1 พงศ์กษัตริย์ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 พงศ์กษัตริย์ 4
หน้าของหนังสือพงศ์กษัตริย์ (1 และ 2 พงศ์กษัตริย์) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู4
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์11

1 พงศ์กษัตริย์ 4 (อังกฤษ: 1 Kings 4) เป็นบทที่ 4 ของหนังสือพงศ์กษัตริย์ในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศ์กษัตริย์เป็นการรวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ ที่บันทึกถึงพระราชกิจของกษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาห์โดยผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล โดยมีส่วนผนวกเพิ่มเข้ามาในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 4 ของ 1 พงศ์กษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่การปกครองของซาโลมอนเหนืออาณาจักรยูดาห์และอิสราเอลที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (1 พงศ์กษัตริย์ 1 ถึง 11)[4] จุดเน้นของบทนี้คือการปกครองของซาโลมอนกษัตริย์แห่งอิสราเอล[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 34 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

วิเคราะห์[แก้]

โครงสร้างของ 28 วรรคแรกของบทนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เสบียงอาหารจำนวนมากบนโต๊ะเสวยของซาโลมอน:[9]

A เจ้าหน้าที่บริหารของซาโลมอน (4:1–19)
B คนยูดาห์และคนอิสราเอลกินดื่มและมีจิตใจเบิกบาน (4:20)
C ซาโลมอนทรงปกครองเหนืออาณาจักรตั้งแต่แม่น้ำยูเฟรติสไปจนถึงอียิปต์ (4:21)
D เสบียงอาหารบนโต๊ะเสวยของซาโลมอน (4:22–23)
C' ซาโลมอนทรงปกครองเหนืออาณาจักรตั้งแต่แม่น้ำยูเฟรติสไปจนถึงอียิปต์ (4:24)
B' คนยูดาห์และคนอิสราเอลอยู่อย่างปลอดภัย (4:25)
A' เจ้าหน้าที่จัดเสบียงอาหารของซาโลมอน (4:26–28)

ตอนที่เริ่มจาก 1 พงศ์กษัตริย์ 4:29 ถึง 1 พงศ์กษัตริย์ 5:12 จัดเป็นส่วนไขว้:[10]

A พระสติปัญญาของซาโลมอน (4:29–34)
B ฮีรามส่งข้าราชการมายังซาโลมอน (5:1)
C ซาโลมอนส่งพระดำรัสไปยังฮีราม (5:2–6)
B' ฮีรามตอบซาโลมอน (5:7–11)
A' พระสติปัญญาของซาโลมอน (5:12)

เจ้าหน้าที่บริหารของซาโลมอน (4:1–19)[แก้]

ความรุ่งเรืองและพระสติปัญญาของซาโลมอน (4:20–34)[แก้]

แผนที่ของอิสราเอลในยุคสหราชาธิปไตย (ทิฟสาห์เป็นด่านการค้าทางเหนือของซีเรีย ตรงโค้งของแม่น้ำยูเฟรติสตอนบน)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 พงศาวดาร 1, โยบ 38, โยบ 39, Psalm 72, สดุดี 88, สดุดี 89, สดุดี 127
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[8]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 190.
    2. Collins 2014, p. 288.
    3. McKane 1993, p. 324.
    4. Dietrich 2007, p. 234.
    5. Dietrich 2007, p. 236.
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    9. Leithart 2006, p. 48.
    10. Leithart 2006, p. 52.

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Collins, John J. (2014). "Chapter 14: 1 Kings 12 – 2 Kings 25". Introduction to the Hebrew Scriptures. Fortress Press. pp. 277–296. ISBN 978-1451469233.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810.
    • Dietrich, Walter (2007). "13. 1 and 2 Kings". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 232–266. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
    • Leithart, Peter J. (2006). 1 & 2 Kings. Brazos Theological Commentary on the Bible. Brazos Press. ISBN 978-1587431258.
    • McKane, William (1993). "Kings, Book of". ใน Metzger, Bruce M; Coogan, Michael D (บ.ก.). The Oxford Companion to the Bible. Oxford University Press. pp. 409–413. ISBN 978-0195046458.
    • Metzger, Bruce M; Coogan, Michael D, บ.ก. (1993). The Oxford Companion to the Bible. Oxford University Press. ISBN 978-0195046458.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]