รายชื่อประเทศจำแนกตามระบบกฎหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบกฎหมายทั่วโลก

รายชื่อประเทศจำแนกตามระบบกฎหมาย ปัจจุบันระบบกฎหมายทั่วโลกอยู่บนพื้นฐานของระบบกฎหมายสำคัญหนึ่งในสามระบบได้แก่ ระบบซีวิลลอว์ ระบบคอมมอนลอว์ และกฎศาสนา หรือผสมกันมากกว่าสองระบบขึ้นไป อย่างไรก็ดีแต่ละประเทศอาจมีระบบกฎหมายที่มีลักษณะจำเพาะไปที่แตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ของตน

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์[แก้]

ซีวิลลอว์เป็นระบบกฎหมายที่แพร่หลายที่สุดในโลกปัจจุบัน บางครั้งรู้จักกันในชื่อระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรป บ่อเกิดสำคัญหลักของกฎหมายคือประมวลกฎหมาย และกฎบัญญัติที่ออกตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ลักษณะสำคัญของซีวิลลอว์คือการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

จุดเริ่มต้นของแนวคิดการจัดทำประมวลกฎหมายสามารถย้อนหลังไปได้ถึงประมวลกฎหมายฮัมมูราบีในบาบิโลนประมาณ 1790 ปีก่อนคริสตกาล ระบบซีวิลลอว์เริ่มปรากฏชัดเจนมากขึ้นในสมัยจักรวรรดิโรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ประมาณคริสต์ศักราชที่ 529 และมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในช่วงจักรวรรดิไบแซนไทน์ และรวบรวมเป็นเอกสารประมวลกฎหมาย ระบบกฎหมายซีวิลลอว์เองได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายศาสนจักรและกฎหมายชะรีอะฮ์[1]อีกด้วย

นักวิชาการกฎหมายเปรียบเทียบและนักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนทฤษฎีกำเนิดตามกฎหมาย (Legal Origins Theory) มักแบ่งระบบซีวิลลอว์ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ได้แก่

รายชื่อประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์มีดังต่อไปนี้

ประเทศ คำอธิบาย
แอลเบเนียแอลเบเนีย ประมวลกฎหมายแพ่งสาธารณรัฐแอลเบเนีย, 1991 [1] เก็บถาวร 2016-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แองโกลาแองโกลา อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
อาร์เจนตินาอาร์เจนตินา ประมวลกฎหมายแพ่งอาร์เจนตินาสร้างโดยนักกฎหมายชาวอาร์เจนตินา Dalmacio Vélez Sársfield ซึ่งทุ่มเทเวลาห้าปีในการทำงานนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1871 (พ.ศ. 2414) โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมการใช้กฎหมายของสเปนเป็นหลัก นอกเหนือจากวัฒนธรรมการใช้กฎหมายของสเปนแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งอาร์เจนตินายังได้รับอิทธิพลมาจากร่างประมวลกฎหมายแพ่งของบราซิล ร่างประมวลกฎหมายแพ่งของสเปนปี 1851 (พ.ศ. 2394)ประมวลกฎหมายนโปเลียนและประมวลกฎหมายชิลีแหล่งที่มาของประมวลกฎหมายฉบับนี้ยังรวมถึงงานทางทฤษฎีด้านกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากนักกฎหมายฝรั่งเศสใหญ่ของศตวรรษที่ 19 ประมวลกฎหมายอาร์เจนตินานับว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกที่แยกความแตกต่างระหว่างที่สิทธิจากภาระผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินจริง ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างที่สำคัญของประมวลกฎหมายอาร์เจนตินากับระบบซีวิลลอว์แบบฝรั่งเศสทั่วไป

ประมวลกฎหมายแพ่งของอาร์เจนตินายังมีบทบาทสำคัญในปารากวัยโดยเฉพาะกฎหมายปารากวัยปี 1880 (พ.ศ. 2423) จนกระทั่งมีประมวลกฎหมายใหม่ประกาศใช้ในปี 1987 (พ.ศ. 2530)

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีทางเยอรมันเริ่มมีบทบาทในอาร์เจนตินามากขึ้น

