กฎหมายเกาหลีใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายเกาหลีใต้ เป็นกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งใช้ระบบซีวิลลอว์

ประวัติ[แก้]

ระบบกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้อาจพิจารณาได้ตั้งแต่การริเริ่มให้มีรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีและการประกาศให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐเอกราช ตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งประเทศเกาหลีใต้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม และถูกยกร่างขึ้นใหม่หลายครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งล่าสุดที่มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่คือปี พ.ศ. 2530 ในระยะเริ่มแรกของยุคสาธารณรัฐที่หก (Sixth Republic) รัฐบัญญัติจัดตั้งศาลแห่งประเทศเกาหลีได้ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2492 ได้จัดตั้งระบบศาลของประเทศเกาหลีใต้ให้มีลักษณะเป็น 3 ชั้น และเป็นอิสระจากกัน ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ก็ได้บัญญัติรับรองให้ผู้พิพากษาจะไม่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยวิธีใด ๆ เว้นแต่จะถูกถอดถอนโดยกระบวนการถอดถอน (Impeachment) การกระทำความผิดอาญา หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ นอกจากนี้มาตรา 103 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2530 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ดังนี้ “ผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการวินิจฉัยคดีตามสามัญสำนึกและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย” นอกจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 1987 ได้บัญญัติรับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศเกาหลีใต้มีองค์กรสำหรับการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ [1]

ระบบศาล[แก้]

ระบบศาลของประเทศเกาหลีใต้ประกอบด้วยศาลฎีกาแห่งประเทศเกาหลีใต้ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศเกาหลีใต้ ศาลสูง 6 ศาล ศาลแขวง 13 ศาล และศาลชำนัญพิเศษอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ศาลครอบครัว และศาลปกครอง เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีการจัดตั้งศาลในสังกัดของศาลแขวง (Branches of District Courts) และศาลมโนสาเร่ การจัดระบบแลเขตอำนาจศาลของศาลแห่งประเทศเกาหลีใต้เป็นไป หมวด 5 และหมวด 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในระบบบศาลของประเทศเกาหลีใต้ไม่มีระบบการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยลูกขุน (juries) ดังนั้นผู้พิพากษาจึงเป็นผู้พิจารณาทั้งปัญหาข้อเท็จจริง (question of fact) และปัญหาข้อกฎมาย (questions of law)

ศาลมโนสาเร่[แก้]

ศาลมโนสาเราจะมีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะคดีที่มีเขตอำนาจศาลดั้งเดิม (original jurisdiction) เหนือคดีมโนสาเร่เท่านั้น เช่น คดีที่ใช้สิทธิเรียกร้องที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20 ล้านวอน หรือการพิจารณาคดีลหุโทษซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 30 วัน หรือปรับไม่เกิน 200.000 วอน ในปัจจุบันมีศาลมโนสาเร่ทั้งหมด 103 ศาลในประเทศเกาหลีใต้

ศาลแขวง[แก้]

ปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้มีศาลแขวงทั้งหมด 13 ศาล ศาลแขวงจะมีเขตอำนาจศาลดั้งเดิมเหนือคดีแพ่งและคดีอาญาเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ศาลแขวงแผนกคดีอุทธรณ์ยังมีอำนาจพิจารณาคดีอุทธรณ์ที่มาจากการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงที่ผู้พิพากษาท่านเดียวมีอำนาจพิจารณาคดี (single District Court) หรือศาลในสังกัดของศาลแขวง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในศาลแขวงผู้พิพากษาท่านเดียวจะเป็นผู้พิจารณาคดีและพิพากษา แม้ว่าในคดีสำคัญหรือคดีร้ายแรงแล้ว องค์คณะของผู้พิพากษาที่พิจารณาและพิพากษาคดีจะต้องประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน ก็ตาม สำหรับองค์คณะของผู้พิพากษาในศาลแขวงแผนกคดีอุทธรณ์ประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลแขวง 3 ท่านด้วยกัน

ศาลในสังกัดของศาลแขวง (Branch Courts)[แก้]

