คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิง[แก้]

-- bact' คุย 18:18, 2 มีนาคม 2007 (UTC)

สนุกดี[แก้]

กระบวนการ GA รอบทดลอง มีคนช่วยกันเยอะพอสมควร ตามความถนัดของแต่ละคน ทั้งช่วยหาจุดที่ต้องการอ้างอิง/หาอ้างอิงมาใส่ หา/แก้คำสะกด/อ่านผิด หา/แก้ข้อมูลผิด เสนอแนะ ฯลฯ มีทั้งผลัดกันหา ผลัดกันแก้ ช่วยกัน สนุกดี

สงสัย FA เดือนหน้า (ถ้ามีรอดรอบ GA ไป) จะเป็นบทความซูเปอร์ตัวอย่าง - -" -- bact' คุย 16:47, 7 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมคิดว่าตอนนี้ทำไมไป ๆ มา ๆ บทความตัวอย่าง กลับหายากกว่า บทความคัดสรร ก็ไม่รู้ เหอะ ๆ แล้วมันจะมีผ่านเป็น GA ไหมเนี่ยะ 555 ผมว่าทดลอง 2 อาทิตย์ (GA รุ่นแรก (ถ้ามี)) แล้วเราลองมานั่งสรุปปัญหาที่พบดีไหมครับ คุณ bact'-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 23:39, 7 มีนาคม 2007 (UTC)
อืม ผมคิดว่า มันดูเป็นเรื่องน่าภูมิใจออก ถ้าสามารถผ่านเกณฑ์ไปได้ แล้วได้เป็น "บทความคุณภาพ" อย่างเต็มภาคภูมิน่ะครับ
  • สิ่งที่ปรับ อาจจะต้องแนะนำเรื่องการเสนอความเห็นบ้าง ว่าให้ชัดเจนขึ้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงได้
  • แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตอนนี้ ผมว่าโอเคนะครับ ไม่น่าจะหย่อนกว่านี้
    • ที่มันหายาก ไม่ใช่ว่าเกณฑ์มันสูงไป แต่คุณภาพมันไม่ถึงต่างหาก (มีข้อผิดพลาดชัดเจนมากมาย อย่างที่เห็นกันอยู่ จะปล่อยผ่านไปก็คงจะไม่ดี -- อย่าว่าแต่ "บทความคุณภาพ" เลย, ควรจะขึ้นป้าย "ตรวจสอบความถูกต้อง" เสียด้วยซ้ำ)
    • ไม่ได้หมายความว่า บทความที่เสนอมา ไม่มีดีอะไรเลย, แต่เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นบทความขนาดยาวทั้งนั้น เมื่อยิ่งยาว ก็ยิ่งมีโอกาสพลาดมาก
    • หากลองเสนอบทความสั้น ๆ มา อาจจะได้เป็น GA เร็วกว่าก็เป็นได้ (GA ไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องความสั้นยาวอยู่แล้ว)
ขอบคุณครับ -- bact' คุย 18:24, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
ณ ขณะนี้ ยังไม่มีความคิดเรื่องลดเกณฑ์ลงนะครับ แต่คิดเรื่องการลงคะแนนมากว่าครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 19:18, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้เห็นคนลงชื่อไว้ที่ท้ายชื่อบทความที่ถูกเสนอ - ก็ไม่รู้ว่าลงชื่อ สนับสนุน คัดค้าน หรือว่าอะไร, และแทบทุกคน ไม่ได้ให้เหตุผลอะไรไว้เลย -- bact' 07:52, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ส่วนมากคนที่ลงชื่อแบบนั้นจะสนับสนุนครับ คงคุ้นเคยกับระบบของ FA อะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:17, 15 มีนาคม 2007 (UTC)
ซึ่งว่ากันแล้ว การคะแนนของ FA ก็น่าจะอภิปรายแสดงเหตุผลกันหน่อยรึเปล่าครับ ? -- bact' 18:25, 25 มีนาคม 2007 (UTC)

รูปแบบการเสนอใหม่[แก้]

ผมเองได้ทำการยกเครื่อง ปรับรูปแบบการเสนอบทความคุณภาพใหม่หมด และได้ทำการปรับรูปแบบบทความคุณภาพที่เสนอในปัจจุบันไปยังรูปแบบใหม่หมดเรียบร้อยแล้ว โดยได้นำวิิธีที่ใช้สำหรับบทความคัดสรรในวิกิอังกฤษมาใช้ ซึ่งวิธีใหม่ แต่ละบทความที่ถูกเสนอ จะได้รับหน้าของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ edit history และ comments ต่างๆติดกับหน้าดังกล่าวตลอดไป ซึ่งจะทำการสะดวกในการจัดเก็บ ปิดบทความ รวมถึงอ้างอิงกลับมาได้ง่าย นอกจากนั้น ยังมีข้อดีเวลาเสนอ การเพิ่่มชื่อไปล่างสุดนั้นง่ายขึ้น เพราะหน้าจริงสั้นลง ทำให้ง่ายในการบริหารรายชื่อ และการแสดงความคิดเห็นยังง่ายเหมือนเดิม ด้วยการกด "แก้ไข" ด้านข้างหัวข้อของชื่อบทความที่ต้องการแสดงความคิดเห็น --Jutiphan | พูดคุย - 01:51, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

เยี่ยมเลยครับ ดูใช้ง่ายดี :) -- bact' คุย 18:15, 8 มีนาคม 2007 (UTC)


การแสดงความคิดเห็นสำหรับบทความที่ถูกเสนอ[แก้]

Patiwat 22:37, 8 มีนาคม 2007 (UTC): เซ็งจัง. พอบอกว่ามีเนื้อหาผิดที่ไม่มีอ้างอิง ก็โดนหาว่าติเป็นอย่างเดียว ไม่ยอมแก้หรือลบ. แน่จริงทำไมไม่กล้าแก้ละ. พอแก้หรือลบก็โดนหาว่าฟันธง. นโยบายในวิกิพีเดียมันเขียนไว้ชัด: "เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น" (The burden of evidence lies with the editor who adds or restores material). มันไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะมา เติมอ้างอิงสำหรับเนื้อหาที่คนอื่นมั่วเขียนเข้าไป. ผมไม่ใช่สารพัดช่างเหมือนบางคนในหน้านี้. จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ยังเคยเขียนไว้เลย:

ผมอยากจะเน้นตรงนี้เป็นพิเศษ. ผู้เขียนบางคนมักนิสัยเสีย. พอเจอเนื้อหามั่ว เนื้อหาประเภท "เคยได้ยินมาจากที่ใหนมาสักแห่ง" ก็มักจะุติดป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}. ผิดครับ. เนื้อหาประเภทนี้ควรจะถูกลบโดยด่วนที่สุด ถ้่าหากไม่มีแหล่งอ้างอิง. กฎนี้ควรใช้สำหรับเนื้อหาทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหาเชิงลบเกี่ยวกับบุคคลมีชีวิต[1]

อะไรที่มารบกวนความรู้สึก หรือความตั้งใจ จะรู้สึกเซ็งแบบนี้แหละครับ (อ้างข้างบน) ทุกคนมีแนวทางและความคิดของตัวเอง --ธวัชชัย 00:37, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ขอโทษนะครับ คุณ Patiwat ควรจะหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมากกว่านี้นะครับ ก่อนที่จะบอกว่ามันผิด หรือคุณคิดว่าการอ้างอิงที่หน้าพูดคุยแล้วมาบอกว่าอันนั้นผิดมันเหมาะสม อะไรคือ ไม่ควรอ้างอิงโดยใช้บทความในวิกิ อะไรคือมาตรฐานของแหล่งอ้างอิง คุณ Patiwat ซึ่งผมคิดเอาเองว่าเชี่ยวชาญด้านการอ้างอิงทำแบบนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ ที่จะเอาหน้าพูดคุยมาอ้างอิง หรือคุณ Pawiwat เห็นว่ามันถูกต้อง ผมจะได้ถือเอาเป็นตัวอย่างที่ดีและกระทำบ้าง-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 03:12, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ขนาด Jimbo เขียนไว้ค่อนข้างตรงไปตรงมาแล้วก็ยังเข้่าใจผิดกัน... ถ้่าผมจะลบเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ผมไม่่จำเป็นต้ิองใช้แหล่งอ้างอิง เพื่ิอ justify การลบของผมเลย. It should be removed, aggressively, unless it can be sourced = เนื้อหาประเภทนี้ควรจะถูกลบโดยด่วนที่สุด ถ้่าหากไม่มีแหล่งอ้างอิง. แหล่งอ้างอิงคืิอหน้าที่ของผู้เติมเนื้ิอหา ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ลบเนื้ิอหา. Patiwat 05:35, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ถ้าคุณ Patiwat ถือหลักการแบบนั้นประจำใจ ผมสงสัยว่าทำไมคุณถึงไม่ตามลบทุกอันครับ ผมเห็นคุณใส่ต้องการอ้างอิง ไว้หลายบทความาก ทำไมไม่ลบครับ กรุณายึดถือหลักของตนไว้ให้มั่น ไม่ใช่มี 2 มาตรฐานนะครับ ไม้หลักปักเสาเลน หรือการพูดเพื่อเอาตัวรอดแบบขอไปทีนั้น ไม่สมควรนะครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 05:41, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
แล้วคุณจะเป็นคนลบอย่างเดียวเลยไม่สร้างสรรค์บ้างหรือไงครับ--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 06:09, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ถ้าการลบนั้น เป็นการทำเพื่อรักษาคุณภาพของสารานุกรม ก็ถือเป็นงานสร้างสรรค์ครับ (เหมือนลบไฝปานแดงปานดำมั๊ย? :D) -- bact' คุย 06:24, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

ไม่ได้พูดถึงกรณีนี้โดยตรง - แต่เป็นที่ชัดเจนแน่นอนว่า การหาแหล่งอ้างอิง เป็นหน้าที่ของผู้ใส่ข้อมูลครับ เพื่อยืนยันว่าข้อมูลนั้น "ถูก" (ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดใส่ข้อมูล, แต่ทันใดที่มีการใส่ ผู้ใส่ข้อมูลก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อ่าน สำหรับข้อมูลในส่วนที่เขาใส่, การแสดงความรับผิดชอบนั้น อย่างหนึ่งก็โดยการหาแหล่งอ้างอิงมาใส่ เพื่อให้ผู้อ่านเขาตรวจสอบได้ -- นี่คือสารานุกรม แหล่งหาความรู้ที่ควรจะเชื่อถือได้) -- bact' คุย 06:24, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

