โดนต์วอนนาโนว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"โดนต์วอนนาโนว์"
ซิงเกิลโดยมารูนไฟฟ์ ร้องรับเชิญโดย เคนดริก ลามาร์
จากอัลบั้มเรดพิลล์บลูส์
วางจำหน่าย11 ตุลาคม ค.ศ. 2016 (2016-10-11)
บันทึกเสียง2016
แนวเพลงทรอปิคัลเฮาส์[1][2]
ความยาว3:34
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของมารูนไฟฟ์
"ฟีลิงส์"
(2015)
"โดนต์วอนนาโนว์"
(2016)
"โคลด์"
(2017)
ลำดับซิงเกิลของเคนดริก ลามาร์
"เรียลลี โด"
(2016)
"โดนต์วอนนาโนว์"
(2016)
"กูสบัมส์"
(2016)
มิวสิกวิดีโอ
"Don't Wanna Know" ที่ยูทูบ

"โดนต์วอนนาโนว์" (อังกฤษ: Don't Wanna Know) เป็นเพลงของวงดนตรีป็อปร็อกอเมริกัน มารูนไฟฟ์ เพลงมีนักร้องรับเชิญคือ เคนดริก ลามาร์ และออกจำหน่ายวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2016[4] เป็นซิงเกิลนำในอัลบั้ม เรดพิลล์บลูส์ อัลบั้มที่หกของวง เพลงขึ้นสิบอันดับแรกใน 15 ประเทศ และขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศเลบานอน ต่อมาเพลงได้รับการรับรองระดับทองคำในประเทศออสเตรเลีย และอิตาลี

การประพันธ์เพลง[แก้]

"โดนต์วอนนาโนว์" แต่งด้วยคีย์อีไมเนอร์ในจังหวะเวลาปกติ มีเทมโปแบบชัฟฟลิง ความเร็ว 100 จังหวะต่อนาที เพลงมีลำดับคอร์ดดังนี้ CMaj7 – D6 – Em7 – Bm/E เสียงของเลอวีนมีช่วงตั้งแต่ D4 ถึง C6[5]

การตอบรับ[แก้]

ไมก์ วอส จากไอโดเลเตอร์ กล่าวว่า "ไม่มีอะไรน่าอวดหรือเกินตัวเกี่ยวกับเพลงฉบับสมบูรณ์นี้ ความจริงแล้ว นี่เป็นกรณีที่เรียกว่า น้อยกว่าคือมากกว่า" [โดนต์วอนนาโนว์] เพิ่มความสดชื่นในเสียงดนตรีของมารูนไฟฟ์ และเน้นย้ำดนตรีวนซ้ำในเพลง แต่รับประกันความดังของเพลงให้แก่วงในระหว่างการทำเพลง ท่อนของเคนดริกรู้สึกว่าเพิ่มเข้ามาภายหลัง แต่หากไม่คิดถึงตรงนั้น ก็หาจุดบกพร่องยาก"[6] ฮอลล์ คีเฟอร์ จากเว็บไซต์วัลเชอร์ กล่าวว่า "มันจะเป็นเพลงประกอบโฆษณารถยนต์ โฆษณาของบริษัททาร์เกตทุกเรื่อง และเป็นเพลงที่ใช้ฟังขณะเมาที่คุณดิ้นรนหาฟังในสามเดือนถัดไป" และกล่าวต่อไปว่า "โดนต์วอนนาโนว์มีเสียงดนตรีโดดเด่นที่ฟังเหมือนไม่ใช่มารูนไฟฟ์ พวกเขาใส่ความเย็นสบาย กระฉับกระเฉง สนุกสนาน และชวนเต้นรำเพื่อลดความเจ็บปวดหลังสูญเสียความสัมพันธ์ที่คุณเคยมี"[7]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2016 มิวสิกวิดีโอเพลงฉบับไม่มีท่อนแร็ปของเคนดริก ลามาร์ ออกเผยแพร่ครั้งแรก วิดีโอกำกับโดบเดวิด ดอบคิน (ผู้เคยกำกับมิวสิกวิดีโอเพลง "ชูการ์") ฉายครั้งแรกในรายการเดอะทูเดย์โชว์[8] วิดีโอเผยแพร่ทางยูทูบในวันเดียวกันนั้นเอง[4][9][10] วิดีโอล้อเลียนเกมความเป็นจริงเสริม โปเกมอน โก[11] ในวิดีโอ แอดัม เลอวีนแต่งกายเป็นแมลงตัวหนึ่ง อกหักจากแมลงอีกตัวหนึ่งที่แสดงโดยแซราห์ ซิลเวอร์แมน อะแมนดา เซอร์นี แชคิล โอนีล เอด เฮลมส์ และวินซ์ วอห์น ปรากฏในวิดีโอด้วย[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. McIntyre, Hugh (October 12, 2016). "Maroon 5 And Kendrick Lamar Return To Radio With New Single 'Don't Wanna Know'". Forbes. สืบค้นเมื่อ October 15, 2016.
  2. Pareles, Jon; Caramanica, Jon; Chinen, Nate (October 14, 2016). "The Playlist: Pusha T Spurns the Doubters and Kendrick Lamar Tempts the Critics". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ October 15, 2016.
  3. http://repertoire.bmi.com/title.asp?blnWriter=True&blnPublisher=True&blnArtist=True&keyid=22693339&ShowNbr=0&ShowSeqNbr=0&querytype=WorkID
  4. 4.0 4.1 Jordan Darville (October 11, 2016). "Maroon 5 Will Release A New Single Tonight Featuring Kendrick Lamar". The Fader. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  5. Levine, Adam. "Maroon 5 feat. Kendrick Lamar "Don't Wanna Know" Sheet Music in G Major (transposable) - Download & Print". Musicnotes.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-20.
  6. Mike Wass (October 12, 2016). "Maroon 5 & Kendrick Lamar's 'Don't Wanna Know' - Idolator". Idolator. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  7. Halle Kiefer (October 12, 2016). "Hear Maroon 5's New Single 'Don't Wanna Know' - Vulture". Vulture. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  8. Lyndsey Havens (October 11, 2016). "Maroon 5 to Drop New Single 'Don't Wanna Know' Featuring Kendrick Lamar Tonight". Billboard. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Maroon 5 Website
  10. "Maroon 5 - Don't Wanna Know". YouTube. October 14, 2016.
  11. Leight, Elias (October 14, 2016). "See Maroon 5's 'Pokémon Go'-Themed 'Don't Wanna Know' Video". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ October 15, 2016.
  12. Lang, Cady (October 14, 2016). "Can You Spot All the Celeb Cameos in Maroon 5's Bizarre 'Don't Wanna Know' Music Video?". Time. สืบค้นเมื่อ October 15, 2016.