ฉบับร่าง:โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
ละติน: Sichonkunathanvittaya School
ที่ตั้ง
เลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ถนนเอเชีย 401 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80120
พิกัด8°56'54.7"N 99°53'50.9"E
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ธ.ว. / STV
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ., รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญ"สุวิชาโน ภวํ โหติ"
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
วิชาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม กิจกรรมดี มีวินัย
ก่อตั้ง(สถาปนา) 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517

49 ปี 355 วัน
(เปิดทำการ) 14 มิถุนายน พ.ศ. 2517

49 ปี 332 วัน
ผู้ก่อตั้ง
  • นายเขียน ฤทธิภักดี, นายบุษย์ วิชัยกุล, นายนวน จิตต์อารีย์, นายย่อง ศรีสุขสวัสดิ์
ผู้บริหารดร.สันติกร รักสองหมื่น
ครู/อาจารย์80 คน[1] 2566
การลงทะเบียน1,694 คน[2] 2566
ชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สี███ ขาว
███ เขียว
เพลงมาร์ช ส.ธ.ว.
เว็บไซต์[3]
กันเกรา

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา (อังกฤษ: Sichonkunathanvittaya School) (อักษรย่อ: ส.ธ.ว., STV) เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษประจำอำเภอสิชล ก่อตั้งขึ้นตามเจตนารมย์ของประชาชนที่ต้องการให้มีการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โดยได้รับการสถาปนาโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[3]

ประวัติ[แก้]

ยุคคณะผู้ดำเนินการ (พ.ศ. 2514 - 2515)[แก้]

การเปิดโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยานี้ สืบเนื่องมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2514 ได้มีบุคคลคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายเขียน ฤทธิภักดี ครูใหญ่โรงเรียนชุมชนวัดปัณณาราม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหัวหน้า, นายบุษย์ วิชัยกุล กำนันตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล, นายนวน จิตต์อารีย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชลและนายย่อง ศรีสุขสวัสดิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านปลายทอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันขอความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยกันปรับพื้นที่ป่าสงวนเลี้ยงสัตว์ของหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล ตลอดจนได้จัดหาวัสดุก่อสร้างเพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวจำนวน 3 ห้องเรียนจนแล้วเสร็จและสามารถใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนได้

คณะผู้ดำเนินการได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอขึ้นไปตามลำดับขั้น โดยนายเขียน ฤทธิภักดี ได้ไปปรึกษากับนายพ่วง สุวรรณรัตน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยเป็นธุระในการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในปีพุทธศักราช 2515 แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบแน่ชัดกรมสามัญศึกษากลับไปเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นที่อำเภอขนอม ซึ่งเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอสิชลและในที่สุดก็ต้องยกอาคารชั่วคราว 3 ห้องเรียนนั้นให้กับโรงเรียนวัดปัณณาราม

ยุคแรกสถาปนา (พ.ศ. 2517)[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2517 ด้วยความพยายามของคณะผู้ดำเนินการ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งในขณะนั้นมีนายอภัย จันทวิมล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อวันที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา โดยมีที่มาจากชื่อของอำเภอสิชล และชื่อของพระครูชลคุณาธาร อดีตเจ้าคณะอำเภอสิชล เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งขณะนั้นมีนายเริง นากลอน ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช นายดุสิต ทิพยมณฑา เป็นนายอำเภอสิชลและนายสำรวย เพชรมณี เป็นศึกษาธิการอำเภอสิชล โดยกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ ตำแหน่งครูโท โรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โทโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาและได้เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนและได้เปิดทำการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ซึ่งในปีแรกของการเปิดโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาจำนวน 2 ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวน 91 คน

ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2517 - ปัจจุบัน)[แก้]

ในปีการศึกษา 2537 นายวิญญู ใจอารีย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาในขณะนั้น ได้จัดการแสดงของคณะกายกรรมซินเกียง ในวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ สัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นประธานในพิธี เพื่อระดมทุนช่วยเหลือการศึกษาในการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โดยนายมาโนชญ์ วิชัยกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมอบเงินสนับสนุนในนามพรรคประชาธิปัตย์เป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท มีผู้มาชมการแสดงประมาณ 1,400 คนทำให้โรงเรียนมีศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ในปีการศึกษา 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งถึงโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา ในวันที่ 7 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 เวลา 12:00 น. โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้ารอรับเสด็จทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์และเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ อาคารเรียน 2 และทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ หลังจากนั้นเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจเปิดอาคารโบราณสถานเขาคา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชและเสด็จกลับถึงโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาเพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเวลา 15:00 น.