ส่วนตัว, ผมคิดว่าสิ่งที่คุณ Patiwat พยายามสื่อสารและทำ เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากความวิตก/ห่วง (concern) ในเรื่อง คุณภาพของวิกิพีเดีย - แม้ลักษณะการกระทำนั้น จะไม่ถูกจริตหลายคนก็ตาม (ห้วน กวน ฯลฯ) -- แต่ผมเห็นว่าควรจะแยกออกจากกัน - ถ้าอะไรมันผิดหลักเกณฑ์ ก็คือผิดหลักเกณฑ์ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม (เรื่องชอบไม่ชอบ ก็มีไปตามความรู้สึก แต่อย่าปล่อยให้มันกลบ ประเด็นที่มีต่อบทความ เสีย)

ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นร่วมกันในหลักการใหญ่ ว่าอยากให้วิกิพีเดียมีคุณภาพ

แต่ที่ไม่ตรงกันอยู่ ก็คือเรื่องของวิธีการไปสู่จุดนั้น, บางคนก็เข้มข้น ไม้แข็ง, บางคนก็อยากให้อ่อนหน่อย ค่อยเป็นค่อยไป - ซึ่งผมคิดว่าเรื่องพวกนี้สามารถตกลงกันได้ ว่าจะเอาแบบไหน ให้มันชัดเจน เพื่อจะได้ลดการขัดแย้ง (การขัดแย้งบางส่วนเกิดจากการไม่มีข้อควรปฏิบัติที่ชัดเจน ต่างคนจึงทำต่างกันไปตามที่ตนเห็นดี-หวังดี) แล้วก็อย่ากลับไปมาทีหลัง
อย่างไรก็ตาม ควรระวังว่า สิ่งที่เราอาจประนีประนอมกันได้นั้น คือ ความเร็ว/เร่ง ในการจะไปถึงคุณภาพ -- แต่ไม่ใช่ตัวคุณภาพเอง
(ถ้าคุณภาพคือเต็ม 100, สิ่งที่เราอาจประนีประนอมได้คือ จะไปให้ถึง 100 ยังไง ไปถึงพรุ่งนี้หรือปีหน้า -- แต่ไม่ใช่ว่า ลดจาก 100 เหลือ 70 แล้วกัน)

-- bact' คุย 06:24, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

  • คุณ bact กล่าวได้ถูกต้องครับ ซึ่งตอนแรกคิดไว้ว่า รุ่นทดลองคงต้องใช้เวลา 2 อาทิตย์ แล้วจะมาอภิปรายถึงข้อดี-ข้อเสียที่พบ อย่างว่าครับ นี่เป็นครั้งแรกที่มี GA คงต้องมีปัญหามากมาย แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจแล้วว่าควรจะรอให้ถึง 2 อาทิตย์เพื่อให้พ้นขอบเขตของการพิจารณา GA ชุดแรก หรือเปล่า แล้วค่อยมา discuss จุดต่าง ๆ กัน คุณ bact คิดว่าไงครับ เอาเข้าสภากาแฟอภิปรายกำหนดหลักเกณฑ์ ปัญหาที่พบกันเลยไหมครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 06:38, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
    ตอบตามประสาคนขี้เกียจเป็นพื้นฐาน ผสมความเชื่อในระบบจัดการตนเอง (งูๆ ปลาๆ) ในตอนเริ่มแรกนี้ผมอยากให้มันคลี่คลายได้เองครับ (แล้วค่อยไปจับเอาว่า มันคลี่คลายยังไง มาเป็นหลักอีกที) - 2 อาทิตย์ก็ไม่เลวครับ -- bact' 07:43, 9 มีนาคม 2007 (UTC)


เสนอความเห็นเพิ่มเติม[แก้]

การเสนอแนะแก้ไข น่าจะใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา ไม่ใช่ "ในปีพ.ศ. 1319 รัฐฉินยังมีตัวตนอยู่อีกหลอ?" อันนี้อ่านดูแล้วกวนยวนๆ ยังไงชอบกล, จะกลายเป็นหาเรื่องชวนทะเลาะ แทนที่จะช่วยกันแก้ไข คนที่เขียนก็พาลเบื่อไม่อยากเขียน เพราะคนที่เสนอแนะก็ได้แต่เสนอแนะลูกเดียว จะเสียอารมณ์กันเปล่าๆ

อันนี้พูดแบบตรงไปตรงมา ไม่ได้อ้อมค้อม เพราะไม่ชอบเขียนยาวๆ --ธวัชชัย 15:18, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

ขอความร่วมมือช่วยใช้ภาษาไทยมาตรฐานด้วยนะครับ เวลาแสดงความคิดเห็น เช่น "หลอ" ควรใช้คำว่า "เหรอ" แทน ขอบคุณมากครับที่ให้ความร่วมมือ เพราะอย่างที่คุณธวัชชัยพูดครัีบ บางคนอาจคิดได้ว่าเป็นการดูถูก เหยียดหยาม ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ --Jutiphan | พูดคุย - 16:27, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ขอโทษนะครับ นี่เรากำลังทำอะไรกันอยู่ในบทความคุณภาพเหรอครับ ช่วยกันจับผิด หรือ ช่วยกันปรับปรุง อะไร คือ จุดประสงค์ของบทความคุณภาพกันแน่ครับ ผมกำลังรู้สึกว่าผู้เสนอบทความนี้กำลังโดนจับผิดอยู่นะครับ ถ้าใครรู้ข้อมูลอะไรดี ๆ คงไม่อยากไปใช่ไหมครับ ที่จะช่วยกันปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือว่าเก่งแต่จับผิดอย่างเดียวกันครับ แล้วแบบนี้ใครจะกล้าเสนอบทความมาอีกล่ะครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 16:51, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • (ยาว - เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ควรคุยให้ชัดเจน โดยละเอียด)
  • ผมไม่เห็นว่าเป็น "การจับผิด" นะครับ - ถ้าจะปรับปรุงได้ ก็ต้องรู้ว่าจะปรับปรุงอะไรก่อน
    • ครับมันจะไม่มีประเด็นนี้นะครับ ถ้าไม่มีผู้ใช้บางคนเขียนทำนองนั้นขึ้นมา ถ้าลองอ่านการใช้สำนวนการเขียนของผู้ comment บางคน ก็จะรู้ว่ามันเป็นการจับผิดครับ การบอกกล่าวข้อบกพร่องอย่างใจจริง กับ การบอกกล่าวอย่างการจับผิด ผมว่า คนปกติ เค้าแยกกันออกครับ ว่าอันไหนคือจับผิด หรือ อันไหนคือการเสนอเพื่อต้องการให้ปรับปรุงโดยแท้จริง ครับ-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 18:22, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • และไม่ควรเลยที่ใครจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับผิดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียน หรือผู้เสนอ หรือใครก็ตาม บทความสารานุกรมไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
    • en:Wikipedia:Ownership of articles
      • ครับผมเข้าใจครับ ทฤษฏีมันพูดง่ายครับ แต่ทางปฏิบัติมันคงยาก การเสนอแนะอะไรควรอยู่บนพื้นฐานการใช้ถ้อยคำที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยครับ เสนอแบบคนต้องการให้บทความมันดีขึ้นเสนอไม่ใช่เสนอแบบคนหาเรื่องผู้อื่นนะครับ วิกิพีเดียควรขับเคลื่อนไปด้วยผู้เขียน ไม่ใช่วิจารณ์อย่างเดียวนะครับ แล้ววิจารณ์ดี ๆ นี่ยังรับได้นะครับ แต่วิจารณ์แบบ...นี่คงไม่เหมาะมั้งครับ ถ้าลองยังวิจารณ์แบบนี้อีก ผมว่าคงไม่มี GA FA แน่ครับ เพราะไม่มีคนอยากจะยุ่งอีก อย่าลืมนะครับ "อตฺตานํ อุปมํ กเร" เอาใจเขามาใส่ใจเรา ครับ-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 18:41, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • เรื่องภาษา บางทีผมก็อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกัน แต่ก็พยายามอ่านหลาย ๆ รอบ เอาแต่ความ ว่าเขาพยายามสื่ออะไร -- แต่คนเขียนถ้าปรับได้ก็ปรับหน่อย คนอ่านจะได้สบายใจ ส่วนคนอ่านถ้าปรับได้ก็ปรับด้วย จะได้สบายใจตัวเองด้วย -- "ใจกว้าง/อดทน/อดกลั้น" และ "อย่าเอาเป็นเรื่องส่วนตัว"
    • อันนี้ต้องดูที่ต้นเหตุครับ ถ้าไม่มีเหตุ คงไม่มีผลครับ เพราะคนก็ต้องมีความรู้สึก และมีจุดสิ้นสุดของความอดกลั้นครับ-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 18:41, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ผมเห็นด้วยว่าการพูดจากันเพราะ ๆ น่ารัก ๆ มันดีกว่าแน่ -- อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งที่พูดออกมา มันมีประโยชน์อยู่ แม้มันจะห้วนไป ก็ยังควรจะรับฟังอยู่ครับ (และไม่ควรจะทำให้ผู้พูดนั้น รู้สึกว่าตัวเองจะต้องหยุดพูด, ไม่เช่นนั้นแล้ว คนที่คอยเสนอแนะ/ตั้งข้อสังเกตอะไรที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก ก็จะค่อย ๆ หายไป - ผมไม่คิดว่าความหลากหลายทางความคิดที่น้อยลงเป็นสิ่งที่ดีกับสารานุกรมเสรีโดยรวม)
    • ผมไม่ค่อยห่วงคนวิจารณ์จะหายครับ ผมกลัวคนเขียนบทความจะหายมากกว่าครับ ด้วยความเคารพจากใจจริง-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 18:41, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ถึง: คุณ Patiwat:
    1. เรื่องเนื้อหาสารานุกรม (ส่วนรวม) กรณีจุดผิดพลาด หากทราบเป็นการเจาะจง ควรระบุให้ชัดเจนว่าจุดไหน เพื่อประโยชน์ของผู้ร่วมแก้ไขท่านอื่นครับ
    2. เรื่องสไตล์การพูดคุย (ส่วนตัว) ถ้าคิดว่าพอปรับได้ เสนอว่าน่าจะลองดูครับ, ทั้งนี้หากไม่ขัดกับ "มโนสำนึก" ของคุณ เนื่องจากผมไม่มีสิทธิ์

