มารูนไฟฟ์

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มารูนไฟฟ์
มารูนไฟฟ์แสดงในปี 2019
มารูนไฟฟ์แสดงในปี 2019
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อคาราส์ฟลาวเออส์ (1994–2001)
ที่เกิดลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
แนวเพลง
ช่วงปี1994–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์maroon5.com

มารูนไฟฟ์ (อังกฤษ: Maroon 5) เป็นวงดนตรีแนวป็อปร็อกสัญชาติอเมริกันจากลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[1][2] ก่อนก่อตั้งวงปัจจุบัน สมาชิกเก่าสี่คน ได้แก่แอดัม เลอวีน (กีตาร์ ร้องนำ) เจสซี คาร์ไมเคิล (กีตาร์จังหวะและร้องเบื้องหลัง) มิกกี แมดเดน (กีตาร์เบส) และไรอัน ดูซิก (กลอง) เคยก่อตั้งวงชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์ (Kara's Flowers) เมื่อปี ค.ศ. 1994 ขณะยังเรียนที่ไฮสกูล วงเคยออกอัลบั้มด้วยตนเองในชื่อ วีไลก์ดิกกิง ตั้งชื่อวงตามกลุ่มผู้หญิงที่สมาชิกวงหลงใหล คาราส์ฟลาวเออส์เซ็นสัญญากับสังกัดรีพรีสเรเคิดส์ และอัลบั้มชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์ ใน ค.ศ. 1997 หลังได้รับการตอบรับไม่ดีนัก สมาชิกวงแยกทางกันและเรียนในวิทยาลัย

ใน ค.ศ. 2001 วงกลับมารวมตัวกันในนามมารูนไฟฟ์ ทำดนตรีแนวทางที่แตกต่าง ได้เจมส์ วาเลนไทน์เพิ่มเป็นสมาชิกใหม่[3] มารูนไฟฟ์เซ็นสัญญากับสังกัดอ็อกโทนเรเคิดส์ สังกัดย่อยของค่ายเจเรเคิดส์ และออกอัลบั้มแรก "ซองส์อะเบาต์เจน" ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 ซิงเกิลแรกคือ "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ถูกเปิดบ่อยครั้ง ทำให้อัลบั้มได้เปิดตัวที่อันดับหกในบิลบอร์ด 200[4] ใน ค.ศ. 2004 อัลบั้มได้รับการรับรองระดับทองคำขาว วงคว้ารางวัลแกรมมีสาขาศิลปินใหม่ยอดเยี่ยมปี 2005[5] ในปี ค.ศ. 2006 ไรอัน ดูซิกลาออกจากวงหลังประสบอาการข้อมือและไหล่บาดเจ็บรุนแรง และได้แมตต์ ฟลินน์มาแทนตำแหน่งเดิม

อัลบั้มชุดที่สอง อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง วางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007[6] อัลบั้มนี้ขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 และซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม "เมกส์มีวันเดอร์" กลายเป็นเพลงแรกของวงที่ขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 วงออกสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สามชื่อ แฮนส์ออลโอเวอร์ ได้รับการตอบรับแบบผสมกัน อัลบั้มจำหน่ายซ้ำในปี ค.ศ. 2011 เพิ่มเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ขึ้นถึงอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี ค.ศ. 2012 คาร์ไมเคิลลาออกจากวงและได้พีเจ มอร์ตัน มาเล่นแทน วงได้ออกอัลบั้มที่สี่ชื่อ "โอเวอร์เอกซ์โพสต์" เพลง "วันมอร์ไนต์" ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 นานเก้าสัปดาห์

ในปี ค.ศ. 2014 คาร์ไมเคิลกลับมาร่วมวงพร้อมกับมอร์ตัน อัดอัลบั้มที่ห้า ไฟฟ์ (V) วงเซ็นสัญญากับค่ายอินเตอร์สโคปเรเคิดส์[7] และสังกัด 222 เรเคิดส์ของเลอวีนเอง[8] หลังจากวางจำหน่ายอัลบั้มไฟฟ์ อัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในปี ค.ศ. 2016 มารูนไฟฟ์รับแซม ฟาร์ราร์ อดีตสมาชิกวงแฟนทอมแพลเน็ต ที่ร่วมงานกับวงมานาน เพื่อทำสตูดิโออัลบั้มที่หก เรดพิลล์บลูส์ วางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 โดยประกาศสมาชิกวงคนที่เจ็ดอย่างเป็นทางการ ซิงเกิล "เกิลส์ไลก์ยู" จากอัลบั้ม ขึ้นอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งซิงเกิลที่สี่ของวง มารูนไฟฟ์ขายได้มากกว่า 109 ล้านซิงเกิล และ 27 ล้านอัลบั้ม กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ขายดีที่สุดของโลก[9]

ประวัติ[แก้]

1994–2002: คาราส์ฟลาวเออส์ และการก่อตั้งมารูนไฟฟ์[แก้]

แอดัม เลอวีนได้รู้จักกับไรอัน ดูซิก ผ่านเพื่อนและมือกีตาร์ แอดัม ซอลซ์แมน ขณะนั้นเลอวีนอายุ 15 ปี และดูซิกอายุ 16 ปี[10] สมาชิกวงดั้งเดิมสี่คนพบกันขณะศึกษาที่โรงเรียนเบรนต์วูด (Brentwood School) ในลอสแอนเจลิส[11][12] ขณะเรียนที่เบรนต์วูด แอดัม เลอวีนและเจสซี คาร์ไมเคิลร่วมกับมิกกี แมดเดนและไรอัน ดูซิกตั้งวงดนตรีแนวร็อกชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์ (Kara's Flowers)[13] โดยชื่อวงมาจากกลุ่มแฟนดนตรีกลุ่มหนึ่งที่สมาชิกในวง "ตกหลุมรักร่วมกัน"[12] ใน ค.ศ. 1997 ระหว่างพวกเขาเล่นดนตรีอยู่ ณ งานสังสรรค์ชายหาดแห่งหนึ่งในมาลิบู ทอมมี อัลเลน โปรดิวเซอร์อินดี ได้ยินพวกเขาเล่นดนตรีและยื่นข้อเสนอตัวเป็นผู้จัดการให้พวกเขาและให้อัดบันทึกจนเสร็จกับจอห์น เดอนิโคลา (John DeNicola) นักแต่งเพลงคู่หูของเขา ซึ่งมีชื่อจากอัลบั้มชุด เดอร์ตีแดนซิง ซึ่งมีเพลงอย่าง "(ไอฟ์แฮด) เดอะไทม์ออฟมายไลฟ์" ทีมจัดการของโปรดิวเซอร์ ร็อบ คาวาโย ได้ยินบันทึกที่อัลเลนและเดอนิโคลาผลิต ซึ่งในที่สุดทำให้คาวาโยเสนอข้อตกลงเข้าสังกัดรีพรีสเรเคิดส์ (Reprise Records)[14] ทว่า หลัง เดอะโฟร์ธเวิลด์ ออกมาใน ค.ศ. 1997 ระหว่างที่เลอวีนและแมดเดนเรียนไฮสกูลปีสุดท้าย พวกเขาก็เปลี่ยนเป็นวงที่มีสไตล์แบบบริตป็อปยุค 60[12] แม้วงและต้นสังกัดคาดหวังกับอัลบั้มนี้มาก แต่อัลบั้มก็ไม่ติดหูและซิงเกิลนำของพวกเขา "โซปดิสโก" เป็นความล้มเหลว[15] เลอวีนกล่าวว่า ความล้มเหลวของอัลบั้มนั้นเป็น "ความผิดหวังครั้งใหญ่" จนเกือบทำให้พวกเขาแยกวงใน ค.ศ. 1998[12][16] อัลบั้มของเขาขายได้เพียง 5,000 ตลับและพวกเขาถูกยกเลิกสัญญาหลังจากนั้นหนึ่งเดือน[17]

ดูซิกและแมดเดนเข้าเรียนที่ UCLA ส่วนเลอวีนและคาร์ไมเคิลย้ายไปชายฝั่งตะวันออกที่ไฟฟ์ทาวส์คอลเลจ ในดิกซ์ฮิลล์ ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก ขณะที่เลอวีน และคาร์ไมเคิลอยู่ที่นิวยอร์ก[18] พวกเขาเริ่มสังเกตดนตรีที่เปิดรอบตัวเขา และต่อมาจึงนำรูปแบบเพลงดังกล่าวมาเป็นอิทธิพลแก่เพลงของตน[19]

พวกเขากลับคืนอุตสาหกรรมดนตรีใน ค.ศ. 2000[16] โปรดิวเซอร์ ทิม ซอมเมอร์ เซ็นสัญญาให้พวกเขาทำเพลงเดโมกับเอ็มซีเอเรเคิดส์ และทำเพลงขึ้นมา 3 เพลงในลอสแอนเจลิสในกลางปี ค.ศ. 2000 โดยมีมาร์ก เดิร์นลีย์วางแผน แต่เอ็มซีเอปฏิเสธและเพลงเหล่านั้นไม่เคยออกเผยแพร่ วงรวบรวมเดโมที่เคยถูกหลายสังกัดปฏิเสธไว้ด้วยกัน ก่อนตกถึงมือผู้บริหารอ็อกโทนเรเคิดส์ ได้แก่ เจมส์ ไดเนอร์, เบน เบิร์กแมน และเดวิด บ็อกเซนบอม[16] ขณะที่เบิร์กแมนกำลังมองหาผู้มีความสามารถให้กับค่ายอ็อกโทนใหม่ เขาได้รับชุดเดโมจากพี่น้องของอดีตเพื่อนร่วมงานที่โคลัมเบียเรเคิดส์ และเพลงที่ดึงดูดความสนใจเขาคือเพลง "ซันเดย์มอร์นิง" ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น "เพลงอัจฉริยะ"[17] เบิร์กแมนประหลาดใจเมื่อทราบว่าเพลงนั้นยกความชอบให้วงคาราส์ฟลาวเออส์เพราะเสียงแตกต่างจากวงดนตรีดังกล่าวที่เขาเคยได้ยินครั้งที่วอร์เนอร์บราเธอร์โดยสิ้นเชิง[20]

