ชัชนาถ เทพธรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชัชนาถ เทพธรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย อดีตผู้เชี่ยวชาญสาขาเคมีอินทรีย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สมรสกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายศรวัส และนายอิทธิ เทพธรานนท์

ประวัติ[แก้]

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2493-2499 - โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ประถมศึกษาปีที่ 4)
  • พ.ศ. 2499-2502 - โรงเรียนโลเรตโต้คอนแวนต์ ดาร์จีลิ่ง ประเทศอินเดีย (เกรด 6)
  • พ.ศ. 2503-2507 - โรงเรียนเซนต์แบรนดอน ประเทศอังกฤษ (GCE O Level และ GCE A Level)
  • พ.ศ. 2508-2510 - วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ. 2511-2515 - ดุษฎีบัณฑิต (เคมีอินทรีย์) มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ (ได้รับทุนแผนโคลัมโบ)
  • พ.ศ. 2518-2519 - Post-doctoral Training มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา (ได้รับทุนปิโตรเลียมรีเสิซ)

ประวัติการทำงาน[แก้]

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรอื่น ๆ[แก้]

งานอุทยานวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - President, The International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2547-2549 - Vice President, The International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2546-2549 - President, Asia Pacific Division of the International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2543-2545 - Consulting Director ของ the International Board of the International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - คณะกรรมการอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบบ่มเพาะวิสาหกิจ (incubator) ในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะทำงานศึกษาแนวทางการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม Science and Technology Industrial Park สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
งานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - คณะอนุกรมการพัฒนาอุตสาหกรรมนวัตกรรม (ในคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2543-2545 - Scientific Committee of The International Center for Science and High Technology (ICS) ของ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO)
  • พ.ศ. 2542-2544 - คณะกรรมการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2541-2543 - คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2538-2540 - คณะกรรมการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หอการค้าไทย
งานสนับสนุนภาคเอกชนด้านการเงินและสิทธิประโยชน์
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน - คณะกรรมการพิจารณารายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน กรมสรรพากร
  • พ.ศ. 2540-2544 - คณะกรรมการกองทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานมหาวิทยาลัย

ผลงานดีเด่นที่สำคัญ[แก้]

ผลงานด้านการวิจัย[แก้]

ศ.เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยตัวยาจากสมุนไพรไทย การวิจัยวิธีการสังเคราะห์ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์สารที่เป็นตัวยาและสารที่มีประโยชน์อื่นๆ การวิจัยปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาและเพื่อพัฒนาปฏิกิริยาไปใช้ประโยชน์ในเชิงสังเคราะห์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2538 จำนวน 40 เรื่อง แต่งหนังสือตำราเคมี 4 เล่ม เป็นตำราภาษาไทย 2 เล่ม และตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ผลงานเด่นที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงเคมี คือ หนังสือของสำนักพิมพ์ CRC Press ชื่อ Cyclization Reactions พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1994 ความยาว 370 หน้า [1] ซึ่งได้ลางาน (Sabbatical) เป็นเวลา 1 ปี เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ ร่วมกับ ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ เป็นหนังสือที่ได้รับ review ที่ดีมาก นับเป็นเกียรติประวัติของนักวิจัยไทยที่ได้รับเชิญให้เขียนหนังสือในระดับ “New Directions” Series ของวงการหนังสือวิชาการแนวหน้าของโลก

ผลงานด้านการบุกเบิกอุทยานวิทยาศาสตร์[แก้]

ก่อตั้งและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นำไปสู่การได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Association of Science Parks, IASP) ในการประชุมประจำปี ณ เมือง Helsinki เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งสมาคมประกอบด้วยสมาชิกกว่า 330 ราย จาก 67 ประเทศ นับเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ในเอเชียแห่งแรกที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคม และเป็นประธานสตรีคนแรกของสมาคมด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจของภูมิภาค ประเทศไทย และสตรีไทย

ผลงานด้านการบุกเบิก SME ในอุตสาหกรรมไทย[แก้]

ก่อตั้งและพัฒนาโครงการ ITAP (Industrial Technology Assistance Program) ตาม model ของประเทศแคนาดา โดยมุ่งพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถแข่งขันได้ และส่งเสริมให้ก้าวขึ้นสู่การทำวิจัยและพัฒนา ในช่วงเริ่มต้นดำเนินโครงการ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว การนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปแก้ปัญหาเทคโนโลยีให้โรงงานต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศกว่า 80% แต่ปัจจุบันใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวไทย ซึ่งส่วนมากเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ผลงานได้ให้ความช่วยเหลือไปกว่า 1,000 บริษัท ได้รับผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรม

ศ.เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ มีปณิธานที่ยึดถือในการทำงานและการดำรงชีวิต 4 ประการ คือ

  1. Excellence (ทำอะไร ทำให้ดีที่สุด)
  2. จิตว่าง
  3. Enjoy งาน, enjoy life
  4. รักษาความสะอาด (มือสะอาด, ใจสะอาด)

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cyclization Reactions (New Directions in Organic and Biological Chemistry series), C. Thebtaranonth, Y. Thebtaranonth, CRC Press, 1994.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๙, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]