อันดอร์ราอันดอร์รา ศาลจะใช้กฎหมายจารีตประเพณีของอันดอร์รา ประกอบกับกฎหมายโรมันและกฎหมายจารีตประเพณีกาตาลา [2]
อาร์มีเนียอาร์มีเนีย
อารูบาอารูบา อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของดัตช์
ออสเตรียออสเตรีย อัลเกไมส์เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค (เยอรมัน: ABGB ไทย: อาเบเกเบ) ประกาศใช้เมื่อค.ศ. 1881(พ.ศ. 2424)
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
เบลารุสเบลารุส
เบลเยียมเบลเยียม ยังคงใช้ประมวลกฎหมายนโปเลียนอยู่แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างมาก (โดยเฉพาะกฎหมายครอบครัว)
เบนินเบนิน
โบลิเวียโบลิเวีย ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียน
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายออสเตรียและใช้กฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ (ซีวิลเกเซทซ์บุค) เป็นต้นแบบกฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ปี 1978 (พ.ศ. 2521)
บราซิลบราซิล อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
บัลแกเรียบัลแกเรีย ได้รับอิทธิพลมาจากระบบกฎหมายเยอรมันและโรมัน
บูร์กินาฟาโซบูร์กินาฟาโซ
บุรุนดีบุรุนดี
ชาดชาด
จีนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ อิงกับระบบประเพณีของประเทศ และได้รับอิทธิพลเชิงปฏิบัติจากกฎหมายของโซเวียตและเยอรมัน
สาธารณรัฐคองโกสาธารณรัฐคองโก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
โกตดิวัวร์โกตดิวัวร์
กัมพูชากัมพูชา
กาบูเวร์ดีเคปเวิร์ด อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
สาธารณรัฐแอฟริกากลางสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ชิลีชิลี วัฒนธรรมการใช้กฎหมายของสเปนมีอิทธิพลอย่างมากกับประมวลกฎหมายแพ่งชิลีประมวลกฎหมายแพ่งชิลีมีอิทธิพลต่อ

ประมวลกฎหมายแพ่งอื่นๆ ในละตินอเมริกันยกตัวอย่างเช่นประมวลกฎหมายเอกวาดอร์ 1861 (พ.ศ. 2404) และโคลอมเบีย 1873 (พ.ศ. 2416) นำแนวคิดของประมวลกฎหมายชิลีไปใช้ซ้ำ มีข้อยกเว้นที่แตกต่างกันน้อยมาก ผู้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งของชิลีคือ Andrés Bello ชาวเวเนซุเอลา ซึ่งใช้เวลาจัดทำเกือบ 30 ปีโดยนำองค์ประกอบของกฎหมายสเปนเป็นหลักและกฎหมายตะวันตกอื่นๆ อย่างกฎหมายฝรั่งเศสเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งในการร่าง ประกอบกับศึกษาประมวลกฎหมายทั้งหมดเท่าที่เคยมามาตั้งแต่สมัยยุคจัสติเนียนจนถึงในขณะร่างนั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1857 (พ.ศ. 2400) และได้รับยกย่องว่าเป็นประมวลกฎหมายที่สมบูรณ์แบบที่สุดฉบับหนึ่งของโลก

