ข้ามไปเนื้อหา

เนโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนโม
เนโมในปี ค.ศ. 2024
เนโมในปี ค.ศ. 2024
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเนโม เมทแทลร์
เกิด (1999-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี)
แนวเพลง
อาชีพ
  • แร็ปเปอร์
  • นักร้อง
เครื่องดนตรี
  • นักร้อง
  • ไวโอลิน
  • เปียโน
  • กลอง
ค่ายเพลงบาคารามูสีค (Bakara Music)[1]
เว็บไซต์nemothings.com

เนโม เมทแทลร์ (อักษรโรมัน: Nemo Mettler; เกิด 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999) หรือที่รู้จักในชื่อ เนโม เป็นแร็ปเปอร์และนักร้องชาวสวิส ที่เชี่ยวชาญในการเล่นไวโอลิน เปียโน และกลอง[2] เขาเป็นผู้ชนะการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024 ด้วยเพลง "เดอะโค้ด"[3][4] ซึ่งทำให้สวิตเซอร์แลนด์ชนะการประกวดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1988[5][6]

ประวัติ

[แก้]

เนโมเกิดที่เมืองบีล/เบียนน์ รัฐแบร์น[7] บิดาเป็นนักประดิษฐ์และนักลงทุน ส่วนมารดาเป็นผู้สื่อข่าว[8] เขามีน้องสาวหนึ่งคน[9] เนโมเริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ โดยฝึกเล่นไวโอลิน เปียโน และกลอง ต่อมาเมื่ออายุเก้าขวบเขาเริ่มเรียนร้องเพลงโอเปรา[10] เนโมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะซือริชเป็นเวลาหนึ่งปี[11] ก่อนย้ายมายังเบอร์ลินเพื่อสานต่อความฝันการเป็นนักดนตรี[12]

อาชีพการงาน

[แก้]
Singer Nemo performing in Madrid
เนโมแสดงใน มาดริด ระหว่าง PrePartyES 2024

อีพี Clownfisch (โคลวนฟิช) ของเนโมในปี 2015 ขึ้นถึงอันดับที่ 95 ในชาร์ตสวิส สองปีต่อมาเขาได้เปิดตัวซิงเกิล "Du" ซึ่งขึ้นถึงอันดับ 4 ในสวิตเซอร์แลนด์ [13] ในรายการ The Masked Singer Switzerland ซีซั่น 2 เมื่อปี 2021/2022 เขาเข้าร่วมแข่งขันโดยใช้หน้ากากแพนด้า

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 เนโมได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของสวิตเซอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน ด้วยเพลง "เดอะโค้ด" ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากอุปรากร "ขลุ่ยวิเศษ" ของ ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท[14] ที่เขาเคยร่วมการแสดงเมื่อยังเป็นเด็ก[15] เขาใช้เพลงนี้ในรอบคัดเลือกที่สองของการประกวดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[16] เขาคว้าแชมป์การประกวดอีกสองวันถัดมา โดยได้คะแนนรวม 591 คะแนน[17] ในจำนวนนี้เป็นคะแนนจากคณะกรรมการ 365 คะแนน มากเป็นอันดับสองของจำนวนผู้เข้าประกวดยูโรวิชันรวมทุกคน รองจาก ซัลวาโดร์ ซูบรัล ผู้ชนะในปี 2017 แต่ถ้านับคะแนนจากการโหวตจากผู้ชมด้วยจะเป็นลำดับที่สี่ ทั้งนี้ เนโมเป็นบุคคลเพศอทวิลักษณ์ (Non-Binary) คนแรกที่ชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน[18][19]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]
เนโมในรอบคัดเลือกที่สองของการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024

ในเดือนพฤศจิกายน 2023 เนโมประกาศว่าตนเป็นเพศอทวิลักษณ์ (Non-Binary) ผ่านบทความในหนังสือพิมพ์ ซ็อนทากไซทุง [de] เขากล่าวว่าตนชอบให้เรียกด้วยชื่อจริงมากกว่าคำสรรพนามในภาษาเยอรมัน[20] และแทนตัวเองด้วยคำสรรพนาม "เขา" (they/them) ในภาษาอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tuchschmid, Benno (2016-10-14). "Dieser 17-jährige Zahnspangenträger wird der nächste Mundart-Rap-Star". Aargauer Zeitung (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). สืบค้นเมื่อ 2016-12-27.
  2. Vallicotti, Simona (2 February 2016). "Nemo: Ein 16-Jähriger trocknet die Schweizer Rapszene ab" (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). SRG SSR. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
  3. Fox, Hilary (May 8, 2024). "Nemo, among the favorites at Eurovision, is finding acceptance onstage and off". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 9, 2024.
  4. "Switzerland wins Eurovision as chaos engulfs iconic song contest". Sky News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  5. Fox, Hilary (May 8, 2024). "Nemo, among the favorites at Eurovision, is finding acceptance onstage and off". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 9, 2024.
  6. "Switzerland wins Eurovision as chaos engulfs iconic song contest". Sky News. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  7. Pascoli, Andrea (11 May 2024). "Chi è Nemo, la popstar della Svizzera icona della comunità Lgbtq+. Sul palco con la bandiera del genere non binario". La Repubblica (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  8. Hopf-Sulc, Adrian (8 May 2024). "Ideenlabor Brainstore in Biel – Wie Nemos Eltern die schrägste Fabrik der Schweiz gründeten". Der Bund (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  9. Martino, Gaia (12 May 2024). "Chi è Nemo, cantante della Svizzera e prima persona non binaria a vincere l'Eurovision Song Contest". Fanpage.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  10. Marzi, Mattia (12 May 2024). "Nemo, chi è la star non binaria che ha vinto l'Eurovision". Rockol (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  11. "Nemo gewinnt Eurovision Song Contest 2024 | ZHdK.ch". ZHdK (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  12. Feller, Michael (2 March 2024). "Vor «Sing meinen Song» und dem ESC – Was erhoffen Sie sich, Nemo? Den Sieg?". Der Bund (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  13. "Nemo". hitparade.ch (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). Swiss Hitparade. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
  14. "Eurovision 2024: Your guide to all 37 songs". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-05-15.
  15. Hämmerli, Rachel (2024-04-30). "Nemo bringt mit Bieler Sinfonieorchester den ESC-Song neu raus". ajour.ch. สืบค้นเมื่อ 2024-05-15.
  16. "Nemo will perform 'The Code' in Malmö for Switzerland". Eurovision.tv. EBU. 2024-02-29. สืบค้นเมื่อ 2024-02-29.
  17. "Nemo from Switzerland wins the Eurovision Song Contest 2024". Eurovisionworld. 12 May 2024. สืบค้นเมื่อ 11 May 2024.
  18. Oltermann, Philip (11 May 2024). "Switzerland wins Eurovision song contest after controversial grand final". The Observer. ISSN 0029-7712. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  19. Brady, Kate (12 May 2024). "Switzerland wins politically-charged 2024 Eurovision Song Contest". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 12 May 2024.
  20. Fischer, Martin (2023-11-11). "Nemo im Interview – «Ich fühle mich weder als Mann noch als Frau»". Tages-Anzeiger (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]