เบิร์กแมนชักชวนให้ไดเนอร์และบ็อกเซนบอมบินไปลอสแอนเจลิส เพื่อชมคาราส์ฟลาวเออส์แสดงดนตรีที่ไนต์คลับเดอะไวเปอร์รูม (The Viper Room)[17] หลังได้ชมเลอวีนบนเวที พวกเขาก็มั่นใจ เบิร์กแมนบอกฮิตควาเตอส์ว่าเขาเชื่อว่าวงต้องการ "สมาชิกคนที่ห้ามาเล่นกีตาร์เพื่อให้นักร้องอิสระขึ้น เขาจะได้เป็นดาราอย่างที่ผมรับรู้ว่าเขาเป็น"[17] อ็อกโทนกำชับทันทีว่าให้เปลี่ยนชื่อวงเพื่อแยกอดีต[17] นอกจากนี้ ค่ายยังเริ่มมองหานักกีตาร์เต็มเวลาเพื่อให้เลอวีนเน้นการแสดงในตำแหน่งร้องนำ เจมส์ วาเลนไทน์ (จากวงสแควร์ (Square) ลอสแอนเจลิส) ถูกดึงตัวมารับตำแหน่งนี้[16] จากการเข้าร่วมกับวง วาเลนไทน์ให้ความเห็นว่า "ผมเป็นเพื่อนกับพวกเขาและเริ่มเล่นดนตรีด้วยกัน ดูเหมือนว่าผมกำลังหักหลังวงของผมอยู่ เราเหมือนกำลังคบกัน แต่ในที่สุดผมก็ออกจากอีกวงเพื่อเข้าร่วมกับวงนี้"[16]

2002–2006: อัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน และไรอัน ดูซิกออกจากวง[แก้]

มารูนไฟฟ์ในคอนเสิร์ตปี ค.ศ. 2004
"ระหว่างที่เราเริ่มทำอัลบั้ม [ซองส์อะเบาต์เจน] ในปี 2001 กับเมื่ออัลบั้มประสบความสำเร็จสูงสุดในปี 2004 ชีวิตของเราเปลี่ยนจากนักดนตรีอดอยากที่เคยนึกสงสัยว่าอนาคตจะนำพาเราก้าวข้ามผ่านคลื่นแห่งความสำเร็จเหนือความคาดหวังบ้าคลั่งที่สุดของเราได้อย่างไร"

—ไรอัน ดูซิก มือกลองคนแรกของมารูนไฟฟ์ ที่ออกจากวงอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2006 เนื่องจากประสบการบาดเจ็บจากทัวร์ต่อเนื่อง[21][22]

เจมส์ วาเลนไทน์เข้าเรียนในวิทยาลัยดนตรีเบิร์กลี (Berklee College of Music) กับจอห์น เมเยอร์ในปี ค.ศ. 1996 ซึ่งพวกเขาพัฒนาความสัมพันธ์ ทั้งคู่พบกันอีกในการออกรายการวิทยุครั้งหนึ่งของเมเยอร์เมื่อ ค.ศ. 2002 หลังจากเมเยอร์ได้ฟังอัลบั้มของพวกเขา เขาประทับใจ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลง "ดิสเลิฟ" ซึ่งกลายเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดของอัลบั้มและผลักดันวงให้เป็นซูเปอร์สตาร์) มากเสียจนเขาชวนพวกเขาให้ไปเล่นเป็นวงเปิดในทัวร์ต้นปี ค.ศ. 2003[12] ซิงเกิลแรก "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" เริ่มได้ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ (airplay) อย่างช้า ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายของอัลบั้ม ภายในปี ค.ศ. 2004 อัลบั้มของพวกเขาขึ้น 20 อันดับแรกในบิลบอร์ด 200 และเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ก็ได้ขึ้นอยู่บน 20 อันดับแรกของชาร์ตซิงเกิลบิลบอร์ตฮอต 100 อัลบั้มของพวกเขาขึ้นสูงสุดในบิลบอร์ด 200 ถึงอันดับ 6 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004[23] เป็นเวลา 26 เดือนหลังออกอัลบั้ม ซึ่งถือเป็นระยะยาวที่สุดระหว่างที่การออกอัลบั้มกับการปรากฏใน 10 อันดับแรกครั้งแรกนับแต่รวมผลระบบซาวด์สแกนในบิลบอร์ด 200 ใน ค.ศ. 1991[24] อัลบั้มยังคงขายต่อไปจนได้มากกว่า 10 ล้านอัลบั้มทั่วโลก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังวง "ทิ้งเหง้าโพสต์กรันจ์ของวงเป็นดนตรีป็อปโซลที่ฟังสบาย กระทั่งแจมด้วยฮาร์ดร็อกบ้าง"[25] เมเยอร์ชักชวนวงให้มาเปิดงานให้เขาอีกใน ค.ศ. 2004[26] สามปีจากนั้น มารูนไฟฟ์ทัวร์คอนเสิร์ตต่อเนื่องแทบไม่หยุดพัก ซึ่งรวมการเยือน 17 ประเทศ ระหว่างนี้ วงได้ทัวร์ร่วมกับมิเชล แบรนช์, แกรแฮม โคลตัน และเดอะโรลลิงสโตนส์[27][28] นอกจากนี้ ยังทัวร์ร่วมกับศิลปินอื่น เช่น เกวิน เดอกรอว์[29], แมตช์บ็อกซ์ทเวนตี, ชูการ์เรย์[30], เคาน์ติงโครวส์[31], แฟนทอมแพลเน็ต[32], เดอะไฮฟส์[33], แดชบอร์ดคอนเฟสชันนอล[34], ไซมอน ดอวส์[35], เดอะธริลส์, เธิร์สตีเมิร์ก, Marc Broussard, เดอะดอนน่าส์, เดอะเรดเวสต์, ไมเคิล โทลเชอร์ และกุสเตอร์[36]

แซม ฟาร์ราร์ กล่าวว่า เพลง "อาร์ยูแดตซัมบอดี" ของอาลียาห์ ส่งผลต่อวงและมีอิทธิพลต่อเพลง "น็อตคัมมิงโฮม"[12]

สุดท้ายอัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน ขึ้นถึงอันดับ 1 บนอัลบั้มออสเตรเลีย[37] ขณะที่เพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ติดซิงเกิล 20 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา[38] และสหราชอาณาจักร[37] และ 40 อันดับแรกในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[37] อัลบั้มยังขึ้นถึงอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรในที่สุด[37] ซิงเกิลที่สอง "ดิสเลิฟ" ขึ้นอันดับ 5 ในสหรัฐอเมริกา อันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร และอันดับ 8 ในออสเตรเลีย ซิงเกิลที่สาม "ชีวิลบีเลิฟด์" ขึ้นอันดับ 5 ทั้งในสหรัฐอเมริกา[38] และสหราชอาณาจักร และอันดับ 1 ในออสเตรเลีย[37] ซิงเกิลที่สี่ "ซันเดย์มอร์นิง" ขึ้นถึง 40 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา[38] สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย[37] มารูนไฟฟ์ได้เล่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอทที่ฟิลาเดลเฟียใน ค.ศ. 2005 เพลงที่เขาเล่นมีเพลงคัฟเวอร์ "ร็อกกินอินเดอะฟรีเวิลด์" ของนีล ยัง และเลอวีนยังได้แสดงร่วมกับศิลปินซึ่งเป็นฮีโร่คนหนึ่งของเขาอย่างสตีวี วันเดอร์[39] วันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในซานตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย มารูนไฟฟ์เล่นปิดฮอนด้าซีวิกทัวร์ ซึ่งพวกเขากลายเป็นพาดหัวข่าว[40] พวกเขายังได้แสดงที่สถาบันภาพยนตร์อเมริกันเพื่อเป็นเกียรติแก่จอร์จ ลูคัส ซึ่งลูคัสเองเป็นคนเลือกมารูนไฟฟ์ เพราะเป็นวงดนตรีที่ลูกของเขานิยมในตอนนั้น[41] ระหว่างที่ทัวร์คอนเสิร์ตอยู่หลายปี ไรอัน ดูซิก ตำแหน่งกลอง เครื่องเคาะ และนักร้องเบื้องหลัง ทรมานจากชีวิตทัวร์[42] ความเครียดจากการทัวร์ไม่หยุดทำให้การบาดเจ็บจากกีฬาเก่าร้ายแรงขึ้น[11] หลังจากที่เขาขาดร่วมทัวร์กับวงหลายครั้ง โดยไรแลนด์ สตีน กับจอช เดย์มาแทน ดูซิกก็ออกจากวงอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006[22] แมตต์ ฟลินน์ อดีตมือกลองวงเกวิน เดอกรอว์ และเดอะบีฟิฟตีทูส์ เข้าร่วมวงแทนดูซิก[43]

2006–2008: อัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง[แก้]

