สุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะ

พิกัด: 13°43′28″N 100°31′41″E / 13.724375632507641°N 100.52801177329899°E / 13.724375632507641; 100.52801177329899
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะ
客屬義山
สุสานจีนแคะในปี พ.ศ. 2564
แผนที่
ชื่ออื่นสุสานจีนแคะ, สุสานจีนแคะ สีลม
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทสุสาน
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมจีน สถาปัตยกรรมไทย
ที่ตั้งเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิธีเปิดพ.ศ. 2438
เจ้าของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่7,504 ตร.ม. (4.69 ไร่)[2]
เปิดทุกวัน เวลา 05.00 - 23.00 น.

สุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ สุสานจีนแคะสีลม (ตัวเต็ม: 客屬義山 อ่านในภาษาฮากกาว่า "ฮากสู่อี้ซาน") เป็นสุสานสาธารณะของชาวจีนแคะ หรือ ฮากกา และถือเป็น 1 ใน 3 สุสานสาธารณะจีนในกลุ่มย่านแยกเดโช ถนนสีลมที่ยังหลงเหลืออยู่ ประกอบด้วยสุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะ สุสานฮกเกี้ยน และสุสานจีนบาบ๋า ตั้งอยู่บนถนนซอยสีลม 9 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 4.69 ไร่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438[3] ปัจจุบันสุสานแห่งนี้อยู่ในการดูแลรักษาของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

เดิมที่ตั้งสุสานแห่งนี้อยู่นอกเขตศูนย์กลางชุมชนของแรงงานชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร โดยย่านที่ประกอบด้วยแหล่งโกดังและขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือบริเวณเขตบางรักในปัจจุบัน ทางตอนใต้ของเขตพระนครตลอดช่วงแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเหตุนี้ชาวจีนส่วนใหญ่จึงมาตั้งถิ่นอยู่อาศัยทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจำนวนมากโดยเฉพาะตลอดเส้นถนนเจริญกรุง[4] ในอดีตบริเวณสามแยกเดโชที่มีถนนเดโชตัดเชื่อมกับถนนสีลมประกอบด้วยสุสานถึง 13 แห่งทั้งสุสานเอกชนและสุสานสาธารณะ[3] ประกอบด้วยสุสานคริสต์นิกายคาทอลิก คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ สุสานแขก และสุสานจีนในหลายกลุ่มเชื้อสาย แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 6 แห่ง จึงถือเป็นกลุ่มย่านสุสานที่มีความหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันสุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะได้รับการดูแลรักษาค่อนข้างดี เมื่อเทียบสุสานฮกเกี้ยนซึ่งตั้งติดต่อกัน โดยพบว่าทางเจ้าของพื้นที่ได้มีการปรับพื้นที่ส่วนกลางบริเวณทางเข้าให้เป็นที่จอดรถยนต์ เช่นเดียวกับสุสานฮกเกี้ยน[3] และเปิดให้รถยนต์เข้ามาจอดได้ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น.

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย". สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
  2. จิตติวสุรัตน์กหก, พรชัย. "แนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของชุมชนเมืองในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร". คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 อรุโณประโยชน์, ศุภณัฐ (2021). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร. ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 125. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
  4. นิตยสารผู้จัดการ. (2533). ฮวงจุ้ยของสุสานจีนที่ถนนสีลม. เก็บถาวร 2021-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′28″N 100°31′41″E / 13.724375632507641°N 100.52801177329899°E / 13.724375632507641; 100.52801177329899