-- bact' คุย 18:13, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

    • เห็นด้วยครับ คุณ Patiwat ให้ข้อเสนอแนะที่ดีหลายข้อนะครับ แต่ควรเพิ่มความคำนึงถึงจิตใจคนอื่นบ้างนะครับ แค่เรื่องภาษานี่คงไม่ยากเกินไปนะครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 18:41, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

ความเห็น - นอกจากการแก้ไขและปรับปรุงเรื่องสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้แล้ว ผมเข้าใจว่าทุกคนมีเจตนาดี อันนี้ก็ทุกคนมีเจตนาดี และมีความตั้งใจกันทุกคน ไม่งั้นก็คงไม่มาอยู่กันตรงนี้ ไม่ว่า คุณSe-rin, คุณScorpianPK, คุณBact, หรือ คุณPatiwat รวมถึงผมและคนอื่นๆ ก็มีเจตนาดีและความตั้งใจดีไม่แพ้กัน แต่คิดว่าคงสื่อสารกันไม่เข้าใจซะมากกว่า เรื่องคำพูดที่ใช้ก็คงต้องให้ตรงไปตรงมานะครับ เหมือนที่คุณธวัชชัยกล่าวไว้ด้านบน แต่ตรงนี่ไม่ได้หมายถึงว่าตรงบื้อทื่อพูดขวานผ่าซากออกมาแบบไม่รู้ว่าอะไรออกมาจากปาก เรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพนั้นผมว่าก็คงเป็นอีกเรื่องที่ผู้ใช้ก็น่าศึกษานะครับ (แต่คงไม่ถึงต้องมีโครงการ วิกิพีเดีย:ผู้ใช้คนนี้สื่อสารมีคุณภาพ แล้วต้องมานั่งวิจารณ์กันอีกคงไม่ดีแน่) ผมก็พอเข้าใจว่าคนที่ไม่เข้าใจเรื่องประสิทธิภาพของการสื่อสาร อย่างไรก็คงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ คำพูดห้วนที่มันไม่เข้าหูยังไงก็คงไปไม่ถึงหัวหรอกครับ --Manop | พูดคุย - 20:20, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมไม่อยากให้ท่านอื่นๆ เกิดความรู้สึกว่า เสนอบทความคุณภาพแล้วเหมือนถูกโดนเผา โดนย่างจนไหม้มืดสนิท อย่างบางจุด ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคุณ Patiwat นั้นอาจจะมากไปหน่อยครับ (ถึงอย่างไรก็ตาม บางส่วนนั้นอาจไม่กระทบต่อการผ่านและไม่ผ่านบทความคุณภาพโดยตรง) --Jutiphan | พูดคุย - 20:53, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ขอโทษที่อาจทำให้เข้าใจผิด. จะพยายามใช้ภาษาไทยมาตรฐาน. พอดีติดนิสัยเสีิยจากการเล่น Pirc กับ เอ็ม มากไปมั้ง.
  • พอดีติดนิสัยจาก en.wiki. ถึงเสนอหลาย GA มาเป็นอาทิตย์เป็นเดือน ก็ไม่มีใครดูให้. พอมีคนคนติ ถึงจะเป็นการยำก็ตาม ก็ไม่ว่า เพราำะอยากได้ feedback เต็มที่. กระบวนการ GA Review ของ th.wiki ยังใหม่อยู่. ไม่ว่าใครก็เป็น "มือใหม่" ทั้งนั้น. จะพยายามอ่อนโยนเป็นพิเศษ. และถ้า offend ใคร ก็ช่วย don't take it personally. Patiwat 23:20, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
    • ขอโทษครับ พอดีอ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยออกน่ะครับ เพราะเผอิญที่นี่มันวิกิไทย ไม่ใช่วิกิอังกฤษ คงต้องปรับกันหลายอย่างละมังครับ --Oh~my goDnesS 11:30, 9 มีนาคม 2007 (UTC)


เสนอให้ ลองเสนอบทความสั้น ๆ เป็น GA บ้าง[แก้]

เอาแบบที่

  • มีประเด็นน้อย ๆ ในบทความ (พูดถึงเรื่องเดียวเลยได้ยิ่งดี)
  • ไม่ลงรายละเอียดเยอะนัก
  • มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน

ตอนนี้เราเพิ่งเริ่มกระบวนการ GA แล้วก็ไปเริ่มด้วยบทความที่ยาวและซับซ้อนมาก เลยอาจเป็นสาเหตุให้สับสนได้ น่าจะลองอันที่ง่าย ๆ หน่อย (ตัว GA ไม่ได้กำหนดความยาวอยู่แล้ว)

(ในฐานะโปรแกรมเมอร์, การเอาโปรแกรมใหญ่ ๆ มาแก้ ยากกว่าการเอาโปรแกรมเล็ก ๆ มาค่อย ๆ เพิ่มความสามารถทีละนิด อยู่เยอะ)

-- bact' 07:49, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วย เดี๋ยวมามาให้ค่ะ--Se:Rin | พูดคุย - 07:52, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

คำถามและข้อเสนอเพิ่ม สำหรับ อะไรคือบทความคุณภาพ[แก้]

มีคำถาม และ ข้อเสนอเพิ่ม ในหน้่า อะไรคือบทความคุณภาพ. อยากขอความเห็นจากผู้อื่น. Patiwat 00:45, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

ย้ายข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ไปที่หน้าอภิปรายของแต่ละบทความ[แก้]

จะได้มีอยู่แค่ที่เดียว - ซึ่งหน้า "อภิปราย" นั้น ก็เป็นพื้นที่ตามปกติของข้อเสนอะแนะของบทความอยู่แล้ว

-- bact' 17:06, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

หน้า วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ ก็จะได้ไม่รก/ยาวเกินไปด้วย - ลองดู en:Wikipedia:Good_article_candidates#Nominations มันดูเป็นระเบียบดี -- bact' 17:08, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
อันนี้เห็นด้วยเลยครับ เพราะตอนนี้หน้าหลักทั้งรกทั้งยาวแล้วครับ คนอื่นว่าไงครับ ถ้าโอเคเราจะเริ่มย้ายไปกันตอนไหนอ่ะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:47, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ลองย้ายไปบางอันได้ซักพักแล้วนะครับ ขอโทษทีที่ไม่ได้เข้ามาบอกครับ -- bact' 18:27, 25 มีนาคม 2007 (UTC)

แม่แบบ สำหรับกิจการบทความคุณภาพ[แก้]

เผื่อใช้ในอนาคต en:Category:Wikipedia GA templates -- bact' 17:11, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

GAonhold vs GAnominee[แก้]

คุณ ScorpianPK ถามมา

เมื่อไหร่เป็น on hold เมื่อไหร่เป็น nominee ครับ ?

เท่าที่ผมเข้าใจ:

  • nominee คือ กำลังถูกเสนอชื่อ
  • on hold คือ ได้รับการพิจารณาแล้ว แต่ต้องการการแก้ไขนิดหน่อย
    • ถ้าแก้ตามนั้น ในเวลาที่กำหนด ก็จะเป็น GA (ถูกคัดเลือก)
    • ถ้าไม่แก้ตามเวลาที่กำหนด ก็เป็น FailedGA (ตกคัดเลือก)

ลิงก์อ้างอิง: en:Wikipedia:Good article candidates en:Template:GAonhold, en:Template:GAnominee -- bact' 17:32, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

คำถามนี้สืบเนื่องมาจากเห็นบทความที่เป็น GAnominee ทุกอันติดป้าย GAonhold ไว้ที่หน้าพูดคุยทุกบทความเลยครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:49, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ครับ คนที่เสนอชื่อจะทำการใส่ป้าย nominee พอรับเรื่องมาพิจารณา ผู้รับเรื่องจึงใส่ onhold ครับ ปัจจุบันในไทยผมได้เขียนให้ใส่ onhold เลยเมื่อรับเรื่องมา --Jutiphan | พูดคุย - 17:49, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ซึ่งเป็นการคาดเดาล่วงหน้าว่า ทุกเรื่องจะได้รับพิจารณาแน่ - กรณีปัจจุบัน คิดว่าคงโอเค เพราะว่ามีการเสนอมาไม่มาก ทุกบทความจึงได้รับการพิจารณาทันที แต่ในอนาคตอาจจะต้องปรับ -- bact' 17:23, 16 มีนาคม 2007 (UTC)

GAquickfail[แก้]

มีอันนึงที่ไปเห็นมา แล้วผมว่าดีมาก คือ en:Template:GAquickfail

คือเป็นการปรับตกอย่างรวดเร็ว แบบไม่ต้องอ่านอะไรมาก เนื่องจากผิดเงื่อนไขร้ายแรงที่พบเห็นได้ง่าย:

  • ใช้ภาพที่สัญญาอนุญาตไม่ใช่แบบเสรี (unfree images) โดยไม่ได้ระบุเหตุผลการใช้แบบชอบธรรม (fair use rationales)
  • มี "ข้อเท็จจริง" ที่ไม่มีแหล่งที่มา/อ้างอิง
  • บทความที่มีป้าย "เชิงลบ" ติดอยู่ เช่น {{POV}} (ความคิดเห็น), {{future}} (เหตุการณ์ในอนาคต)

เหตุผลที่เขามีป้ายนี้ ก็เพื่อที่จะได้ปรับบทความที่ผิดเงื่อนไขสำคัญ ๆ ให้ตกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องให้ชาววิกิพีเดียอื่น ๆ มาเสียเวลาพิจารณา จนกว่าเงื่อนไขสำคัญเหล่านั้น จะได้รับการแก้ไขเสียก่อน

คิดว่ายังไงกันบ้างครับ -- bact' 17:32, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

