ศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน (2012)
ศาสนา ร้อยละ
อิสลามนิกายซุนนี
  
90%
อิสลามนิกายชีอะฮ์
  
9.7%
อื่น ๆ
  
0.3%

ศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน (2012)

  ศาสนาอื่น ๆ (0.3%)

ศาสนาในประเทศอัฟกานิสถานจาก Pew

  อิสลามนิกายซุนนี (90%)
  อิสลามนิกายชีอะฮ์ (9.7%)
  ศาสนาอื่น ๆ (0.3%)

ประเทศอัฟกานิสถาน เป็นสาธารณรัฐอิสลามที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยประชากร 90% นับถือนิกายซุนนี[1] รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก มีประชากรมุสลิมนิกายซุนนีอยู่ระหว่าง 84.7 - 89.7% และชีอะฮ์อยู่ระหว่าง 10 - 15% ส่วนศาสนากลุ่มน้อยอยู่ที่ 0.3%

ประวัติ[แก้]

บางคนเชื่อว่าศาสนาโซโรอัสเตอร์เริ่มมาที่ประเทศอัฟกานิสถานในช่วง 1800 ถึง 800 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงที่ซาราธุสตรา ผู้ก่อตั้งศาสนามีชีวิตและเสียชีวิตที่แบลค์ ในขณะที่ภูมิภาคในเวลานั้น ถูกเรียกเป็น อารีอานา[2][3] ในช่วงกลางศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จักรวรรดิอะคีเมนิดโค่นพวกเมเดสและครอบครองแอระโคเซีย, อาริยา และแบกเตรียที่ชายแดนตะวันออก จารึกบนหลุมสุสานดาไรอัสมหาราชกล่าวถึงคาบูลสถานใน 29 ประเทศที่พระองค์พิชิต[4]

ก่อนการมาของศาสนาอิสลาม อัฟกานิสถานใต้เคยเป็นฐานที่มั่นของศาสนาโซโรอัสเตอร์ เชื่อว่าอเวสตะได้ผ่านแอระโคเซียมาที่เปอร์เซีย ดังนั้น ภูมิภาคนี้จึงถือว่าเป็น "ปิตุภูมิที่สองของศาสนาโซโรอัสเตอร์"[5]

ตามมาด้วยการพิชิตและยึดครองของอเล็กซานเดอร์มหาราชในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นจักรวรรดิซิลูซิดได้ควบคุมพื้นที่นี้ถึง 305 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อพวกเขาต้องแบ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ตามสนธิสัญญากับราชวงศ์โมริยะ ซึ่งราชวงศ์โมริยะได้นำศาสนาพุทธจากอินเดียและควบคุมอัฟกานิสถานตอนใต้และตะวันออกจนถึงประมาณ 185 ปีก่อนคริสตกาล

กลุ่มผู้ชายละหมาดที่มัสยิดสีน้ำเงิน (หรือเทวสถานอะลี) ที่มะซารีชะรีฟในบริเวณภาคเหนือของประเทศ

ในศตวรรษที่ 7 รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ได้เข้ามายังบริเวณนี้หลังจากเอาชนะจักรวรรดิซาเซเนียนในยุทธการที่นะฮาวันด์ (ค.ศ. 642) ยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) จักรพรรดิซาเซเนียนองค์สุดท้าย หลบหนีไปทางตะวันออกถึงเอเชียกลาง เพื่อตามหาพระองค์ พวกอาหรับจึงใช้เส้นทางในภาคเหนือ-ตะวันออกของประเทศอิหร่าน[6] และไปถึงเฮราต