มารูนไฟฟ์ที่เมดิสันสแควร์การ์เดน ในปี ค.ศ. 2007

หลังจากอัดเสียงกันตลอด 8 เดือนในปี ค.ศ. 2006 อัลบั้มชุดที่สองของมารูนไฟฟ์ชื่อ อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง ออกจำหน่ายทั่วโลกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ภายใต้สังกัด เอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทนเรเคิดส์[44] เลอวีนกล่าวว่า อัลบั้มถัดจาก ซองส์อะเบาต์เจน นี้จะ "เซ็กซี่กว่า และแข็งแรงกว่า"[45] ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินยุค 80 อย่าง พรินซ์, แชบบา แรงส์, ไมเคิล แจ็กสัน และทอล์กกิงเฮดส์[46] แอน เพาเวอส์ เขียนให้กับลอสแอนเจลิสไทม์ถึงอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง ว่า "เป็นส่วนผสมร้อนเย็นของดนตรีอิเล็กโทรฟังก์ และบลูอายด์โซลที่ล้อกันด้วยความมั่นใจดั่งเจมส์ บอนด์"[47]ก่อนอัลบั้มวางจำหน่าย ซิงเกิลเพลง "เมกส์มีวันเดอร์" เป็นซิงเกิลและวิดีโอที่ขายได้เป็นอันดับ 1 บนไอทูนส์[45] และยังคงเป็นอัลบั้มที่ขายดีเป็นอันดับ 1 กว่า 50,000 ชุด[45] หลังจากอัลบั้มออกมา อัลบั้มทำลายสถิติยอดขายของไอทูนส์ ณ สัปดาห์ที่ปล่อย ขายได้ถึง 101,000 ชุด[48] ซิงเกิลแรก "เมกส์มีวันเดอร์" ออกสู่วิทยุในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2007 เปิดตัวที่อันดับ 84 ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นอันดับล่างสุดที่เปิดตัวในบรรดา 5 เพลงที่เปิดตัวในชาร์ตสัปดาห์นั้น ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ซิงเกิลนี้ทะยานจากอันดับ 64 ขึ้นไปถึงอันดับ 1 เป็นการก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (biggest jump) ของบิลบอร์ด ณ เวลานั้น[49] "เมกส์มีวันเดอร์" ยังสามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตฮอตดิจิทัลซองของบิลบอร์ด, ป็อป 100, และฮอตแดนซ์คลับเพลย์ได้สำเร็จด้วย[50]

เพื่อเป็นการส่งเสริมอัลบั้ม มารูนไฟฟ์ได้แสดง "ซิกส์เดตคลับทัวร์" แห่งหนึ่ง ณ เวทีขนาดเล็กในบอสตัน ซานฟรานซิสโก ลอสแอนเจลิส มินนีแอโพลิส ไมอามี และนครนิวยอร์ก ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007[51] พวกเขายังมีคอนเสิร์ตที่แสดงสดผ่านช่องเอ็มเอสเอ็นมิวสิก (MSN Music) ตามมาในกลางเดือนเดียวกัน[52] ในวันที่ 10 กรกฎาคม เขาเล่นเป็นวงเปิดคอนเสิร์ตให้กับเดอะโพลิซ ในไมอามี[53] และตามมาด้วยการแสดงดนตรีอคูสติกที่ไมอามีคลับ สตูดิโอ เอ ในวันถัดมา[54] ทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง ของพวกเขาจะเริ่มขึ้นปี ค.ศ. 2007 ซึ่วงจะทัวร์ใน 28 เมือง ทัวร์เริ่มขึ้นในในวันที่ 29 กันยายนในดีทรอยต์ และทัวร์ต่อใน 28 เมืองในอเมริกาเหนือ และจบลงในวันที่ 10 พฤศจิกายนในลาสเวกัส[55] โดยมีวง เดอะไฮฟส์ เป็นแขกรับเชิญพิเศษตลอดงาน ขณะที่มีซารา บาเรลลิส เควิน ไมเคิล และ แฟนทอมแพลเน็ต ที่ร่วมแสดงเป็นบางครั้ง[56] พวกเขายังได้ทัวร์ร่วมกับวงแดชบอร์ดคอนเฟสชันแนล ในงานทัวร์คอนเสิร์ตด้วย และในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2008 พวกเขาเริ่มทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงวันรีพับบลิก, แบรนดี คาร์ไลล์ และไร คูมิง[57] พวกเขายังได้แสดงเพลง "เมกส์มีวันเดอร์" ในรายการอเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 6 และเพลง "อิฟไอเนเวอร์ซียัวร์เฟสอะเกน" ในฤดูกาลที่ 7 การออกอัลบั้มซ้ำ (re-release) มีเพลง "อิฟไอเนเวอร์ซียัวร์เฟสอะเกน" เวอร์ชันใหม่ที่ร้องร่วมกับริอานนา ซึ่งเวอร์ชันใหม่ของเพลงนี้ยังอยู่ในอัลบั้มกูดเกิลส์กอนแบด ซึ่งเป็นการออกจำหน่ายซ้ำเช่นกัน และพวกเขาก็ได้ปล่อยซิงเกิลลำดับที่ห้า "กูดไนต์กูดไนต์" ซึ่งปรากฏในฉากเริ่มเรื่องของซีรีส์ "ซีเอสไอ: นิวยอร์ก" ตอน "Page Turner" ด้วย[58]

2008–2011: อัลบั้ม แฮนส์ออลโอเวอร์[แก้]

มารูนไฟฟแสดงในฮ่องกงปี ค.ศ. 2011

เลอวีนกล่าวว่าเขาเชื่อว่าวงของเขาถึงจุดสูงสุดแล้วและอาจจะทำอีกหนึ่งอัลบั้มก่อนที่จะยุบวง[59] เขาอธิบายเรื่องนี้ว่า "สุดท้ายแล้วผมก็อยากจะเน้นเรื่องการเป็นคนที่แตกต่างไปอย่างแท้จริงเพราะผมไม่รู้ว่าผมจะทำมันไปจนผมอายุ 40-50 ปีหรือแก่กว่านั้นอย่างวงเดอะโรลลิงสโตนส์หรือเปล่า"[60]

มารูนไฟฟ์อัดอัลบั้มชุดที่สามใน ค.ศ. 2009 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งวงได้ทำงานร่วมกับโรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" แลงจ์[61] โปรดิวเซอร์ฝ่ายอัดเสียง อัลบั้มนี้มีชื่อว่า แฮนส์ออลโอเวอร์ ออกจำหน่ายวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2010 อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 2 ในบิลบอร์ด 200 รองจากอัลบั้ม ยูเก็ตว้อตยูกิฟ ของแซ็กบราวน์แบนด์[62] แม้ว่าจะเปิดตัวได้ดี แต่ยอดขายสัปดาห์แรกกลับทำได้เพียง 142,000 ชุด ซึ่งค่อนข้างแย่กว่าอัลบั้มก่อนหน้า อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง ที่เปิดตัวที่อันดับหนึ่งด้วยยอดขาย 492,000 ชุด[63] อัลบั้มได้รับคำวิจารณ์แบบคละกัน แม้ว่านักวิจารณ์บางส่วนจะชื่นชมการผลิตเพลง นักวิจารณ์จำนวนมากสันนิษฐานว่ายอดขายที่น้อยมาจากการดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ตอย่างผิดกฎหมาย ที่เรียกว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ และวงไม่ได้ใส่ใจ ซิงเกิลแรกคือ "มิสเซอรี" ออกมาวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2010 มารูนไฟฟ์ทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเทรน ในฤดูร้อน ค.ศ. 2011 ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ถึง 24 กันยายน[64]

ในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2011 วงออกซ้ำอัลบั้ม แฮนส์ออลโอเวอร์ เพื่อใส่เพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ร่วมร้องโดยคริสตินา อากีเลรา[65][66] เพลงแสดงสดครั้งแรกในรายการเดอะวอยซ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2011 และขึ้นถึงอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 แอดัม เลอวีนยังได้ไปร้องร่วมกับจิม คลาส ฮีโรส์ ในเพลง "สเตริโอฮาตส์" ที่ขึ้นอันดับ 4 บนบิลบอร์ดฮอต 100 ด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2011 เจสซี คาร์ไมเคิลกล่าวว่าทางวงจะเริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มต่อไปภายในปีนั้น[67] ในวันที่ 1 ตุลาคม มารูนไฟฟ์แสดงสดที่คอนเสิร์ตร็อกอินริโอ ในริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล[68] มารูนไฟฟ์แสดงในชั่วโมงสุดท้ายซึ่งวงถูกเลือกให้แทนที่เจย์-ซี (Jay-Z) ที่ยกเลิกไปด้วยเหตุผลส่วนตัว[69] มารูนไฟฟ์ยังได้ร่วมเปิดตัวเครื่องดื่มยี่ห้อสแนปเปิล (Snapple) ภายใต้ชื่ "ทีวิลบีเลิฟด์" เพื่อสนับสนุนองค์การฟีดดิงอเมริกาด้วย[70]

มารูนไฟฟ์เล่นเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" กับเพลง "สเตริโอฮาตส์" ร่วมกับ เทรวี แม็กคอย ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ในรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ (Saturday Night Live) พวกเขายังแสดงเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" กับเพลง "สเตริโอฮาตส์" ร่วมกับคริสตินา อากีเลรา และจิม คลาส ฮีโรส์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ในรายการประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด (American Music Award) ซึ่งวงก็ชนะรางวัลนี้เป็นครั้งแรกในสาขาวง/คู่ดูโอ/กลุ่มศิลปินป็อปที่เป็นที่ชื่นชอบ มารูนไฟฟ์ได้แสดงเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ในงาน วิกตอเรียซีเคร็ตแฟชันโชว์ (Victoria's Secret Fashion Show)[71] ปี 2011 ด้วย ในระหว่างช่วงโปรโมชันของโคคา-โคล่าในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 มีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงในการเขียนเพลงต้นฉบับจนสมบูรณ์ ซึ่งได้นักดนตรี พีเจ มอร์ตัน (PJ Morton) คอยช่วยเหลือ หลังจากเวลาของเขาหมดลง เพลง "อิซแอนีวันเอาต์แดร์" ก็ออกเผยแพร่มาบนเว็บไซต์ของโคคา-โคล่าให้ดาวน์โหลดฟรี วงบันทึกเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์เกมล่าเกม (The Hunger Games) ชื่อเพลง "คัมอะเวย์ทูเดอะวอเทอร์" ร้องร่วมกับรอสซี เครน ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 54 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 มารูนไฟฟ์แสดงพร้อมกับฟอสเตอร์เดอะพีเพิล และเดอะบีชบอยส์ ในเมดเล่ย์เพลงของเดอะบีชบอยส์ เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีให้แก่ศิลปินดังกล่าว[72]

2012–14: คาร์ไมเคิลลาพัก และอัลบั้ม โอเวอร์เอกซ์โพสต์[แก้]

วันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2012 มารูนไฟฟ์ประกาศว่า เจสซี คาร์ไมเคิลจะขอลาพักโดยไม่ได้ระบุระยะเวลาเพื่อจะได้ไปใส่ใจกับการเรียนเกี่ยวกับ "ดนตรีและการเยียวยาทางจิตใจ" วงยังคงมุ่งหน้าทำงานอัลบั้มชุดที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ วางจำหน่ายวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2012 โดยมีพีเจ มอร์ตัน สมาชิกร่วมทัวร์ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 และกลายเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบหลังจากประกาศอย่างเป็นทางการ มาเล่นคีย์บอร์ดและร้องเบื้องหลังให้ เนื่องจากในฐานะนักร้องแนวอาร์แอนด์บี มอร์ตันประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย[73] เลอวีนกล่าวถึงอัลบั้มว่าเป็นอัลบั้มที่ "หลากหลายและเป็นแนวป็อบมากที่สุดเท่าที่เคยทำมา"[74] ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2012 มารูนไฟฟ์แสดงเพลง "เพย์โฟน" ร้องร่วมกับนักร้องแร็ป วิซ คาลิฟา ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม โอเวอร์เอ็กซ์โพสด์ ในรายการเดอะวอยซ์ ซึ่งเลอวีนเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินและโค้ชในรายการ ซิงเกิลนี้เปิดตัวที่อันดับที่ 3 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และขึ้นได้ถึงอันดับที่ 2 ซิงเกิลที่สอง "วันมอร์ไนต์" ออกมาวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เพลงนี้ได้ขึ้นถึงอันดับที่ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 นำเพลง คังนัมสไตล์ ของไซ และครองอันดับหนึ่งได้ถึง 9 สัปดาห์ติดต่อกันเทียบเท่ากับเพลงดัง "คอลมีเมย์บี" ของคาร์ลี เร เจปเซน ในฐานะเพลงที่ขึ้นอันดับที่หนึ่งนานที่สุดในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี ค.ศ. 2012[75][75]

ในช่วงเริ่มทัวร์ โอเวอร์เอ็กซ์โพสต์เวิลด์ทัวร์ ในอเมริกาใต้ มารูนไฟฟ์ได้แนะนำให้ผู้ชมรู้จักแซม ฟาร์ราร์ เพื่อนเก่าและเป็นเพื่อนสนิท ซึ่งเล่นตำแหน่งกีตาร์ ร้องเบื้องหลัง เล่นกีตาร์เบส เครื่องประกอบจังหวะ เทิร์นเทเบิล และหาแซมเปิลเพลง หาเสียงสเปเชียลเอฟเฟกต์อื่น ๆ (โดยใช้เครื่องผลิตเสียงดนตรี (Music Production Center))[76] ฟาร์ราร์ยังได้ร่วมเขียนและผลิตเพลงจำนวนหนึ่งให้กับมารูนไฟฟ์ในเกือบทุกอัลบั้ม และทำการรีมิกซ์เพลง "วูแมน" (จากอัลบั้ม ไอ้แมงมุม 2) ลงอัลบั้ม คอลแอนด์เรสปอนส์: เดอะรีมิกซ์อัลบั้ม วางจำหน่ายใน ค.ศ. 2008[77]

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 มารูนไฟฟ์ออกซิงเกิลที่สาม "เดย์ไลต์" และเพื่อส่งเสริมเพลงนี้ ทางวงได้ปล่อยโปรเจกต์วิดีโอชื่อ "เดอะเดย์ไลต์โปรเจกต์" เป็นโปรเจกต์ที่ให้แฟนเพลงถ่ายทำเรื่องราวของตนเองเป็นส่วนหนึ่งในมิวสิกวิดีโอเพลง "เดย์ไลต์" กำกับโดย Jonas Åkerlund เพลง "เดย์ไลต์" ถูกเล่นสดครั้งแรกในนามของซิงเกิลวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ในรายการเดอะวอยซ์ของอเมริกาและมิวสิกวิดีโอถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2012[78][79]

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2013 วงได้ประกาศว่าพวกเขาจะได้พาดหัวบนใบปิดงานฮอนด้าซีวิกทัวร์ประจำปีครั้งที่ 12 ร่วมกับแขกรับเชิญพิเศษคือเคลลี คลาร์กสัน[80] ทัวร์เริ่มขึ้นวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2013 จบลงวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2013 รวม 34 วัน มารูนไฟฟ์ออกซิงเกิลที่ 4 และซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้ม "เลิฟซัมบอดี" เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[81]

2014–2016: การกลับมาของคาร์ไมเคิล อัลบั้ม ไฟฟ์[แก้]

มารูนไฟฟ์ขณะกำลังแสดงสดในปี ค.ศ. 2016

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 เจมส์ วาเลนไทน์กล่าวเกี่ยวกับการอัดเสียงอัลบั้มที่ห้าในสตูดิโอว่า "สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้ เสียงดนตรีอาจจะฟังดูมืดมนลงเล็กน้อย บางทีอาจจะย้อนกลับไปเหมือนกับเพลงในอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน แต่ ณ จุดนี้เราทำเพลงที่แตกต่างออกไปและมันก็มาเร็วกว่าที่คิด"[82]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 วงได้แสดงเพลง "ออลมายเลิฟวิง" และ "ทิกเก็ตทูไรด์" ในงานคอนเสิร์ตชื่อ เดอะไนต์แด้ตเชนจด์อเมริกา เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีการมาถึงสหรัฐอเมริกาของวงเดอะบีเทิลส์[83]

วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2014 เจสซี คาร์ไมเคิลยืนยันว่าพักงานเสร็จแล้วและพร้อมกลับมาร่วมทำงานอัลบั้มชุดที่ห้ากับวงอีกครั้ง[84] ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2014 มารูนไฟฟ์แสดงในงาน ทูเดย์โชว์ ที่ร็อกกีเฟลเลอร์พลาซา ในนครนิวยอร์กวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัวร์คอนเสิร์ตที่จัดโดยโตโยต้า[85]

วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 มารูนไฟฟ์ประกาศอย่างเป็นทางการว่าอัลบั้มชุดที่ห้าในชื่อ ไฟฟ์ (V คือเลข 5 ในเลขโรมัน) จะวางจำหน่ายในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2014 ในสังกัดอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ซิงเกิลแรกคือเพลง "แม็ปส์" ออกจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2014[86] ขึ้นถึงอันดับที่หกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[87] หลังจากอัลบั้มออกจำหน่ายวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2014 อัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2014[88][89] อัลบั้มไฟฟ์ ได้รับคำวิจารณ์คละกัน แบรด วีต เขียนให้กับบิลบอร์ดว่า "เสียงร้องดั่งนกฮัมมิงเบิร์ดของเลอวีนและการส่งผ่านอารมณ์นั้นแรงกล้าพอ ๆ กับที่เขาทำไว้ในอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจนเมื่อปี 2002 เลย"[90]

ในวันที่ 10 สิงหาคม วงได้ลงพาดหัวข่าวเกี่ยวกับงานฮุนไดการ์ดซิตีเบรก เทศกาลดนตรีร็อกในประเทศเกาหลีใต้ มารูนไฟฟ์ยังแสดงในรายการไอทูนส์เฟสติวัล 2014 ที่ราวด์เฮาส์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2014 (ตลอดการแสดงคอนเสิร์ตในส่วนของเทศกาลมีการถ่ายทำและออกอากาศสดออนไลน์ทั่วโลก)[91] ซิงเกิลที่สอง "แอนิมัลส์" แสดงครั้งแรกในภาพยนตร์โฆษณาเกีย โซล และมีให้ดาวน์โหลดฟรีทางเว็บไซต์ของเกียในเวลาจำกัดหลังจากเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2014[92] เพลงขึ้นถึงอันดับสามบนชาร์ตฮอต 100[87]

มารูนไฟฟ์แสดงในรายการพิเศษช่วงคริสต์มาสของงานประกาศรางวัลแกรมมี ชื่อว่า "อะเวรีแกรมมีคริสต์มาส" (A Very Grammy Christmas) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 และในคอนเสิร์ตจิงเกิลบอลของคลื่น Z100 ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2014[93][94]

"ชูการ์" วางจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่สามจากอัลบั้มเมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2015 มิวสิกวิดีโอแสดงสมาชิกในวงเดินทางรอบลาสเวกัส และแสดงดนตรีตามงานแต่งงาน[95] "ชูการ์" ยังอยู่ในภาพยนตร์โฆษณานิสสันด้วย[96]

มารูนไฟฟ์เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 มีกำหนดการในอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และโอเชียเนีย และเล่นจนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 มีศิลปิน เมจิก! รอซซี เครน นิก การ์ดเนอร์ และเดอร์ตีลูปส์ เล่นเปิดคอนเสิร์ตให้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ภาพถ่ายของเจสซี คาร์ไมเคิลในสตูดิโอถูกโพสต์ในอินสตาแกรมคู่กับโปรดิวเซอร์เพลง โนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย[97]

วงกำลังจะออกอัลบั้มรวมเพลงยอดนิยมชื่อ ซิงเกิลส์ ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ผ่านสังกัดอินเตอร์สโคป และ 222 เรเคิดส์[98][99][100] อัลบั้มจะรวบรวมซิงเกิล 12 ซิงเกิลจากสตูดิโออัลบั้มที่ผ่านมา[101]

ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2015 มีประกาศผ่านอี! ออนไลน์ว่าสมาชิกวงมารูนไฟฟ์เป็นหนึ่งในศิลปินที่จะแสดงในงานซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 50 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[102][103][104]

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 วงประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าพวกเขาจะทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกาเหนือใน ค.ศ. 2016 ในเดือนกันยายนและตุลาคม โดยมีศิลปินเสริมคือทูเว ลู อาร์ซิตี และเฟซิส[105] วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2016 วันครบรอบ 15 ปีการวางจำหน่ายอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน มีการเฉลิมฉลองวันมารูนไฟฟ์ (#Maroon5Day) โดยร่วมมือกับองค์กรยูนิเซฟเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข[106][107]

2017–2019: อัลบั้ม เรดพิลล์บลูส์ และการแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่ 53[แก้]

