การล่มสลายของมาเนอปลอว์

พิกัด: 17°43′30″N 97°44′06″E / 17.725°N 97.735°E / 17.725; 97.735
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล่มสลายของมาเนอปลอว์
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง
วันที่27 มกราคม 2538
สถานที่
ผล SLORC / DKBA ได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
พม่า (SLORC)
DKBA
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
ABSDF
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

 พม่า

กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง

  • กองพันที่ 6
  • กองพันที่ 7
กำลัง
4,000–10,000 นาย
400 นาย
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 5 นาย เสียชีวิต 10 นาย, บาดเจ็บ 50 นาย
พลเรือน 9,000–10,000 คน พลัดถิ่น

การล่มสลายของมาเนอปลอว์ (อังกฤษ: Fall of Manerplaw) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2538 เมื่อหมู่บ้านมาเนอปลอว์ถูกยึดโดยกองทัพพม่า และกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) มาเนอปลอว์เป็นที่ตั้งกองบัญชาการของกลุ่มต่อต้านติดอาวุธ 2 กลุ่ม ได้แก่ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และแนวร่วมประชาธิปไตยของมวลนักศึกษาพม่า (ABSDF)[1][2] การโจมตีทางทหารครั้งสุดท้ายโดยกองทัพพม่าได้รับความช่วยเหลือจากข้อมูลตำแหน่งโดย DKBA ได้รับการต่อต้านเพียงเล็กน้อยจากกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งผู้นำได้สั่งให้ล่าถอยตามยุทธวิธี[1]

เบื้องหลัง[แก้]

ชาวกะเหรี่ยงในรัฐกะเหรี่ยง (หรือเรียกอีกอย่างว่ารัฐกะยิน) ทางตะวันออกของพม่า) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามในพม่า มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ และได้ต่อสู้เพื่อเอกราชและการปกครองตนเอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492[3] เป้าหมายเริ่มแรกของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) คือการได้รับเอกราชของชาวกะเหรี่ยง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2519 พวกเขาเริ่มเรียกร้องให้มีการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในพม่าโดยมีตัวแทนชาวกะเหรี่ยงอย่างเป็นธรรม และให้ชาวกะเหรี่ยงกำหนดนโยบายของตนเอง[4]

ระยะเวลาก่อนการล่มสลายของมาเนอปลอว์ หมู่บ้านถูกโจมตีหลายครั้งโดยกองทัพพม่า และพื้นที่โดยรอบเป็นที่ก่อเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายครั้งโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร รวมถึงการบังคับใช้แรงงานและการลงโทษด้วยการวิสามัญฆาตกรรม[5]

จุดเริ่มต้น[แก้]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 กลุ่มศาสนาพุทธและกลุ่มศาสนาคริสต์ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เริ่มมีความขัดแย้งกันในการสร้างเจดีย์ในเมืองมาเนอปลอว์ อู ธุสะนะ พระภิกษุชาวกะเหรี่ยงที่สั่งก่อสร้างและขณะนั้นท่านเป็นสมาชิกของ KNU ที่ได้ออกมาร่วมประท้วงต่อต้านองค์การร่วมกับคนอื่น ๆ ที่ไม่พอใจกับความเป็นผู้นำของกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์[2] เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ปะทะกับผู้เห็นต่างชาวพุทธในเมืองมาเนอปลอว์ ในที่สุดเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแตกแยกใน KNU และการก่อตั้งกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2537[2][6] ต่อมา อู ธุสะนะได้ทำข้อตกลงกับ พลตรี หม่อง ฮลัล ผู้บัญชาการภาคตะวันออกเฉียงใต้ของกองทัพบกพม่า และพยายามโน้มน้าวชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงให้อพยพไป ค่ายปกป้องผู้ลี้ภัยของ DKBA พระอู ธุสะนะ ยังพยายามชักชวนทหารพุทธของ KNLA ให้แปรพักตร์ไปยัง DKBA และช่วยเหลือกองทัพพม่า[1]

