จักรพรรดิเจียชิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจียชิ่ง
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 2 กันยายน ค.ศ. 1820
(24 ปี 206 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเฉียนหลง
ถัดไปจักรพรรดิเต้ากวง
ผู้สำเร็จราชการจักรพรรดิเฉียนหลง (1796-1799)
พระราชสมภพ13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760(1760-11-13)
Old Summer Palace, Beijing
หย่งเยี่ยน
สวรรคต2 กันยายน ค.ศ. 1820(1820-09-02) (59 ปี)
Chengde summer palace, modern Hebei
ฝังพระศพสุสานหลวงตะวันตกแห่งราชวงศ์ชิง
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
พระราชบุตรMianmu, Prince Mu
Princess Zhuangjing
องค์ชายเหมียนหนิง
Princess Zhuangjing
Princess Huian
Miankai, Prince Dun
Mianxin, Prince Rui
Mianyu, Prince Hui
รัชศก
1796 - 1821 - Jiāqìng 嘉慶
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ Shòutiān Xìngyùn Fūhuà Suīyóu Chóngwén จิงหวู่ กวงอู Xiàogōng Qínjiǎn Duānmǐn Yīngzhé Ruì
受天興運敷化綏猷崇文經武光裕孝恭勤儉端敏英哲睿皇帝
พระอารามนาม
Qing เหรินจง
清仁宗
ราชสกุลHouse of Aisin-Gioro
พระราชบิดาจักรพรรดิเฉียนหลง
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญประหาร เหอเชิน

จักรพรรดิเจียชิ่ง (จีนตัวย่อ: 嘉庆; จีนตัวเต็ม: 嘉慶; พินอิน: Jiāqìng 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) พงศาวดารไทยเรียก เกียเข้ง[1] เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ชิงและจักรพรรดิชิงองค์ที่ 5 ที่ปกครองแผ่นดินจีนโดยชอบธรรม จากปี ค.ศ. 1796 ถึงปี ค.ศ. 1820 พระองค์ดำเนินคดี เหอเชิน จอมทุจริตซึ่งเป็นคนโปรดของพระราชบิดา และพยายามคืนความสงบเรียบร้อยภายในจักรวรรดิต้าชิง ควบคุมการลักลอบขน ฝิ่น ภายในประเทศจีน

พระราชประวัติ[แก้]

จักรพรรดิเจียชิ่งประสูติใน พระราชวังฤดูร้อนเดิม 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมือง ปักกิ่ง พระนามส่วนพระองค์คือ หย่งเยี่ยน (永琰) ต่อมาเปลี่ยนเป็น หย่งเยี่ยน (顒琰) เมื่อทรงเป็นจักรพรรดิ ตัวอักษรจีน คำว่า หย่ง ในพระนามของพระองค์เปลี่ยนจาก 永 เป็น 顒 ความแปลกใหม่นี้ได้รับการแนะนำโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ที่เชื่อว่าไม่ควรมีภาษาจีนที่ใช้กันทั่วไป เนื่องมาจากธรรมเนียมการตั้งพระนามต้องห้ามในราชวงศ์มาช้านาน

เจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชมารดาของพระองค์คือ พระมเหสีหลิง บุตรสาวของ เว่ย ชิงไท่ (魏清泰) ขุนนางชาวฮั่นซึ่งครอบครัวได้รวมเข้ากับ แปดกองธง ของแมนจูมาเป็นเวลานานเป็นส่วนหนึ่งของกองธงฮั่น

จักรพรรดิเฉียนหลงเดิมมีพระราชโอรสอีก 2 พระองค์ในพระทัยสำหรับการสืบทอดต่อจากพระองค์ แต่ทั้ง 2 พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างรวดเร็วด้วยโรคภัยต่าง ๆ เพราะฉะนั้นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1773 พระองค์เลือกเจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็นผู้สืบทอดของพระองค์เป็นการลับ ในปี ค.ศ. 1789 จักรพรรดิเฉียนหลงสถาปนาเจ้าชายหย่งเยี่ยนเป็น เจี่ยชินหวัง (嘉親王)

เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์[แก้]

ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1795 ปีที่ 60 ในรัชสมัยของพระองค์ จักรพรรดิเฉียนหลงประกาศความตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์เพื่อเจี่ยชินหวัง พระองค์ตัดสินพระทัยครั้งนี้เพราะพระองค์รู้สึกว่าเป็นการหมิ่นพระเกียรติที่จะปกครองนานกว่าพระอัยกาของพระองค์ จักรพรรดิคังซี ที่ครองบัลลังก์มา 61 ปี เจี่ยชินหวังเสด็จขึ้นครองบัลลังก์และรับศักราช เจียชิ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1796 ดังนั้นพระองค์จึงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ว่าจักรพรรดิเจียชิ่ง อย่างไรก็ตาม ตลอด 3 ปีจักรพรรดิเจียชิ่งเป็นเพียงจักรพรรดิในนามเพราะการตัดสินพระทัยยังคงกระทำโดยพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งกลายเป็น ไท่ช่างหวัง (พระเจ้าหลวง) หลังการสละราชบัลลังก์ของพระองค์

หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฉียนหลงในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1799 จักรพรรดิเจียชิ่งเข้าควบคุมราชสำนักและดำเนินคดี เหอเชิน ขุนนางคนโปรดของพระราชบิดา เหอเชินถูกตั้งข้อหาทุจริตและใช้อำนาจโดยมิชอบ เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง ทรัพย์สินของเขาถูกยึด และมีพระบัญชาให้ฆ่าตัวตาย ลูกสะใภ้ของเหอเชิน เจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว พระขนิษฐาต่างพระมารดาของจักรพรรดิเจียชิ่งรอดพ้นจากการลงโทษและได้รับทรัพย์สินเล็กน้อยจากที่ดินของเหอเชิน

ในเวลานั้น จักรวรรดิต้าชิงเผชิญหน้าความผิดปกติภายในที่สำคัญที่สุดคือกลุ่มกบฏบัวขาวขนาดใหญ่ (1796–1804) และแม้ว (1795–1806)

เปลี่ยนชื่อเวียดนาม[แก้]

จักรพรรดิเจียชิ่งปฏิเสธคำขอของ จักรพรรดิซา ล็อง ผู้ปกครองเวียดนามที่จะเปลี่ยนชื่อประเทศของพระองค์เป็น นามเวียด พระองค์เปลี่ยนชื่อแทนเป็น เวียดนาม[2] พงศาวดารของเวียดนามมีจดหมายโต้ตอบทางการทูตเกี่ยวกับการตั้งชื่อ[3]

ต่อต้านศาสนาคริสต์[แก้]

ประมวลกฎหมายต้าชิง มาตราหนึ่งเรื่อง ข้อห้ามเกี่ยวกับพ่อมดและแม่มด (禁止師巫邪術) ในปี ค.ศ. 1811 มีการเพิ่มประโยคโดยอ้างอิงถึงศาสนาคริสต์ แก้ไขเมื่อ ค.ศ. 1815 และ ค.ศ. 1817 แก้ไขรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1839 ภายใต้ จักรพรรดิเต้ากวัง และยกเลิกในปี ค.ศ. 1870 ภายใต้ จักรพรรดิถงจื้อ มีการตัดสินประหารชีวิตชาวยุโรปเพราะเผยแพร่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในหมู่ชาวจีนฮั่นและชาวแมนจู คริสเตียนที่ไม่กลับใจถูกส่งไปยังเมืองมุสลิมใน ซินเจียง ให้เป็นทาสผู้นำมุสลิม[4]

สวรรคตและการฝังพระศพ[แก้]

ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1820 จักรพรรดิเจียชิ่งเสด็จสวรรคตที่ สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ (熱河行宫) 230 กิโลเมตร (140 ไมล์) ตะวันออกเฉียงเหนือของ ปักกิ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ราชสำนักมาพำนักพักร้อน ชิงฉือเกา หรือ ต้นฉบับประวัติศาตร์ราชวงศ์ชิง ไม่ได้บันทึกสาเหตุการสวรรคต บางคนกล่าวว่าพระองค์สวรรคตหลังจากถูกฟ้าผ่า แต่บางทฤษฎีว่าพระองค์สวรรคตด้วยพระโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากจักรพรรดิมีพระวรกายค่อนข้างอ้วน พระองค์ถูกสืบทอดราชบัลลังก์โดยโอรสองค์ที่สองของพระองค์ เจ้าชายเหมียนหนิง ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในพระนาม จักรพรรดิเต้ากวัง

จักรพรรดิเจียชิ่งถูกฝังอยู่กลาง สุสานหลวงตะวันตกแห่งราชวงศ์ชิง 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ปักกิ่ง

