สำนักข่าวกรองกลาง
Central Intelligence Agency | |
ตราของหน่วยงาน | |
ธงของหน่วยงาน | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 18 กันยายน ค.ศ. 1947 |
หน่วยงานก่อนหน้า | |
สำนักงานใหญ่ | ศูนย์ข่าวกรองจอร์จ บุช รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา |
คำขวัญ | "งานของชาติ ศูนย์ของข่าวกรอง" ไม่เป็นทางการ: "แล้วท่านทั้งหลายจะได้รู้ความจริง และความจริงจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท" (John 8:32)[2] |
บุคลากร | 21,575 (ประมาณการ)[3] |
งบประมาณต่อปี | 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2013) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | www.CIA.gov |
สำนักข่าวกรองกลาง (อังกฤษ: Central Intelligence Agency) หรือ ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานข่าวกรองฝ่ายพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐ หน้าที่อย่างเป็นทางการ คือ การรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงแห่งชาติจากทั่วโลก โดยใช้วิธีสืบข่าวกรองด้วยมนุษย์เป็นหลัก หน่วยงานนี้ ในฐานะที่เป็นสมาชิกหลักของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ จึงขึ้นกับผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ และเน้นให้ข่าวกรองแก่ประธานาธิบดีสหรัฐและคณะรัฐมนตรีสหรัฐ
หน่วยงานนี้ต่างจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ตรงที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานความมั่นคงภายในประเทศ แต่หน่วยงานนี้ไม่มีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมาย และมุ่งเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างแดน โดยมีการประมวลข่าวกรองในประเทศอย่างจำกัด[5] หน่วยงานนี้คอยบริหารจัดการความร่วมมือด้านการสืบข่าวกรองด้วยมนุษย์ทั่วประชาคมข่าวกรองสหรัฐ และเป็นหน่วยงานเดียวที่กฎหมายอนุญาตให้ดำเนินและควบคุมปฏิบัติการลับตามบัญชาของประธานาธิบดีสหรัฐ[5][6][7][8] หน่วยงานนี้มีอิทธิพลทางการเมืองต่างประเทศโดยอาศัยหน่วยงานทางยุทธวิธีของตน โดยเฉพาะศูนย์กิจกรรมพิเศษ[9] หน่วยงานนี้ยังมีบทบาทในการก่อตั้งองค์การด้านข่าวกรองในประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐ เช่น องค์การข่าวกรองกลางของเยอรมนี อนึ่ง หน่วยงานนี้ยังสนับสนุนคณะบุคคลทางการเมืองและรัฐบาลต่างประเทศหลายรายในหลายด้าน เป็นต้นว่า ในการวางแผน การประสานงาน การฝึกหัดใช้การทรมาน และการสนับสนุนทางวิชาการ ทั้งยังมีส่วนในการเปลี่ยนระบอบปกครอง การโจมตีแบบก่อการร้าย และการวางแผนลอบสังหารผู้นำต่างประเทศ หลายครั้งหลายครา[10][3]
นับแต่ ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา หน่วยงานนี้ได้รับการจัดระเบียบให้สังกัดผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้มีการถ่ายโอนอำนาจบางประการไปให้แก่ผู้อำนวยการฯ แต่หน่วยงานนี้ก็ยังทวีขึ้นในด้านขนาด ทั้งนี้ เป็นผลมาจากเหตุการณ์ 11 กันยายน อนึ่ง ใน ค.ศ. 2013 เดอะวอชิงตันโพสต์ รายงานว่า ในบรรดาหน่วยงานข่าวกรองทั้งหลาย หน่วยงานนี้ได้งบสำหรับปีการเงิน 2010 มากที่สุด ซึ่งมากยิ่งกว่างบประมาณที่แล้ว ๆ มา[3][11]
หน่วยงานนี้ขยายบทบาทของตนออกไปมาก ซึ่งรวมถึงด้านปฏิบัติลับแบบกึ่งทหาร[3] และศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (ไอโอซี) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานใต้สังกัดของหน่วยงานนี้ ก็ได้เบนความมุ่งหมายจากการต่อต้านการก่อการร้ายไปยังปฏิบัติการไซเบอร์[12]
หน่วยงานนี้ตกเป็นประเด็นความขัดแย้งหลายประการ ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน การดักรับข้อมูลในประเทศที่เรียกว่า โครงการมอกกิงเบิร์ด การโฆษณาชวนเชื่อ และการค้าสิ่งเสพติด หน่วยงานนี้ยังปรากฏในบันเทิงคดีหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า หนังสือ ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "History of the CIA, CIA official Web site". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
- ↑ "CIA Observes 50th Anniversary of Original Headquarters Building Cornerstone Laying – Central Intelligence Agency". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwp20130829
- ↑ "Cloak Over the CIA Budget". November 29, 1999. สืบค้นเมื่อ July 4, 2008.
- ↑ 5.0 5.1 Aftergood, Steven (October 6, 2011). "Secrecy News: Reducing Overclassification Through Accountability". Federation of American Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ February 3, 2012.
- ↑ Woodward, Bob (November 18, 2001). "Secret CIA Units Playing Central Combat Role". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 26, 2012.
- ↑ "World Leaders – Paraguay". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2010. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
- ↑ Eimer, Charlotte (September 28, 2005). "Spotlight on US troops in Paraguay". BBC News. สืบค้นเมื่อ April 18, 2011.
- ↑ Phillips, Tom (October 23, 2006). "Paraguay in a spin about Bush's alleged 100,000 acre hideaway". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ April 18, 2011.
- ↑ Greg Grandin (2011). The Last Colonial Massacre: Latin America in the Cold War. University of Chicago Press. p. 75. ISBN 9780226306902.
- ↑ Commission on the Roles and Capabilities of the United States Intelligence Community (March 1, 1996). "Preparing for the 21st Century: An Appraisal of U.S. Intelligence. Chapter 13 – The Cost of Intelligence".
- ↑ Gellman, Barton; Nakashima, Ellen (September 3, 2013). "U.S. spy agencies mounted 231 offensive cyber-operations in 2011, documents show". The Washington Post.