ความจริงแล้ว ก็ดีเหมือนกันครับ ซึ่งหากไม่เห็นด้วย ก็สามารถเสนอใหม่ได้ทันที --Jutiphan | พูดคุย - 17:49, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยครับว่าเหมาะสม แต่ยังไงอย่าลืมระบุไปเลยแล้วกันว่า ความผิดร้ายแรงได้แก่อะไรบ้างจะได้มรเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสำหรับทุกคนครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:52, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ให้ตามเ่งื่อนไข อะไรคือบทความคุณภาพเลยครับ ไม่ต้องเพิ่มเติม --Jutiphan | พูดคุย - 18:01, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
ไม่ได้เพิ่มเติมครับ แต่ควรจะระบุว่าผิดเกณฑ์ข้อไหนร้ายแรงจนถึงขั้นต้องปรับตกไปโดยไม่ต้องพิจารณา ถ้าเอาตามเกณฑ์ของอะไรคือบทความคุณภาพทั้งหมดนั้น เกรงว่าอาจจะไม่เหมาะครับ เช่น แค่ภาพไม่มีคำอธิบายโดยย่อใต้ภาพ 1 รูป หรือใช้ไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง เราจะไม่รับพิจารณาเลยเหรอครับ ผมว่าเรื่องเหล่านี้มันไม่น่ารุนแรงจนถึงขั้นปรับตกโดยไม่ต้องพิจารณาครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 03:00, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
เรื่องร้ายแรงแน่ ๆ คือเรื่องลิขสิทธิ์ ทั้งเนื้อหา และรูปภาพ ถ้าละเมิดหรือไม่ชัดเจน ปรับตกทันที - ไปแก้ก่อน แล้วพิจารณาใหม่ก็ยังได้ -- bact' 17:40, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
อีกเรื่องก็คือเรื่อง ป้าย "เชิงลบ" อันนี้น่าจะชัดเจนว่าควรปรับตก เพราะป้ายพวกนี้
  1. บอกว่า เนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายวิกิพีดีย (เช่น ไม่เป็นกลาง, พิสูจน์ยืนยันไม่ได้, เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ) ซึ่งไม่ควรจะได้รับเลือกให้เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว
  2. บอกถึงความ "ไม่นิ่ง" ของบทความ (เช่น อยู่ภายใต้สงคามแก้ไข, เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่, หรือ เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต) ซึ่งก็ขัดกับเกณฑ์บทความคุณภาพ แล้วก็คงจะรีวิวลำบากด้วย เพราะมันไม่นิ่ง
พวกนี้ก็ควรปรับตกไปก่อน -- bact' 17:44, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับเกณฑ์ของคุณ bact' ครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:13, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

่ดูวิกิพีเดียอังกฤษแล้ว ป้ายนี้ถูกแจ้งลบอยู่ (เหมือนว่าจะมีคนไม่เห็นด้วยเยอะ) (ดูที่นี่) จริงๆผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าน่าจะมีการ quickfail กับบางข้อที่ชัดเจน อย่างที่คุณ bact' กล่าวมา kinkkuananas 08:46, 15 มีนาคม 2007 (UTC)

DelistedGA[แก้]

อันนี้คือ บทความที่เคยเ็ป็น GA แต่ถูกถอดถอน เนื่องจากคุณภาพตก

(ยังไม่ต้องรีับก็ได้อันนี้ เพราะยังไม่มี GA เลย :P) -- bact' 17:32, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

ขออธิบายบางส่วนคร่าวๆ เท่าที่ผมเข้าใจคือ คือว่าในวิกิอังกฤษจะมีกลุ่มที่ทำหน้าที่ reviews โดยเฉพาะ (กลุ่มนี้ทุกคนสามารถ join ได้ ซึ่งเพราะว่าคนเยอะ เขามีแบ่งเป็นทีมๆ คนสนใจก็ join ทีมที่ต้องการ เพื่อเรียนรู้หลักการทำงาน ของทีมนั้นๆ เพื่อให้การทำงานเป็นประสิทธิภาพ) โดยเริ่มแรกจะใส่ป้าย nominee ก่อนสำหรับครั้งแรกที่เสนอชื่อ โดยพอมี reviewer รับเรืื่่องมานั้น ก็จะทำการ review แล้วก็ onhold จากนั้นก็ค่อยตัดสินครับ (หากเข้าใจผิดก็ขออภัยด้วย) ในหลายกรณีเช่นแก้แล้ว อาจมีแก้ได้หลายครั้ง เพราะอาจมีเสนอเพิ่มเติมเรื่อยๆ --Jutiphan | พูดคุย - 17:40, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
อันนี้ก็ดีครับไว้รองรับบทความที่โดนแก้จนผิดไปจากดั้งเดิมมาก ๆ ส่วนที่คุณ Jutiphan ว่ามานั้นผมไม่รู้ว่าจะนำมาใช้กับวิกิไทยได้ไหมเพราะของไทยไม่มีระบบ reviwer ซึ่งตอนนี้ผมเข้าใจเอาเองว่า บทความที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ามาติดป้ายน่าจะให้สถานะ GAnominee ไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับการพิจารณาว่าผ่านเกณฑ์ไหม ถ้าผ่าน GAnominee-->GA ถ้าผ่านแต่ยังต้องรอแก้ไข(ได้รับเสียงสนับสนุนมาก แต่ต้องได้รับการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะให้ครบถ้วน) GAnominee-->GA และ on hold ถ้าไม่ผ่าน GAnominee-->GAfail--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:59, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
จุดต่างอันหนึ่งตอนนี้ ระหว่างของเขากับของเราก็คือ เขาจะมีคนรีวิวครั้งละคนครับ โดยจะเป็นดังนี้
มีคนเสนอมา, เป็น GAnominee --> รอคนรับเรื่อง --> มีคนรับไปรีวิว, ใส่ป้ายว่ากำลังรีวิวอยู่ คนอื่นจะได้ไม่มารีวิวซ้ำ --> พิจารณาใส่ป้าย GA หรือ GAonhold หรือ FailedGA --> ถ้าเกิดว่าไม่ผ่าน (FailedGA) ก็เสนอมาใหม่ได้ / ถ้าผ่าน (GA) แต่เวลาผ่านไป คุณภาพตก ก็อาจจะกลายเป็น DelistedGA ได้ -- bact' 17:36, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
ทีนี้ ของเรา ถ้าจะใช้ระบบ ร่วมด้วยช่วยกันรีวิว ก็อาจจะต้องปรับหน่อย -- bact' 17:38, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
ครับ คืออยากให้ช่วยกันลองเสนอรูปแบบดูครับ ว่าอันไหนจะเหมาะสมกับวิกิไทย ผมขอลองเสนอก่อนแล้วกันครับ รูปแบบที่ผมจะเสนอ คือ
  1. ทุกเรื่องที่ถูกเสนอชื่อเข้ามานั้น ให้ถือว่าเป็น GAnominee (ตอนนี้ยังไม่มี) ตลอดระยะเวลาในการพิจารณา 2 สัปดาห์ ถ้าจะติดป้ายน่าจะติดป้าย GAnominee ไว้หน้าพูดคุย
  2. หลังจาก 2 สัปดาห์ เราจึงสรุปผล แล้วให้สถานะของบทความว่าเป็น GA GAonhlod หรือ GAfailed แล่วติดป้ายตามสถานะ โดยที่ป้ายของ GAonhlod และ GAfailed ให้ระบุแนบข้อเสนอแนะที่ยังไม่ได้ปรับปรุงไปด้วย เพื่อให้คนอื่น ๆ มาช่วยกันปรับปรุงบทความ
รบกวนท่านอื่น ๆ ช่วยลองเสนอรูปแบบดูกันนะครับผม --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:25, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

ร่วมสรุปปัญหาและหาทางแก้ไขของ GA รุ่นทดลอง[แก้]

  1. จำนวนชาววิกิที่เข้าร่วมในการคัดเลือกนั้น "น้อยมาก" โดยดูจากรายชื่อบทความที่ผ่านเกณฑ์นั้นเทียบจะไม่มี ซึ่งตอนนี้กำหนดเสียงสนับสนุนไว้ ถึง 10 เสียง ผมคิดว่ามากเกินไปครับ สำหรับ 2 อาทิตย์ (ซึ่งอาจจะดูเทียบกับบทความคัดสรร ซึ่งใช้เวลาถึง 1 เดือนยังมีเสียงสนับสนุนเกิน 10 ไม่กี่เสียง) ผมคิดว่า ควรจะปรับลดเสียงสนับสนุนลงมาเหลือเพียง 5 เสียงทั้งในส่วนของ GA และ GAonhold แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยมีข้อตกลงแบบเดิมนั่นคือ แม้จะได้รับเสียงสนับสนุนเกิน 5 เสียง แต่บทความที่จะผ่านไปเป็น GA ก็ต้องผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกแบบเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. เราควรจะทำอย่างไรกับบทความที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก GA แต่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากชาววิกิพีเดียถึงเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่ง ณ ขณะนี้ดูตัวอย่างได้จาก ประเทศตองกา ซึ่งผู้เสนอแนะได้ทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะทุกประการ แต่ไม่มีคนลงชื่อสนับสนุน --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 06:32, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

ระบบโหวตไม่เวิร์กครับ เสนอว่าลองไม่ต้องโหวตดีไหม การตัดสินว่าจะเป็นบทความคุณภาพหรือไม่ ใ้ห้ดูว่าเข้าเกณฑ์บทความคุณภาพครบ เท่านั้นพอ --Pi@k 07:01, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

  • ผมขอเสนอว่า ในความคิดของผมนั้น บทความคุณภาพ คือบทความที่เขียนได้ดี แต่ไม่จำเป็นต้องให้เลิศเลอ (พูดง่าย ๆ คือใช้ภาษาดี ภาพประกอบ (ถ้ามี) เหมาะสม) และเนื้อหาไม่จำเป็นต้องใกล้ตัวเราเสมอไป เช่น อาจจะคัดเลือกเอาบทความที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย หรือวัตถุท้องฟ้า ฯลฯ (อะไรก็ได้) ที่เขียนได้ดี มีแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บบอร์ด (ไม่ต้องอ้างเป็นตอน ๆ แต่อาจอ้างเป็นการสรุปท้ายบทความก็ได้) แต่บทความคัดสรร ควรเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวและมีความสำคัญต่อทุก ๆ คน

