กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองอำนวยการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร
ตราสัญลักษณ์ กอ.รมน.
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง17 ธันวาคม พ.ศ. 2508; 58 ปีก่อน (2508-12-17)[1]
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.)
  • กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.)
ประเภทหน่วยงานของรัฐ
เขตอำนาจทั่วประเทศไทย
สำนักงานใหญ่สวนรื่นฤดี ถนนนครราชสีมา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
คำขวัญ"อสาธุ สาธุนา ชิเน" (บาลี)
("พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี")[2]
งบประมาณประจำปี10,200.9716 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[3]
รัฐมนตรี
ต้นสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เอกสารหลัก
เว็บไซต์www.isoc.go.th//

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ย่อเป็น กอ.รมน. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานกลาง เพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่มุ่งทำลายผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ หน่วยงานดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายการเมืองของกองทัพไทย[4]

คำขวัญของหน่วยงานคือ "อสาธุ สาธุนา ชิเน" (พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี)[5] มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) โดยตำแหน่ง[6] หน่วยงานมีเจ้าพนักงาน 5,000–6,000 คนทั่วประเทศ และมีอาสาสมัครความมั่นคงภายใน 500,000–600,000 คน และมีบุคคลอยู่ในเครือข่ายข้อมูลหลักหมื่นคน[7]

เดิมรับผิดชอบต่อการปราบปรามกลุ่มฝ่ายซ้ายตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 นอกจากนี้ยังมีการดำเนินโครงการกิจการพลเรือนหลายอย่าง รวมทั้งการพัฒนาชนบทและปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อแทรกซึมแวดวงสังคมและการเมืองของประเทศซึ่งยังดำเนินต่อมาแม้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์หมดไปแล้ว[1]: g  อำนาจของ กอ.รมน. ยิ่งได้รับการส่งเสริมหลังรัฐประหารปี 2549 และปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำทิศทางการเมืองของประเทศ นับเป็นเครื่องมือที่อภิชนอนุรักษนิยมสามารถบั่นทอนและควบคุมประชาธิปไตยและเป็นวิธีที่กองทัพใช้รักษาอำนาจ[1] โดยในเดือนมิถุนายน 2550 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติร่างกฎหมายความมั่งคงแห่งชาติซึ่งให้ กอ.รมน. มีอำนาจกว้างขวางในการรับมือภัยคุกคามต่อประเทศ โดยให้หัวหน้า กอ.รมน. สามารถดำเนินมาตรการความมั่นคงอย่างค้นโดยไม่ต้องขออนุญาตนายกรัฐมนตรี[8] หลังรัฐประหารปี 2557 มีการขยายอำนาจของ กอ.รมน. ให้สามารถตีความภัยคุกคามได้เอง และเพิ่มงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

พวงทอง ภวัครพันธุ์เขียนว่า "การต่อต้านประชาธิปไตย" เป็นภารกิจของ กอ.รมน. และ "การขาดความสนใจในบทบาทกว้างขวางของกองทัพในแวดวงสังคมและการเมืองสะท้อนออกมา ... แม้มีการเรียกร้องให้กองทัพกลับเข้ากรมกอง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและให้พลเรือนควบคุมกองทัพ ... แต่ไม่มีผู้ใดเสนอให้ลบระบบการเมืองและอุดมการณ์ของกองทัพ"[4]

ประวัติ[แก้]

การปราบปรามคอมมิวนิสต์[แก้]

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2508 มีการก่อตั้ง กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.) ด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐเพื่อประสานงานปฏิบัติการต่อต้านคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ[9][10]

ผู้นำนักศึกษา ธีรยุทธ บุญมี แสดงหลักฐานว่าการทำลายบ้านนาทราย ในอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายนั้นเป็นผลงานของ บก.ปค.[11]

หน่วยงานดังกล่าวมีแนวคิดว่าการใช้การปราบปรามการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ด้วยอาวุธอย่างเดียวไม่พอ และมีทัศนะว่าสาเหตุรากเหง้าเกิดจากความไม่เสมอภาคทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง สหรัฐช่วยพัฒนายุทธศาสตร์การรุกทางการเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชนบท การจัดตั้งมวลชนและปฏิบัติการจิตวิทยา เงินช่วยเหลือของสหรัฐสมประโยชน์ของผู้นำกองทัพและใช้เสริมกำลังให้แก่ระบอบทหารในประเทศ สหรัฐยังช่วยยกสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยเพื่อใช้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ รัฐบาลทหารเร่งปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อทำให้พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดของไทย[4]

กอ.รมน.พันจ่าอากาศโทวิศิษฎ์ ทองโม้ จังหวัดเลย[แก้]

ผู้ว่าราชกาลจังหวัดเลย

พันจ่าอากาศเอก ชัยพจน์ จรูญพวศ์

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ได้แปรสภาพเป็น กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) จากนั้น พ.ศ. 2516 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยยังคงมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ฯ[12] ซึ่งถึงแม้ว่าหน่วยงานอยู่ใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในนาม แต่อำนาจสั่งการแท้จริงอยู่ที่กองทัพ[4]