มารูนไฟฟ์ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตเรดพิลล์บลูส์ทัวร์ที่เป๊ปซี่เซ็นเตอร์ ในเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ใน ค.ศ. 2018

ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2017 แอดัม เลอวีนเปิดเผยว่าวงกำลังทำสตูดิโออัลบั้มที่หก[108] เลอวีนกล่าวว่า อัลบั้มใหม่จะออก "อีกไม่ช้า" และจะมีแนวเพลงอาร์แอนด์บี[109][110] ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2017 เลอวีนยืนยันในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ 2017 ว่าอัลบั้มใหม่จะวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน[111][112]

ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2017 มารูนไฟฟ์เผยชื่ออัลบั้ม เรดพิลล์บลูส์ ชื่อมีแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ เดอะ เมทริกซ์ : เพาะพันธุ์มนุษย์เหนือโลก 2199 ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1999[113] อัลบั้มวางจำหน่ายในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017[114] เรดพิลล์บลูส์ได้รับการตอบรับผสมกันเนื่องจากวงมีทิศทางแนวเพลงไปทางป็อปมากเกินไป อัลบั้มนี้มีสามซิงเกิล ได้แก่ "วอตเลิฟเวอส์ดู" "เวต" และ "เกิลส์ไลก์ยู" เพลง "เกิลส์ไลก์ยู" ร้องรับเชิญโดยคาร์ดิ บี ขึ้นอันดับหนึ่งต่อเนื่องเจ็ดสัปดาห์บนบิลบอร์ดฮอต 100 เพลง "โดนต์วอนนาโนว์" และ "โคลด์" ออกเป็นซิงเกิลนอกอัลบั้ม และถูกรวมในอัลบั้มรุ่นดีลักซ์เท่านั้น[115]

มารูนไฟฟ์เริ่มทัวร์คอนเสิร์ต เรดพิลล์บลูส์ทัวร์ ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2018 (สิ้นสุดในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2019) มีแขกรับเชิญได้แก่ จูเลีย ไมเคิลส์ CXLOE และซิกริด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 วงนำเพลง "ทรีลิตเทิลเบิดส์" ของบ็อบมาร์เลย์แอนด์เดอะเวเลอส์ มาร้องใหม่เป็นโฆษณาส่งเสริมฟุตบอลโลก 2018 โดยฮุนได[116] มิวสิกวิดีโอกำกับโดยโจเซฟ คาห์น[117]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เลอวีนและเจสซี คาร์ไมเคิล ร่วมกับสโตน กอสซาร์ด สมาชิกวงเพิร์ลแจม แสดงเพลง "ซีซันส์" ของคริส คอร์เนลล์ ที่คอนเสิร์ตการกุศลชื่อ ไอแอมเดอะไฮเวย์: อะทริบิวต์ทูคริสคอร์เนลล์[118] ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 วงได้เล่นในการแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่ 53 ที่สนามเมอร์ซีเดสเบนซ์ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ร่วมกับแร็ปเปอร์ บิกบอย และแทรวิส สก็อตต์[119] แต่การแสดงของวงถูกวิจารณ์และจัดว่าเป็นหนึ่งในการแสดงในช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบวล์ที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเนชันแนลฟุตบอลลีก[120] ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019 มารูนไฟฟ์แสดงคอนเสิร์ตเทศกาลดนตรี ซัมเมอร์ไทม์บอล ของสถานีวิทยุแคปิตอล ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ กรุงลอนดอน[121]

2019–ปัจจุบัน: แมดเดนออกจากวงและ จอร์ดี[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 มารูนไฟฟ์เผยแพร่ซิงเกิล "เมมโมรีส์" ซึ่งเป็นซิงเกิลนำของอัลบั้มที่ 7[122] โดยทางวงอุทิศเพลงนี้ให้แก่จอร์แดน เฟลด์สไตน์ ผู้จัดการวงที่เสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017[123] แอดัม เลอวีน นักร้องนำกล่าวเพิ่มเติมถึงเพลงนี้ว่ามันเป็น "เพลงสำหรับคนที่เคยประสบความสูญเสีย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเพลงสำหรับทุก ๆ คน"[124] ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 มิกกี แมดเดน มือเบสถูกจับกุมหลังถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงในครอบครัว[125] หลังจากนั้นแมดเดนประกาศลาออกจากวง[126] ต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 วงออกซิงเกิลที่สอง "โนบอดีส์เลิฟ"[127] และซิงเกิลที่สาม "บิวตีฟูลมิสเทก" ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2021[128] ก่อนจะประกาศว่าอัลบั้มที่ 7 ของวง จอร์ดี จะเผยแพร่ในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2021[129]

อิทธิพลและแนวดนตรี[แก้]

"ผมคิดว่าเพลงเก่า ๆ ของมารูนไฟฟ์จะฟังดูไม่เป็นผู้ใหญ่ และมันมีความเป็นฟังก์ กีตาร์แบบไนล์ รอดเจอส์ และเนื้อเพลงเกี่ยวกับหัวใจที่แตกสลาย ไม่เป็นผู้ใหญ่ ฟังก์ และหัวใจแตกสลาย นั่นคือสูตรสำเร็จของมารูนไฟฟ์"

—เจมส์ วาเลนไทน์[130]

แอดัม เลอวีนกล่าวไว้ว่า "ทุกอย่างที่เขียนและแสดงออกมาและใส่รวมกันค่อนข้างจะมาจากเรา ผมแค่คิดว่าคนจะแปลกใจที่รู้ว่าเราคือหน่วยที่ใส่ความเป็นตัวเองลงไป เราเป็นวงที่ทำตามที่พวกเขาต้องการ ไม่มีผู้ชักนำ"[131]

อย่างไรก็ตาม ในบทความเกี่ยวกับนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ เบนนี บลังโก เปิดเผยว่าเพลงของวงบางเพลง เช่น "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" เป็นผลผลิตมาจากความพยายามโดยอาศัยความร่วมมือกับนักเขียนเพลงและโปรดิวเซอร์มืออาชีพ[132] ในบทความเดียวกันนั้น ใส่คำกล่าวของแอดัม เลอวีนที่ว่า "ราวกับว่า [เบนนี บลังโก] มีสัมผัสของมิด้าที่สามารถหาคนที่เหมาะสมเข้าด้วยกันได้ในเวลาที่เหมาะเจาะในการสร้างช่วงเวลาของดนตรีใหม่ ๆ เขาคือความร่วมมือ และเก่งในเรื่องทำให้คนคนหนึ่งทำสิ่งที่ดีที่สุดออกมาได้"[133]

กีตาร์เบสสีดำมิวสิกแมนของแมดเดน จัดแสดงที่ฮาร์ดร็อกคาเฟ่ ลอนดอน

มารูนไฟฟ์เคยอ้างว่าตนได้รับอิทธิพลมาจากไมเคิล แจ็กสัน เดอะโพลิซ บีจีส์ จัสติน ทิมเบอร์เลก โทนิก และพรินซ์[134] แอดัม เลอวีน ยังอ้างว่าได้รับอิทธิพลจากสตีวี วันเดอร์ และบิลลี โจเอล เช่นกัน[39] ยิ่งกว่านั้น มือกีตาร์ เจมส์ วาเลนไทน์ กล่าวว่าเขาได้รับอิทธิพลจากมือกีตาร์หลายคน เช่น แพท เมธินี, บิล ฟริเซลล์ และจอห์น สโคฟิลด์ รวมถึงวงดนตรีร็อกชื่อ ควีนส์ออฟเดอะสโตนเอจ ด้วย[135] เพลงหลายเพลงของวงจะหนักไปที่กีตาร์ มักจะคลอด้วยเปียโนหรือเครื่องสังเคราะห์เสียง เนื้อหาในเพลงส่วนใหญ่เกี่ยวกับความรัก มักจะเป็นการสูญเสียความรัก เพลงอย่าง "ดิสเลิฟ" "เมกส์มีวันเดอร์" และ "มิเซอรี" จะมีโทนถากถาง แสดงความไม่พอใจในความสัมพันธ์ ขณะที่เพลงที่ซาบซึ้งใจและเร้าอารมณ์เช่น "ชีวิลบีเลิฟด์" "เนเวอร์กอนนาลีฟดิซเบด" นำเสนอความยาวนานในความสัมพันธ์ชู้สาว เพลง "เมกส์มีวันเดอร์" มีเนื้อหารองคือ เลอวีนแสดงความผิดหวังเมื่อรู้ว่าบางสิ่งไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ และความท้อแท้จากสถานการณ์ทางการเมืองอเมริกา และสงครามอิรัก[136]

ดนตรีของมารูนไฟฟ์เปลี่ยนแปลงไปทุกอัลบั้ม กล่าวคือ อัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน เต็มไปด้วยเพลงเกี่ยวกับแฟนเก่าเลอวีนที่ชื่อเจน ในอัลบั้มอิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง เพลงในอัลบั้มลดความส่วนตัวลง และมีใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้ามากขึ้นด้วยเครื่องสังเคราะห์ดนตรี (synthesizer) ช่วยสร้างความรู้สึกแบบย้อนยุค (retro style) อัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์ กลับมาที่เนื้อหาเพลงเกี่ยวกับการสูญเสียความรัก รวมไปถึงเพลงเกี่ยวกับความหลงใหล และได้ออกจำหน่ายซ้ำพร้อมเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" เพลงแนวอิเล็กโทรป็อปที่แสดงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านดนตรีของวง ทำให้ชวนเต้นมากขึ้น เลอวีนกล่าวว่า "มันเป็นหนึ่งในหลายเพลงที่เสี่ยงมาก" "มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นตัวของตัวเอง (bold statement) เราไม่เคยปล่อยเพลงแบบนั้นออกมาก่อนเลย แต่ก็น่าตื่นเต้นที่ได้ทำอะไรที่แตกต่าง แปลกใหม่ ผมดีใจที่ทุกคนชอบมัน"[137] วาเลนไทน์เรียกอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ว่าเป็น "อัลบั้มเพลงแนวป็อปมากที่สุดของพวกเราและเราไม่เคยเขินอายเลยที่ได้ทำมันขึ้นมา"[138] พวกเขายังได้ทดลองกับดนตรีแนวนิวเวฟ[139][140][141] และดิสโก้[142][143] ในหลาย ๆ อัลบั้ม