ผมขอสนับสนุนแนวคิดคุณ Pi@k ข้างต้น ตรงที่ว่าไม่ต้องลงคะแนน แต่ให้มีกลุ่มผู้ใช้ที่เป็น "กรรมการ" คอยตรวจให้ข้อเสนอแนะผ่านทางหน้าอภิปราย และช่วยพัฒนาให้บทความนั้นเป็นบทความคุณภาพต่อไป แทนที่จะมารอเวลาพลาง "นั่งตบยุง" เพราะว่าแขกไปใครมาในเว็บวิกิพีเดียก็ไม่สนอยู่แล้วล่ะครับ ส่วนใหญ่มาก็เพื่อหาข้อมูล เอาไปทำรายงานบ้าง ไปอ่านบ้าง บางทีผู้ใช้บางคน (โดยเฉพาะผู้ใช้ใหม่)ก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่ลงคะแนนเลย (นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิกิพีเดียไทยก้าวไปข้างหน้าค่อนข้างช้า--วิธีแก้:ช่วย ๆ กัน ทักผู้ใช้ใหม่ว่า อย่ากลัว และอย่าลังเลที่จะแก้ไขบทความ)

อ้อ ลืมไปนะครับ ผมขอเสนอว่า ถ้าจะบอกผู้อ่านว่าบทความนี้เป็นบทความคุณภาพ ก็ควรหาสัญลักษณ์ เช่นไอคอนรูปเครื่องหมายบวกที่มีอยู่แล้ว แต่ให้มีริบบิ้นต่อเป็นรูปตัวคิว ประดับไว้ที่มุมขวาบนของบทความ เพื่อให้ต่างจากบทความคัดสรรที่เป็นรูปดาวสีส้ม "จบเท่านี้ก่อนแลฯ" --Char | พูดคุย 08:35, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

  1. สนับสนุนที่ไม่ต้องโหวต แต่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือไม่ ได้พร้อมกับที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง เพื่อให้ช่วยผู้ปิดเรื่องพิจารณา
  2. สนับสนุนควรมีชุดเหมือนกรรมการช่วยตัดสินปิดเรื่อง โดยทุกคนต้องการร่วม ร่วมได้ และหรือให้ผู้ดูแลระบบช่วยพร้อมกันไปด้วย (ผู้ตัดสินต้องไม่ใช่ผู้เสนอ หรือผู้ร่วมเขียนจำนวนมากในบทความนั้น หากไม่แน่ใจ ควรให้ผู้อื่นตัดสิน)
    1. ส่วนนี้ไม่ใช่การแบ่งแยกหรืออย่างไร แต่ช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์ให้การตัดสินใจ เรื่องนโยบายบทความคุณภาพ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ซึ่งก็คงไม่ต่างกับปัจจุบัน)
  3. ไม่สนับสนุน การใส่ไอคอน ไม่ว่าจุดไหน ขนาดไหนในหน้าบทความ แต่ให้ใส่ป้ายในหน้าพูดคุยแทน
  4. บทความที่ได้รับแจ้งว่าต่ำกว่าบทความคุณภาพ หลังผ่านไปแล้ว หรือเมื่อได้รับเรื่อง อาจมีการ onhold เพื่อพิจารณาใหม่ ----Jutiphan | พูดคุย - 16:30, 18 มีนาคม 2007 (UTC)

อย่างที่ว่ากันครับ ผมเห็นว่าการที่จะให้บทความใด บทความหนึ่งเป็นบทความคุณภาพนั้น ผมเห็นว่าควรที่จะให้ดูที่เนื้อหาว่าเหมาะสมหรือไม่ ไม่ต้องลงคะแนนโหวต เพราะเท่าที่สังเกตดูผู้ใช้ในวิกิไทยมีเขียนกันจริงจังมีไม่กี่คน อีกอย่างผู้ใช้ใหม่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะกล้าโหวตสักเท่าไหร่ อีกอย่างถ้าบทความนั้นผ่านคุณภาพแต่ไม่ผ่านการโหวตก็เหมือนเป็นการเหลื่อมล้ำซึ่งกันและกันของบทความ ผมจึงเสนอว่าไม่ต้องใช้ระบบโหวต แต่ควรใช้ระบบวัดคุณภาพของบทความนั้น ๆ แทนครับ ท่านอื่นจะว่าเป็นประการใดครับ Timekeepertmk 04:40, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

