1 พงศ์กษัตริย์ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 พงศ์กษัตริย์ 1
หน้าของหนังสือพงศ์กษัตริย์ (1 และ 2 พงศ์กษัตริย์) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู4
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์11

1 พงศ์กษัตริย์ 1 (อังกฤษ: 1 Kings 1) เป็นบทแรกของหนังสือพงศ์กษัตริย์ในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศ์กษัตริย์เป็นการรวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ ที่บันทึกถึงพระราชกิจของกษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาห์โดยผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล โดยมีส่วนผนวกเพิ่มเข้ามาในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 1 ของ 1 พงศ์กษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่การปกครองของซาโลมอนเหนืออาณาจักรยูดาห์และอิสราเอลที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (1 พงศ์กษัตริย์ 1 ถึง 11)[4] จุดเน้นของบทนี้คือการปกครองร่วมกันของดาวิดและซาโลมอนในฐานะกษัตริย์แห่งอิสราเอล[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 53 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 5Q2 (5QKings; 150–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1, 16–17, 27–37.[7][8][9][10]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[11][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 1 พงศ์กษัตริย์ 1:32-40: 1 พงศาวดาร 29:21-25

วิเคราะห์[แก้]

สองบทแรกของหนังสือพงศ์กษัตริย์กล่าวถึงช่วงสุดท้ายของเรื่องราวของดาวิดและจุดเริ่มต้นของเรื่องราวของซาโลมอน[13] อย่างไรก็ตาม 1 พงศ์กษัตริย์ 1 เป็นเรีื่องเล่าใหม่ที่ไม่ใช่เรื่องต่อเนื่องกับ1–2 ซามูเอล เนื่องจาก1–2 พงศ์กษัตริย์ยังมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากวรรณกรรมโบราณในคัมภีร์ไบเบิลและนอกคัมภีร์ไบเบิลอื่น ๆ[14] บทที่ 1 นี้เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับ 2 ซามูเอล 11–12 เนื่องจากมีบทเหล่านี้เท่านั้นที่กล่าวถึงบัทเชบา ผู้เผยพระวจนะนาธัน และซาโลมอนร่วมกัน[14] เรื่องเล่านี้ให้ความกระจ่างว่าพระเจ้าทรงปฏิบัติตามพันธสัญญาของพระองค์ที่จะสถาปนาอาณาจักรของดาวิดตลอดไปผ่านทางพระราชโอรสของดาวิดอย่างไรn (2 ซามูเอล 7:12-13)[13]

ความชราภาพของดาวิด (1:1–4)[แก้]

"กษัตริย์ดาวิด อาบีชาก และข้าราชบริพาร" จุลจิตรกรรมจากคัมภีรืไบเบิลฉบับ Monastery of Santa Maria de Alcobaça ราวทศวรรษ 1220 (หอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส)

ฉากเปิดของหนังสือพงศ์กษัตริย์เล่าถึงกษัตริย์ดาวิดผู้ 'มีพระชนมายุและทรงพระชรามากแล้ว แม้จะห่มผ้าให้หลายผืน พระองค์ก็ยังไม่อบอุ่น' เป็นการบรรยายอันแปลกที่กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ได้รับความเคารพอย่างสูงในประวัติศาสตร์โบราณ สาวงามอาบีชากเข้ามาปรนนิบัติดาวิดและภายหลังมีบทบาทสำคัญแม้ไม่ได้พูดอะไรแม้แต่คำเดียว (1 พงศ์กษัตริย์ 2:17, 22)[5] การสูญเสียสมรรถภาพของดาวิด (บอกเป็นนัยในวรรค 4) ทำให้บรรดาข้าราชการเห็นว่าดาวิดอาจจะสูญเสียความสามารถในการปกครองเช่นกัน[13]

วรรค 2[แก้]

ดังนั้นบรรดาข้าราชการของพระองค์จึงกราบทูลว่า "โปรดให้คนไปเสาะหาหญิงสาวพรหมจารีมาถวายพระราชาเจ้านายของข้าพระบาท และให้เธออยู่งานเฉพาะพระพักตร์ฝ่าพระบาท และดูแลฝ่าพระบาท ให้เธอนอนในพระทรวงของฝ่าพระบาท เพื่อพระราชาเจ้านายของข้าพระบาทจะได้ทรงอบอุ่น"[15]
  • "หญิงสาวพรหมจารี": จากภาษาฮีบรู: נערה בתולה na-‘ă-rāh ḇə-ṯū-lāh[16]

การแย่งชิงสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของดาวิด (1:5–10)[แก้]

การตัดสินพระทัยเห็นชอบของดาวิดที่จะตั้งซาโลมอนเป็นกษัตริย์ (1:11–37)[แก้]

ซาโลมอนขึ้นสู่อำนาจ (1:38–53)[แก้]

The image above contains clickable links
The image above contains clickable links
แบบจำลองของนครดาวิดในพิพิธภัณฑ์อิสราเอล

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อพยพ 21, 2 ซามูเอล 7, 2 ซามูเอล 11, 2 ซามูเอล 12, 2 ซามูเอล 14, 2 ซามูเอล 17, 2 ซามูเอล 18, 1 พงศาวดาร 3, 1 พงศาวดาร 29
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[12]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 189.
    2. Collins 2014, p. 288.
    3. McKane 1993, p. 324.
    4. Dietrich 2007, p. 234.
    5. 5.0 5.1 Dietrich 2007, p. 235.
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Ulrich 2010, p. 323.
    8. Dead sea scrolls - 1 Kings
    9. Fitzmyer 2008, p. 105.
    10. 5Q2 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    12. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    13. 13.0 13.1 13.2 Coogan 2007, p. 489 Hebrew Bible.
    14. 14.0 14.1 Leithart 2006, p. 29.
    15. 1 พงศ์กษัตริย์ 1:2: THSV11
    16. 1 Kings 1:2 Hebrew text analysis. Biblehub.

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]