โคลอมเบียโคลอมเบีย ประมวลกฎหมายโคลอมเบียถูกสร้างขึ้นในปี 1873 (พ.ศ. 2416) เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากประมวลกฎหมายแพ่งชิลี
คอสตาริกาคอสตาริกา ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแรก (เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายทั่วไป) มีผลบังคับใช้ในปี 1841 (พ.ศ. 2384) ได้รับอิทธิพลมาจากประมวลกฎหมายแพ่งเปรูใต้ของนายพล Andres de Santa Cruz ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 1888 (พ.ศ. 2431) โดยได้รับอิทธิพลประมวลกฎหมายโปเลียนและประมวลกฎหมายแพ่งสเปนปี 1889 (พ.ศ. 2432) ฉบับร่างปี 1851 (พ.ศ. 2394)
โครเอเชียโครเอเชีย ประกาศเป็นกฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ (Law of Obligations) ปี 2005 (พ.ศ. 2548) ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายออสเตรียและกฎหมายฮังการี
คิวบาคิวบา ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายสเปนและกฎหมายอเมริกัน โดยมีทฤษฎีทางกฎหมายคอมมิวนิสต์เป็นองค์ประกอบใหญ่
เช็กเกียสาธารณรัฐเช็ก สืบทอดมาจากประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรียปี 1811 (พ.ศ. 2354) โดยได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายเยอรมันและสหภาพโซเวียตระหว่างที่ถูกประเทศทั้งสองยึดครอง หลังจากการปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution) ประมวลกฎหมายได้รับการปฏิรูปเพื่อลบอิทธิพลจากสังคมนิยมในช่วงที่โซเวียตยึดครอง
เดนมาร์กเดนมาร์ก ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์แบบสแกนดิเนเวีย-เยอรมัน
สาธารณรัฐโดมินิกันสาธารณรัฐโดมินิกัน อิงตามประมวลกฎหมายนโปเลียน
เอกวาดอร์เอกวาดอร์ เริ่มใช้ประมวลกฎหมายในปี 1861 (พ.ศ. 2404) เนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากประมวลกฎหมายแพ่งชิลี
เอลซัลวาดอร์เอลซัลวาดอร์
เอสโตเนียเอสโตเนีย
ฟินแลนด์ฟินแลนด์ ระบบกฎหมายตามกฎหมายสวีเดน [3]
ฝรั่งเศสฝรั่งเศส อิงตามประมวลกฎหมายนโปเลียน
อียิปต์อียิปต์
อิเควทอเรียลกินีอิเควทอเรียลกินี
เอธิโอเปียเอธิโอเปีย
กาบองกาบอง
กินีกินี อิงตามของระบบกฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายจารีตประเพณี และกฤษฎีกา [3]
กินี-บิสเซากินี-บิสเซา อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
ประเทศจอร์เจียจอร์เจีย
เยอรมนีเยอรมนี เบือร์แกร์ลีเชสเกเซทซ์บุค(เยอรมัน: BGB ไทย: เบเกเบ) ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการใช้กฎหมายของโรมันและเยอรมนีเอง
กรีซกรีซ ประมวลกฎหมายแพ่งกรีกปี 1946 ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันปี 1900 ประมวลกฎหมายแพ่งกรีกแทนประมวลกฎหมายไบแซนไทน์โรมันหลังจากที่กรีซเป็นอิสระจากจักรวรรดิไบแซนไทน์
ประเทศกัวเตมาลากัวเตมาลา กัวเตมาลามีประมวลกฎหมายแพ่งมาแล้วสามฉบับ: ฉบับแรกในปี 1877 (พ.ศ. 2420), ฉบับที่สองในปี 1933 (พ.ศ. 2476) และฉบับปัจจุบันซึ่งผ่านในปี 1963 (พ.ศ. 2506)
เฮติเฮติ ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียน
ฮอนดูรัสฮอนดูรัส
ฮังการีฮังการี อิงตามประมวลกฎหมายโรมันประกอบกับประมวลกฎหมายนโปเลียน
ไอซ์แลนด์ไอซ์แลนด์ อิงตามกฎหมายจารีตประเพณีเยอรมันดั้งเดิมและได้รับอิทธิพลจากกฎหมายนอร์เวย์และเดนมาร์กในยุคกลาง
อินเดียอินเดีย เฉพาะรัฐกัวและดินแดนสหภาพของดามันและดีอูอิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส ส่วนอื่นๆ ของอินเดียอิงตามระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ
อิตาลีอิตาลี อิงตามประมวลกฎหมายโรมันประกอบกับประมวลกฎหมายนโปเลียนโดยมีประมวลกฎหมายปี 1942 (พ.ศ. 2485) แทนที่ประมวลกฎหมายฉบับแรกปี 1865 (พ.ศ. 2408)
