.jpg

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลด ภาพ:ไฮเดโอะ ซาซากิ.jpg...

ตอนนี้จัดการเรื่องภาพไปแล้วนะครับ ภาพนี้พอดีเป็นภาพเก่าที่โหลดไปแล้วทางบอต (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) จับไม่ได้ แต่ตอนนี้ไม่มีปัญหาแล้วครับ ^_^ --Manop | พูดคุย 18:29, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ขอบคุณ

ขอบคุณค่ะ ^^ อุตสาห์ช่วยแก้ไขให้--Se:Rin | พูดคุย - 12:00, 2 สิงหาคม 2007 (UTC)

อกุศล

สวัสดีครับ ลองคลิกหน้า อกุศลกรรม จะเห็นข้อความใต้หัวข้อ อกุศล ที่เขียนว่า "(เปลี่ยนทางมาจาก อกุศลกรรม)" หลังจากนั้น ให้คลิกไปที่ อกุศลกรรม ใต้หัวข้อ อกุศลครับ แล้วกดแก้ไขตามปกติครับ --161.200.102.155 12:46, 2 สิงหาคม 2007 (UTC)

  • ขอบคุณคุณ 161.200.102.155 สำหรับคำแนะนำ ลองทำได้แล้วครับ Heuristics 13:12, 2 สิงหาคม 2007 (UTC)
    • ยินดีครับ--161.200.255.162 13:18, 2 สิงหาคม 2007 (UTC)

ปี พ.ศ.

สวัสดีครับ ตอนนี้ผมไล่แก้ไขเกี่ยวกับปี พ.ศ. ต่างๆ เลยมาสอบถามความเห็นครับ ว่าถ้าเขียนในรูปแบบเดียวกับในหน้า พ.ศ. 2343 คุณ Heuristics มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ เพราะตอนนี้หน้าปี พ.ศ. ต่างๆ เป็นหน้าว่างๆ เช่นหน้า พ.ศ. 2333 มีกล่องนิดหน่อยไม่มีข้อมูล (ผมสร้างไว้ปีก่อน) เลยคิดว่ากะจะนั่งไล่เก็บกวาดทีละนิด วันละสองสามปี ฝากรบกวนดูในหน้า พ.ศ. 2343 ครับ และตอบต่อในหน้าเลยก็ได้ครับ เดี๋ยวผมเข้ามาอ่าน ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 06:56, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
คุณมานพ ผมได้ดูแล้วครับ ดีมากๆ ผมจะช่วยค่อยๆ เพิ่มข้อมูลให้เรื่อยๆ เมื่อมีเนื้อหาเกี่ยวกับเวลาหรือศักราชที่ตรง พ.ศ... ครับ อนึ่งผมใคร่ค่อยทราบเรื่องเทคนิค เช่น สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิพย์ (พ.ศ. 1792-1822) หากนำลงในหน้า พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างช่วงนี้ โปรแกรมจะใส่พ่อขุนให้ทุกปี ตั้งแต่ 1792 - 1822 ให้เลยหรือไม่
อีกประการหนึ่งสำหรับกษัตริย์ ประธานาธิบดี นายกๆ ควรใส่ช่วงครองราชย์ หรือดำรงตำแหน่งใช่ใหมครับ ซึ่งผมเห็นว่าควรเป็นช่วงครองราชย์หรือช่วงดำรงตำแหน่งครับ ขอบคุณ Heuristics 07:48, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
ทุกอย่างเราต้องใส่กันเองครับ ตอนนี้ยังไม่มีโปรแกรมใส่ให้อัตโนมัติ ตอนนี้ที่ผมทำอยู่คือไล่ใส่ทีละปีเรื่อยๆครับ ถ้าปีติดกันอาจจะง่ายหน่อย โดยการคัดลอกจากปีถัดไปมาใส่ --Manop | พูดคุย 17:31, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
ขอบคุณครับ ก็คิดแล้วว่าคงใส่เอง จะพยายามครับ Heuristics 17:37, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)

กราบเรียนอาจารย์ ด้วยความเคารพครับ

กราบเรียนอาจารย์ ด้วยความเคารพครับ
ผมเคยเป็น Draftman ของคุณสมเกียรติ เพื่อนของอาจารย์ครับ
ทราบจากอาจารย์ลูกน้ำว่า ท่านอาจารย์ใช้นามแฝงนี้ในการเขียนสารานุกรมนี้

ผมเลื่อมใสและนับถืออาจารย์มาเป็นเวลานานแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นลูกศิษย์โดยตรงก็ตาม รู้สึกดีใจครับที่ปรมาจารย์ อุทิศและสละเวลามาเติมเต็มความรู้แก่ชาวไทยเราครับ

