กีฬา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การกีฬา)
กีฬาในวัยเด็ก จากภาพคือกีฬาฟุตบอล กีฬาประเภททีมที่ให้โอกาสในการออกกำลังกายและเพิ่มทักษะในการปฏิสัมพันธ์

กีฬา เป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน

กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น ฟุตบอล รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล[1]

ที่มาของคำ[แก้]

คำว่า "sport" มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า desport หมายถึง "เวลาว่าง" ความหมายที่เก่าแก่ที่สุดในภาษาอังกฤษจากประมาณ ค.ศ. 1300 คือ "สิ่งใด ๆ ที่มนุษย์พบว่าน่าขบขันหรือเพลิดเพลิน"[2]

ความหมายอื่น ๆ อาจหมายถึงการพนันและเหตุการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการพนัน การล่าสัตว์ การละเล่น และความบันเทิง หมายรวมถึงกิจกรรมที่ต้องบริหารร่างกายหรือความคิดด้วย[3]

ในภาษาไทย "กีฬา" ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า เป็นคำภาษาบาลี หมายถึง กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต และรวมไปถึงพัฒนาความคิดของผู้เล่นด้วย[4]

ความยุติธรรมในกีฬา[แก้]

น้ำใจนักกีฬา[แก้]

น้ำใจนักกีฬาเป็นทัศนคติที่มีความพยายามให้เกิดความยุติธรรมและอัธยาศัยไมตรีต่อเพื่อนร่วมทีมหรือคู่แข่ง จรรยาบรรณและความเป็นหนึ่งเดียว และชัยชนะ[5][6][7]

น้ำใจนักกีฬาแสดงถึงความปรารถนาว่ากิจกรรมจะสนุกในตัวเอง แนวคิดที่รู้จักกันดีจากนักข่าวกีฬาชื่อ แกรนต์แลนด์ ไรซ์ ว่า "ไม่สำคัญว่าคุณจะชนะหรือจะแพ้ แต่สำคัญว่าคุณจะเล่นอย่างไร" และแนวคิดโอลิมปิกสมัยใหม่โดย Pierre de Coubertin ว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่การชนะ แต่เป็นการมีส่วนร่วม" ต่างเป็นคำพูดทั่ว ๆ ไปที่อธิบายแนวคิดนี้

การโกง[แก้]

หลักสำคัญของกีฬาคือผลลัพธ์จะต้องไม่มีการกำหนดผลการแข่งขันไว้ก่อน ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโอกาสชนะเท่ากัน กฎจะต้องรับประกันว่าจะเกิดความยุติธรรมขึ้น แต่ผู้แข่งขันสามารถแหกกฎเพื่อเอาเปรียบได้

ผู้เข้าแข่งขันอาจเลือกโกงเพื่อให้ตนชนะ หรือเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแอบแฝง การพนันผลการแข่งขันกีฬาสร้างแรงจูงใจให้เกิดการกำหนดผลการแข่งขันตายตัว (match fixing) ให้ผู้เข้าแข่งขันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ

การใช้ยาเพิ่มสมรรถภาพ[แก้]

ธรรมชาติของการแข่งขันกีฬาส่งเสริมให้นักกีฬาเพิ่มสมรรถภาพของตนเองผ่านการใช้ยา หรือวิธีการอื่น ๆ เช่น เพิ่มปริมาตรของเลือดในร่างกาย

กีฬาหลายชนิดที่รับรองโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ต้องนำไปทำโปรแกรมทดสอบ มองหารายชื่อยาต้องห้าม และสั่งพักหรือคว่ำบาตรผู้เข้าแข่งขันที่ตรวจพบสารต้องห้าม

ความรุนแรง[แก้]

ความรุนแรงในกีฬาจะเกี่ยวกับการข้ามเส้นระหว่างการแข่งขันที่ยุติธรรมและความรุนแรงก้าวร้าวโดยตั้งใจ บางครั้งนักกีฬา โค้ช แฟนคลับ และพ่อแม่แสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อคนหรือสถานที่ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี ความโกรธ หรือการเฉลิมฉลองอย่างผิดวิธี การจลาจลนั้นมีอยู่ทั่วไปและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในการแข่งขันกีฬาทั้งในและระหว่างประเทศ

ชนิดของกีฬา[แก้]

ชนิดของกีฬา อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ คือ

  1. ประเภทการแข่งขันความเร็ว
  2. ประเภทการแข่งเป็นคู่แข่งขัน
  3. ประเภทการบรรลุผล
  4. ประเภทอี่นๆ

กีฬาเพื่อสุขภาพ[แก้]

จะเป็นการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น โยคะ เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ กายบริหาร แอโรบิคแดนซ์ เต้นรำ ดิสโก เปตอง

รายชื่อกีฬา แบ่งตามประเภท[แก้]

ลู่ลาน/ความเร็ว[แก้]

ศิลปะการต่อสู้[แก้]

ตาข่าย/แร็กเก็ต[แก้]

ทีม/สนาม[แก้]

ประกวด[แก้]

อื่น ๆ[แก้]

การแข่งขันกีฬา[แก้]

ข้ามประเทศ (cross-country)[แก้]

ฟุตบอล[แก้]

เทนนิส[แก้]

กอล์ฟ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

การแข่งขันกีฬาสำคัญ

อ้างอิง[แก้]

  1. Olympic Sports of the Past
  2. Harper, Douglas. "sport (n.)". Online Etymological Dictionary. สืบค้นเมื่อ 20 April 2008.
  3. Webster's Third New International Dictionary of the English Language, Unabridged. Springfield, MA: G&C Merriam Company. 1967. p. 2206.
  4. "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2015-02-12.
  5. "Sportsmanship". Merriam-Webster. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2015-02-12.
  6. Fish, Joel; Magee, Susan (2003). 101 Ways to Be a Terrific Sports Parent. Fireside. p. 168.
  7. Lacey, David (2007-11-10). "It takes a bad loser to become a good winner". The Guardian.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]