วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Silpakorn University International College
สถาปนาพ.ศ. 2546
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพิศ ขัตติยพิกุล
ที่อยู่
วารสารSUIC วารสารวิชาการนานาชาติ
สี██ สีแดงชาด[1]
มาสคอต
พระคเณศ
เว็บไซต์www.suic.su.ac.th

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University International College; อักษรย่อ: SUIC) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตระหนักถึงอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสังคมในยุคปัจจุบัน จึงได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยนานาชาติ" ขึ้นใน พ.ศ. 2546 เพื่อนำเสนอหลักสูตรที่มีคุณภาพและที่ดำเนินการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในช่วงระยะแรกของการดำเนินการวิทยาลัยนานาชาติเปิดดำเนินการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ในปีการศึกษา 2546 ต่อมาได้ขยายพื้นที่การศึกษามายังสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ในปีการศึกษา 2548 และได้เช่าพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงกับสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน และในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยนานาชาติได้เช่าพื้นที่ ณ อาคาร กสท.โทรคมนาคม (บางรัก) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลักสูตรของทุกหลักสูตร เนื่องจากอยู่ในที่ตั้งของพื้นที่ธุรกิจ เอื้อให้นักศึกษามีโอกาสศึกษาดูงาน หรือฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับนักศึกษา เช่น แหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ (TCDC: Thailand Creative & Design Center)[2]

วิทยาลัยนานาชาติ ได้เปิดหลักสูตรการจัดการโรงแรม ระดับปริญญาตรี (ปริญญาร่วม 2 สถาบัน) โดยร่วมมือกับสถาบันวาแตล ประเทศฝรั่งเศส โดยในปีแรก มีนักเรียนทั้งหมด 30 คน ต่อมาใน พ.ศ. 2547 ได้เปิดหลักสูตรเพิ่ม 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรปริญญาตรีสาขาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล (ปริญญาร่วม 2 สถาบัน) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมซิตี้ ประเทศอังกฤษ และหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (เป็นหลักสูตรปริญญาโทร่วม 2 สถาบัน โดยร่วมกับสถาบันวาแตล ประเทศฝรั่งเศส) ปริญญาโทการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ โดยร่วมมือจัด Work Study Tour กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

ในวงการการโรงแรม องค์กรและบริษัทต่าง ๆ ยอมรับถึงคุณภาพ และความสามารถของนักเรียนจากวิทยาลัยนานาชาติ และในขณะเดียวกันก็ชื่นชมกับหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์หลักของวิทยาลัยนานาชาติคือการนำเสนอ และสอนหลักสูตรมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนิ่อง และขยายเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ อีกเป้าหมายหนึ่งของวิทยาลัยฯ คือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับโรงเรียน หน่วยงานราชการและเอกชน โดยการนำเสนอหลักสูตรการอบรมต่าง ๆ

หน่วยงาน[แก้]

  • สำนักงานวิทยาลัย
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
  • สาขาวิชาภาษา

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการตราสินค้าหรูหรา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการตลาดการจัดงานและกิจกรรมสันทนาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)

  • สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ รักษาการคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[3]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพิศ ขัตติยพิกุล 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[4]
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[5]
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน[6]
3
รองศาสตราจารย์ ดร. เกษร จันทร์ศิริ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[7]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. ข้อมูลวิทยาลัยนานาชาติ
  3. คำสั่ง มศก.ที่ 226/2546 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546
  4. คำสั่ง มศก.ที่ 939/2547 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
  5. คำสั่ง มศก.ที่ 953/2551 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2551
  6. คำสั่ง มศก.ที่ 658/2559 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2559
  7. คำสั่ง มศก.ที่ 976/2555 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2555

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]