ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การระบาดทั่วของโควิด-19"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{ปัจจุบัน}} {{กล่องข้อมูล เหตุการณ์ |title=การระบาดของโคโรนาไวรัสส...
 
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


วันที่ 17 มกราคม กลุ่ม[[อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน]]ประเมืนว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,723 ราย (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 427–4,471) โดยมีอาการเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยอิงจากรูปแบบการแพร่ระบาดครั้งแรกสู่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และทางกลุ่มยังสรุปด้วยว่า "การแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์นั้นไม่ควรถูกมองข้าม"<ref name=Gallagher18Jan2020/><ref name=Imai17Jan2020 />
วันที่ 17 มกราคม กลุ่ม[[อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน]]ประเมืนว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,723 ราย (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 427–4,471) โดยมีอาการเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยอิงจากรูปแบบการแพร่ระบาดครั้งแรกสู่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และทางกลุ่มยังสรุปด้วยว่า "การแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์นั้นไม่ควรถูกมองข้าม"<ref name=Gallagher18Jan2020/><ref name=Imai17Jan2020 />

==วงศ์วานวิวัฒนาการ==
{{กล่องข้อมูล จีโนม
| image = <!-- Karyotype, for instance -->
| caption =
| type = นิวคลีโอไทด์
| taxId = MN908947
| ploidy = <!-- haploid, diploid or polypoloid -->
| chromosomes = <!-- number (unit is pairs) -->
| size = 30473 bp
| year = 2020
}}
ลำดับของเบตาโคโรนาไวรัสอู่ฮั่นแสดงความคล้ายคลึงกับ[[เบตาโคโรนาไวรัส]] (''Betacoronavirus'') ที่พบใน[[ค้างคาว]] อย่างไรก็ตาม ตัวไวรัสมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจาก[[โคโรนาไวรัส]]ตัวอื่น เช่น ''[[กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง]]'' (ซาร์ส) และ''[[ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012|ไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง]]'' (เมอร์ส)<ref name=":1">{{cite web |title=Coronavirus |url=https://www.who.int/health-topics/coronavirus |website=www.who.int |accessdate=16 January 2020 |language=en |archive-url=https://web.archive.org/web/20200120214550/https://www.who.int/health-topics/coronavirus |archive-date=20 January 2020 |url-status=live }}</ref> โดยไวรัสนี้เป็นสมาชิกของ Beta-CoV สาย B เช่นเดียวกับ SARS-CoV<ref>{{cite web |title=Phylogeny of SARS-like betacoronaviruses |url=https://nextstrain.org/groups/blab/sars-like-cov |website=nextstrain |accessdate=18 January 2020}}</ref>

ห้าจีโนมของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการแยกเดี่ยว (isolated) และมีรายงานแล้ว ประกอบด้วย BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-01/2019, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-04/2020, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-05/2019, BetaCoV/Wuhan/WIV04/2019, และ BetaCoV/Wuhan/IPBCAMS-WH-01/2019 จาก[[ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งจีน]] (CCDC), [[สถาบันชีววิทยาจุลชีพก่อโรค]] และ[[โรงพยาบาลอู่ฮั่นจินหยินทัน]]<ref name=":1" /><ref>{{cite web|url=http://virological.org/t/initial-genome-release-of-novel-coronavirus/319|title=Initial genome release of novel coronavirus|date=11 January 2020|website=Virological|language=en-US|access-date=12 January 2020}}</ref><ref>{{Cite journal|date=2020-01-17|title=Wuhan seafood market pneumonia virus isolate Wuhan-Hu-1, complete genome|url=http://www.ncbi.nlm.nih.gov/nuccore/MN908947.3|language=en-US}}</ref> ลำดับ[[อาร์เอ็นเอ]]ของไวรัสนี้มีความยาวประมาณ 30 [[คู่เบส|kbp]] (kilo base pairs, กิโลคู่เบส)<ref name=":1" />

