เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์"
เพลงโดยมารูนไฟฟ์
จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์
บันทึกเสียงคอนเวย์สตูดิโอส์
(ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย)
แนวเพลงป็อป
ความยาว3:25
ค่ายเพลงเอแอนด์เอ็มอ็อกโทน
ผู้ประพันธ์เพลงแอดัม เลอวีน ไบรอัน เวสต์ มอเรียส โมกา
โปรดิวเซอร์เลอวีน, โนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย, สวีตเวสตี

"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" (อังกฤษ: The Man Who Never Lied) เป็นเพลงของวงดนตรีอเมริกัน มารูนไฟฟ์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (2012) เพลงแต่งโดยแอดัม เลอวีน ไบรอัน เวสต์ และมอเรียส โมกา และผลิตโดยเลอวีน และโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย ร่วมกับเวสต์ ภายใต้ชื่อว่า สวีตเวสตี เพลงได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกจากนักวิจารณ์ โดยเฉพาะท่อนคอรัส หลังจากอัลบั้มออกจำหน่าย เพลงขึ้นอันดับที่เก้าบนชาร์ตซิงเกิลในประเทศเกาหลีใต้ ด้วยยอดขาย 31,977 ซิงเกิล

เบื้องหลังและการผลิต[แก้]

ใน ค.ศ. 2011 มารูนไฟฟ์ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มที่สาม แฮนส์ออลโอเวอร์ ซ้ำ ซิงเกิลแรกจากการออกซ้ำครั้งนี้คือ "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ร้องรับเชิญโดยนักร้องอเมริกัน คริสตินา อากีเลรา และประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลง 18 ประเทศรวมถึงบิลบอร์ดฮอต 100[1] ในกลางปี ค.ศ. 2011 วงเริ่มทำสตูดิโออัลบั้มที่สี่ สมาชิกคนหนึ่งในวงมารูนไฟฟ์ เจมส์ วาเลนไทน์ กล่าวกับบิลบอร์ดและเผยแผนในการออกสตูดิโออัลบั้มที่สี่ในต้นปี ค.ศ. 2012[2] ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2012 วงนำวิดีโอขึ้นยูทูบ แสดงให้เห็นสมาชิกวงกำลังอัดเสียงในสตูดิโอ[3] ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 อัลบั้มออกจำหน่ายภายใต้ชื่อ โอเวอร์เอกซ์โพสด์[4]

"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" แต่งโดยนักร้องนำ แอดัม เลอวีน ร่วมกับไบรอัน เวสต์ และมอเรียส โมกา[5] เพลงผลิตโดยเลอวีน ร่วมกับโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย เวสต์ช่วยเสริมการผลิตภายใต้ชื่อ สวีตเวสตี (Sweetwesty)[5] โนอาห์ พาสโซวอย อัดเสียงเพลง "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ที่คอนเวย์สตูดิโอส์ ในลอสแอนเจลิส ขณะที่อีริก อายแลนส์ เป็นผู้ช่วยปรับแต่งเสียง[5] เซอร์บัน เกเนีย ผสมเสียงเพลงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ ในเวอร์จิเนียบีช ร่วมกับจอห์น เฮนส์ และฟิล ซีฟอร์ด เป็นวิศวกรผสมเสียงและผู้ช่วยผสมเสียง ตามลำดับ[5] พาสโซวอยเป็นผู้โปรแกรมเสียงและหาคีย์เพลง ขณะที่เวสต์โปรแกรมเสียงกีตาร์และเสียงเสริมอื่น ๆ[5] แมกซ์ มาร์ติน และแซม ฟาร์ราร์ มาช่วยเรื่องคีย์และโปรแกรมเสียง ตามลำดับด้วย[5]

ดนตรีและเนื้อร้อง[แก้]

"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" เป็นเพลงป็อปมีความยาว 3 นาที 25 วินาที[6] แต่งด้วยคีย์ดีเมเจอร์ ในจังหวะ 4 4 (common time) เทมโป 116 จังหวะต่อนาที[7] พิสัยเสียงร้องของเลอวีนกว้างตั้งแต่โน้ตต่ำ A4 ถึงโน้ตสูง B5[7] ด้านเนื้อร้อง เพลงเล่าเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ของตัวเอกซึ่งเขารับบทเป็นคนดีคนหนึ่ง "I was the man who never lied... but I couldn't break your heart like you did yesterday."[8] เนต ชิเนน จากเดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวถึงเพลง "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ว่า เลอวีนร้อง "เกี่ยวกับการทำลายความซื่อสัตย์สมบูรณ์แบบในตัวเขาเพื่อให้คนรักที่ชวนเขาทะเลาะเหลือแต่ความรู้สึกเจ็บปวด"[9] ร็อบ ชีเฟลด์จากโรลลิงสโตนสรุปว่าในเพลง นักร้องสารภาพว่าความซื่อสัตย์เป็นอุบายที่แย่ที่สุด นักวิจารณ์คนดังกล่าวกล่าวว่า นั่นเป็น "คำคมคลุมเครือในชีวิตจริง แต่มันจะดูสมเหตุสมผลสำหรับคนฉลาด"[10]