ศาลในสังกัดของศาลแขวงได้จัดตั้งและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาลแขวง หน้าที่ของศาลในสังกัดของศาลแขวงนั้นมีมากกว่าศาลแขวง ทว่าศาลในสังกัดของศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอุทธรณ์ ปัจจุบันมีศาลในสังกัดของแขวงทั้งหมด 40 ศาลในประเทศเกาหลีใต้

ศาลสูง (High Courts)[แก้]

ศาลสูงของประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ศาล ศาลสูงของประเทศเกาหลีใต้มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงที่ผู้พิพากษา 3 ท่านนั่งพิจารณาคดีและทำคำพิพากษา หรือศาลครอบครัว หรือคำวินิจฉัยของศาลปกครอง และ คดีแพ่งที่ได้พิจารณาก่อนหน้าศาลแขวง และเป็นคดีที่ผู้พิพากษาท่านเดียวมีอำนาจพิจารณาและทำคำพิพากษา แต่ต้องมีทุนทรัพย์เกิน 50,000 วอนขึ้นไป สำหรับองค์ณะการพิจารณาคดีในศาลสูงจะประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลสูง 3 ท่าน ศาลสูงตั้งอยู่ที่กรุง โซล (Seoul) ปูซาน (Busan) แทกู (Daegu) แทจอน (Daejon) กวางจู (Gwangju) นอกจากนี้ศาลสูงแห่งเมืองกวางจูยังได้จัดตั้งแผนกศาลสูงแห่งเมืองกวางจูในศาลแขวงประจำจังหวัดเชจู (Jeju) เป็นพิเศษอีกด้วย

ผู้พิพากษา[แก้]

ผู้พิพากษาในประเทศเกาหลีไต้ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานศาลฎีกาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (the Chief Justice of the Republic of Korea) และได้รับการรับรองโดยสภาศาลฎีกา (the Supreme Court Justices Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาในประเทศเกหลีใต้ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 10 ปี และผู้พิพากษาที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นผู้พิพากษาอีกครั้งหนึ่งก็ได้ รัฐธรรมนูญแห่งประเทศเกาหลีใต้ได้รับรองว่าการถอดถอนผู้พิพากษาจะกระทำมิได้เว้นแต่กระทำโดยกระบวนการถอดถอน (impeachment) การกระทำความผิดอาญา และถูกพิพากษาให้จำคุก หรือหากมีความผิดปกติร้ายแรงแก่กายหรือจิตใจ กระบวนการสรรหาและเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช้แก่ผู้พิพากษาศาลฎีกา (Supreme Court of South Korea) หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court of South Korea) ซึ่งศาลดังกล่าวมีกระบวนการสรรหาผู้พิพากษาหรือตุลาการของตนโดยเฉพาะ

สิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง[แก้]

พลเมืองชาวเกาหลีใต้ได้รับการประกันสิทธิต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในหมวด 2 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งสิทธิดังกล่าว เช่น

  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการรวมกลุ่ม เสรีภาพของสื่อมวลช
  • สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการจัดให้มีประชาพิจารณ์ สิทธิในการจัดตั้งสำนักงานมหาชน (Public office) แดนยัน
  • ละสิทธิที่จะร้องเรียนรัฐบาล
  • สิทธิในการประท้วงการพิจารณาคดีอาญาซ้ำสอง (double jeopardy) การทำงานโดยไม่สมัครใจ (involuntary labor), กฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นโทษ (ex post facto laws), และการขาดหลักประกันในการแสวงหาที่อยู่อาศัย (warrantless searches of residences)
  • สิทธิในการได้รับการศึกษา ทำงาน แต่งงาน และสิทธิเกี่ยวกับสุขภาพ