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

  • พระราชบิดา: จักรพรรดิเฉียนหลง
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน
  • พระอัครมเหสี (皇后)
  • พระมเหสี (皇貴妃)
    • พระมเหสีกงซุ่น (恭順皇貴妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
    • พระมเหสีเหออวี้ (和裕皇貴妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
  • พระอัครชายา (妃)
    • พระอัครชายาหัว (華妃) จากสกุลโฮ่วเจีย (侯佳)
    • พระอัครชายาซู (恕妃) จากสกุลว๋านเหยียน (完顏)
    • พระอัครชายาจวง (莊妃) จากสกุลหวัง (王)
    • พระอัครชายาซิ่น (信妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
  • พระชายา (嬪)
    • พระชายาเจี่ยน (簡嬪) จากสกุลกวนเจีย (關佳)
    • พระชายาซุ่น (遜嬪) จากสกุลเฉินเจีย (沈佳)
    • พระชายาเอิน (恩嬪) จากสกุลอูยา (烏雅)
    • พระชายาหรง (榮嬪) จากสกุลเหลียง (梁)
    • พระชายาฉุน (淳嬪) จากสกุลต่งเจีย (董佳)
    • พระชายาอัน (安嬪) จากสกุลซูหวานหนีกัวเอ่อร์เจีย (蘇完尼瓜爾佳)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายไม่ปรากฏพระนาม (1779–1780) มู่จวิ้นอ๋อง (穆郡王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในพระมเหสีเหออวี้
    • องค์ชายเหมียนหนิง (綿寧,1782–1850) จื้อชินอ๋อง (智親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนข่าย (綿恺,1795–1838) ตุนเค่อชินอ๋อง (惇恪親王,1819-1838) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนซิน (綿忻,1805–1828) รุ้ยหวยชินอ๋อง (瑞懷親王,1819-1828) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์ชายเหมียนหยู (綿愉,1814–1865) ฮุ่ยตวนชินอ๋อง (惠端親王,1820-1865) พระโอรสในพระมเหสีกงซุ่น
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในพระชายาเจียน
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์หญิงจวงจิ้งเหอซั่วกงจวู่ (莊敬和硕公主,1781–1811) พระธิดาในพระมเหสีเหออวี้
    • องค์หญิงจวงจิ้งกู้หลุนกงจวู่ (莊静固伦公主,1784–1811) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
    • องค์หญิงฮุ่ยอันเหอซั่วกงจวู่ (慧安和硕公主,1786–1795) พระธิดาในพระชายาซุ่น
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1789–1790) พระธิดาในพระอัครชายาหัว
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1793–1795) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1805) พระธิดาในพพระมเหสีกงซุ่น
    • องค์หญิงฮุ่ยมิ่นกู้หลุนกงจวู่ (慧愍固伦公主,1811–1815) พระธิดาในพระมเหสีกงซุ่น

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Woodside 1971, p. 120.
  3. Jeff Kyong-McClain; Yongtao Du (2013). Chinese History in Geographical Perspective. Rowman & Littlefield. pp. 67–. ISBN 978-0-7391-7230-8.
  4. Robert Samuel Maclay (1861). Life among the Chinese: with characteristic sketches and incidents of missionary operations and prospects in China. Carlton & Porter. p. 336. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06. mohammedan slaves to beys.

(ขอ)​เพิ่มเติม

จักรพรรดิ​ ลำดับที่ (หรือรัชกาลที่)​ 7

แห่ง ราชวงศ์​ชิง ของ จักรวรรดิ​ต้าชิง

(โดยชาวแมนจู)​ Qìng Royal

ตรงกับ​ช่วง ศตวรรษ​ ที่ 18 โดยทรง

เป็น​ จักรพรรดิ​ เลือดผสม บิดา เป็น

ชาวแมนจู และ มารดา เป็น ชาวฮั่น

.... ในรัชสมัยนี้ มี​เหตุการณ์​ที่ไม่สู้ดี

เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์​ ทั้งจาก

ขุนนาง เชื้อพระวงศ์​ .... ฯลฯ

ที่ไม่เกรงกลัว ต่อ องค์​ฮ่องเต้ หรือ

จักรพรรดิ​ จึงได้กระทำการต่างๆ

ให้เกิดความเดือดร้อน ​ทั่วแผ่นดิน

ด้วยเหตุนี้​ จึงได้มีการก่อกบฏ​ โดย

ชาวฮั่นที่ต้องการปกครองตนเอง

ซึ่งไม่ต้องการทนกับการต้องถูก

ปกครอง โดยชาวแมนจู ได้เกิด

ที่มาของ คำว่า "ต้านชิงกู้หมิง"

.... แม้จะพยายามทำหน้าที่ให้ดี

เพียงใด แต่บางอย่างไม่สามารถ

เปลี่ยนแปลงได้ จึงได้สวรรคต

ด้วยยังทุกข์​ในพระทัย เฉกเช่น

โอรสสวรรค์​ หรือ สมมติ​เทพ อีก

มากมาย ....

[*]​ขอบคุณ​ ที่มา ของ ข้อมูล​ ค่ะ

https://www.blockdit.com/posts/5e21166c489b2b0cb0716293

ก่อนหน้า จักรพรรดิเจียชิ่ง ถัดไป
จักรพรรดิเฉียนหลง
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2339 - พ.ศ. 2363)
จักรพรรดิเต้ากวง