  1. ผมลืมไปครับ ผมขอสนับสนุนด้วยครับที่ให้มีคณะกรรมการช่วยตัดสินใจในการปิดเรื่องครับ โดยให้มาจากผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ทางด้านนโยบายของบทความคุณภาพครับ Timekeepertmk 04:44, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
เท่าที่อ่านมานั้น ทุกคนต่างเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ดีมากครับ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันครับ แต่แน่นอนกลุ่มเป้าหมายของคนที่จะมาช่วยคัดเลือก GA คงไม่ใช่ "กลุ่มขาจร" ครับ แต่เป็นกลุ่มที่ใช้วิกิพีเดียแบบ "ขาประจำ" ครับ พวกนี้จะมีประสบการณ์ที่จะรู้ว่าบทความไหนน่าจะเหมาะที่จะเป็น GA ครับ ปัญหา คือ แล้วคนพวกนี้ไปไหนซะล่ะ??? หรือจะต้องมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า "กรรมการ GA" พวกนี้ถึงค่อยเสียสละมาช่วยคัดสรร GA เหรอครับ?? แล้วถ้าเราไม่ตั้งให้ผู้ทรงเกียรติพวกนี้เป็นกรรมการ แล้วเค้าจะเข้ามาช่วยกันไหม หรือต้องตั้งให้ทุกคนเป็นกรรมการดีครับ หรือธุระไม่ใช่แต่จะใช่ก้ต่อเมื่อฉันได้เป็นกรรมการเหรอครับ (ผมรู้ครับว่าทุกคนมีเจตนาดี แต่ผมแค่ตั้งข้อสังเกตแค่นั้นเอง)
ส่วนตัวผมยังอยากให้ชาววิกิทุกคนมามีส่วนร่วมครับ และยังคงศรัทธาในระบบลงคะแนนเสียงเพื่อบอกถึงความคิดตัวเองอยู่ แต่ผมขอเสนอให้เป็นโหวตแบบสนับสนุน-คัดค้าน แล้วนับเป็น % ถ้าเสียงสนับสนุนเกินครึ่ง และทำตามข้อเสนอแนะที่มีผลต่อการเป็น GA ครับ ก็ไปเป็น GA ได้ วิธีนี้จะตัดปัญหาคนไม่ลงคะแนนเสียงได้คับ แค่คุณมีเสียงเพียง 1 เสียง ถ้าบทความคุณมีคุณภาพพอก็ผ่านไปเป็น GA ได้แล้วโดยไม่ต้องมานั่งรอว่าจะมีคนมาลงคะแนนให้ถึง 5 ถึง 10 ไหม อีกอย่าง ตัดปัญหาการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงเกียรติได้ เพราะชาววิกิทุกคนก็ถือว่าเป็นกรรมการอยู่แล้ว ถ้าชาววิกิพีเดียคนไหนต้องการให้วิกิพีเดียมีบทความคุณภาพมาก ก็จะเสียสละเวลามาคัดกัน แต่ถ้าไม่มาช่วยเพราะไม่ได้เป็น "กรรมการผู้ทรงเกียรติ" ก็จะได้รู้กันไป
อย่างที่ว่าครับ ตอนนี้ระบบโหวตเป็นปัญหาจริง ๆ นั่นแหละครับ ดังนั้น อาจจะต้องล้มระบบโหวตหรือเปลี่ยนแปลงระบบโหวตอันนี้ก็คงต้องดูครับ ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ต้องตั้งคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติก็ยินดีครับ แต่ผมอยากทราบว่า ถ้าจะตั้งกรรมการ จะเอากี่คน มีเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการอย่างไร หน้าที่กรรมการคืออะไรบ้าง แล้วกรรมการแต่ละคนจะตัดสินใจยังไงว่าบทความผ่าน GA หรือไม่ ลงคะแนน? หรือกำหนดให้ กรรมการ 1 คน 1 บทความ ตัดสินใจไปเลย? ระบบ reviewer? --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 14:30, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมว่า ให้แสดงความคิดเห็นว่า สนับสนุน คัดค้าน พร้อมแสดงข้อเสนอแนะได้เลยครับ ส่วนเรื่องกรรมการ ก็คงไม่ใช่อะไรมากครับ ปัจจุบันนี้ผมเองก็เห็นคุณ ScorpianPK ทำหน้าที่ส่วนนี้ได้ดีอยู่แล้วครับ ก็เหมือนเป็นกรรมการไปในตัว ซึ่งผมว่าดีคืือบางทีไม่แน่ใจเรื่องนโยบาย หรือสำหรับผู้ใช้ใหม่ที่เสนอบทความคุณภาพ ก็มีผู้ที่มีประสบการณ์ ขาประจำติดต่อได้ง่าย สะดวกครับ
ส่วนเรื่องเสียงที่เสนอมา ก็เป็นไอเดียที่ดีครับ แต่ผมสุดท้ายแล้ว ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นว่า สนับสนุน คัดค้าน แล้วให้กรรมการ ขาประจำ หรือผู้มีประสบการณ์ หรืออะไรแล้วแต่จะเรียกตัดสินสุดท้ายครับ เพราะบางทีอาจมีปัญหาคือคนโหวตถึงจริง แต่อาจไม่ควรเป็นบทความคุณภาพได้ครับในบางกรณี (แม้แต่ผมเองก็อาจโหวตครับ แม้ว่าบทความขณะนั้นไม่ถึงขั้นที) อย่างวิกิอังกฤษเขาก็จะมี Featured Article Director คือคนที่ดูทั้งหมดสุดท้าย เหมือนมาช่วยรับผิดชอบ และดูแลเพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ดีครับ
ผมอยากจะบอกว่า วิกิอังกฤษเขาไม่ได้เน้นระบบโหวตอะครับ แม้ว่าในมุมมองทุกคนเป็นกรรมการจริงแต่ไม่ใช่ว่าสามารถตัดสินอะไรได้ทั้งหมด หรือตอนใหม่ๆ อาจไม่ได้รู้ทั้งหมด หรือคล่องทุกเรื่องครับ ความจริงแล้ว โดยเกือบทุกเรื่องแม้ว่าโหวตมากกว่า แต่อาจตัดสินเป็นอย่างอื่นได้ ไม่อยากให้คิดมากครับ ผมบอกเหมือนกับว่า ใครสมัครใจทำมากกว่า ไม่ใช่ว่า บังคับใครมาทำอะครับ บางทีมีผู้ดูแลแต่ละเรื่องเฉพาะเป็นตัวเป็นตน ก็ทำให้การบริหารคล่องขึ้นครับ ซึ่งปัจจุบันหลายๆเรื่องก็เป็นอย่างนั้น แม้ว่าไม่ได้เขียนไว้ เพราะว่าเหมือนแบ่งๆงานกันไปทำที่สนใจกัน ส่วนหน้าที่กรรมการคงทำหน้าที่ เสนอแนะข้อปรับปรุง ตัดสินใจว่าควรจะ onhold ต่อไป, หรือ quickfail เลย, หรือให้ pass อะไรแบบนี้ ก็คงต้องลองไปเรื่อยๆครับ
ส่วนเรื่องการตั้งกรรมการจริงๆ ส่วนตัวผมเสนอคุณ ScorpianPK ครับ เห็นปัจจุบันก็ทำหน้าที่ดี และเหมาะสมดีครับ ซึ่งเท่าที่ดูหากไม่ชอบทางการ ก็ไม่ต้องมีนโยบาย ตั้งกฏ ตั้งอะไรมารองรับก็ได้ครับตอนนี้ ซึ่งคงไม่ได้ทำคนเดียวหรอกครับ คุณ Bact และหรือผู้ดูแลระบบคนอื่นๆ เขาช่วยๆกันไป รวมถึงชาววิกิพีเดียอื่นๆ คงเป็นใครสนใจก็ทำครับไปก่อนละครับ จะได้ไม่ต้องวุ่นวาย มากขั้นตอน
แล้วหากมีเพิ่มคือผู้ตัดสินต้องไม่ใช่ผู้เสนอ หรือผู้ร่วมเขียนจำนวนมากในบทความนั้น หากไม่แน่ใจ ควรให้ผู้อื่นตัดสิน และบทความที่ได้รับแจ้งว่าต่ำกว่าบทความคุณภาพ หลังผ่านไปแล้ว หรือเมื่อได้รับเรื่อง อาจมีการ onhold เพื่อพิจารณาใหม่ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับ เพราะหากรู้สึกไม่เป็นธรรม หรืออย่างไร ก็เสนอชื่อใหม่ได้เรื่อยๆ เป็นต้น ---Jutiphan | พูดคุย - 05:52, 20 มีนาคม 2007 (UTC)
ที่เสนอไม่ต้องโหวต ไม่ได้คิดว่าจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมาหรอกครับ เพราะคิดว่าทุกคนสามารถมีส่วนช่วยกันดูได้อยู่แล้ว แต่ผมกำลังคิดว่าถ้าบทความที่ถูกเสนอมานั้ันเข้าเกณฑ์บทความคุณภาพและได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะต่าง ๆ ครบถ้วนแล้วตลอด 2 สัปดาห์ที่เปิดให้วิจารณ์ ให้ประกาศว่าบทความนั้น กำลังจะได้รับเลือกเป็นบทความคุณภาพ จากนั้นก็เปิดโอกาสให้เพื่อนสมาชิกได้ช่วยกันตรวจสอบและแก้ไขบทความนั้นอีกหนึ่งรอบ (ทุกคนจะได้โฟกัสไปที่บทความเดียวหรือบทความจำนวนน้อย) โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ จึงค่อยยกเป็นบทความคุณภาพ (ทำนองว่า บทความ ... กำลังจะได้รับเลือกเป็นบทความคุณภาพแล้วนะ มีใครจะคัดค้านหรือไม่?) ข้อดีคือจะได้ชวนกันไปช่วยเขียนบทความที่ค่อนข้างดีอยู่แล้่วให้ดียิ่งขึ้น --Pi@k 06:21, 20 มีนาคม 2007 (UTC)
ที่จริง 2 อาทิตย์ที่เปิดให้วิจารณ์เราก็เปิดโอกาสให้เพื่อนสมาชิกทุกคนช่วยกันตรวจสอบตามความสนใจอยู่แล้วหรือเปล่าครับ (ตรงนี้ผมเห็นคนเลือกพิจารณาตามความถนัดของแต่ละคนแบบเจาะจงพอควร) ถ้าเปิดอีก 1 อาทิตย์จะใช้เวลานานเกินไปหรือเปล่าครับสำหรับการคัดเลือก เพราะในความเป็นจริง เห็นอภิปรายกันไม่เกิน 1 อาทิตย์แล้วจะหยุดนิ่งไปเลยอีก 1 อาทิตย์ แล้วตัดสิน ถ้าบทความถูก onhold จะถูกยื่นเวลาไปอีก 2 อาทิตย์ ก่อนจะถูกตัดสินว่า fail หรือ pass ดังนั้น ถ้าสรุปแล้ว ถ้าเอาตามข้อเสนอของคุณ Piak GA และ GAfailed จะใช้เวลา 3 อาทิตย์ (เดิม 2 ) GAonhold จะใช้เวลา 5 อาทิตย์ (เดิม 4) ครับ
ส่วนคณะกรรมการนั้น ถ้าจะตั้งกรรมการนั้น ผมก็ไม่มีปัญหาอย่างที่กล่าวไว้แล้วครับ ขอบคุณคุณ Jutiphan ที่จะเสนอชื่อผม แต่ผมไม่รับตำแหน่งนั้นแน่นอนครับ ส่วนเรื่องการโหวตนั้น จุดประสงค์ที่แท้จริง คือ เพื่อจะได้เปิดโอกาสให้ชาววิกิมามีส่วมรวม เพื่อจะได้ให้เขาเหล่านั้นรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก แต่แน่นอน การโหวตไม่ได้ตัดสินอะไรได้อยู่แล้ว เพราะถ้าคุณภาพบทความไม่ผ่าน จะโหวตมาสักร้อยเสียง บทความนั้นก็ตกไปอยู่ดีครับ ดังนั้น จะบอกว่าผมจะเสนอวิกิไทยเน้นระบบโหวตมันก็ไม่ใช่แน่นอนครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 07:00, 20 มีนาคม 2007 (UTC)
ถ้าเราขึ้นป้ายในหน้าอภิปรายของบทความ ว่าบทความนั้นกำลังจะเป็นบทความคุณภาพแล้ว ให้ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ เข้ามาตรวจสอบ และช่วยกันเสนอแนะ ตรวจสอบ และแก้ไข ดังเช่นความคิดของคุณ Pi@k ข้างต้น แน่นอน ย่อมมีผลทำให้บทความนั้นถูกยกระดับคุณภาพขึ้นเรื่อย ๆ (ถ้าผู้เสนอมีความตั้งใจจริง) ถ้าผ่าน ก็จะเป็นตัวอย่างสำหรับบทความอื่นต่อไป และผู้เสนอบทความก็จะมีกำลังใจในการสร้างบทความคุณภาพในเรื่องอื่น ๆ ออกมาเป็นลูกโซ่หลังจากนั้น (แน่นอนเป็นเช่นนี้กันทุกคน) ในที่สุด ไม่ช้าไม่นานวิกิไทยก็จะมีบทความคุณภาพมากขึ้น แต่ถ้าใช้ระบบโหวตอย่างเดียว ไม่มีการเสนอแนะ ไม่มีการช่วยตรวจสอบ แก้ไข ยกระดับคุณภาพ ก็อาจจะเป็นการบั่นทอนกำลังใจของผู้เสนอบทความ (ถ้าบทความนั้นเขาตั้งใจเขียนมาดี ถูกต้องตามเกณฑ์แล้ว แต่ไม่มีแรงสนับสนุนพอ) และแน่นอน อาจจะทำให้ระบบบทความคุณภาพในขณะนี้ถึงทางตันก็เป็นได้ครับ Char | พูดคุย 07:54, 20 มีนาคม 2007 (UTC)
ณ ขณะนี้ที่หน้าพูดคุยของบทความที่ได้รับการเสนอหน้าจะมีป้าย GAonhold อยู่แล้วครับ ซึ่งก้อได้เชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมแก้บทความ ส่วนถ้าโหวตแบบ ไม่มีเสนอแนะ ไม่มีการตรวจสอบหรือแก้ไข อันนั้น คือ หนทางที่นำไปสู่วิบัติแน่นอนครับ เห็นด้วยครับผม และตอนนี้เรากำลังหาทางออกสำหรับปัญหาที่คุณ Char กล่าวอยู่ครับ แนะนำเพิ่มเติมได้นะครับผม รอความเห็นจากทุก ๆ คนอยู่ครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:42, 20 มีนาคม 2007 (UTC)
ไม่ว่าผลของการพูดคุยครั้งนี้จะออกมาอย่างไร ไม่ว่าจะมีกรรมการหรือไม่มีกรรมการก็ตาม หรือจะใช้ระบบโหวตโดยระบบ % หรือจะลดจำนวนเสียงสนับสนุนลง ก็ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่จิตวิญญาณของชาววิกิพีเดียที่ตั้งใจจะทำให้บทความนั้นเป็นบทความที่มีคุณภาพหรือไม่ อาจจะมีการติชมให้พัฒนาหรือปรับปรุงบางสิ่ง บางอย่างให้ดีขึ้น จนการเป็นบทความคุณภาพไว้เชิดหน้าชูตาในวิกิไทย ผมจะลองวิเคราะห์แต่ละระบบดูกันนะครับ (อาจจะเด็ก ๆ หน่อย คงไม่ว่ากัน)
  • สำหรับการใช้ Percent โหวต นั้น จะสามารถตัดปัญหา เรื่องจำนวนผู้โหวตได้อย่างที่คุณ ScorpianPK ว่า อีกอย่างก็จะเป็นการทำให้ทุกบทความมีความเท่าเทียมกันเป็นบทความคุณภาพได้และเป็นวิธีที่ดีครับ
  • สำหรับการใช้กรรมการ การใช้กรรมการก็มีข้อดีคือเราไม่ต้องมาโหวตแค่เสนอและให้กรรมการที่มีประสบการณ์และรู้หลักนโยบายมาช่วยมาดูแทนเรา ซึ่งบทความทุกบทความถ้าดีจริงก็เป็นบทความคุณภาพได้ แต่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ในวิกิก็แทบจะไม่มีบทบาทในการเสนอเลย