นอกจากสิทธิที่ได้รับรองในรัฐธรรมนูญแล้ว พลเมืองชาวเกาหลีใต้อยังมีหน้าที่ที่จะเสียภาษี และหน้าที่ในการเข้ารับราชการทหาร และในมาตรา 37 (2) แห่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่า “สิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะถูกจำกัดได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และต้องเป็นไปเพื่อความจำเป็นแก่ความมั่งคงของประเทศ ธำรงไว้ซึ่งกฎหมายหรือระเบียบแห่งรัฐ หรือสวัสดิการมหาชน [1] การจำกัดสิทธิประการหนึ่งของประเทศเกาหลีใต้ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Act) ซึ่งจำกัดสิทธิที่เป็นการต่อต้านการกระทำของรัฐบาล (anti-government activities) กล่าวคือ รัฐบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้การกระทำที่เป็นการส่งเสริมแนวความคิดต่อต้านรัฐบาล (โดยเฉพาอย่างยิ่งลัทธิคอมมิวนิสต์) หรือการเข้าร่วมองค์กรที่ต่อต้านรัฐบาล เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญา[2]

กฎหมายอาญา[แก้]

กฎหมายอาญาของประเทศเกาหลีใต้ส่วนใหญ่แล้วได้รับการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อย นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแห่งประเทศเกาหลีใต้แล้ว การกระทำที่มีลักษณะเป็นความผิดอาญานั้นอาจเป็นความผิดตามรัฐบัญญัติซึ่งตราขึ้นเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ หรืออาจเป็นรัฐบัญญัติที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ และในกรณีที่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาขัดหรือแย้งกับรัฐบัญญัติเช่นว่านั้น โดยหลักแล้วการใช้กฎหมายดังกล่าวให้เป็นไปตามรัฐบัญญัติพิเศษ [3]

กระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (Due process)[แก้]

ทั้งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการออกกฎหมายที่มีย้อนหลังเป็นโทษและบทบัญญัติที่ขัดต่อกระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย (due process) นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังให้หลักประกันทางกฎหมายโดยบัญญัติให้มีการออกหมายจับ คุมขัง ค้น หรือยึดทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่เป็นความผิดซึ่งหน้า (in flagrante delicto) หรือในกรณีที่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดอาญาร้ายแรงอาจจะหลบหนีหรือทำลายหลักฐาน และในกรณีดังกล่าวต้องมีการออกหมายในภายหลัง[4] นอกจากนี้ห้ามมิให้ทรมานหรือข่มขู่ผู้ต้องสงสัยให้ให้การที่เป็นปรปักษ์ต่อตนเอง[5] และรัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้ผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญาต้องได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา (โดยการเลือก หรือแต่งตั้ง) แจ้งข้อกล่าวหา และแจ้งสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา[6] มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล (right to petition) ให้ได้รับการประกันตัว (habeas corpus) และผู้ที่ถูกจับกุมในคดีอาญายังมีสิทธิที่จะแจ้งให้ครอบครัวหรือญาติสนิททราบถึงเหตุผล เวลา และสถานที่ถูกคุมขัง [7]

กฎหมายระหว่างประเทศและสนธิสัญญา[แก้]

สนธิสัญญาที่สาธารณรัฐเกาหลีได้ให้สัตยาบันมีผลเช่นเดียวกับกฎหมายภายในประเทศตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีในการทำสนธิสัญญา ขณะที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสิทธิที่จะให้ความยินยอมต่อสนธิสัญญาดังกล่าวที่ประธานาธิบดีได้ทำขึ้น ปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้เป็นภาคีและเป็นสมาชิกของความตกลงระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก

อ้างอิง[แก้]

  • The Constitution of the Republic of Korea
  • The Supreme Court of Korea
  • The CIA World Factbook
  • Library of Congress Country Study - South Korea
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29
  • The Constitution of the Republic of Korea, Articles 10-39. Available at ICL เก็บถาวร 2006-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 237 และ มาตรา 238 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของประเทศไทย มาตรา 78 และมาตรา 92
  • เทียบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของประเทศไทย มาตรา 133
  • เทียบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 242 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของประเทศไทย มาตรา 134 และ มาตรา134/1-134/4
  • Cho, Kuk, "Korean Criminal Law: Moralist Prima Ratio for Social Control" . Journal of Korean Law, Vol. 1, No. 1, 2001 Available at SSRN
  • The Constitution of the Republic of Korea, Article 12.

ดูเพิ่ม[แก้]