==วิทยาการระบาด==


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:25, 22 มกราคม 2563

การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2562–63
การระบาดทั่วของโควิด-19ตั้งอยู่ในประเทศจีน
การระบาดทั่วของโควิด-19
เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
วันที่12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
ที่ตั้งต้นกำเนิด: จีน เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ความสูญเสีย
กรณีผู้ติดเชื้อ ณ 22 มกราคม พ.ศ. 2563
ประเทศ ยืนยันแล้วว่าติดเชื้อ เสียชีวิต อ้างอิง
จีน จีน 473 9 [1]
ไทย ไทย 4 0 [2]
มาเก๊า มาเก๊า 1 0 [3]
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1 0 [2]
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1 0 [2]
ไต้หวัน ไต้หวัน 1 0 [4]
สหรัฐ สหรัฐ 1 0 [5]
ฮ่องกง ฮ่องกง 1 0 [6]
รวม 483 9
แผนที่การกระจายของการติดเชื้อ

การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2562–63 (อังกฤษ: 2019–20 novel coronavirus outbreak) หรือ โรคปอดอักเสบอู่ฮั่น (จีนตัวย่อ: 武汉肺炎; จีนตัวเต็ม: 武漢肺炎; พินอิน: Wǔhàn fèiyán) เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ในเมืองอู่ฮั่นซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำแยงซี ภาคกลางของประเทศจีน ในลักษณะที่มีกลุ่มคนซึ่งมีอาการของโรคปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยบุคคลส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงไปถึงร้านแผงลอยในตลาดค้าอาหารทะเลฮวาหนัน (華南海鮮市場) ซึ่งร้านดังกล่าวขายสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ นักวิทยาศาสตร์จีนได้แยกโคโรนาไวรัสนี้ออกจากเดิมเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ซึ่งพบว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างน้อยร้อยละ 70 ในลำดับยีนกับ SARS-CoV[7][8][9][10] อย่างไรก็ตามไวรัสนี้มิได้แสดงศักยภาพก่อโรคเช่นเดียวกันกับซาร์ส[11][12]

ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม การจะประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขซึ่งเป็นความกังวลระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) ขึ้นภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations) จะมีการอภิปรายกันในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยคณะกรรมการฉุกเฉินซึ่งจัดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยองค์การอนามัยโลกยังเตือนด้วยว่าอาจมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างขึ้นได้[13] และยังมีความกังวลว่าจะมีการแพร่กระจายของเชื้อมากขึ้นในช่วงตรุษจีนซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของชาวจีนอีกด้วย[9][12] มีการตั้งคำถามขึ้นว่าไวรัสได้มีการแพร่กระจายไปนานกว่าที่คิดไว้แล้วหรือไม่ และเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางของการระบาดจริงหรือ หรือสถานที่ซึ่งมีการระบุเชื้อครั้งแรกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมดูและและการทดสอบหรือไม่ และเป็นไปได้หรือไม่ว่าเมืองอู่ฮั่นนั้นเป็นเหตุการณ์ซูเปอร์สเปรดเดอร์ (Super-spreader)[10][14][11][12][15]

วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 การทบสอบที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่ามีผู้ติดเชื้อนี้ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วถึง 400 กรณี บางส่วนเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข และบางส่วนนอกประเทศจีน[16] มีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้นเก้ารายและมีหลักฐานการแพร่จากคนสู่คน มีการรายงานผู้ต้องสงสัยรายแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[17] โดยมีอาการครั้งแรกปรากฏขึ้นเมื่อสามสัปดาห์ก่อนในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562[18] จากนั้นตลาดได้ถูกปิดลงในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และผู้ที่มีอาการถูกกักโรคไว้[17] ในช่วงแรกมีผู้ถูกเฝ้าระวังมากกว่า 700 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไปแล้วมากกว่า 400 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับกรณีที่น่าสงสัยนี้[19] ด้วยการพัฒนาของการทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยเฉพาะสำหรับการติดเชื้อ การปรากฏของ 2019-nCoV จึงได้รับการยืนยันในคนจำนวน 41 คนซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในเมืองอู่ฮั่น[7][20] โดยมีสองคนที่ถูกรายงานในภายหลังว่าเป็นคู่แต่งงานกัน หนึ่งในนั้นไม่เคยเดินทางไปยังตลาดดังกล่าว ขณะที่สมาชิกอีกสามคนที่เหลือเป็นสมาชิกของครอบครัวของผู้ที่ทำงานในแผงขายอาหารทะเลในตลาดนั้น[21][22] การระบาดทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563[23]

