แยกรัชโยธิน

พิกัด: 13°49′37″N 100°34′05″E / 13.827029°N 100.56814°E / 13.827029; 100.56814
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่แยก รัชโยธิน
สะพานข้ามแยกรัชโยธิน (ด้านล่าง) และทางวิ่ง
รถไฟฟ้าบีทีเอส (ด้านบน) ซ้อนกันสองระดับ
ชื่ออักษรไทยรัชโยธิน
ชื่ออักษรโรมันRatchayothin
รหัสทางแยกN211 (ESRI), 180 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพหลโยธิน
» แยกเกษตร
ถนนรัชดาภิเษก
» แยกรัชดา-ลาดพร้าว
ถนนพหลโยธิน
» แยกลาดพร้าว
ถนนรัชดาภิเษก
» ทางแยกต่างระดับรัชวิภา

แยกรัชโยธิน เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน กับถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถนนที่ตั้งตรงแยกรัชโยธินสามารถเชื่อมต่อกับซอยได้ดังต่อไปนี้ ซอยวังหิน, ซอยเสนานิคม, ซอยโชคชัย 4 ซอยรัชดาภิเษก 42 44 36 32 30, ซอยลาดพร้าว 23 35, ซอยพหลโยธิน 28 30 อันเป็นซอยที่เชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมดแยกรัชโยธินสามารถใช้เป็นทางลัดสู่ถนนรัชดาภิเษก, ถนนพหลโยธิน, ถนนลาดพร้าว และถนนลาดพร้าววังหินได้

รูปแบบของทางแยก[แก้]

  • อุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธิน ตามแนวถนนรัชดาภิเษก (ในอดีตจะมีสะพานข้ามทางแยกตามแนวถนนรัชดาภิเษก ซึ่งปัจจุบันได้รื้อถอนออกไป) โดยอุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธินเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 มีขนาด 4 ช่องจราจร กว้าง 16.80 เมตร ยาว 1,085 เมตร ความสูงช่องทางลอด 5.25 เมตร และต่ำกว่าถนน 7.50 เมตร
  • สะพานข้ามทางแยก ตามแนวถนนพหลโยธิน (ใช้โครงสร้างร่วมกับเสาตอม่อของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) โดยเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีขนาด 2 ช่องจราจร
  • ถนนระดับดินผ่านตลอดของถนนทุกสายเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่อยู่ติดกัน
  • สัญญาณไฟจราจรของรถในถนนระดับดินที่ต้องการตรงไปและเลี้ยวขวา
  • สถานีควบคุมสัญญาณไฟจราจร 1 สถานี ที่บริเวณซอยพหลโยธิน 31

สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°49′37″N 100°34′05″E / 13.827029°N 100.56814°E / 13.827029; 100.56814