การตอบรับ[แก้]

ซูซาน เบิร์น จาก RTÉ.ie สรุปว่า "ลักกีสไตรก์" "เดย์ไลต์" "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" และ "เลิฟซัมบอดี" อาจได้ออกเป็นซิงเกิล[11] เจเรมี โทมัส จาก 411มาเนีย ติดป้ายเพลงนี้กับเพลง "เพย์โฟน" และ "วันมอร์ไนต์" ให้มี "ตัวเลขที่น่าพอใจ" เนื่องจากเป็นไปได้ว่ามียอดเปิดเพลง "จำนวนพอประมาณ"[12] บรูซ เดนนิล จากเดอะซิติเซนเขียนว่า "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ร่วมกับเพลง "วันมอร์ไนต์" เป็นหลักฐานว่า "มารูนไฟฟ์ออกผลงานที่มีบางอย่าง (ณ ขณะนี้) ที่พวกเขาภูมิใจนำเสนอ"[13] ในบทวิจารณ์อัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีมิวสิกเขียนว่า วงได้ทิ้ง "ความเจ้าอารมณ์ของไก่อ่อนจอมวางมาด" (the strutting cockerel heat) ในซิงเกิล "ดิสเลิฟ" ไปหา "ความสุขสมบูรณ์ชนิดอิ่มตัว" (saturated rave bliss) ในซิงเกิล "เลิฟซัมบอดี" หรือ "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" เนื่องจากผลกระทบของตลาดที่เขาเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมาย"[14] คริส เพย์น จากนิตยสารบิลบอร์ดเขียนว่าเพลงทำให้เพลง "ลักกีสไตรก์" แข็งแรง และมีท่อนคอรัสที่น่าจดจำที่สุดในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์[8] โรเบิร์ต คอปซีย์ จากดิจิทัลสปายเขียนว่าเพลงทำให้รู้สึก "นิรนาม" ทั้ง ๆ ที่มีท่อนคอรัส "ขนาดเท่าสนามกีฬา"[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bell, Crystal (April 16, 2012). "Maroon 5, 'Payphone': Band Releases Song With Wiz Khalifa Off New Album 'Overexposed' (Audio)". The Huffington Post. AOL. สืบค้นเมื่อ January 20, 2013.
  2. Corner, Lewis (August 17, 2011). "Maroon 5: 'We want to release new album soon'". Digital Spy. Nat Mags. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
  3. "Overexposed - June 26th". Maroon5. YouTube. สืบค้นเมื่อ April 10, 2012.
  4. "Overexposed by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Notes
  6. Frederick, Brittany (June 26, 2012). "Album Review: Maroon 5, 'Overexposed'". StarPulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
  7. 7.0 7.1 "Maroon 5 - The Man Who Never Lied". Musicnotes.com. Universal Music Publishing Group. สืบค้นเมื่อ January 25, 2012.
  8. 8.0 8.1 Payne, Chris (June 26, 2012). "Maroon 5, 'Overexposed': Track-By-Track Review". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
  9. Chinen, Nate (July 9, 2012). "Albums From Clare and the Reasons and Maroon 5". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  10. Shiefeld, Rob (June 26, 2012). "Overexposed - Album Reviews". Rolling Stone. Jann Wenner. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  11. Byrne, Suzanne (June 30, 2012). "Maroon 5 - Overexposed". RTÉ.ie. Raidió Teilifís Éireann. สืบค้นเมื่อ June 23, 2013.
  12. Thomas, Jeremy (June 26, 2012). "Maroon 5 - Overexposed Review". 411Mania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  13. Dennill, Bruce (December 12, 2012). "Maroon 5 – Overexposed - Slow transformation". The Citizen. Caxton/CTP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-21. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  14. McAlpine, Fraser (June 22, 2012). "BBC - Music - Review of Maroon 5 - Overexposed". BBC Music. BBC. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  15. Copsey, Robert (June 25, 2012). "Maroon 5: 'Overexposed' - Album review". Digital Spy. Nat Mags. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.