ภาพรวม

วัฏจักรการถ่ายแบบของไวรัสโคโรนา

กลุ่มของการติดเชื้อ "ปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ" มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณโดยรอบตลาดค้าส่งสัตว์และปลา ซึ่งมีร้านขายไก่ แมว ไก่ฟ้า ค้างคาว มาร์มอต งูพิษ กวางดาว และอวัยวะภายในของกระต่ายและสัตว์ป่าอื่น ๆ กว่าพันร้าน นำไปสู่ความสงสัยว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นั้นอาจมีแหล่งมาจากสัตว์[8][24][25][26]

โคโรนาไวรัสส่วนใหญ่จะแพร่กระจายอยู่ในสัตว์ แต่เป็นที่รู้กันว่าสามารถวิวัฒนาการและติดเชื้อในมนุษย์ได้ ดังที่ปรากฏเป็นกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส), โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (โรคเมอร์ส) และยังมีโคโรนาไวรัสอีกสี่ชนิดที่พบในมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรงคล้ายกับโรคหวัด ซึ่งทั้งหกชนิดนั้นสามารถแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้[27][28] ในปี พ.ศ. 2545 ชะมดจากตลาดค้าสัตว์มีชีวิตเป็นเหตุให้เกิดการเริ่มต้นของการระบาดของโรคซาร์สขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยอาศัยซูเปอร์สเปรดเดอร์และการเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศ ทำให้ไวรัสนั้นไปได้ไกลถึงแคนาดาและสหรัฐ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 700 คนทั่วโลก โดยผู้ติดเชื้อโรคซาร์สคนสุดท้ายในอยู่ในปี พ.ศ. 2547[27][29][30] ในเวลานั้น ประเทศจีนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากองค์การอนามัยโลกในส่วนของการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค[31] สิบปีต่อมา ภายหลังจากการปรากฏของโรคซาร์ส ก็ปรากฏโคโรนาไวรัสที่เกี่ยวข้องกับอูฐหนอกเดียว หรือโรคเมอร์สขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 750 คนใน 27 ประเทศ[27] การระบาดในเมืองอู่ฮั่นมีความสัมพันธ์กับตลาดค้าสัตว์และอาหารทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมีการจำหน่ายสัตว์เพื่อการบริโภค นำไปสู่ความเป็นไปได้ของการเจ็บป่วยซึ่งมีที่มาจากสัตว์[28] จึงทำให้เกิดความกังวลว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะคล้ายกับการระบาดของโรคซาร์สในครั้งก่อนหน้า[29][32] ซึ่งความกังวลได้ทวีขึ้นไปอีกจากการคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนปริมาณมากที่เดินทางในช่วงตรุษจีน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563 นี้[33]

อู่ฮั่นเป็นเมืองใหญ่อันดับที่เจ็ดของประเทศจีน มีประชากรมากกว่า 11 ล้านคน และยังเป็นเมืองศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในภาคกลางของประเทศจีน อยู่ห่างจากปักกิ่งไปทางใต้ประมาณ 1,100 กิโลเมตร[34] ห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตก 800 กิโลเมตร และห่างจากฮ่องกงไปทางเหนือ 970 กิโลเมตร[35] นอกจากนี้ยังมีเส้นทางบินตรงจากเมืองอู่ฮั่นที่เชื่อมกับทวีปยุโรปด้วย โดยมีหกเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังปารีส สามเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังลอนดอน และห้าเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังโรม[36]