สุดท้ายนี้จึงทำให้สังเกตได้ว่าทั้งสองระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียคนละแบบครับ ผมคิดว่าสุดแท้แต่ท่านอื่น ๆ จะว่าเถอะครับ เพราะยังไงก็ตามเราก็เป็นประชาคมวิกิเหมือนกัน ควรที่จะรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ปล. คิดว่าระบบไหนดีก็เอาระบบไหนแหละครับ ผมก็มีภูมิรู้เพียงเท่านี้แหละครับว่าแบบไหนเป็นยังไง ดียังไง ไม่ดียังไง แล้วแต่ท่านอื่นจะคิดเห็นเป็นประการใดนะครับ ผมก็แค่เสนอหลักการและวิธีการเท่านั้นเองครับ ท่านอื่นจะคิดเห็นเป็นประการใดครับ (ขออภัยอย่างสูงที่บางตอนอาจจะอ่านไม่รู้เรื่องครับ) Timekeepertmk 09:16, 20 มีนาคม 2007 (UTC)

เสนอบ้าง[แก้]

  • โหวตอย่างเดียว อาจมีข้อครหาได้
  • ตั้งกรรมการ ก็เหมือนกัน
  • ให้คะแนนตามเกณฑ์ แล้วเสนอความเห็น ดีกว่าไหม

--ธวัชชัย 15:53, 20 มีนาคม 2007 (UTC)


ไม่รู้จำตอบตรงไหนดี ขอตอบตรงนี้ละกันครับ สำหรับผมนั้น กรรมการ ไม่ได้หมายความว่าอย่างที่หลายคนอาจคิดกัน คงต้องเปลี่ยนเป็น "ผู้สรุป" มากกว่าครับ คือผู้ที่พิจารณาจากการเสนอแนะ ความคิดเห็นของทุกๆคนที่เสนอแนะทั้งหมด และสรุป ตัดสินว่าควรจะทำอย่างไร on hold, pass, หรือ quickfail (ซึ่ง quickfail อาจตัดสินก่อนที่จะมีการแสดงความคิดเห็นก็เป็นได้) แต่แล้วผู้สรุปนั้น ก็สามารถเป็นเหมือนผู้ใช้อื่นๆ คือแสดงความคิดเห็นได้เช่นกันครับ ดังนั้น ที่ผมหมายถึงคือไม่ใช่กรรมการที่ตัดสินแต่เพียงผู้เดียว แต่นำความคิดเห็นที่ผู้อื่นๆ แสดงมาสรุป และตัดสินมากกว่า สุดท้ายแล้ว ระบบไหนก็ได้ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 23:23, 20 มีนาคม 2007 (UTC)


น่าจะลองใช้เปอร์เซ็นต์โหวตนะครับ แบบนำมาลดลองใช้ก่อนซักพัก แบบเป็นแถบด้านซ้ายที่หน้าหลัก เหมือนวิกิเวียดนาม( แต่อันนั้นไม่รู้เค้าใช้โหวดหรือทำอะไรอ่านไม่ออก 555+ )หรือเว็บบอร์ดในพันทิปที่เวลาโหวต เป็นปุ่มกดให้เลือกถ้าคิดว่าอันไหนดีก็กดโหวตและป้องกันไม่สามารถโหวดซ้ำหรือใช้ไอพีซ้ำได้ แบบนั้นน่าจะดีนะครับ อันนี้แค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ แต่จะใช้ระบบไหนก็ได้ครับที่ดีและเหมาะกับวิกิไทย Goodguy 07:19, 21 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมเสนอเป็นโหวตด้วยครับ ถ้าใช้ระบบกรรมการเดี๋ยวก็มีปัญหาอย่างอื่นอีก สำหรับการโหวต ผมเสนอให้มีส่วนสำหรับโหวตเห็นด้วย กับโหวตคัดค้านพร้อมเหตุผล, จุดที่ต้องแก้ไข ถ้ามีคนช่วยแก้ไขบทความแล้วก็สามารถขีดโหวตคัดค้านออกได้ ถ้าได้เปอร์เซนต์สนับสนุนต่อคัดค้านตามเกณฑ์ ก็เลื่อนบทความเป็นบทความคุณภาพครับ -- Lerdsuwa 14:29, 21 มีนาคม 2007 (UTC)

ไม่ได้เสนอนะครับ แต่อธิบายระบบเก่าของบทความคัดสรร จะใช้การเสนอชื่อ ตามด้วยโหวต โดยไม่มีกำหนดตายตัวว่าต้องโหวตเกินกี่เสียง หรือคัดค้านเกินกี่เปอร์เซ็นต์ โดยคนสนับสนุนคนคัดค้าน ก็จะแสดงความเห็นตามต้องการ โดยจะมีหนึ่งคน(ใครก็ได้)เป็นคนคัดเลือกเป็นคนสรุป ว่าเรื่องไหนควรได้ โดยอิงจากจำนวนเสียงและความเห็นข้อเสนอแนะการปรับปรุง --Manop | พูดคุย - 15:16, 21 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมเสนอให้เป็นการโหวต แล้วมีคนสรุปครับ แต่ก็อย่าดูแต่จำนวนเสียงอย่างเดียวต้องดูข้อคิดเห็นด้วย แต่ถ้าไปไม่รอดก็ตั้งกรรมการมาสักชุดหนึ่งพอ GA อยู่ตัวแล้ว ค่อยเปลี่ยนกลับมาเป็นโหวตอย่างเดิมก็ได้ครับ
ป.ล.ตอนนี้มี GA เพียงอันเดียวเท่านั้นครับ (รู้สึกว่าตัดสินคดีความ ไม่ใช่! ตัดสินบทความนานเหลือเกิน)
ป.ล.2 สงสัยว่า GA มันเป็นบทความตัวอย่าง หรือ Super ตัวอย่างครับ เพราะเห็นว่ากว่าจะได้ GA สักบทความ ต้องแก้ตรงโน้นตรงนี้ จน FA บางอันสมบูรณ์น้อยกว่าด้วยซ้ำ -- Prince 04:04, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

สรุปประเด็น

ณ ตอนนี้มี 3 แนวทางในการพิจารณบทความคุณภาพ ได้แก่

  • ระบบโหวต โดยนับเสียงสนับสนุน-คัดค้าน พร้อมเหตุผลประกอบ และมีข้อเสนอแนะ แล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์
    • ถ้าสนับสนุนมากกว่าและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมถึงสามารถแก้ไชข้อเสนอแนะที่มีผลต่อการเป็น GA แล้ว บทความนั้นก็จะไปเป็นบทความคุณภาพ
    • ถ้าเสียงสนับสนุน-คัดค้านเท่ากัน ให้ดูว่าบทความนั้นเข้าเกณฑ์การพิจารณาและแก้ไขตามข้อเสนอแนะที่อาจจัมีผลต่อ GA หรือไม่ ถ้าผ่านทั้ง 2 อย่าง ก็ให้สถานะบทความคุณภาพ
  • ระบบกรรมการ โดยตั้งกรรมการมาทำหน้าที่ในการดูแลคัดเลือกบทความคุณภาพ
  • ให้คะแนนตามเกณฑ์

จากความเห็นข้างต้นนั้น ส่วนมากเห็นว่าในตอนนี้ควรจะใช้ระบบโหวตทดลองดูก่อน ดังนั้น ผมจึงขอเลือกใช้ ระบบโหวตคิดเป็น % นำมาทดลองใช้เป็น GA รุ่นทดลองระยะที่ 2 ก่อนนะครับ กำหนดเวลาทดลอง 2 อาทิตย์ ถ้าไม่มีปัญหาจะใช้ไปเรื่อย ๆ ถ้ามีปัญหา จะมาสรุปปัญหาที่พบอีกรอบนะครับ สุดท้ายนี้ ขอเชิญชาววิกิทุก ๆ ท่าน ร่วมเสนอบทความคุณภาพ ลงชื่อสนับสนุน-คัดค้าน และร่วมกันคัดเลือกบทความคุณภาพด้วยนะครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับความร่วมมือจากทุกท่าน ขอบคุณครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:24, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นว่า ควรพิจารณาตามเกณฑ์เป็นหลัก ไม่ใช้การโหวต (เว้นในกรณีมีข้อเสนอแนะที่ตกลงกันไม่ได้ และไม่ได้มีกำหนดไว้ในเกณฑ์) และไม่ควรมีการตั้งกรรมการ ขอบคุณครับ -- bact' 18:23, 25 มีนาคม 2007 (UTC)
ณ ตอนนี้ ข้อกำหนดการเป็น GA คือ ถ้าได้เสียงสนับสนุนมากกว่าคัดค้านและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ครับผม ไม่ได้ใช้การโหวตอย่างเดียวครับ อย่างที่บอกไว้ โหวตมา 100 เสียง แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็ไม่ได้เป็น GA ครับ ดังนั้น ปัจจุบันเราใช้หลักเกณฑ์เป็นหลัก โหวตเป็นสีสันเพื่อให้ชาววิกิมามีส่วนร่วมในการคัด GA ครับผม --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:41, 25 มีนาคม 2007 (UTC)

บทความที่เคยถุกเสนอชื่อ[แก้]

จะทำอย่างไรกับการเสนอชื่อ บทความที่เคยถูกเสนอชื่อ ครับ ต้องลงคะแนนโหวตใหม่หรือว่าดึงเอาอันเก่ามาแล้วเปลี่ยนวันที่ --Pi@k 05:37, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

อ้อ ถ้าเห็นว่าบทความไหนสามารถเป็นบทความคุณภาพก็นำมาเสนอได้อีกครั้งครับ ทั้งนี้ ต้องแก้ไขตามข้อเสนอแนะตามผู้ที่แสดงความเห็นแล้วครับ เพราะถ้ายังไม่แก้ไข ก็คงยังไม่เหมาะที่จะถูกเสนอชื่อเป็น GA อีกครั้งครับ แต่ถ้าบทความไหนแก้ไขแล้ว แต่ต้องตกไปเพราะเสียงไม่ถึง สามารถนำมาเสนอใหม่ได้เลยครับ มาลงคะแนนใหม่ครับ เพราะเกณฑ์ใหม่ไม่มีผลย้อนหลังต่อบทความที่ตกไปแล้วครับ (เหมือนกฏหมายเลย อิอิอิ)--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 05:50, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

ใช้หน้าเดิมแต่เปิดการโหวตใหม่หรือเปล่าครับ? kinkkuananas 17:41, 25 มีนาคม 2007 (UTC)

