2 ซามูเอล 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 ซามูเอล 7
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์10

2 ซามูเอล 7 (อังกฤษ: 2 Samuel 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่สองของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 7 ของ 2 ซามูเอลประกอบด้วยเรื่องราวรัชสมัยดาวิดในเยรูซาเล็ม[5][6] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 2 ซามูเอล 28 ซึ่งเล่าถึงยุคทีดาวิดก่อตั้งอาณาจักร[7]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 29 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 6–7, 22–29[9][10][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 ซามูเอล 7:1–17: 1 พงศาวดาร 17:1–15[15][16]
  • 2 ซามูเอล 7:18-29: 1 พงศาวดาร 17:16-27[15][17]

วิเคราะห์[แก้]

บทนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคือการสร้างพระวิหารและผู้สืบราชบัลลังก์ของดาวิด บทนี้เป็นบทนำของเรื่องเล่าที่ดำเนินต่อเนื่องไปใน 2 ซามูเอล 9-10 และ 1 พงศ์กษัตริย์ 1-2[18] เป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของคัมภีร์ฮีบรู (หรือพันธสัญญาเดิม) และได้รับการวิจัยอย่างมาก[18]

มีเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ในบทนี้:[19]

1. ดาวิดและนาธัน: ดาวิดเสนอให้สร้าง "บ้าน" (พระนิเวศน์) สำหรับหีบแห่งพันธสัญญา (7:1–3)
2. นาธันและพระเจ้า: พระวจนะของพระเจ้า
a. พระเจ้าผู้ทรงไถ่อิสราเอลตัดสินพระทัยเรื่องพระนิเวศน์ของพระองค์ (7:4–7)
b. พระเจ้าจะทรงสร้าง "บ้าน" (ราชวงศ์) ให้กับดาวิด (7:8–17)
3. ดาวิดและพระเจ้า: คำทูลตอบของดาวิด
a. ดาวิดสรรเสริญการทรงไถ่ของพระเจ้า (7:18-24)
b. คำอธิษฐานของดาวิด (7:25–29)

เหตุการณ์ที่ 2 และเหตุการณ์ที่ 3 เป็นคู่ขนานกัน โดยส่วนแรกของแต่ละเหตุการณ์กล่าวถึงการทรงไถ่ของพระเจ้า (โดยเฉพาะหมายถึงการอพยพจากอียิปต์) ส่วนที่สองขึ้นต้นด้วย wě‘attâ (ซึ่งอาจแปลว่า "เพราะฉะนั้น"; 2 ซามูเอล 7:8, 25) เป็นความสืบเนื่องตามข้อตั้งในส่วนแรก[19]

พระวจนะเกี่ยวกับ "บ้าน" (พระนิเวศน์) ของพระเจ้าและ "บ้าน" (ราชวงศ์) ของดาวิด (7:1–17)[แก้]

กษัตริย์ดาวิดและผู้เผยพระวจนะนาธัน (ขวา) ภาพโดย Matthias Scheits

วรรค 1–17 ปรากฏเป็นเรื่องเดียวกัน แม้ว่าจะประกอบด้วยพระวจนะ 2 ส่วนแยกกันเกี่ยวกับสองประเด็นที่แตกต่างกัน:[18]

  1. ความเหมาะสมของการสร้างพระวิหาร (วรรค 1–7)
  2. ผู้สิบราชบัลลังก์ของดาวิด (วรรค 8–16)

สรุปส่วน[แก้]

วรรค 1-2[แก้]

1 ต่อมาเมื่อพระราชาประทับในพระราชวังของพระองค์ และพระยาห์เวห์ทรงให้พระองค์พักสงบจากเหล่าศัตรูรอบด้านของพระองค์ 2 พระราชาตรัสกับนาธันผู้เผยพระวจนะว่า "ดูสิ เราอยู่ในบ้านทำด้วยไม้สนสีดาร์ แต่หีบของพระเจ้าอยู่ในเต็นท์"[20]
  • "นาธันผู้เผยพระวจนะ" ผู้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในที่นี้[21] มีบทบาทสำคัญในจุดเปลี่ยนสำคัญ 3 ครั้งในรัชสมัยของดาวิด: การเผยพระวจนะของนาธันในบทนี้่เกี่ยวกับพระนิเวศน์ของพระเจ้าและราชวงศ์ของดาวิด, ต่อมานาธันเผยพระวจนะที่ทรงตำหนิการล่วงประเวณีของดาวิดต่อบัทเชบา (2 ซามูเอล 12) และนาธันสนับสนุนดาวิดที่ทรงชราภาพให้ตั้งซาโลมอนเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์ (1 พงศ์กษัตริย์ 1) ขณะที่เป็นที่ปรึกษาผู้เผยพระวจนะของดาวิด (2 พงศาวดาร 29:25) และเป็นผู้บันทึกพระราชประวัติของดาวิดและซาโลมอน (1 พงศาวดาร 29:29; 2 พงศาวดาร 9:29).[22]
  • การสร้างพระราชวังของดาวิดใช้ไม้สนสีดาห์ที่ส่งมาให้โดยฮีรามกษัตริย์เมืองไทระ ตามที่เล่าใน 2 ซามูเอล 5:9-12.
  • ไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าช่วงเวลาใดในรัชสมัยของดาวิดที่ทรงตั้งปณิธานจะส้รางพระวิหาร[21]

วรรค 14[แก้]

[พระยาห์เวห์ตรัสว่า] "เราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็นบุตรของเรา ถ้าเขาทำบาปเราจะตีสอนเขาด้วยไม้เรียวของมนุษย์ ด้วยการเฆี่ยนอย่างบุตรมนุษย์ทั้งหลาย"[23]

วรรค 16[แก้]

[พระยาห์เวห์ตรัสว่า] "ราชวงศ์ของเจ้าและอาณาจักรของเจ้าจะตั้งมั่นอยู่ต่อหน้าเจ้านิรันดร และบัลลังก์ของเจ้าจะมั่นคงนิรันดร"[24]

คำอธิษฐานของดาวิด (7:18–29)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 ซามูเอล 12, 1 พงศ์กษัตริย์ 1, 1 พงศาวดาร 29, 2 พงศาวดาร 9, สดุดี 89
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 184.
    2. Hirsch, Emil G. "SAMUEL, BOOKS OF". www.jewishencyclopedia.com.
    3. Knight 1995, p. 62.
    4. Jones 2007, p. 197.
    5. Jones 2007, p. 216.
    6. Coogan 2007, p. 450 Hebrew Bible.
    7. Jones 2007, p. 215.
    8. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    9. Ulrich 2010, pp. 298–299.
    10. Dead sea scrolls - 2 Samuel
    11. Fitzmyer 2008, p. 35.
    12. 4Q51 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    15. 15.0 15.1 2 Samuel 7 เก็บถาวร 2022-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Berean Study Bible
    16. Steinmann 2017, p. 131.
    17. Steinmann 2017, p. 138.
    18. 18.0 18.1 18.2 Jones 2007, p. 219.
    19. 19.0 19.1 Morrison 2013, p. 93.
    20. 2 ซามูเอล 7:1-2: พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
    21. 21.0 21.1 Kirkpatrick, A. F. (1890), Cambridge Bible for Schools and Colleges on 2 Samuel 7, accessed 24 December 2023
    22. Steinmann 2017, p. 132.
    23. 2 ซามูเอล 7:14: พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
    24. 2 ซามูเอล 7:16: พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
    25. หมายเหตุของ 2 ซามูเอล 7:16 ใน NKJV

    บรรณานุกรม[แก้]

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล[แก้]

    ทั่วไป[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]