วันที่ 17 มกราคม กลุ่มอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนประเมืนว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,723 ราย (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 427–4,471) โดยมีอาการเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยอิงจากรูปแบบการแพร่ระบาดครั้งแรกสู่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และทางกลุ่มยังสรุปด้วยว่า "การแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์นั้นไม่ควรถูกมองข้าม"[37][38]

วงศ์วานวิวัฒนาการ

ข้อมูลด้านจีโนม
รหัสจีโนมของ NCBIMN908947
ขนาดจีโนม30473 bp
ปีที่ทำเสร็จ2020

ลำดับของเบตาโคโรนาไวรัสอู่ฮั่นแสดงความคล้ายคลึงกับเบตาโคโรนาไวรัส (Betacoronavirus) ที่พบในค้างคาว อย่างไรก็ตาม ตัวไวรัสมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากโคโรนาไวรัสตัวอื่น เช่น กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) และไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)[39] โดยไวรัสนี้เป็นสมาชิกของ Beta-CoV สาย B เช่นเดียวกับ SARS-CoV[40]

ห้าจีโนมของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการแยกเดี่ยว (isolated) และมีรายงานแล้ว ประกอบด้วย BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-01/2019, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-04/2020, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-05/2019, BetaCoV/Wuhan/WIV04/2019, และ BetaCoV/Wuhan/IPBCAMS-WH-01/2019 จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งจีน (CCDC), สถาบันชีววิทยาจุลชีพก่อโรค และโรงพยาบาลอู่ฮั่นจินหยินทัน[39][41][42] ลำดับอาร์เอ็นเอของไวรัสนี้มีความยาวประมาณ 30 kbp (kilo base pairs, กิโลคู่เบส)[39]

