ข้ามไปเนื้อหา

กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง
สนธิสัญญาสามัญว่าด้วยการเลิกสงครามในฐานะตราสารนโยบายแห่งชาติ
วันลงนาม27 สิงหาคม ค.ศ.1928
ที่ลงนามQuai d'Orsay, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
วันมีผล24 กรกฎาคม ค.ศ. 1929 (1929-07-24)
ผู้เจรจา
ผู้ลงนามแรกเริ่ม
ผู้ลงนาม
ข้อความทั้งหมด
Kellogg-Briand Treaty ที่ วิกิซอร์ซ

กติกาสัญญาเคลลอก-บริยอง (อังกฤษ: Kellogg–Briand Pact) กติกาสัญญาปารีส (อังกฤษ: Pact of Paris) หรือ สนธิสัญญาสามัญว่าด้วยการเลิกสงครามในฐานะตราสารนโยบายแห่งชาติ (อังกฤษ: General Treaty for Renunciation of War as an Instrument of National Policy) ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1928 โดยสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนีไวมาร์ และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ

สนธิสัญญาดังกล่าวยกเลิกสงครามรุกราน โดยห้ามใช้สงครามเป็น "ตราสารนโยบายแห่งชาติ" เว้นแต่ในกรณีเพื่อการป้องกันตนเอง[1] ไม่มีข้อบทเพื่อการลงโทษ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผลจากความพยายามของสหรัฐที่ตั้งใจหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนในระบบพันธมิตรยุโรป ต่อมาขึ้นทะเบียนเป็นชุดสนธิสัญญาสันนิบาตชาติเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1928[2]

ในแบบดั้งเดิม เคลลอก-บริยองเป็นการยกเลิกสงครามเฉพาะระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม แฟรงก์ บี. เคลลอก รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ต้องการคงไว้ซึ่งอิสระในการปฏิบัติของสหรัฐ ดังนั้นจึงสนองข้อเสนอสนธิสัญญาพหุภาคีต่อต้านสงคราม โดยเปิดให้ทุกชาติเป็นภาคีสนธิสัญญา

สนธิสัญญาเคลลอก-บริยองได้ชื่อตามผู้ริเริ่ม แฟรงก์ บี. เคลลอก และรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส อะริสตีด บรียองด์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kellogg-Briand Pact, 1928
  2. League of Nations Treaty Series, vol. 94, pp. 58-64.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]