อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

พิกัด: 18°36′19″N 99°53′51″E / 18.60528°N 99.89750°E / 18.60528; 99.89750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดลำปาง ประเทศไทย
พิกัด18°36′19″N 99°53′51″E / 18.60528°N 99.89750°E / 18.60528; 99.89750
พื้นที่1,214 ตารางกิโลเมตร (759,000 ไร่)
ผู้เยี่ยมชม13,910[1] (2553)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปาง ที่ตั้งสำนักงานอุทยาน อยู่บริเวณถ้ำผาไท ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ชั้นที่ 160 มีจุดเด่นและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ คือ ถ้ำผาไท หล่มภูเขียว น้ำตำแม่แก้ น้ำตกเก๊าฟุ บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม ถ้ำออกรู ห้วยแม่พลึง นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คือ ศูนย์ฝึกลูกช้างบ้านปางหละ อำเภองาว มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร

ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1627/2532 ให้ นายพูนสถิตย์ วงศ์สวัสดิ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม และจัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท และบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยาง-ป่าแม่งาว ป่าแม่ต๋า-ป่าแม่มาย ป่าแม่งาวฝั่งขวา และป่าแม่โป่ง ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย

ผลการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทพบว่า เป็นป่าธรรมชาติที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งประชาชนและหน่วยงานต่างๆ รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ เขื่อนกิ่วลม และถ้ำผาไท โดยได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713 (ผท)/20 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งนายไพโรจน์ สุวรรณกร อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติให้ใช้ชื่อ “อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2534 ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและพื้นที่ถูกบุกรุกแผ้วถาง มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป ยอดเขาสูงที่สำคัญ คือ ดอยกิ่วลม สูง 1,202 เมตร รองลงมาคือ ดอยสันกลางสูง 1,022 เมตร ดอยผาหวด สูง 975 เมตร ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าเต็งรัง ส่วนทิศใต้ ได้แก่ ดอยหลวง สูง 1,100 เมตรทางทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นแหล่งผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมที่สำคัญ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง น้ำจากลำห้วยและลำธารสายต่างๆ ที่ไหลไปทางทิศตะวันตกจะไหลลงสู่แม่น้ำวัง ส่วนที่ไหลไปทางด้านทิศตะวันออกจะไหลลงสู่แม่น้ำงาวเป็นส่วนใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม จะร้อนจัด มีลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ฝนตกสม่ำเสมอ มีลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ บางครั้งมีพายุพัดแรงมาก
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัด ในตอนกลางคืนและตอนเช้ามีหมอกปกคลุมทั่วไป ลมหนาวพัดมาจากทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ

พืชพรรณและสัตว์ป่า[แก้]

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ป่าไม้ที่พบได้แก่ ป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบ คือ ตะเคียน ไม้ตระกูลยาง ไม้ตระกูลไม้ก่อ ยมหอม อบเชย ดีหมี ฯลฯ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบเห็น คือ ประดู่ มะค่าโมง แดง อ้อยช้าง ชิงชัน ไผ่ชนิดต่างๆ ตุ้มกว้าว อุโลก สะแก และหญ้าแพก เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

สัตว์ป่าที่พบในอุทยาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สืบค้นวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553