วิทยาการระบาด

อ้างอิง

  1. "新型冠状病毒感染 肺炎疫情实时动态".
  2. 2.0 2.1 2.2 "China virus cases up sharply as infection spreads". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 20 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
  3. Moura, Nelson (22 January 2020). "First viral pneumonia coronavirus case recorded in Macau". Macau News Agency (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)"澳门确诊首例新型冠状病毒感染的肺炎病例". baijiahao.baidu.com. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
  4. "我國藉由登機檢疫即時發現首例中國大陸武漢移入之嚴重特殊傳染性肺炎個案,指揮中心提升中國大陸武漢之旅遊疫情建議至第三級警告(Warning)".
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC21Jan2020
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rthk22Jan2020
  7. 7.0 7.1 Hui, David S.; Azhar, Esam EI; Madani, Tariq A.; Ntoumi, Francine; Kock, Richard; Dar, Osman; Ippolito, Giuseppe; Mchugh, Timothy D.; Memish, Ziad A.; Drosten, Christian; Zumla, Alimuddin (14 January 2020). "The continuing epidemic threat of novel coronaviruses to global health – the latest novel coronavirus outbreak in Wuhan, China". International Journal of Infectious Diseases (ภาษาEnglish). 91: 264–266. doi:10.1016/j.ijid.2020.01.009. ISSN 1201-9712.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "Undiagnosed pneumonia - China (HU) (01): wildlife sales, market closed, RFI Archive Number: 20200102.6866757". Pro-MED-mail. International Society for Infectious Diseases. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  9. 9.0 9.1 Cohen, Jon; Normile, Dennis (17 January 2020). "New SARS-like virus in China triggers alarm". Science (ภาษาอังกฤษ). 367 (6475): 234–235. doi:10.1126/science.367.6475.234. ISSN 0036-8075. PMID 31949058. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  10. 10.0 10.1 Parry, Jane (20 January 2020). "China coronavirus: cases surge as official admits human to human transmission". British Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 368. doi:10.1136/bmj.m236. ISSN 1756-1833.
  11. 11.0 11.1 Tan, Weizhen (21 January 2020). "China says coronavirus that killed 6 can spread between people. Here's what we know". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 Schnirring, Lisa (20 Jan 2020). "New coronavirus infects health workers, spreads to Korea". CIDRAP (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  13. Newey, Sarah (14 January 2020). "WHO refuses to rule out human-to-human spread in China's mystery virus outbreak". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  14. Nectar Gan; Yong Xiong; Eliza Mackintosh. "China confirms new coronavirus can spread between humans". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
  15. Edwards, Erika (21 January 2020). "1st case of coronavirus from China confirmed in U.S." NBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "Cases of deadly coronavirus spike as officials confirm human-to-human spread". NBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 "Pneumonia of unknown cause – China. Disease outbreak news". World Health Organization. 5 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  18. Schnirring, Lisa (14 January 2020). "Report: Thailand's coronavirus patient didn't visit outbreak market". CIDRAP (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  19. Schnirring, Lisa (11 January 2020). "China releases genetic data on new coronavirus, now deadly". CIDRAP (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  20. Lu, Hongzhou; Stratton, Charles W.; Tang, Yi-Wei (16 January 2020). "Outbreak of Pneumonia of Unknown Etiology in Wuhan China: the Mystery and the Miracle". Journal of Medical Virology (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1002/jmv.25678. ISSN 1096-9071 – โดยทาง Wiley.
  21. Schnirring, Lisa (15 January 2020). "Second family cluster found in Wuhan novel coronavirus outbreak". CIDRAP (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
  22. Wee, Sui-Lee; Jr, Donald G. McNeil (8 January 2020). "China Identifies New Virus Causing Pneumonialike Illness". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  23. Qin, Amy; Hernández, Javier C. (10 January 2020). "China Reports First Death From New Virus". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 11 January 2020.
  24. "Pneumonia of Unknown Cause in China – Watch – Level 1, Practice Usual Precautions – Travel Health Notices | Travelers' Health | CDC". wwwnc.cdc.gov. 6 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  25. Schnirring, Lisa (8 January 2020). "Virologists weigh in on novel coronavirus in China's outbreak". CIDRAP (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  26. Shih, Gerry; Sun, Lena H. (8 January 2020). "Specter of possible new virus emerging from central China raises alarms across Asia". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  27. 27.0 27.1 27.2 Rogier van Doorn, H.; Yu, Hongji (2019). "33. Viral Respiratory Infections". Hunter's Tropical Medicine and Emerging Infectious Diseases E-Book (10th ed.). Elsevier Health Sciences. p. 286. ISBN 978-0-323-55512-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  28. 28.0 28.1 "Novel Coronavirus 2019 | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 13 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  29. 29.0 29.1 "Mystery pneumonia virus probed in China". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2020. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
  30. "What to Know About the Wuhan Pneumonia Oubreak". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  31. "China probes pneumonia outbreak for Sars links: State media". The Straits Times. 31 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  32. Gallagher, James (2020). "Mystery Chinese virus: How worried should we be?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 11 January 2020.
  33. "NaTHNaC – Chinese new year travel advice". TravelHealthPro (ภาษาอังกฤษ). 10 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  34. "Outbreak of Pneumonia of Unknown Etiology (PUE) in Wuhan, China". emergency.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Centers for Disease Control and Prevention. 8 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  35. Chan, Ho-him; Mai, Jun (5 January 2020). "China says Wuhan pneumonia not Sars, but virus remains unidentified, more people hospitalised". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  36. "Update: Cluster of pneumonia cases associated with novel coronavirus – Wuhan, China – 2019". European Centre for Disease Prevention and Control (ภาษาอังกฤษ). 14 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gallagher18Jan2020
  38. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Imai17Jan2020
  39. 39.0 39.1 39.2 "Coronavirus". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
  40. "Phylogeny of SARS-like betacoronaviruses". nextstrain. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
  41. "Initial genome release of novel coronavirus". Virological (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  42. "Wuhan seafood market pneumonia virus isolate Wuhan-Hu-1, complete genome" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-17. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)