สมาชิก[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
อดีตสมาชิกร่วมทัวร์
  • ทอมมี "บูม-บูม" คิง – คีย์บอร์ด, ร้องเบื้องหลัง (ทัวร์ แบ็กทูสคูล ในปี 2009)
  • เอเดรียน ยัง (จากวง โนเดาต์) – กลอง, เครื่องประกอบจังหวะ (ยังเล่นแทนแมตต์ ฟลินน์ ในการแสดงบางรอบในทัวร์ แบ็กทูสคูล เนื่องจากฟลินน์ออกจากวงมารูนไฟฟ์ชั่วคราวด้วย "ปัญหาทางครอบครัว" ดังที่กล่าวไว้ในเว็บไซต์ทางการของวง)[152]
  • ไรแลนด์ สตีน (จากวง รีลบิกฟิช) – กลอง, เครื่องประกอบจังหวะ (แสดงบางรอบในทัวร์อัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน – สตีน เคยเป็นมือกลองให้กับวงดนตรีเก่าที่เคยเล่นร่วมกับเจมส์ วาเลนไทน์ ในวงสแควร์ เข้ามาเล่นแทนไรอัน ดูซิก ก่อนที่แมตต์ ฟลินน์ จะเป็นสมาชิกร่วมทัวร์และหลังจากนั้นได้เป็นมือกลองของวง)[153]
  • จอช เดย์ – กลอง, เครื่องประกอบจังหวะ (แสดงบางรอบในทัวร์อัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน – เดย์เข้ามาเล่นแทนดูซิกเช่นกัน เขาเป็นสมาชิกวงที่เล่นเบื้องหลังให้กับซารา บาเรลลิส มาอย่างยาวนาน เขาเล่นให้กับวงจนถึงปี 2013)

เส้นเวลา[แก้]

รายได้[แก้]

ใน ค.ศ. 2015 ฟอบส์ประเมินรายได้ต่อปีของมารูนไฟฟ์ไว้ที่ 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[154]

ผลงาน[แก้]

มารูนไฟฟ์
คาราส์ฟลาวเออส์
  • 1995 : วีไลก์ดิกกิง? (We Like Digging?)
  • 1997 : เดอะโฟร์ธเวิลด์ (The Fourth World)
  • 1999 : สแต็กสตรีทเรคอร์ดิงส์ (Stagg Street Recordings)

ความสำเร็จ[แก้]

มารูนไฟฟ์ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี 3 รางวัล[155] รางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 3 รางวัล[156][157][158] รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ 4 รางวัล และรางวัลทีนช้อยส์อะวอดส์ 4 รางวัล[159] ในการประกาศรางวัลเวิลด์มิวสิกอะวอดส์ 2004 พวกเขาชนะรางวัล "กลุ่มหน้าใหม่ยอดเยี่ยมของโลก" (World's Best New Group)[160]

อัลบั้ม แฮนส์ออลโอเวอร์ สตูดิโออัลบั้มลำดับที่สามของวง ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ขึ้นอันดับที่สองบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ใน ค.ศ. 2011 อัลบั้มดังกล่าวออกจำหน่ายซ้ำและได้เพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ที่มีร้องรับเชิญโดยคริสตินา อากีเลรา กลายเป็นเพลงที่สองของวงที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตฮอต 100 ขายได้ 14.4 ล้านหน่วยทั่วโลก และกลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดทั่วโลก[161] มารูนไฟฟ์ออกอัลบั้มลำดับที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 อัลบั้มขึ้นอันดับสองบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ซิงเกิลสองเพลงแรกคือ "เพย์โฟน" และ "วันมอร์ไนต์" ต่างก็เป็นที่นิยมทั่วโลกและขึ้นอันดับที่สอง และอันดับที่หนึ่งบนชาร์ตฮอต 100 ตามลำดับ[162] "วันมอร์ไนต์" สามารถเอาชนะเพลง "คังนัมสไตล์" ของไซ ได้โดยขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และอยู่ได้นานเท่ากับเพลง "คอลมีเมย์บี" ของคาร์ลี เร เจปเซน[75] แอดัม เลอวีนยังได้รับความนิยมจากการเป็นกรรมการตัดสินในรายการประกวดพรสวรรค์ เดอะวอยซ์ ซึ่งออกอากาศทางช่องเอ็นบีซีด้วย[163]

มารูนไฟฟ์อยู่อันดับที่ 15 จากการจัดอันดับ "ศิลปินแถวหน้า หมวดซิงเกิลดิจิทัล" ของสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา โดยมียอดขายที่ยืนยันว่าขายได้ 15 ล้านหน่วยในสหรัฐอเมริกา[164] ใน ค.ศ. 2013 มารูนไฟฟ์เป็นศิลปินที่ถูกเปิดเพลงมากที่สุดอันดับสามของชาร์ตท็อป 40 เมนสตรีมเรดิโอ วัดจากบริการมีเดียเบส ของบริษัทเคลียร์แชนเนล กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุดในสังกัดอินเตอร์สโคปเรเคิดส์[165] ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2014 สตูดิโออัลบั้มลำดับที่ห้า ไฟฟ์ (V) เปิดตัวที่อันดับที่หนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขาย 164,000 อัลบั้มในสัปดาห์แรก[163] ใน ค.ศ. 2013 มารูนไฟฟ์อยู่ในอันดับที่ 94 ในรายชื่อ 100 ศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลในงานครบรอบ 55 ปีของชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 จากซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" "เพย์โฟน" และ "วันมอร์ไนต์"[166]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 วงติดอันดับที่ 44 ในรายชื่อฮอต 100 ยอดเยี่ยมที่สุดในรอบ 57 ปี บิลบอร์ดฮอต 100[167]

ทัวร์คอนเสิร์ต[แก้]

การกุศล[แก้]

  • ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 มารูนไฟฟ์ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร รีเวิร์บ (REVERB) โดยการทัวร์สีเขียว และชักชวนแฟนเพลงให้ทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • มารูนไฟฟ์เป็นผู้สนับสนุนองค์กรเอดสติลรีไควด์ (Aid Still Required; ASR) มาอย่างยาวนาน หลังจากอุทิศเพลง "ชีวิลบีเลิฟด์" ฉบับเล่นสดให้กับซีดีเพลงขององค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2004 แล้ว[170][171] มารูนไฟฟ์ยังบันทึกเสียงประกาศสู่สาธารณะให้กับองค์กร ASR เกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต้องทำให้กับเฮติด้วย มารูนไฟฟ์เข้าร่วมโครงการรณรงค์ผ่านสื่อสังคมขององค์กรหลายโครงการ[172] และเลอวีนได้จัดงานพบปะแฟนคลับในฉากของรายการเดอะวอยซ์เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือโครงการหลายโครงการขององค์กร ASR[173]
  • มารูนไฟฟ์สนับสนุนมูลนิธิโรคมะเร็งปอด บอนนี เจ. แอดดาริโอ
  • ในปี ค.ศ. 2006 มารูนไฟฟ์ได้รางวัลเอนไวรอนเมนทัลมีเดียอะวอดส์ เนื่องจากบริจาครายได้จากทัวร์คอนเสิร์ตที่อเมริกาเหนือ 2005 ให้กับองค์กรสิ่งแวดล้อมโลกแห่งหนึ่งชื่อ "โกลบอลคูล"[174]
  • ในปี ค.ศ. 2011 มารูนไฟฟ์ (ร่วมด้วย พีเจ มอร์ตัน ซึ่งยังเป็นสมาชิกร่วมทัวร์ในขณะนั้น) เข้าร่วมโครงการ "24 ฮาวร์เซสชัน" กับโคคา-โคล่า พวกเขาเขียนและบันทึกเพลง "อิซเอนีบอดีเอาต์แดร์" ภายในเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากจบโครงการ เพลงดังกล่าวมีให้รับชมในเว็บไซต์โคคา-โคล่า มีประกาศว่าถ้าเพลงถูกดาวน์โหลดมากกว่า 100,000 ครั้ง วงจะบริจาคน้ำสะอาดให้ทวีปแอฟริกา[175]
  • แอดัม เลอวีน หลังจากน้องชายเปิดเผยว่าเป็นเกย์ ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนการแต่งงานกับเพศเดียวกัน และสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[176] ในปี ค.ศ. 2011 เขาเปิดบัญชีทางการของมารูนไฟฟ์ในยูทูบเพื่อสนับสนุนโครงการอิตเก็ตส์เบ็ตเทอร์โปรเจกต์[177] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 เขาประกาศว่า มารูนไฟฟ์ได้เปลี่ยนแปลงสถานที่แสดงหลังการประกาศรางวัลแกรมมี เนื่องจาก "การสนับสนุนญัตติข้อที่ 8 ของร้านอาหารที่ไม่ระบุชื่อแห่งหนึ่งในลอสแอนเจลิส"[176]
  • สนับสนุนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ[178]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Up close with Maroon 5- Facebook and Twitter competition to give patron meeting with Rock band". The Gleaner. January 2, 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  2. "Maroon 5". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  3. Leahey, Andrew. "Kara's Flowers". AllMusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ July 31, 2012.
  4. "Maroon5 Breaks Out Slowly But Surely". Billboard. August 13, 2003. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  5. "Maroon 5". GRAMMY.com (ภาษาอังกฤษ). March 17, 2014. สืบค้นเมื่อ February 4, 2019.
  6. Moss, Corey (March 6, 2007). "Maroon 5 Back With 'Harder' Album After Adam Levine Gets Sick Of Partying". MTV News. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  7. Trakin, Roy (May 9, 2014). "Maroon 5 Signs with Interscope Records, Live Nation for Worldwide Tour Deal". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ June 26, 2018.
  8. Universal Music (June 9, 2014). "Adam Levine's 222 Records Announces Partnership with Interscope Records". UniversalMusic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ June 26, 2018.
  9. Aaron, Brown (September 17, 2014). "iTunes Festival: Maroon 5 enthusiastically blend fan-favourites and brand-new singles". Daily Express. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
  10. "Kara's Flowers bio". The InternetTrash. Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-04-17. สืบค้นเมื่อ 2014-08-01.
  11. 11.0 11.1 Visakowitz, Susan, "Sophomore Jump". They were inspired by August Calderon Billboard. 119 (17)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Hoard, Christian (2004-06-45), "A Whiter Shade of Funk". Rolling Stone (950):43–44
  13. McIntosh, Gregory. "Kara's flowers". AllMusic. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  14. Kimpel, Dan (2006). How they made it: true tit stories of how music's biggest stars went from start to stardom!. Milwaukee: Hal Leonard Corporation. p. 87. ISBN 0-634-07642-6.
  15. Kimpel 2006, pp. 87–88.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Rosen, Craig (June 5, 2005), "Gold 5". Billboard. 117 (23):
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 "Interview with Ben Berkman". HitQuarters. Apr 13, 2004. สืบค้นเมื่อ Nov 25, 2010.
  18. "Bio". Archive of early band biography on Maroon 5 official site. September 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "Maroon 5". Oxford Music Online. Oxford University Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2021. สืบค้นเมื่อ December 26, 2020.
  20. "Interview with Ben Berkman, A&R at Octone Records for Maroon 5". Hitquaters. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  21. Maroon 5 (2006). Midnight miles: on the road through 5 continents & 17 countries. Photographs by Christopher Wray-McCann. New York: Simon & Schuster. pp. 86–87. ISBN 1-4165-2419-3.
  22. 22.0 22.1 Visakowitz, Susan (April 22, 2007). "Radio success fuels Maroon5's "Wonder" years". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  23. "Maroon 5 Discography – Songs About Jane". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  24. "Reviews for It Won't Be Soon Before Long by Maroon 5". Metacritic. May 22, 2007. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  25. Leeds, Jeff (May 21, 2007). "Second CD By Maroon 5 Faces Great Expectations". New York Times.
  26. Waddell, Ray (June 4, 2005), "Hit The Road". Billboard. 117 (23):
  27. "Oklahoma singer-songwriter Graham Colton has toured with Maroon 5". mtv.tv. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  28. "Black Eyed Peas, Maroon 5, Pearl Jam Join Rolling Stones Tour". MTV News. 2005. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  29. "Review: Maroon 5, Train, Gavin DeGraw at Merriweather Post Pavilion Aug. 24". baltimoresun.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  30. "Matchbox Twenty, Sugar Ray Team For Tour". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  31. "Maroon 5, Counting Crows Plot Summer Tour". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  32. "Maroon 5, Donnas, Phantom Planet To Head Out On Tour". MTV News. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  33. "Maroon 5, The Hives Make Unlikely Touring Team". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  34. "Maroon 5 plus special guests Dashboard Confessional". Metro Radio. November 29, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  35. "New BMI Band Simon Dawes Lands Maroon 5 Tour". BMI. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  36. "Maroon5 Tapped For Honda Civic Tour". Billboard. January 28, 2005. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 37.4 37.5 "Maroon 5 Album Performance". aCHarts.us. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  38. 38.0 38.1 38.2 "Chart History – Maroon 5". Billboard. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  39. 39.0 39.1 "Maroon 5 with Stevie Wonder at Live 8". Rolling Stone. July 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  40. "Maroon 5 Headlines 2005 Honda Civic Tour". Motor Trend. February 4, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  41. "33rd AFI Life Achievement Award". AFI.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ April 28, 2008.
  42. Maroon 5 2006, pp. 86–87.
  43. Moss, Corey (March 6, 2007). "Maroon 5 Back With 'Harder' Album After Adam Levine Gets Sick Of Partying". MTV. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  44. Peters, Mitchell (March 12, 2007). "Maroon 5 Finds Its Groove On Sophomore Album". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  45. 45.0 45.1 45.2 Baber, Darren (April 26, 2007). "Maroon 5 Dominates iTunes Sales Chart With Three Simultaneous Number Ones". PR Newswire. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  46. Pollock, Duncan (2007). "Review: It Won't Be Soon Before Long — Maroon 5". Jacarandafm.com (94.2 FM). สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.[ลิงก์เสีย]
  47. Powers, Ann. "Maroon 5". latimes. Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 14 November 2014.
  48. "Maroon 5 album breaks iTunes sales record". MacNN.com. May 30, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  49. Bronson, Fred (May 2, 2007). "Chart Beat". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  50. "Artist Chart History: Maroon 5". Billboard.com. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  51. MTV News staff (May 4, 2007). "Jessica Biel Wants Respect, Plus Nelly Furtado, Hilary Duff, Sum 41, Borat, Eve, Diddy, Ozzy & More In For The Record". MTV News. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  52. "Maroon 5 Live from Le Cabaret". MSN Music. June 14, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  53. "No Need to 'Wonder' – Maroon 5 Debuts at No. 1". PR Newswire. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  54. "Reminder – Miami Studio a Make Up Show Information: Tues 7/11 @ 3:00pm". Maroon5.com. July 10, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  55. "Maroon 5 Announces Plans for 2007 'It Won't Be Soon Before Long' World Tour". KEYT3 Santa Barbara. July 9, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  56. "Tour Announcement!". Maroon5.com. July 9, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
  57. "Maroon 5 Announces Fall Tour Dates". Billboard. January 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  58. ""CSI: NY" Page Turner". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  59. Greene, Andy (June 28, 2007), "Maroon 5: Back on Top". Rolling Stone. (1029):16
  60. Dorian, John. "Maroon 5 talks about band's "longevity" in new Billboard issue". International Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2010. สืบค้นเมื่อ December 2, 2014.
  61. "Maroon Landing: An Interview with Guitarist James Valentine". cornellsun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05.
  62. "Billboard 200 archives". Billboard. October 9, 2010. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  63. "Maroon 5 debuts at number 2 on the Billboard 200". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  64. "Maroon 5 and Train announce summer tour – News – American Top 40 With Ryan Seacrest". At40.com. April 26, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  65. ""Moves Like Jagger" Now On Hands All Over". Maroon5.com. July 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2012. สืบค้นเมื่อ July 15, 2011.
  66. "Moves Like Jagger". Maroon5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ October 21, 2014.
  67. "Maroon 5 Q&A I Billboard.com". Billboard. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  68. Brasil, Marcus Vinícius (2011-10-02). "Maroon 5 faz a alegria do público feminino no Rock in Rio" (ภาษาโปรตุเกส). G1. สืบค้นเมื่อ 2011-10-02.
  69. Porto, Henrique (2011-08-24). "Jay-Z cancela participação no Rock in Rio; Maroon 5 substitui rapper" (ภาษาโปรตุเกส). G1. สืบค้นเมื่อ 2011-10-02.
  70. "Snapple and Maroon 5 Release New 'Tea Will Be Loved". drpeppersnapplegroup. August 22, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  71. "Maroon 5 - Moves Like Jagger (Live at Victoria's Secret Fashion Show)". The Hollywood Gossip. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  72. "Maroon 5, Foster The People Rock Grammy Stage With The Beach Boys". MTV News. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  73. "Band Announcement — Jesse Carmichael". Maroon 5. March 9, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2012. สืบค้นเมื่อ March 26, 2012.
  74. "Exclusive: Maroon 5 to Release 'Overexposed' Album in June". Rolling Stone. 2012-03-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ 2012-03-26.
  75. 75.0 75.1 75.2 "Maroon 5 Ties Carly Rae Jepsen for Most Weeks at #1". Time. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  76. "Maroon 5 line up change". Voice21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
  77. "Maroon 5 - Woman (Sam Farrar Remix)". Youtube. สืบค้นเมื่อ October 25, 2014.
  78. "'The Voice' Narrows Finalists to 12, Maroon 5 Rock 'Daylight'". RollingStone. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  79. "Maroon 5 Daylight Official Video". youtube. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  80. Lipshutz, Jason (April 1, 2013). "Maroon 5, Kelly Clarkson Team Up For Honda Civic Tour". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015.
  81. "®R&R :: Going For Adds™ :: CHR/Top 40". radioandrecords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 27, 2013.
  82. Kaufman, Gil (April 1, 2013). "Maroon 5 Have Great 'Great Songs' Recorded for Next Album". MTV News. Viacom International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2013. สืบค้นเมื่อ May 12, 2013.