ด้วยความซนของผม เห็นมีตัวอักษรแดงในนามแฝงของอาจารย์ จึงอาจหาญที่พยายามเขียนให้เป็นเรื่องเป็นราว ด้วยการ Heuristics ครับ
กราบอาจารย์มาด้วยความเคารพและนับถือครับ

--Jadenarong 00:31, 13 สิงหาคม 2007 (UTC)

พี่ครับ ช่วยแปลผลงานของโธมัส ฮอบส์ข้างล่างครับ จากเด็กเรียน

The Elements of Law Natural and Politic แบ่งออกเป็น 2 ตอน


1 เรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์ Human Natural


Part I

Human Nature

Chapter 1

The General Division of Man's Natural Faculties

   1. The true and perspicuous explication of the Elements of

Laws, Natural and Politic, which is my present scope, dependeth upon the knowledge of what is human nature, what is a body politic, and what it is we call a law. Concerning which points, as the writings of men from antiquity downward have still increased, so also have the doubts and controversies concerning the same, and seeing that true knowledge begetteth not doubt, nor controversy, but knowledge; it is manifest from the present controversies, that they which have heretofore written thereof, have not well understood their own subject.

   2. Harm I can do none though I err no less than they. For I

shall leave men but as they are in doubt and dispute. But intending not to take any principle upon trust, but only to put men in mind what they know already, or may know by their own experience, I hope to err the less; and when I do, it must proceed from too hasty concluding, which I will endeavour as much as I can to avoid.

   3. On the other side, if reasoning aright I win not consent

(which may very easily happen) from them that being confident of their own knowledge weigh not what is said, the fault is not mine but theirs. For as it is my part to show my reasons, so it is theirs to bring attention.

   4. Man's nature is the sum of his natural faculties and

powers, as the faculties of nutrition, motion, generation, sense, reason, &c. For these powers we do unanimously call natural, and are contained in the definition of man, under these words, animal and rational.

   5. According to the two principal parts of man, I divide his

faculties into two sorts, faculties of the body, and faculties of the mind.

   6. Since the minute and distinct anatomy of the powers of the

body is nothing necessary to the present purpose, I will only sum them up into these three heads, power nutritive, power motive, and power generative.

   7. Of the powers of the mind there be two sorts, cognitive or

imaginative or conceptive; and motive. And first of the cognitive.

   8. For the understanding of what I mean by the power

cognitive, we must remember and acknowledge that there be in our minds continually certain images or conceptions of the things without us, insomuch that if a man could be alive, and all the rest of the world annihilated, he should nevertheless retain the image thereof, and of all those things which he had before seen and perceived in it; every man by his own experience knowing that the absence or destruction of things once imagined, doth not cause the absence or destruction of the imagination itself. This imagery and representations of the qualities of things without us is that we call our cognition, imagination, ideas, notice, conception, or knowledge of them. And the faculty, or power, by which we are capable of such knowledge, is that I here call power cognitive, or conceptive, the power of knowing or conceiving.


2. เรื่ององค์ประกอบการเมือง Chapter 22

Of the Power of Masters

   1. Having set forth, in the two preceding chapters, the

nature of a commonwealth institutive, by the consent of many men together; I come now to speak of dominion, or a body politic by acquisition, which is commonly called a patrimonial kingdom. But before I enter thereinto: it is necessary to make known, upon what title one man may acquire right, that is to say, property or dominion, over the person of another. For when one man hath dominion over another, there is a little kingdom; and to be a king by acquisition, is nothing else, but to have acquired a right or dominion over many.

   2. Considering men therefore again in the state of nature,

without covenants or subjection one to another, as if they were but even now all at once created male and female; there be three titles only, by which one man may have right and dominion over another; whereof two may take place presently, and those are: voluntary offer of subjection, and yielding by compulsion; the third is to take place, upon the supposition of children begotten amongst them. Concerning the first of these three titles, it is handled before in the two last chapters; for from thence cometh the right of sovereigns over their subjects in a commonwealth institutive. Concerning the second title (which is when a man submitteth to an assailant for fear of death), thereby accrueth a right of dominion. For where every man (as it happeneth in this case) hath right to all things, there needs no more for the making of the said right effectual, but a covenant from him that is overcome, not to resist him that overcometh. And thus cometh the victor to have a right of absolute dominion over the conquered. By which there is presently constituted a little body politic, which consisteth of two persons, the one sovereign, which is called the MAStER, or lord; the other subject, which is called the SERVANT. And when a man hath acquired right over a number of servants so considerable, as they cannot by their neighbours be securely invaded, this body politic is a kingdom despotical.