ผู้ที่อาศัยในอัฟกานิสถานเหนือจำนวนมากเข้ารับอิสลาม โดยเฉพาะในรัชสมัยฮิชาม อิบน์ อับดุลมาลิก (เคาะลีฟะฮ์ใน ค.ศ. 723 ถึง ค.ศ. 733) กับอุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ (เคาะลีฟะฮ์ใน ค.ศ. 717 ถึง ค.ศ. 720)[7] ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ศาสนาอิสลามได้ครอบครองประเทศ ส่วนราชวงศ์ฮินดูชาฮีที่เหลือในชายแดนอัฟกานิสถานตะวันออกถูกเนรเทศโดยมะฮ์มูดแห่งกัซนีใน ค.ศ. 998 ถึง ค.ศ. 1030[8]

จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1890 ภูมิภาคนูริสถานเคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อกาฟิรสถาน (ดินแดนของ กาฟิร หรือ "นอกศาสนา") เพราะประชากรในบริเวณนี้นับถือวิญญาณนิยม, พหุเทวนิยม และเชมัน[9]

เมื่อโซเวียตบุกรุกในค.ศ. 1979 ในการสนับสนุนของรัฐบาลโซเวียตก่อให้เกิดผลกระทบทางศาสนาอย่างใหญ่หลวง เมื่อระบอบปกครองแบบลัทธิมากซ์เกิดขึ้นในประเทศ พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (People's Democratic Party of Afghanistan; PDPA) ได้ดำเนินการลดอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ทำให้สมาชิกองค์การศาสนาหลายคนมี่ทางพรรคมองว่า "ไม่เชื่อพระเจ้า" และ "นอกศาสนา" ถูกคุมขัง, ทรมาน และถูกฆ่าไปหลายคน[10] หลังจากการเสวนาการปรองดองแห่งชาติใน ค.ศ. 1987 ศาสนาอิสลามกลายเป็นศาสนาประจำชาติอีกครั้งและลบคำว่า "ประชาธิปไตย" ออกจากชื่อประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 1987-1992 ชื่อทางการของประเทศคือสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน[11]

กลุ่มศาสนาส่วนน้อย[แก้]

ชีอะฮ์[แก้]

ประชากรชีอะฮ์มีอยู่ระหว่าง 7%[1] ถึง 20%[12] ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่นับถือสาขาสิบสองอิมามและกลุ่มเล็กนับถือสาขาอิสมาอีลียะฮ์[13][14] ชาวทาจิกกิซิลบัชแห่งอัฟกานิสถานเป็นกลุ่มชนที่นับถือชีอะฮ์[15]

มุสลิมสมัยใหม่และไม่ใช่นิกาย[แก้]

หนึ่งในบุคคลที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวสมัยปัจจุบันคือญะมาลุดดีน อัลอัฟกานี[16]

ศาสนาโซโรอัสเตอร์[แก้]

รายงานจาก the World Christian Encyclopedia มีชาวอัฟกันนับถือศาสนานี้ 2,000 คนใน ค.ศ. 1970[17]

ศาสนาแบบอินเดีย[แก้]

มีชาวซิกข์ในประเทศอัฟกานิสถานปรมาณ 1,000 คน [18][19] และชาวฮินดู 1,000 คนกว่า ๆ[20] อาศัยในหลายเมือง โดยเฉพาะคาบูล, จะลาลาบาด และจังหวัดกัซนี[21][22] วุฒิสมาชิก อวตาร สิงห์ (Awtar Singh) เป็นสมาชิกคนเดียวในรัฐสภาอัฟกานิสถานที่นับถือศาสนาซิกข์[23]

ศาสนาบาไฮ[แก้]

ศาสนาบาไฮเริ่มมาในประเทศอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 1919 และศาสนาบาไฮมีมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1880 ปัจจุบัน มีผู้นับถือประมาณ 400 คน[24]

ศาสนาคริสต์[แก้]

มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า มีชาวอัฟกัน 1,000 ถึง 18,000 คนที่นับถือศาสนาคริสต์อย่างลับ ๆ ในประเทศ[25] งานวิจัยปี 2015 ประมาณว่ามีผู้นับถือศาสนาคริสต์อาศัยอยู่ท่ามกลางชุมชนมุสลิมในประเทศถึง 3,300 คน[26]

