โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
Mathayom Wat Makutkasat School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ก. / M.K.
ประเภทรัฐ / โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญ'ลูกม.ก.มีน้ำใจ อัธยาศัยดี
วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา
(บุรุษพึงพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ)
สถาปนา7 มิถุนายน พ.ศ. 2494
ผู้ก่อตั้งอาจารย์บุญยัง ทรวดทรง
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100106
ผู้อำนวยการดร. รัตนวดี โมรากุล
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย
สี██████ สีเหลือง-ชมพู
เพลงมาร์ชมกุฏกษัตริย์
เว็บไซต์www.makut.ac.th

โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ (อังกฤษ: Mathayom Wat Makutkasat School) เป็นโรงเรียนสหศึกษา (เดิมชื่อโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ เป็นโรงเรียนชายล้วน) เปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2494 โดยกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดสถานที่ตั้งไว้ที่บริเวณหน้าวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร และหน่วยแนะแนวการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการจัดนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่หาที่เรียนไม่ได้มาเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เดิมรับเฉพาะนักเรียนชาย จนกระทั่งเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2545 จนถึงปัจจุบัน รวมพื้นที่ของโรงเรียนทั้งหมด 3 ไร่ 1 งาน 86.66 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ ของโรงเรียนทั้งหมด 5 อาคาร

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

ตราประจำโรงเรียน
  • ตราประจำโรงเรียนเป็นรูปมงกุฎครอบเลขสี่ (เลขไทย) มีรัศมีจากยอดมงกุฎทอดลงมาทั้งสองข้างของมงกุฎ และมีแถบชื่อโรงเรียนระบุอักษร "มกุฏกษัตริย์" ที่ใต้มงกุฏ ตราประจำโรงเรียนมีความหมายคือ "โรงเรียนซึ่งมีพื้นฐานกำเนิดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงสร้างวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร หรือเป็นโรงเรียนที่อยู่ใต้บุญญาบารมีของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น"
  • คติธรรมและปรัชญา : "วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา" แปลว่า "บุรุษพึงพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ"
  • สีประจำโรงเรียน : สีเหลือง-ชมพู

สีเหลือง ████ หมายถึง สีของพระพุทธศาสนาในที่นี้คือ วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ซึ่งอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณวัดส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียน

สีชมพู ████ หมายถึง ความอ่อนเยาว์ และการศึกษา

  • อัตลักษณ์ของโรงเรียน : ลูกม.ก. มีน้ำใจ อัธยาศัยดี
  • เอกลักษณ์ของโรงเรียน : กิจกรรมลูกเสือ
  • คำปฏิญาณตนชาวมกุฏกษัตริย์ : เราชาวมกุฏกษัตริย์ จะซื่อสัตย์ต่อสถาบัน จะมุ่งมั่นหมั่นศึกษา อยู่ใต้ร่มพระบิดา จะรักษามกุฏไว้ด้วยชีวัน
มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ (กรุงเทพมหานคร)

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ลำดับ ชื่อ-สกุล เข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง
1 นายบุญยัง ทรวดทรง พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2509
2 นายสุด สุวรรณนาคินทร์ พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2515
3 นายบุญเนิน หนูบรรจง พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517
4 นายช.เสวต เพ็ชรไพศิษฏ์ พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2519
5 นายเสนาะ จันทร์สุริยา พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2526
6 นายเจิม สืบขจร พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2532
7 นายสุรินทร์ สรรพกิจ พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2537
8 นายสุวิชญ์ นาถะภักฎิ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540
9 นายมนตรี แสนวิเศษ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2542
10 นายอุดม พรมพันธ์ใจ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2543
11 นายธีระพงศ์ นิยมทอง พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2546
12 นายณัฐกิจ บัวขม พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2550
13 นายนพพล เหลาโชติ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554
14 นายวันชัย ทองเกิด พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
15 นายจรัสฤทธิ์ กลิ่นสุวรรณ พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558
16 นายกรวิทย์ เลิศศิริโชติ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2561
17 นางสาววรรณา ปริญญาวิวัฒน์กุล พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2566
18 นางสาวรัตนวดี โมรากุล พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

แผนการเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ เปิดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงชั้น ได้แก่

1. ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) มีกลุ่มการเรียน ดังนี้

  • กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • กลุ่มการเรียนทั่วไป เพิ่มเติมภาษาจีน
  • กลุ่มการเรียนทั่วไป เพิ่มเติมภาษาเกาหลี
  • กลุ่มการเรียนทั่วไป (ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน)

2. ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) มีแผนการเรียน ดังนี้

  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ (เพิ่มเติมภาษาเกาหลี)
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาฝรั่งเศส
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาจีน
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาเกาหลี
  • แผนการเรียนทั่วไป (เพิ่มเติมพลศึกษา และเทคโนโลยี)

(*ข้อมูลล่าสุดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ (ม.ก.2498) ผู้ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ ผู้ออกแบบเสาอากาศ"สุธี" ผู้ออกแบบวิจัยและค้นคว้าโครงการ "ไทย-แซท"
  • นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์(ม.ก.2503) นักพูด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,อดีต รมช.สาธารณสุข
  • นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์(ม.ก.2504) อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  • ดร.จำลอง มาเที่ยง(ม.ก.2498)อดีตนายกสมาคมศิษยเก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ คนแรก ,ประธานมูลนิธิ อาจารย์ บุญยัง ทรวดทรง
  • นายจเด็จ อินสว่าง(ม.ก.2505) สมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์
  • นายภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา(ม.ก.2508) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น แอล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
  • นายสุพจน์ จันทร์เจริญ (ลิฟท์) : นักร้อง, นักแสดง
  • นายอัษฎาวุธ เหลืองสุนทร (วุธ)  : นักแสดง, ผู้กำกับละคร,นักจัดรายการวิทยุ
  • นายสุเมธ องอาจ (สุเมธ) : นักร้อง,นักแสดง
  • นายกีรติ เทพธัญญ์ (เอ๊าะ) : นักแสดง, พิธีกรรายการ "ครัวคุณต๋อย"
  • ว่าที่ ร.ต.ลักษณ์ ราชสีห์ (อ.ลักษณ์ เรขานิเทศ) : นักโหราศาสตร์
  • พ.ต.ต.กรวิก จันทร์แด่น (หมวดแวน) : ตำรวจ,แร็พเปอร์
  • นายคุณาธิป ปิ่นประดับ (นิก)  : นักแสดง
  • พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี(ม.ก.2512) : ตำรวจ(อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์
  • พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน(ม.ก.2513) : อดีตรองอธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์
  • พล.ต.ท. รณรงค์ ยั่งยืน : อดีตผบช.ประจำสำนักงานผบ.ตร.
  • นายเรวัตร สกุลคล้อย : รองประธานศาลอุธรณ์
  • พล.ต.ท. ปริญญา จันทร์สุริยา(ม.ก.2514) อดีต ผบช.ประจำสำนักงานผบ.ตร.
  • พล.ต.ท.อนุชัย เล็กบำรุง : อดีต ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
  • ศาสตราจารย์ น.ท.ดร.นพ. สมพล เพิ่มพงศ์โกศล : อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยกรรมศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นายสุจิตต์ วงศ์เทศ : นักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน
  • พ.อ.(พิเศษ) ดร.ก้อง ไชยณรงค์ : ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก สำนักงานผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ต.อ.อาลักษณ์ เจริญธนกุล ตำรวจ(ผกก.สภ.ศรีธาตุ อุดรธานี)
  • รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ(ม.ก.2502) ศาสตรเมธี ดนตรี นักไวโอลิน ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พลตรีปริยะ เพ็ชรพลาย ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
  • นายวิสูตร ชินรัตนลาภ ผอ.สำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือคู่มือนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ ปีการศึกษา 2548

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]