ญี่ปุ่นญี่ปุ่น ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น 1895 (พ.ศ. 2438) สร้างขึ้นจากระบบกฎหมายยุโรป (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน)
ลัตเวียลัตเวีย ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากเยอรมนี และได้รับอิทธิพลบางส่วนจากกฎหมายรัสเซียและสหภาพโซเวียต
เลบานอนเลบานอน สร้างขึ้นจากระบบกฎหมายฝรั่งเศส
ลิทัวเนียลิทัวเนีย สร้างขึ้นจากกฎหมายดัตช์
ลักเซมเบิร์กลักเซมเบิร์ก ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียน
มาเก๊ามาเก๊า อิงตามสาระสำคัญของภาคพื้นโปรตุเกส ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากกฎหมายเยอรมนี และยังได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มอริเชียสมอริเชียส
เม็กซิโกเม็กซิโก "ต้นกำเนิดของระบบกฎหมายเม็กซิโกมาจากทั้งสมัยโบราณและคลาสสิกโดยอิงตามกฎหมายกรีก โรมัน และฝรั่งเศส และระบบกฎหมายเม็กซิกันมีลักษณะร่วมกันกับระบบกฎหมายอื่น ๆ ทั่วโลก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มละตินอเมริกาและภาคพื้นทวีปยุโรปส่วนใหญ่)..." [4]
มองโกเลียมองโกเลีย ประมวลกฎหมายแพ่งของปี 2002 อิงตามพื้นฐานประมวลกฎหมายเยอรมันBGB
มอนเตเนโกรมอนเตเนโกร ฉบับแรกมาจากประมวลกฎหมายทรัพย์สินทั่วไปในนครรัฐมอนเตเนโกรปี 1888 (พ.ศ. 2431) ร่างโดย Valtazar Bogišić ปัจจุบันใช้กฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ปี 2008 (พ.ศ. 2551)
โมซัมบิกโมซัมบิก อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
เนเธอร์แลนด์เนเธอร์แลนด์ ได้รับอิทธิพลประมวลกฎหมายนโปเลียน
นอร์เวย์นอร์เวย์ ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์แบบสแกนดิเนเวีย-เยอรมัน พระเจ้าแมกนัสที่ 6 แห่งนอร์เวย์ได้รวบรวมกฎหมายระดับภูมิภาคเป็นประมวลกฎหมายเดียวทั่วราชอาณาจักรในปี 1274 (พ.ศ. 1817) และถูกแทนที่ด้วยประมวลกฎหมายนอร์เวย์ของพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์กปี 1687 (พ.ศ. 2230)
ปานามาปานามา
ปารากวัยปารากวัย ประมวลกฎหมายแพ่งปารากวัยบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1987 (พ.ศ. 2530) ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากประมวลกฎหมายนโปเลียนและประมวลกฎหมายอาร์เจนตินา
เปรูเปรู ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศภายใต้ข้อจำกัดบางประการ
โปแลนด์โปแลนด์ ประมวลกฎหมายแพ่งโปแลนด์บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1965 (พ.ศ. 2508)
โปรตุเกสโปรตุเกส ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียนและภายหลังได้รับอิทธิพลจากกฎหมายแพ่งของเยอรมัน
สาธารณรัฐจีนไต้หวัน ร่างประมวลกฎหมายมาจากประมวลกฎหมายเยอรมันBGB
โรมาเนียโรมาเนีย อิงตามประมวลกฎหมายนโปเลียน
รัสเซียรัสเซีย ใช้ระบบซิวิลลอว์โดยสืบทอดมาจากระบบกฎหมายโรมันผ่านวัฒนธรรมไบเซนไทน์ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากบรรทัดฐานเยอรมันและดัตช์ในช่วงทศวรรษที่ 1700-1800's และการปฏิรูปสังคมนิยมในทศวรรษที่ 1900's และกฎหมายภาคพื้นยุโรปตั้งแต่ปี 1990's
เซาตูแมอีปริงซีปเซาตูแมอีปริงซีป อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
เซอร์เบียเซอร์เบีย ฉบับแรกคือประมวลกฎหมายแพ่งแห่งนครรัฐเซอร์เบียปี 1844 (พ.ศ. 2387) ร่างโดย Hadžić Jovan ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรียฉบับปัจจุบันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเป็นต้นแบบในการร่างกฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ปี 1978 (พ.ศ. 2521)