ศาสนายูดาห์[แก้]

เคยมีสังคมยิวขนาดเล็กที่อพยพออกจากประเทศก่อนและหลังการบุกรุกของโซเวียตใน ค.ศ. 1979 และปัจจุบัน เหลือแค่ซับโลน ซิมินโตฟ (Zablon Simintov) เพียงคนเดียวที่ยังอยู่ในประเทศ[27]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Chapter 1: Religious Affiliation". The World's Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. August 9, 2012. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013.
  2. Bryant, Edwin F. (2001) The Quest for the Origins of Vedic Culture: The Indo-Aryan Migration Debate Oxford University Press, ISBN 978-0-19-513777-4.
  3. Afghanistan: ancient Ariana (1950), Information Bureau, p3.
  4. "Chronological History of Afghanistan – the cradle of Gandharan civilisation". Gandhara.com.au. 15 February 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2012. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  5. The idea of Iran. An essay on its origin, Gnoli Gherardo, page 133
  6. Arabic As a Minority Language, by Jonathan Owens, pg. 181
  7. The Preaching of Islam: A History of the Propagation of the Muslim Faith, by Thomas Walker Arnold, pg. 183
  8. Ewans, Martin (2002). Afghanistan A New History. Psychology Press. p. 15. ISBN 0-415-29826-1.
  9. Klimberg, Max (October 1, 2004). "NURISTAN". Encyclopædia Iranica (Online ed.). United States: Columbia University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01.
  10. "COMMUNISM, REBELLION, AND SOVIET INTERVENTION". United States: Library of Congress Country Studies. 1997. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  11. Vogelsang, Willem (2001). The Afghans. Wiley. ISBN 978-0-631-19841-3. สืบค้นเมื่อ 2009-03-22.
  12. "Country Profile: Afghanistan" (PDF). Library of Congress Country Studies on Afghanistan. Library of Congress. August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03. Religion: Virtually the entire population is Muslim. Between 80 and 85 percent of Muslims are Sunni and 15 to 19 percent, Shia.
  13. 1911 Encyclopædia Britannica - Hazara (Race)
  14. Ehsan Yarshater (บ.ก.). "HAZĀRA". Encyclopædia Iranica (Online ed.). United States: Columbia University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-17. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
  15. "Qizilbash". United States: Library of Congress Country Studies. 1997. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  16. "Sayyid Jamal ad-Din Muhammad b. Safdar al-Afghan (1838–1897)". Saudi Aramco World. Center for Islam and Science. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
  17. http://www.vanderbilt.edu/AnS/religious_studies/CDC/afghanistan.html. เก็บถาวร มกราคม 18, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. "Solidarity for Sikhs after Afghanistan massacre". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
  19. "Country Policy and Information Note Afghanistan: Sikhs and Hindus/" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
  20. "Country Policy and Information Note Afghanistan: Sikhs and Hindus/" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
  21. Majumder, Sanjoy (September 15, 2003). "Sikhs struggle in Afghanistan". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  22. Melwani, Lavina (April 1994). "Hindus Abandon Afghanistan". New York: hinduismtoday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03. January Violence Is the Last Straw-After 10 Years of War, Virtually All 50,000 Hindus have Fled, Forsaking
  23. http://www.sikhnet.com/news/afghanistan-dwindling-sikh-community-struggles-endure-kabul เก็บถาวร พฤศจิกายน 13, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. U.S. State Department. "Afghanistan - International Religious Freedom Report 2007". The Office of Electronic Information, Bureau of Public Affair. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  25. USSD Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor (2009). "International Religious Freedom Report 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-30. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christ from a Muslim Background: A Global Census". IJRR. 11 (10): 1–19. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
  27. Washingtonpost.com - Afghan Jew Becomes Country's One and Only - N.C. Aizenman