การรุกของกองทัพพม่าและกะเหรี่ยงพุทธฯ[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 กองทหารพม่า 4,000[1][2] ถึง 10,000 นาย[6]และกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) รุกเข้าสู่เมืองมาเนอปลอว์ และยึดหมู่บ้านใกล้เคียงหลายแห่งได้ สันเขามินยอคี ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 ได้รับการปกป้องอย่างเข้มแข็งโดยกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ก็ถูกยึดโดยไม่มีการยิงแม้แต่นัดเดียว ทหารจาก DKBA ช่วยเหลือกองทัพพม่าโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของ KNLA และนำทางพวกเขาผ่านป่าไปยังมาเนอปลอว์[1] ขณะที่กองทัพพม่าและ DKBA เข้าใกล้เมืองมาเนอปลอว์ พลเรือนประมาณ 9,000[5] ถึง 10,000 คน[7]ได้หลบหนีออกจากหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งจากค่ายผู้ลี้ภัยในบริเวณใกล้เคียงด้วย

เมื่อกองทัพพม่าและกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) เคลื่อนกำลังเข้ามาอยู่ในเมืองมาเนอปลอว์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2538 ผู้นำของกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ได้สั่งการให้ทหารของตนล่าถอยและเผาทำลายหมู่บ้าน[6] ขณะที่ประชาชนในเมืองมาเนอปลอว์ประมาณ 3,000 คน ได้ถูกอพยพออกไปแล้วในตอนนั้น[8]

ผลที่ตามมา[แก้]

ทหารกองทัพพม่า 5 นาย[9]และทหารกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) 10 นายเสียชีวิตในการจู่โจมครั้งสุดท้าย[1] ในบรรดากองกำลัง KNLA ที่สามารถหลบหนีการรุกคืบของกองทัพพม่ามีกำลังจำนวน 50 นายได้รับบาดเจ็บ[1]

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ที่หลบหนีการสู้รบ มุ่งหน้าไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยใกล้ชายแดนพม่า–ไทย หลังจากยึดมาเนอปลอว์ได้ กองทัพพม่าก็รุกคืบไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ ในที่สุดก็มาถึงฐานที่มั่นของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ทางตอนใต้ของคอมูรา ซึ่งฐานดังกล่าวตกเป็นของทหารพม่าเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538[10]

ผลกระทบโดยตรงของการล่มสลายของมาเนอปลอว์ และผลที่ตามมาคือสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) สูญเสียรายได้ส่วนใหญ่มาจากรายได้ภาษีท้องถิ่น ข้อตกลงการตัดไม้ และการค้าข้ามพรมแดน ในขณะที่กองทัพพม่ายึดเมืองชายแดนได้หลายแห่ง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "The Fall of Manerplaw. KHRG Commentary February 1995". KHRG. สืบค้นเมื่อ 20 April 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Whither KNU?". www.hartford-hwp.com. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  3. Smith, Martin (1991). Burma : insurgency and the politics of ethnicity (2. impr. ed.). London: Zed Books. ISBN 0862328683.
  4. "About | Official Karen National Union Webpage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  5. 5.0 5.1 "Burma: Abuses Linked to the Fall of Manerplaw". www.hrw.org. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 "The Politics of Pressure: The 1990s and the Fall of Manerplaw". www.ibiblio.org. The Museum of Karen History and Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  7. Smith, Martin John (1991). Burma: insurgency and the politics of ethnicity (2. impr. ed.). London: Zed Books. pp. 283–284. ISBN 0862328683.
  8. "The history of Kawthoolei (Karen State) : The KNU to fall of Manerplaw". Hartford Web Publishing. 1995. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  9. "Government of Myanmar (Burma) – KNU". ucdp.uu.se. Uppsala Conflict Data Program. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  10. "Karen stronghold falls to the Burmese junta". Reuters. 21 February 1995.
  11. South, Ashley (2011). Burma's Longest war. Anatomy of the Karen conflict. Amsterdam, the Netherlands: Transnational Institute and Burma Center Netherlands. pp. 10, 14 and 16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°43′30″N 97°44′06″E / 17.725°N 97.735°E / 17.725; 97.735