18 กันยายน 2541 ได้ประกาศจัดตั้งสหวิทยาเขตสิชล ประกอบด้วยโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในอำเภอสิชลและอำเภอขนอม จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา  โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ โรงเรียนเทพราชพิทยาสรรค์ โรงเรียนขนอมพิทยา โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล มีผู้อำนวยการโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา เป็นประธานสหวิทยาเขตสิชล

6 มิถุนายน 2546 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนในฝันหรือโรงเรียนสมบูรณ์แบบ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2546

7 มิถุนายน 2546 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา สังกัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสมบูรณ์  สว่างวรชาติ เป็นผู้อำนวยการเขต

18 กันยายน 2553 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา สังกัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายจำเริญ รัตนบุรี ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12

อาณาเขต[แก้]

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยามีอาณาเขตจำนวน 105 ไร่

  • ทิศเหนือจรดวิทยาลัยเทคนิคสิชล
  • ทิศใต้จรดโรงเรียนชุมชนวัดปัณณาราม
  • ทิศตะวันออกจรดพรุน้ำแดง
  • ทิศตะวันตกจรดถนนสายเอเชีย 401 (นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี)

สัญลักษณ์ของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา[แก้]

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาเป็นลักษณะที่แสดงถึงปัญญาและความบริสุทธิ์ โดยสัญลักษณ์คบเพลิงอยู่ในวงล้อมของจักร ได้แก่

  • คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา
  • จักร หมายถึง สัญลักษณ์ของพระนารายณ์ที่แสดงถึงความเฉียบคมของปัญญา
  • ใช้สัญลักษณ์สีขาว - เขียว ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ดั่งสีขาวและความสุขประดุจสีเขียว
  • จักรสลักด้วยพุทธสุภาษิต "สุวิชาโน ภวํโหติ" หมายว่า ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

คำขวัญประจำโรงเรียน[แก้]

วิชาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม กิจกรรมดี มีวินัย

ต้นไม้ประจำโรงเรียน[แก้]

ต้นกันเกรา หรือต้นตำเสา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น

กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา มูซูเป็นภาษาถิ่นทางภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด โดยศิษย์ของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาจะถูกเรียกว่า "ลูกตำเสา" หรือ "ช่อตำเสา"

มาร์ชโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา[แก้]

มาร์ชสิชลคุณาธารวิทยา http://www.stv.ac.th/datashow_11455

พวกเราชาวส.ธ.ว. ไม่ย่อท้อจะขอมุ่งมั่น    

รักสามัคคีกัน เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคนานา

อดทนและพร้อมพลีกาย  มั่นหมายเพื่อความก้าวหน้า

ปฏิบัติคุณธรรมเรื่อยมา  เพื่อพัฒนาสถาบันของเรา  

ขาว - เขียว สวยดั่งสวรรค์ เด่นเฉิดฉันสวยงามหนักหนา  

ขอจงช่วยกันพัฒนา  เพื่อสถาบันของเราส.ธ.ว.

คำร้อง/ทำนอง : ไม่ทราบ

ศิลปิน : เหมียว คุณาธาร ศิษย์เก่าโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

การนับรุ่นศิษย์เก่าของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา[แก้]

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาไม่ได้มีระบบการนับรุ่นที่ตายตัว โดยจากการวิเคราะห์สามารถคาดคะเนรุ่นได้ดังนี้

รุ่น ม.ศ.
รุ่นที่ รุ่น ม.ศ. ปีที่เข้าศึกษา ปีที่จบการศึกษา ปีที่เกิด หมายเหตุ
ม.ศ. 1 ม.ศ. 4 ม.ศ. 3 ม.ศ. 5
1 1 พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2503
2 2 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2504
3 3 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2505
4 4 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2522 พ.ศ.2524 พ.ศ. 2506
5 5 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2507 พร้อมกับระดับมัธยมศึกษารุ่นแรก
รุ่นมัธยมศึกษา
รุ่นที่ รุ่นมัธยมที่ ปีที่เข้าศึกษา ปีที่จบการศึกษา ปีที่เกิด หมายเหตุ
ม. 1 ม. 4 ม. 3 ม. 6 พร้อมกับระดับ ม.ศ. รุ่นสุดท้า่ย
6 1 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2508
7 2 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2509
8 3 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2510
9 4 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2511
10 5 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2512
11 6 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2513
12 7 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2514
13 8 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2515
14 9 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2516
15 10 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2517
16 11 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2518
17 12 พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2519
18 13 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2520
19 14 พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2521
20 15 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2522
21 16 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2523
22 17 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2524
23 18 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2525
24 19 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2526
25 20 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2527
26 21 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2528
27 22 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2529
28 23 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2530
29 24 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2531
30 25 พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2532
31 26 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2533
32 27 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2534
33 28 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2535
34 29 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2536
35 30 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2537
36 31 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2538
37 32 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2539
38 33 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2540
39 34 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2541
40 35 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2542
41 36 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2543
42 37 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2544
43 38 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2545
44 39 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2546
45 40 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2547
46 41 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2548
47 42 พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2549
48 43 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2550
49 44 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2569 พ.ศ. 2551
50 45 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2570 พ.ศ. 2552
51 46 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2569 พ.ศ. 2568 พ.ศ. 2571 พ.ศ. 2553
52 47 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2570 พ.ศ. 2569 พ.ศ. 2572 พ.ศ. 2554