สโลวาเกียสโลวาเกีย สืบทอดมาจากประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรียปี 1811 (พ.ศ. 2354) โดยได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายเยอรมันและสหภาพโซเวียตระหว่างที่ถูกประเทศทั้งสองยึดครอง หลังจากการปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution) ประมวลกฎหมายได้รับการปฏิรูปเพื่อลบอิทธิพลจากสังคมนิยมในช่วงที่โซเวียตยึดครอง
สโลวีเนียสโลวีเนีย ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากระบบกฎหมายเยอรมันและระบบกฎหมายออสโต-ฮังการี
สเปนสเปน ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายโปเลียนประกอบกับวัฒนธรรมการใช้กฎหมายของสเปนแต่เดิม กฎหมายสเปนฉบับดั้งเดิมคือ Siete Partidas ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับสำคัญตั้งแต่สมัยยุคกลาง เนื้อหาของกฎหมายยังไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงศตวรรษที่ 19 เมื่อประมวลกฎหมายฉบับใหม่ถูกร่างขึ้นโดยรวมเอากฎหมายแบบนโปเลียนและวัฒนธรรมการใช้กฎหมายยุค Castilian เข้าด้วยกัน
สวีเดนสวีเดน ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์แบบสแกนดิเนเวีย-เยอรมัน ระบบกฎหมายสแกนดิเนเวียนมีความแตกต่างจากระบบกฎหมายอื่นมาก เพราะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของระบบกฎหมายโรมัน และไม่ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายต่างประเทศมากนัก โดยเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์คือประมวลกฎหมายสแกนดิเนเวียนไม่ได้รับอิทธิพลจากประมวลกฎหมายนโปเลียนเลย หากกล่าวถึงกฎหมายที่เป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของกฎหมายสวีเดนและประเทศกลุ่มนอร์ดิกอื่นๆ ก็น่าจะเป็นกฎหมายเยอรมันโบราณ (Old German Law) โดยกระบวนการร่างประมวลกฎหมายในสวีเดนเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 18 ก่อนประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในยุโรป แต่ประมวลกฎหมายสวีเดนและประเทศกลุ่มนอร์ดิกก็ยังไม่มีลักษณะสมบูรณ์เท่าประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน
สวิตเซอร์แลนด์สวิตเซอร์แลนด์ ประมวลกฎหมายแพ่งสวิสปี 1908 (พ.ศ. 2451) และ 1912 (พ.ศ. 2455)
ติมอร์-เลสเตติมอร์ตะวันออก อิงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ของโปรตุเกส
ตุรกีตุรกี สร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ปี 1908 ซึ่งเป็นหนึ่งในการตัดสินใจครั้งสำคัญของมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์กผู้ก่อตั้งของรัฐตุรกีสมัยใหม่ ​​ที่จะยกเลิกกฎหมายอิสลามเพื่อปฏิรูปประเทศให้เหมือนตะวันตก
ยูเครนยูเครน ประมวลกฎหมายแพ่งยูเครนในปี 2004
อุรุกวัยอุรุกวัย
อุซเบกิสถานอุซเบกิสถาน พัฒนามาจากกฎหมายแพ่งโซเวียต​​ โดยอิทธิพลของทฤษฎีทางกฎหมายคอมมิวนิสต์ยังคงปรากฏชัดเจน
เวียดนามเวียดนาม ใช้ทฤษฎีทางกฎหมายคอมมิวนิสต์และระบบกฎหมายฝรั่งเศส
เกาหลีใต้เกาหลีใต้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Badr, Gamal Moursi (Spring, 1978), "Islamic Law: Its Relation to Other Legal Systems", The American Journal of Comparative Law, 26 (2 [Proceedings of an International Conference on Comparative Law, Salt Lake City, Utah, February 24–25, 1977]): 187–198 [196–8], doi:10.2307/839667 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/3164.htm
  3. 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-18. สืบค้นเมื่อ 2012-01-13.
  4. http://www.mexonline.com/lawreview.htm Jaime B. Berger Stender Attorney at Law author, Tijuana, B.C., Mexico