คงจะแบบนั้นครับผม อันนี้ต้องลองดูครับว่าจะสับสนเปล่า แต่ผมว่าใช้หน้าเดิมสะดวกดีครับ แต่ไม่ต้องลบข้อมูลเก่านะครับ เขียนเป็นว่า เสนอครั้งที่ 2 อะไรประมาณนี้ครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:49, 25 มีนาคม 2007 (UTC)
เจอแหละ ในวิกิอังกฤษนั้น เขาจะทำการเปลี่ยนหน้าเดิมเข้ากรุครับ เช่นหากเป็น วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/กขค จะเปลี่ยนหน้าเป็น วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/กขค/กรุ 1 ซึ่งเป็นประโยชน์กรณีสำหรับดูประวัติที่ผ่านมาครับ จากนั้นก็ทำการเสนอชื่อได้เหมือนครั้งแรกครับ --Jutiphan | พูดคุย - 17:54, 25 มีนาคม 2007 (UTC)
สะดวกดีครับ ตามนั้นเลย--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:58, 25 มีนาคม 2007 (UTC)

การให้รางวัลผู้เขียนบทความที่มีคุณภาพ[แก้]

ผมมีความคิดว่าจะให้กำลังใจผู้เขียนบทความดี ๆ ให้วิกิ เหมือนที่วิกิปะกิดทำครับ และสนับสนุนให้คนเขียนบทความด้วย โดยในขั้นต้นจะทำเป็นกล่องผู้ใช้ เหมือน en:Template:User Good Article en:Template:GAarticleswritten en:Template:User Good Articles ครับ แต่ถ้ามีผู้เขียน เขียนได้มากกว่า 10 บทความอาจจะเปลี่นเป็นโล่ห์ ถ้ามากกว่านั้นก็อาจจะเป็นถ้วยไปเลย โดยอาจจะแยกเป็น 2 แบบ คือ ผู้เขียนหลัก (เป็นรางวัลสำหรับการเขียน) และ ผู้เสนอชื่อ (เป็นรางวัลสำหรับการสรรหาบทความดี ๆ มาเสนอ) คนอื่นมีความเห็นว่ายังไงครับ ถ้าไม่คัดค้านผมจะได้ทำเลยครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:20, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)

ครับ ดีครับ เริ่มจากผู้ที่ช่วยเขียนจำนวนมากเพื่อเป็นระดับคุณภาพนั้น ดีเลยครับผมว่า --Jutiphan | พูดคุย - 15:24, 7 มิถุนายน 2007 (UTC)
ก็เห็นด้วยในความคิดสำหรับการให้รางวัลผู้เขียนบทความคุณภาพ เพราะตอนนี้วิกิพีเดียไทยมีบทความคุณภาพเพียงสิบกว่าบทความ ถ้าเทียบกับตัวเลขบทความทั้งหมดแล้ว ยังถือว่าห่างไกลกับความเป็นจริง การมอบรางวัลก็เหมือนเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักเขียน ที่จะพยายามสรรหาบทความดี ๆ มีสาระมาบรรจุไว้ในวิกิพีเดีย--Se:Rin | พูดคุย - 01:05, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

แล้วเขาวัดกันยังไงอ่ะครับ ว่าใครเป็น major contributors ของบทความนั้นๆที่ควรได้รางวัลบ้าง หรือว่าเป็นลักษณะต่างคนต่างให้กันเอง เหมือน barnstars? --kinkkuananas 09:05, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

เรื่องนี้ก็ยากสำหรับบางบทความและง่ายสำหรับบางบทความ ง่ายก็อย่าง อาซิโม ผู้เขียนหลักก็น่าจะเป็น Se-rin อยู่แล้ว ผมคิดว่าก็คงต้องดูว่าใครแก้ไขบทความโดยปรับปรุงบทความให้เข้าเกณฑ์บทความคุณภาพที่สุดคนนั้นก็เขาไป แต่ถ้าหากผู้เขียนบทความหลักนั้น รู้สึกว่าคนอื่นก็ช่วยมากพอที่จะได้รางวัลด้วยก็ให้เสนอชื่อมาคุยกันได้ครับ คุณ Kikku มีความเห็นว่าไงครับสำหรับกรณีนี้--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:34, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

บางบทความก็คงดูยากอ่ะครับ คิดว่าถ้าให้กันแบบไม่เป็นทางการ (ไม่ต้องมีเกณฑ์อะไรให้ยุ่งยาก) ก็อาจจะง่ายกว่า ถ้าเห็นว่าใครควรจะได้จากบทความที่ผ่านก็มอบให้ ถ้ามีผู้เขียนสำคัญๆหลายคนก็มอบให้หลายคนได้ (คิดว่าดีนะครับ ส่งเสริมด้านสังคมของวิกิพีเดีย และก็ให้กำลังใจด้วย แต่ไม่อยากให้เป็นการสนับสนุนความเป็นเจ้าของบทความน่ะครับ) คนอื่นคิดว่าไงครับ --kinkkuananas 10:56, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

ในวิกิพีเดียทุกคนคือเจ้าของบทความ ไม่มีใครเป็นเจ้าของบทความโดยตรงแม้แต่คนเดียว อย่าบทความที่เราเขียน 2 GA 3 FA ก็ถือว่าเป็นบทความของวิกิพีเดีย ทุกคนเป็นเจ้าของบทความทั้งนั้น ซึ่งการที่จะมอบรางวัลให้แก่ผู้เขียนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น GA เราคิดว่าเป็นการโน้มน้าวทางจิตใจมากกว่า หรือจะให้พูดง่าย ๆ ก็คือเอารางวัลมาล่อนั่นแหละ (ขออภัยบางทีตรงไปนิ๊ด...) แต่การเอารางวัลมาล่อก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย จริงมั้ย? อย่างที่คุณ Kinkku บอกก็ถูก เป็นการส่งเสริมทางด้านสังคมของวิกิพีเดียและเป็นการให้กำลังใจผู้เขียนด้วยไงล่ะ เพราะปัจจุบันคนที่เขียนให้วิกิจริง ๆ จัง ๆ มีอยู่ไม่กี่คนหรอก นับหัวกันได้เลย--Se:Rin | พูดคุย - 11:06, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

ไม่คัดค้านเรื่องการสร้างแม่แบบหรือการให้รางวัลนี้ครับ แค่ไม่อยากให้ทำเป็นเรื่องจริงจังเกินไป แบบที่ต้องมาอภิปรายยุ่งยากหรือมาเปิดโหวตกัน (อีกหน่อยอาจจะเถียงกันได้ ถ้าเกิดคนเข้ามาเขียนเยอะขึ้น) อยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ เห็นใครทำดี มีประโยชน์ต่อวิกิพีเดียก็ชื่นชมตามสมควร (อันที่จริง อ่านดูอีกทีก็ยังไม่มีใครเสนอเรื่องวิธีการด้วยซ้ำ ผมคงกังวลมากไปหน่อย) --kinkkuananas 11:55, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)

มองว่าเป็นรางวัลส่งเสริมการเขียนบทความดี ๆ สำหรับวิกิอย่างที่คุณ Kikku คิดไว้ เอาง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ซีเรียส ไม่มีการเปิดโหวตใด้ ๆ จะดีกว่า เรื่องนี้มันไม่ได้มีอะไรมากมายเลยครับ นอกจากให้กำลังคนเขียนบทความบ้างเท่านั้นเอง สำหรับกฏเกณฑ์นั้น รางวัลสำหรับผู้เสนอคงไม่มีปัญหาใครเสนอมาก็จะได้ไปอยู่แล้ว ส่วนผู้เขียนหลักนั้นก็อยางที่เกริ่น ๆ ไว้ ดูจากหน้าประวัติไปเลย ใครเขียนมาก+มีสาระก็เอาไป (ไม่เจาะจงดูจำนวนการแก้ไขเพราะบางครั้งแก้ไขแค่ 1 ตัวอัการก็เซฟกันแล้ว) ดูที่เนื้อหาที่แก้จะดีกว่าครับ และอย่างที่บอกไปถ้าผู้เขียนหลักคิดว่ามีผู้เขียนท่านอื่นที่ควรจะได้ร่วมในบทความเดียวกันก็เสนอมาได้ครับ กำลังใจมีไว้แจกให้ผู้เขียนบทความดี ๆ ทุก ๆ คนครับ ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 12:22, 8 มิถุนายน 2007 (UTC)
  • น่าจะมีการมอบรางวัลที่มีค่าทางจิตใจแทนนะครับ (จะได้ไม่เป็นที่ครหา) --Horus 16:44, 11 มิถุนายน 2551 (ICT)

แม่แบบ:บทความคุณภาพ[แก้]

เห็นว่ามีแม่แบบ {{บทความคุณภาพ}} อยู่และมีบทความ โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ใส่เครื่องหมายอยู่ที่มุมขวาของบทความอยู่ คิดว่าน่าจะใส่กับบทความคุณภาพที่เหลือ รึเปล่าครับ --Sry85 23:40, 10 มิถุนายน 2551 (ICT)

ปลดล็อก[แก้]

กรุณาปลดล็อกหน้านี้เพื่อที่หากผมเสนอชื่อแล้วจะได้เพิ่มโค้ดไว้ล่างสุดครับ--171.4.211.155 17:44, 21 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

 ไม่สำเร็จ หน้านี้เป็นหน้าสำคัญนะครับ --Lux2545 คุย 14:11, 27 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

บทความ กองทัพบก[แก้]

บทความ กองทัพบก ขอถอนการเสนอก่อนนะครับ เพราะเนื้อหายังไม่ครบถ้วนพอ--171.4.211.155 17:54, 21 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

เสนอให้เปลี่ยนหน้าเสนอให้มีลักษณะเป็น checklist[แก้]

สำหรับผู้สนใจ เชิญร่วมอภิปรายที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความคัดสรร#เสนอให้เปลี่ยนหน้าเสนอให้มีลักษณะเป็น checklist --Horus (พูดคุย) 14:55, 10 เมษายน 2561 (ICT)

  1. "I can NOT emphasize this enough. There seems to be a terrible bias among some editors that some sort of random speculative 'I heard it somewhere' pseudo information is to be tagged with a 'needs a cite' tag. Wrong. It should be removed, aggressively, unless it can be sourced. This is true of all information, but it is particularly true of negative information about living persons." จาก Jimmy Wales (2006-05-16). "Zero information is preferred to misleading or false information". WikiEN-l electronic mailing list archive. เรียกข้อมูลวันที่ 11 มิถุนายน 2006.