ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจากดาวเทียม ที่ได้รับการถ่ายในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งแสดงให้เห็นหมอกควันหนาและควันตามลุ่มน้ำแม่น้ำคงคาในภาคเหนือของอินเดีย โดยเชื่อว่าแหล่งที่มาของละอองลอยเหล่านี้จะเป็นควันจากการเผาชีวมวลในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และมลพิษทางอากาศจากเมืองใหญ่ในภาคเหนือของอินเดีย นอกจากนี้ ฝุ่นจากทะเลทรายในปากีสถานและตะวันออกกลางยังอาจนำไปสู่การผสมผสานของกลุ่มละอองลอยดังกล่าว
ขยะที่เพิ่มมลพิษทางน้ำในประเทศอินเดีย, ภาพปี ค.ศ. 2005

มีปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดียหลายด้าน ทั้งมลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ, ขยะ และมลพิษของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ต่างเป็นปัญหาที่ท้าทายทั้งหมดของประเทศอินเดีย สถานการณ์เลวร้ายเหล่านี้เคยเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1947 ไปจนถึง 1995 ต่อมา ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการศึกษาการประเมินสภาพแวดล้อมของผู้เชี่ยวชาญแห่งธนาคารโลกระหว่างปี ค.ศ. 1995 จนถึง 2010 โดยมีการเผยว่า อินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เร็วที่สุดในโลก[1][2] ประเทศอินเดียยังมีเวลาที่ยาวนานในการเข้าถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับความสุขของผู้คนในเศรษฐกิจที่ได้พัฒนาแล้ว และมลพิษที่เหลืออยู่ยังคงเป็นสิ่งท้าทายสำคัญของประเทศอินเดีย

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรค, ปัญหาสุขภาพ และผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในระยะยาวสำหรับประเทศอินเดีย

ประวัติ[แก้]

พระบรมราชโองการบนเสาอโศก เป็นหนึ่งในความพยายามที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอินเดีย ที่มุ่งเน้นถึงการเคารพและรักษาสภาพแวดล้อม, ป่าไม้ และสัตว์ป่า

ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ยัชนวัลย์ของอินเดีย ได้มีข้อเสนอแนะที่ได้รับการเขียนขึ้นก่อนศตวรรษที่ 5 ถึงการห้ามตัดต้นไม้และการลงโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำดังกล่าว ส่วนอรรถศาสตราของโกติลยา ซึ่งเขียนในสมัยโมริยะ ได้มีการย้ำถึงความจำเป็นในการบริหารงานป่าไม้ รวมถึงเมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกเสด็จทางไกล ได้มีการสร้างเสาอโศกที่แสดงให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ของพระองค์ เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Little Green Data Book". The World Bank. 2010.
  2. "Environment Assessment, Country Data: India". The World Bank. 2011.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]