ต่อมาภายหลัง พ.ศ. 2525[13] ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลง และมีการปรับปรุงโครงสร้าง ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้ปรับบทบาทของ กอ.รมน. ให้ปฏิบัติภารกิจทางด้านป้องกันปราบปรามยาเสพติด การจัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ปัญหาความข้องแย้งโดยสันติวิธี (หน่วยสันตินิมิต) การปฏิบัติงานด้านการข่าว และการปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.)[14]

เมื่อ พ.ศ. 2544 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรปรับลดบทบาทของ กอ.รมน. ลง โดยเฉพาะด้านการแก้ไขความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และเพิ่มบทบาทด้านการประสานงาน มีการปรับโครงสร้าง กอ.รมน. จากเดิมมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็น รอง ผอ.รมน. โดยตำแหน่ง และปรับเพิ่มตำแหน่ง ดังนี้

หลังรัฐประหารปี 2557[แก้]

ปัจจุบันมโนทัศน์ภัยคุกคามของ กอ.รมน. ได้ขยายรวมไปถึงเรื่องชนกลุ่มน้อยและผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย การลักลอบค้ายาเสพติด อาชญากรรมไซเบอร์ การก่อการร้าย การทำลายป่าและความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ผู้มีอิทธิพลและแก๊งมาเฟีย และภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังคงมีบทบาทในการ "พัฒนาชาติ" ซึ่งรวมถึงกิจการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างกว้างขวาง[4]

รัฐบาลประยุทธ์แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ โดยยก กอ.รมน. ให้เป็นแม่ข่ายในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งยังทำให้ กอ.รมน. เป็นผู้ควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งหมด โดยสำนักงบประมาณมีหน้าที่ต้องจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานดังกล่าวด้วย และให้หน่วยงานของรัฐจัดสรรคนมายังหน่วยงานตามที่มีการร้องขอ[15] กฎหมายใหม่ยังตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงและผู้บังคับบัญชาหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ทำหน้าที่คู่ขนานไปกับสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่มีอยู่แล้ว[15] ภารกิจของ กอ.รมน. ถูกวิจารณ์ว่า สามารถกำหนดเองได้ว่าสถานการณ์ใดเป็นภัยคุกคาม และในอนาคตอาจเป็น "รัฐบาลน้อย" เพราะมีอำนาจรอบด้านไม่ต่างจากรัฐบาลที่ควบคุมประเทศอยู่[15]

เดือนพฤศจิกายน 2561 มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ตั้งคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในภาค และคณะกรรมการบริหารความมั่นคงภายในจังหวัด โดยให้ทหารดำรงตำแหน่งประธาน และมีตำรวจและข้าราชการพลเรือนเป็นรองประธาน ทำให้เกิดข้อวิจารณ์ว่ากองทัพอาจใช้เพื่อออกคำสั่งด้วยเหตุผลทางการเมือง[7]

เดือนมิถุนายน 2562 โฆษก กอ.รมน. ออกมาแถลงว่า กอ.รมน. รับโอนหน้าที่ของ คสช. หลังหมดอำนาจ[16] ในเดือนเมษายน​ ปี​ ​2563​ มีการจัดตั้ง​ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง​ ขึ้น

ฐาน[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการโดยตำแหน่ง
  2. ผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการโดยตำแหน่ง
  3. เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการโดยตำแหน่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Pawakapan, Puangthong R. (November 2017). "The Central Role of Thailand's Internal Security Operations Command in the Post-Counterinsurgency Period" (PDF). Trends in Southeast Asia. Singapore: Yusof Ishak Institute (17). ISBN 978-981-4786-81-2. ISSN 0219-3213. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๒๖๘) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 [Announcement of the Office of the Prime Minister on Determination of Official Symbol under the Official Symbols Act, Buddhist Era 2482 (1939), (No. 268) dated 9 July 2012] (PDF). Government Gazette. Cabinet Secretariat. 129 (Special 130 D): 19. 2012-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Thailand's Deep State—The Military". Asia Sentinel. 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๒๖๘) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 129 (พิเศษ 130 ง): 19. 2012-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2013-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
  6. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.)[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 Raksaseri, Kornchanok (8 January 2018). "Isoc power boost 'not political'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  8. "Cabinet approves security bill". Bangkok Post. 2007-06-20. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  9. Lee, Terence C (28 February 2005). "The Causes of Military Insubordination: Explaining Military Organizational Behavior in Thailand" (PDF). Presented at the 46th Annual Meeting of the International Studies Association Honolulu, Hawaii, March 2005. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  10. Murray, Charles (November 1984). "The Domino That Didn't Fall; Why in a Country Riven by Coups Did an Apparently Robust and Growing Insurgency Collapse?". Atlantic Monthly. Contemporary Thinkers: 34. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  11. Anderson, Benedict, "Murder and Progress in Modern Siam"[ลิงก์เสีย]แม่แบบ:DL
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-21.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-08-25.
  14. การปฏิบัติงานด้านการข่าว และการปฏิบัติการจิตวิทยา[ลิงก์เสีย]
  15. 15.0 15.1 15.2 ซุปเปอร์กอ.รมน.กับบทบาททหารในอนาคต :โดย สุรชาติ บำรุงสุข
  16. กอ.รมน. รับไม้ต่อหลัง คสช.หมดอำนาจ งัด พ.ร.บ.ความมั่นคง ดูแลแก้ปัญหา
  17. "Outgoing and new Army chiefs visit Pattani". The Nation. 11 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]