  83. "Maroon 5 Perform The Beatles Ticket To Ride Excerpt". grammy.com. February 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2014. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  84. "Maroon 5 announce new album "V" and tour". Capital FM. May 22, 2014. สืบค้นเมื่อ October 22, 2014.
  85. "Maroon 5 performs 'Maps' live on TODAY". TODAY. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  86. Daw, Robbie. "Maroon 5 Announce "Maps" Single Ahead Of New Album 'V'". Idolator. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  87. 87.0 87.1 "Maroon 5 Chart History". Billboard. September 3, 2014. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  88. "Maroon 5 On Course for Second No. 1 Album". Billboard. September 3, 2014. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  89. "Billboard archives". Billboard. October 20, 2014. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  90. Wete, Brad. "Maroon 5 Tightens Up on 'V': Track-By-Track Review". Billboard. Billboard. สืบค้นเมื่อ 14 November 2014.
  91. "Maroon 5 Ensure iTunes Festival Performance Is Anything But 'One More Night'". MTV. 12 September 2014. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.
  92. "Watch the new Kia commercial, featuring Maroon 5's new song "Animals"". Maroon 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-16. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  93. Mitchell Peters (October 25, 2014). "Ariana Grande, Maroon 5, Pharrell Williams to Perform on 'A Very Grammy Christmas'". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 16, 2014.
  94. Jim Farber (October 9, 2014). "Z100's Jingle Ball 2014 line-up includes Taylor Swift, Sam Smith, Iggy Azalea". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ November 16, 2014.
  95. "Sugar wil.l be Maroon 5's next single!". January 7, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  96. Colin Stutz (November 6, 2014). "Maroon 5's 'Sugar' to Be Featured in Nissan Commercial". Billboard.
  97. "Instagram". Instagram.
  98. "Maroon 5 have a greatest hits on the way, but some of the hits are missing". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  99. "Maroon 5 - Greatest Hits - SINGLES - Oct 2nd". Flop Of The Pops. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  100. "M5 News Room: Maroon 5 to Release First Ever Greatest Hits Album, 'Singles'". m5newsroom.blogspot.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  101. "Maroon 5 are releasing a greatest hits album. We can't wait to bop to 'This Love' again". Maximum Pop!. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  102. "Maroon 5 in Talks to Perform at Super Bowl 50 Halftime Show: Report". Billboard. สืบค้นเมื่อ October 23, 2015.
  103. "Adam Levine and Maroon 5 in Talks to Perform During Super Bowl 50 Halftime Show". E! Online. October 21, 2015. สืบค้นเมื่อ October 23, 2015.
  104. "M5 News Room: Maroon 5 are 'current frontrunners' for performing at Super Bowl 50". m5newsroom.blogspot.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-24. สืบค้นเมื่อ October 23, 2015.
  105. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-19.
  106. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26.
  107. http://www.maroon5.com/news/maroon-5-has-partnered-unicef-usa-help-donate-their-children-first-campaign-celebration
  108. "94.7 Fresh FM on Twitter". สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
  109. Hann, Michael (November 2, 2017). "Maroon 5: Red Pill Blues review – impeccable pop and middling R&B". The Guardian. สืบค้นเมื่อ March 25, 2017.
  110. "Adam Levine on The Tommy Show « 94.7 Fresh FM". 947freshfm.cbslocal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2017. สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
  111. "Maroon 5's Sixth Album Out In November 2017: Watch Announcement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2017. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017.
  112. "Maroon 5 – Red Pill Blues". AllMusic. November 3, 2017. สืบค้นเมื่อ March 25, 2018.
  113. "Maroon 5 Guitarist Clears Up Confusion Over 'Red Pill Blues' Album Title". HuffPost. October 31, 2017. สืบค้นเมื่อ August 22, 2018.
  114. "Maroon 5 Announces New Album 'Red Pill Blues': See the Track List". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 25, 2018.
  115. Blistein, Jon (October 5, 2017). "Maroon 5 Detail New Album, 'Red Pill Blues'". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  116. "Hyundai x 2018 FIFA World Cup™ㅣWorld Cup campaign with Maroon 5". YouTube. June 15, 2018.
  117. Kreps, Daniel (June 10, 2018). "Watch Maroon 5's Video for Bob Marley Cover 'Three Little Birds'". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  118. Grow, Kory (January 17, 2019). "Chris Cornell's Passion Dominates Star-Studded Tribute Show". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ January 18, 2019.
  119. Kaplan, Ilana (February 3, 2019). "Super Bowl LIII: See Maroon 5's Surprise-Free Halftime Show Feat. Travis Scott, Big Boi". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ February 3, 2019.
  120. Sara Jane Harris (February 5, 2019). "Five worst Super Bowl performances in NFL history". Sporting News. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  121. "Maroon 5's Summertime Ball Performance Including 'Sugar' And 'Moves Like Jaggger' Has Us All Reminiscing". Capital. June 10, 2019. สืบค้นเมื่อ June 11, 2019.
  122. Dresdale, Andrea. "New Maroon 5 album in the works; guitarist says "Memories" is "a different kind of song for us"". ABC News Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ October 15, 2019.
  123. "Maroon 5 Manager Jordan Feldstein's Cause of Death Revealed". Variety. March 17, 2018. สืบค้นเมื่อ October 8, 2019.
  124. Caldwell, Brandon (September 20, 2019). "Maroon 5 Share New Single "Memories" [NEW MUSIC]". Radio Now 92.1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ September 23, 2019.
  125. Chiu, Melody; Boucher, Ashley (June 30, 2020). "Maroon 5's Mickey Madden Arrested After Alleged Incident of Domestic Violence in Los Angeles". People. สืบค้นเมื่อ July 1, 2020.
  126. 126.0 126.1 Legaspi, Althea (July 14, 2020). "Maroon 5's Mickey Madden Takes Leave of Absence After Arrest for Alleged Domestic Violence". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  127. Wass, Mike (July 21, 2020). "Maroon 5 Teases New Single "Nobody's Love"". Idolator. สืบค้นเมื่อ July 21, 2020.
  128. Findlay, Mitch (March 3, 2021). "Maroon 5 Enlists Megan Thee Stallion For "Beautiful Mistakes"". HotNewHipHop. สืบค้นเมื่อ March 3, 2021.
  129. "Jordi by Maroon 5 on Apple Music". สืบค้นเมื่อ April 29, 2021 – โดยทาง Apple Music.
  130. Bell, Crystal (June 26, 2012). "Maroon 5, 'Overexposed': Guitarist James Valentine Talks Adam Levine, 'She Will Be Loved' & 'Call Me Maybe'". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 27 April 2013.
  131. "7 Questions With Maroon 5's Adam Levine". Idolator.com. 2010-09-24. สืบค้นเมื่อ 2013-03-22.
  132. McKinley Jr, James C. (January 4, 2013). "Benny Blanco, Hit Maker for Rihanna and Maroon 5". The New York Times.
  133. "Benny Blanco, Hit Maker for Rihanna and Maroon 5". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  134. "Artist Influences for Maroon 5". MTV. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  135. Rosen, Steven. "Maroon 5's James Valentine: 'Adam Levine Is An Amazing Lead Player'". Ultimate Guitar Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ 27 April 2013.
  136. "Politics without preaching". The Australian. May 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  137. "Adam Levine Calls 'Moves Like Jagger' a 'Risk' for Maroon 5: Video Interview". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  138. "Fourth album 'Overexposed' June 26th". Maroon 5. March 26, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ March 26, 2012.
  139. Ann Powers. "Maroon 5". LA Times.
  140. Kathy Iandoli (September 2, 2014). "Maroon 5's 'V': Album Review". Idolator.
  141. "V Album Review (2014)". PluggedIn.
  142. Sheffield, Rob (June 26, 2012). "Overexposed | Album Reviews | Rolling Stone". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ June 26, 2012.
  143. "MAROON 5 "IT WON'T BE SOON BEFORE LONG" (Octone/A&M)". The Morning Call. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ March 17, 2016.
  144. 144.0 144.1 144.2 "Band Bios Matt Flynn". Maroon5 S.I.N. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  145. "Adam Levine wedding: Stevie Nicks, Maroon 5 band members to perform". zap2it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
  146. 146.0 146.1 146.2 146.3 "Who Are The Non-Adam Levine Members of Maroon 5". VH1. September 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  147. "Mickey Madden". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
  148. "PJ Morton is more than just the second keyboard player in Maroon 5". AXS. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  149. "NME News Gomez, Phantom Planet, Maroon 5 members". NME. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  150. "Former Maroon 5 Drummer Ryan Dusick Lists in Los Feliz". Zillow. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  151. ธนากร สุนทร (July 15, 2020). "Mickey Madden ลาออกจากวง Maroon 5 หลังถูกจับกุมข้อหาใช้ความรุนแรงในครอบครัว". The Standard. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  152. "Maroon 5 Discuss Adrian Young Filling In On Drums". popdirt. June 10, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  153. "About This Magnificent". MTV. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  154. "Maroon 5". Forbes. 2015. สืบค้นเมื่อ April 28, 2016.
  155. "Past GRAMMY Awards". GRAMMY. สืบค้นเมื่อ November 3, 2014.
  156. "Winners Search 2011". TheAMAs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
  157. "Winners Search 2012". TheAMAs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
  158. "Winners Search 2013". TheAMAs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
  159. "NEWS 2004 Teen Choice Awards winners list". moono. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
  160. "2004 World Music Awards Winners". Billboard. September 16, 2004. สืบค้นเมื่อ November 7, 2014.
  161. "Bruno Mars claims 2 best-selling digital songs of 2011". Music Week. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
  162. "Maroon 5 Reaches No. 1 on Hot 100 with 'One More Night'". Billboard. September 19, 2012. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  163. 163.0 163.1 Sinha-Roy, Piya. "Maroon 5 score second chart-topping Billboard 200 album with 'V'". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 November 2014.
  164. "RIAA – Top Artists (Digital Singles)". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ November 8, 2014.
  165. "Mediabase : Year-End Edition 2013" (PDF). Pdf.mediabase.com. สืบค้นเมื่อ 2014-08-01.
  166. "Hot 100 55th Anniversary By The Numbers: Top 100 Artists, Most No. 1s, Biggest No. 2s & More". Billboard staff. สืบค้นเมื่อ April 19, 2016.
  167. "Greatest of All Time—Hot 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 19, 2016.
  168. "Maroon 5, Kelly Clarkson Team Up For Honda Civic Tour". Billboard. Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  169. https://www.maroon5.com/ The 2020 Tour สืบค้นเมื่อ December 8, 2019
  170. Along with 14 other artists who donated tracks to the album including Paul McCartney, Eric Clapton, Bonnie Raitt and Norah Jones, Maroon 5 donated the live recording of "She Will Be Loved" to ASR's All-Star CD to support victims in the aftermath of the 2004 Southeast Asian tsunami.
  171. "More Stars Join Tsunami Relief Efforts". Billboard. January 11, 2005. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  172. "Haiti Social Media Campaign". Aid Still Required. 2012-11-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-01.
  173. "Meet Adam Levine Backstage at The Voice". Omaze. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-04. สืบค้นเมื่อ 2014-08-01.
  174. "Maroon 5 Goes Green". ㅣLIVE EARTH. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
  175. "Coca-Cola — Maroon 5 24 Hour Session". Coca-Cola, Maroon 5 24 Hour Session. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-01. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
  176. 176.0 176.1 Michelson, Noah (January 25, 2012). "Adam Levine And Maroon 5 Boycotting Mexican Restaurant For Anti-Gay Marriage Stance". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 29, 2012.
  177. "Maroon 5's Adam Levine Speaks Out Against LGBT Violence". Billboard. 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
  178. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]