   3. And it is to be understood: that when a servant taken in

the wars, is kept bound in natural bonds, as chains, and the like, or in prison; there hath passed no covenant from the servant to his master; for those natural bonds have no need of strengthening by the verbal bonds of covenant; and they shew the servant is not trusted. But covenant (Part I. chap. XV, sect. 9) supposeth trust. There remaineth therefore in the servant thus kept bound, or in prison, a right of delivering himself, if he can, by what means soever. This kind of servant is that which ordinarily and without passion, is called a SLAVE. The Romans had no such distinct name, but comprehended all under the name of servus; whereof such as they loved and durst trust, were suffered to go at liberty, and admitted to places of office, both near to their persons, and in their affairs abroad; the rest were kept chained, or otherwise restrained with natural impediments to their resistance. And as it was amongst the Romans, so it was amongst other nations; the former sort having no other bond but a supposed covenant, without which the master had no reason to trust them; the latter being without covenant, and no otherwise tied to obedience, but by chains, or other like forcible custody.

   4. A master therefore is to be supposed to have no less right

over those, whose bodies he leaveth at liberty, than over those he keepeth in bonds and imprisonment; and hath absolute dominion over both; and may say of his servant, that he is his, as he may of any other thing. And whatsoever the servant had, and might call his, is now the master's; for he that disposeth of the person, disposeth of all the person could dispose of; insomuch as though there be meum and tuum amongst servants distinct from one another by the dispensation, and for the benefit of their master; yet there is no meum and tuum belonging to any of them against the master himself, whom they are not to resist, but to obey all his commands as law.

   5. And seeing both the servant and all that is committed to

him, is the property of the master, and every man may dispose of his own, and transfer the same at his pleasure, the master may therefore alienate his dominion over them,. or give the same, by his last will, to whom he list.

   6. And if it happen, that the master himself by captivity or

voluntary subjection, become servant to another, then is that other master paramount; and those servants of him that becometh servant, are no further obliged, than their master paramount shall think good; forasmuch as he disposing of the master subordinate, disposeth of all he hath, and consequently of his servants; so that the restriction of absolute power in masters proceedeth not from the law of nature, but from the political law of him that is their master supreme or sovereign.

   7. Servants immediate to the supreme master, are discharged

of their servitude or subjection in the same manner that subjects are released of their allegiance in a commonwealth institutive. As first, by release; for he that captiveth. (which is done by accepting what the captive transferreth to him) setteth again at liberty, by transferring back the same. And this kind of release is called MANUMISSION. Secondly, by exile; for that is no more but manumission given to a servant, not in the way of benefit, but punishment. Thirdly, by new captivity, where the servant having done his endeavour to defend himself, hath thereby performed his covenant to his former master, and for the safety of his life, entering into new covenant with the conqueror, is bound to do his best endeavour to keep that likewise. Fourthly, ignorance of who is successor to his deceased master, dischargeth him of obedience; for no covenant holdeth longer than a man knoweth to whom he is to perform it. And lastly, that servant that is no longer trusted, but committed to his chains and custody, is thereby discharged of the obligation in foro interno, and therefore if he can get loose, may lawfully go his way.

   8. But servants subordinate, though manumitted by their

immediate lord, are not thereby discharged of subjection to their lord paramount; for the immediate master hath no property in them, having transferred his right before to another, namely to his own and supreme master. Nor if the chief lord should manumit his immediate servant, doth he thereby release the servants of their obligation to him that is so manumitted. For by this manumission, he recovereth again the absolute dominion he had over them before. For after a release (which is the discharge of a covenant) the right standeth as it did before the covenant was made.

   9. This right of conquest, as it maketh one man master over

another, so also maketh it a man to be master of the irrational creatures. For if a man in the state of nature, be in hostility with men, and thereby have lawful title to subdue or kill, according as his own conscience and discretion shall suggest unto him for his safety and benefit; much more may he do the same to beasts; that is to say, save and preserve for his own service, according to his discretion, such as are of nature apt to obey, and commodious for use; and to kill and destroy, with perpetual war, all other, as fierce, and noisome to him. And this dominion is therefore of the law of nature, and not of the divine law positive. For if there had been no such right before the revealing of God's will in the Scripture, then should no man, to whom the Scripture hath not come, have right to make use of those creatures, either for his food or sustenance. And it were a hard condition of mankind, that a fierce and savage beast should with more right kill a man, than the man a beast.

อยากให้ช่วยแปล 2 เรื่องนี้ที่ผมคัดมาบางบทที่สั่นที่สุดมาผมจะไปทำรายงานครับ อ้างอิงจากhttp://arc.nstru.ac.th/information/index.php?page=sas ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