องค์กรภายในโรงเรียน[แก้]

  • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
  • สมาคมศิษย์เก่าสิชลคุณาธารวิทยา นครศรีธรรมราช
  • สมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
  • เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศมีผู้บริหาร 10 ท่าน

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ดำรงตำแหน่ง
1 นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2530 13 ปี
2 นายเติมศักดิ์ ฉิมเรือง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2535 4 ปี
3 นายถวิล รัตนโชติ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2536 1 ปี
4 นายวิญญู ใจอารีย์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2541 5 ปี
5 นายจรูญ แสนภักดี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2547 6 ปี
6 นางนิยดา ชุมวรฐายี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2554 7 ปี
7 นายดำเนิน มาทอง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558 4 ปี
8 นายสุนทร เพชรดี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 5 ปี
9 นายประพฤติ วงศ์ชนะ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 2 ปี
10 ดร. สันติกร รักสองหมื่น ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่ง

กิจกรรม[แก้]

กีฬาสี[แก้]

โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้จัดการแข่งขันกีฬาสีขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในโรงเรียน โดยคณะสีแต่ละสีจะมีการจับฉลากสีใหม่ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ในทุกๆ ปีการศึกษาและจะอยู่ในคณะสีนั้นจนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยมีคณะผู้จัดการสีเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และคณะครูที่จับฉลากได้สีนั้นๆ เป็นผู้สนับสนุนและจัดการ โดยโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้แบ่งสีเป็น 5 สี อันได้แก่ สีเขียว, สีฟ้า, สีม่วง, สีแดงและสีน้ำเงิน โดยใช้สนามกีฬาโรงเรียนชุมชนวัดปัณณารามเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

กีฬาอำเภอ[แก้]

อำเภอสิชลได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาอำเภอสิชลหรือสิชลเกมส์ขึ้นในทุกๆ ปี โดยเป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มตำบลภายในอำเภอสิชลโดยใช้สถานที่จัดการแข่งขันบริเวณสนามกีฬาโรงเรียนชุมชนวัดปัณณารามเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

กิจกรรมอื่นๆ[แก้]

  1. การแข่งขันฟุตบอลโกลหนู
  2. การแข่งขันฟุตบอลประจำปี
  3. การแข่งขันบาสเกตบอลประจำปี
  4. การแข่งขันกีฬา ESport
  5. การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
  6. กิจกรรมปฐมนิเทศ
  7. กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ
  8. กิจกรรมวันเกษียณอายุราชการ
  9. กิจกรรมวัดคริสต์มาส
  10. กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่
  11. กิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน
  12. กิจกรรมวันสำคัญอื่นๆ

อาคารและสถานที่[แก้]

ผังโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาแสดงอาคารสถานที่ภายในโรงเรียน
  • สนามฟุตบอล
  • สนามบาสเกตบอล
  • ลานเสาธง
  • อาคารอำนวยการ
  • หอพระ
  • ป้อมยาม
  • สวนวรรณคดี
  • ประชาสัมพันธ์
  • อาคาร 4
  • อาคาร 1
  • เรือนพยาบาล
  • อาคาร 2
  • โรงน้ำดื่ม 1
  • อาคารโดมหน้าอาคาร 2
  • หอประชุม
  • อาคารโดมข้างหอประชุม
  • ห้องสุขา
  • อาคาร 3
  • อาคารชั่วคราว 3
  • อาคารฝึกงาน 3
  • อาคารฝึกงาน 2
  • ห้องสุขา
  • ห้องดนตรี
  • ห้องศิลปะ
  • ห้องสุขา 2 หลัง
  • หอเกียรติยศ
  • โรงรถ
  • งานอาคารสถานที่
  • สมาคมศิษย์เก่า
  • ธนาคารโรงเรียน
  • โรงอาหารเดิมและที่ทำการโครงการ To be Number one โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
  • โรงบ่ม (โรงศิลปะ)
  • โรงน้ำดื่ม 2
  • อาคารสนสร้อย
  • ศาลพระภูมิ

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนวนครูบุคลากร ปีการศึกษา 2566. [1]. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2566
  2. ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2566. [2]. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2566
  3. "ประวัติโรงเรียน". www.stv.ac.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]